โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาร์ เคาน์เตอร์แอทแทค)

โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค (ญี่ปุ่น: 機動戦士ガンダム 逆襲のシャア คิโดเซนชิ กันดั้ม เกียคุชู โนะ ชาร์ ; อังกฤษ: Mobile Suit Gundam Char's Counter Attack) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งออกฉายเป็นครั้งแรกในโรงภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1988 และเป็นแอนิเมชันกันดั้มเรื่องแรกที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์โดยเฉพาะ (แอนิเมชันกันดั้มเรื่องต่อมาที่สร้างขึ้นเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์คือ โมบิลสูทกันดั้ม F91 ซึ่งออกฉายในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1991) โดยเป็นผลงานกำกับของ "โยชิยูกิ โทมิโนะ" บุคคลซึ่งถือว่าเป็นบิดาของกันดั้ม ผู้มีชื่อเล่นตามเว็บไซต์ของฝั่งอเมริกาว่า "ฆ่ามันให้เหี้ยน โทมิโนะ" เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของเขามักจะให้ตัวละครตายอย่างไม่ปราณีคนดู

ในปี พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 40 ปีของกันดั้ม ได้มีการนำภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมาฉายในรูปแบบ 4DX เป็นครั้งแรก โดยออกฉายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562[1]

ในประเทศไทย โมบิลสูทกันดั้ม : ชาร์ เคาน์เตอร์ แอทแทค ไม่เคยฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ได้ออกจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2548 โดยบริษัท ดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์)แปลคำบรรยายภาษาไทยโดยดร.เค. อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 40 ปีของกันดั้มเช่นเดียวกับทางญี่ปุ่นในปีก่อนหน้า จึงได้มีการนำภาพยนตร์เรื่องนี้เข้ามาฉายในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยฉายรอบพิเศษวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ในระบบ 4DX และรอบปกติในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 แบบจำกัดโรงฉาย[2]

เนื้อเรื่อง[แก้]

สาธารณรัฐซีออนที่ซึ่งกำลังอ่อนแอเนื่องจากเสียผู้นำไปจากครั้งการก่อกบฏในซีออนนั้น ได้รับการจุดประกายความหวังอีกครั้งเมื่อชายที่ชื่อ ชาร์ อัสนาเบิ้ล ซึ่งแท้จริงแล้วเขาคือ "แคสวัล เลม ไดคุน" ผู้สืบทอดของซีออนที่แท้จริงได้ปรากฏตัวขึ้นมาและนำกองทัพนีโอ ซีออน บุกโจมตีโลกอีกครั้ง โดยครั้งนี้พวกเขามีแผนที่จะใช้ ทิ้งลูน่าที่ 5 ซึ่งเป็นสถานีอวกาศที่เคยใช้ในการสร้างโคโลนี่เมื่อครั้งมนุษย์เริ่มออกเดินทางสู่อวกาศ, ลงสู่บนพื่นโลกซึ่งเป็นฐานทัพของกองทัพโลกซึ่งตั้งอยู่ ณ ทิเบต เมืองลาซา ทำให้หน่วยลอนโด เบลล์ กองกำลังอิสระภายใต้สังกัดกองทัพโลก ซึ่งมี อามุโร่ เรย์ ศัตรูคู่แค้นของชาร์ในสงครามหนึ่งปี ชายผู้นำชัยชนะมาสู่กองทัพโลก ซึ่งรับรู้ถึงแผนการอันชั่วร้ายของชาห์ ดังนั้นอามุโร่จึงต้องร่วมมือกับ ไบรท์ โนอา อดีตกัปตันไวท์เบสเมื่อครั้งสงครามหนึ่งปี ในการที่จะหยุดการกระทำครั้งนี้ รวมไปถึงการตัดสินขั้นเด็ดขาดกับชาร์อีกด้วย

ตัวละครหลัก[แก้]

ฝ่ายโลก[แก้]

ฝ่ายนีโอซีออน[แก้]

พลเรือน[แก้]

  • ฮาซาเวย์ โนอา
  • เซมิ่ง โนอา
  • มิไร โนอา
  • ลาล่า ซูน

โมบิลสูทที่สำคัญในภาคนี้[แก้]

โมบิลสูทประจำตัว ชาร์ อัสนาเบิ้ลในภาคนี้เป็นโมบิลสูทตัวแรกในจักรวาล UC ที่ติดตั้งระบบไซโคเฟรม ระบบที่ช่วยให้นิวไทป์ขับโมบิลสูทได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้ซาซาบีนั้นสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าหุ่นตัวอื่นในยุคเดียวกัน(และรักษาภาพลักษณ์ของชาร์ ที่มีฉายาว่า ดาวหางสีแดง) ทั้งยังสามารถใช้ฟันเนลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
อาวุธของซาซาบี ประกอบไปด้วย ฟันเนล 3 คู่ , บีมชอร์ต-ไรเฟิล ปืนสองลำกล้องที่ยิงได้ทั้งแบบไรเฟิลปกติและแบบกระสุนปรายอย่างลูกซอง , ปืนใหญ่มหาอนุภาคที่ติดตั้งไว้บริเวณเอวซึ่งสามารถจัดการศัตรูได้เป็นจำนวนมากภายในการยิงหนึ่งครั้ง และ บีมโทมาฮอคซอร์ดทีใช้เป็นอาวุธระยะประชิดสองเล่ม
โมบิลสูทของอามุโร่ เรย์ ที่ปรากฏออกมาในช่วงกลางของเรื่อง มีลักษณะพิเศษเช่นเดียวกับซาซาบีคือติดตั้งระบบไซโคเฟรมไว้เช่นกัน (ซึ่งในช่วงท้ายสุด ระหว่างการประจันหน้าบนแอกซิสที่กำลังตกลงมา ชาร์สารภาพกับอามุโร่ว่าตนเป็นผู้แอบมอบไซโคเฟรมให้อามุโร่ เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้คู่แข่งของเขาใช้หุ่นดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพต่างจากซาซาบีมากเกินไป) จึงทำให้เครื่องยนต์ของนิวกันดั้มมีความคล่องแคล่วสูสีกับซาซาบี
สำหรับอาวุธของนิวกันดั้มนั้นประกอบไปด้วยอุปกรณ์พื้นฐานอย่าง บีมไรเฟิล , บีมเซเบอร์ , บาซูก้า , โล่ซึงติดตั้งบีมแคนน่อนและมิซไซล์อีกสี่ลูก แต่จุดที่ทำให้นิวกันดั้มโดนเด่นกว่าหุ่นตัวอื่นๆนั่นก็คือ ฟิน ฟันเนล จำนวนหกชิ้นที่ติดตั้งไว้ที่หลัง ความแตกต่างของมันกับฟันเนลทั่วไปนั้นอยู่ตรงที่ ฟิน ฟันเนล จะมีเครื่องกำเนิดพลังงานภายในตัว จึงไม่จำเป็นต้องกลับไปชาร์จพลังงานจากหุ่นตัวแม่ที่ปล่อยมันออกมา รวมไปทั้งฟิน ฟันเนลแต่ละชิ้นสามารถทำความรุนแรงได้ใกล้เคียงกับปืนใหญ่ของยานแม่ นอกจากนี้ฟิน ฟันเนลยังสามารถสร้าง บีมบาเรีย ที่สามารถป้องกันการโจมตีหรือใช้กักขังศัตรูไว้ให้อยู่ในอาณาเขตของบาเรียอีกด้วย

รายชื่อตอน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "「ガンダム 40周年プロジェクト」本格的に始動!シネマ・コンサート他、各種イベントを展開!". 機動戦士ガンダム40周年プロジェクト (ภาษาญี่ปุ่น). 7 เมษายน 2562.
  2. https://j-hero.com/gundam-2k-4dx-movie-project-special-screen/. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)