ข้ามไปเนื้อหา

ชาตรามือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาตรามือ
ประเภทผู้ผลิตและจำหน่ายชา
อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ก่อตั้งพ.ศ. 2488
พื้นที่ให้บริการไทย
กัมพูชา
เกาหลีใต้
พม่า
จีน
ฮ่องกง
สิงคโปร์
มาเลเซีย
บรูไน
เวียดนาม
สหรัฐ
บุคลากรหลักพราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช
เศรษฐิกิจ เรืองฤทธิเดช
ผลิตภัณฑ์ชาบรรจุกระป๋อง ชาพร้อมดื่ม ไอศกรีม
รายได้366 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)
เว็บไซต์https://www.cha-thai.com/

ชาตรามือ เป็นผลิตภัณฑ์ชาไทย ของบริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด สินค้าภายใต้แบรนด์ชาตรามือมีทั้ง ชาแดง ชาเขียว ชาอูหลง ชากุหลาบ ฯลฯ และยังเปิดร้านจำหน่ายในชื่อร้าน ชาตรามือ

ประวัติ

[แก้]

ต้นตระกูลของดิฐพงศ์ เรืองฤทธิเดช ได้เข้ามาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ได้จัดตั้งร้านชาจีนที่ชื่อ Lim Meng Kee บริเวณแยกเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช โดยนำผลิตภัณฑ์ชานำเข้าจากประเทศจีน แต่ชาจีนร้อนไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อน จึงได้นำเข้าชาแดงเพื่อนำมาทำชานม และชาดำไทยที่ใส่น้ำแข็งลงไป ที่รู้จักในชื่อ ชาเย็น จนในปี พ.ศ. 2488 จึงได้เริ่มชายี่ห้อ ชาตรามือ [1] เริ่มปลูกชาเองที่เชียงราย โดยตั้งโรงงานอยู่ที่กรุงเทพ

ต่อมาดิฐพงศ์ได้สืบทอดกิจการชาตรามือจากพ่อ จัดตั้งบริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด เมื่อปี 2537 ที่ทำออกมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ชาบรรจุกระป๋อง และต่อมารุ่นที่ 3 คือ พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช ในปี พ.ศ. 2561 ออกผลิตภัณฑ์ ชากุหลาบ และซอฟต์เสิร์ฟรสชาติต่าง ๆ อย่างไอศกรีมชาไทย[2]

การตลาด

[แก้]

ชาตรามือมีส่วนแบ่งของตลาดชาไทยถึง 70-80% ของทั้งประเทศ จากข้อมูลปี พ.ศ. 2562 มีสาขา 92 สาขาทั่วประเทศไทย แบ่งเป็น 60 สาขาในกรุงเทพฯ และ 32 สาขาในหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ 10 สาขาในภาคเหนือ, 11 สาขาในภาคอีสาน, 7 สาขาในภาคตะวันออก และ 4 สาขาในภาคใต้[3] โดยทุกสาขาเป็นการลงทุนเองของทางบริษัท[4] และยังมีสาขาในมาเลเซีย 11 สาขา ช่วงกลางปี 2560 เปิดสาขาเกาหลีใต้เป็นสาขาแรก ในปี 2562 เปิดสาขา ย่าน Causeway Bay ที่ฮ่องกง[5] และสาขาในประเทศอื่นอย่าง พม่า, สิงคโปร์, บรูไน, กัมพูชา และประเทศจีน สาขาแรกในสหรัฐ อยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เปิดเมื่อ พ.ศ. 2567[6]

ชาตรามือยังมีลูกค้าอย่าง คาเฟ่ อเมซอน ที่สั่งซื้อครั้งละ 88.5 ตันต่อเดือน ชาตรามือยังส่งออกไปยังประเทศแถบอาเซียน อย่าง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และจีน บริษัทมีรายได้จากชาปรุงสำเร็จ 40% ชาเขียวปรุงสำเร็จ 40% ผลิตภัณฑ์อื่น 20% สัดส่วนจำหน่ายในประเทศ 60% และส่งออกต่างประเทศ 40%[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นภษร ศรีวิลาศ (18 กรกฎาคม 2560). "ความหวานมันของแบรนด์ชาตรามือในมือทายาทรุ่นสาม". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. 2.0 2.1 "เจาะลึก! แฟรนไชส์ "ชาตรามือ" กลับมาปังข้ามศตวรรษ". ไทยเอสเอ็มอีเซนเตอร์. 2 ธันวาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-24. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "Cha Tra Mue แบรนด์ไทยขอโกอินเตอร์ ปักธงฮ่องกง บุกดงร้านชา-กาแฟย่านไข่แดง Causeway Bay ฮ่องกง". โพซิชันนิงแมก. 28 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ปลุกตำนาน "ชาตรามือ" ปรากฏการณ์ปัง นั่งกลางใจคุณ". ประชาชาติธุรกิจ. 13 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ไม่ปล่อยให้ต่างชาติแจ้งเกิดฝ่ายเดียว "ชาตรามือ" เอาคืนให้แบรนด์ไทย! เปิดสาขาแรกฮ่องกง ย่าน Causeway Bay". มาเกตติงอุปส์. 28 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "'ชาไทย' สุดปัง ชาตรามือ เปิดสาขาแรกในอเมริกา ราคาอย่างจึ้ง คนรอคิวยาวเหยียด". คมชัดลึก.