สโมสรฟุตบอลชัลเคอ 04

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชัลเคอ 04)
ชัลเคอ 04
Wappen of Schalke 04
ชื่อเต็มFußball-Club
Gelsenkirchen-Schalke 04 e. V.
ฉายาDie Königsblauen (The Royal Blues)'
Die Knappen (The Miners)
ราชันสีน้ำเงิน (ในภาษาไทย)
ก่อตั้ง4 พฤษภาคม 1904; 119 ปีก่อน (1904-05-04)
สนามเฟ็ลทินส์-อาเรนา, เก็ลเซินเคียร์เชิน
Ground ความจุ61,673[1]
executive boardPeter Peters
Horst Heldt
Alexander Jobst
ผู้ฝึกสอนThomas Reis
ลีกซไวเทอบุนเดิสลีกา
2022–23อันดับที่ 17 ในบุนเดิสลีกา (ตกชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลชัลเคอ 04 (เยอรมัน: Fußball-Club Gelsenkirchen-Schalke 04, ซึ่งรู้จักกันในชื่อ FC Schalke 04 หรือ Schalke) อยู่ที่เมืองเก็ลเซินเคียร์เชิน รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี เป็นคู่ปรับของโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ก่อตั้งเมื่อปี 1904 ปัจจุบันอยู่ในซไวเทอบุนเดิสลีกา

ประวัติ[แก้]

ช่วงยุคแรก[แก้]

สโมสรชัลเคอ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1904 โดยกลุ่มนักเรียนในเวสต์ฟาเลีย เมืองชัลเคอ ใช้สีแดงและเหลืองเป็นสีของสโมสร ปี ค.ศ 1912 พวกเขาพยายามเข้าร่วมในรายการฟุตบอลเยอรมันอย่าง เวสต์ดัชท์เชอร์ สเปียลเวอร์แลนด์หลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต จนในที่สุด ปี ค.ศ.1877 ชัลเคอได้รวมสโมสรเข้ากับสโมสรกีฑาชัลเคอ การรวมกันในครั้งนี้ทำให้ชัลเคอสามารถเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลของเยอรมันได้ แต่ปี ค.ศ.1915 เอสวี เวสต์ฟาเลีย ชัลเคอ ได้แยกตัวออกมาสั้นๆ ก่อนจะกลับมารวมกันอีกครั้ง ในปี ค.ศ.1919 ชัลเคอได้แชมป์อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี ค.ศ.1923 ในรายการ the Schalke Kreisliga ทำให้ทีมมีฉายาว่า Die Knappen มาจากคำในภาษาเยอรมันว่า คนงานเหมือง เพราะสโมสรได้ดึงเอานักเตะและแฟนบอลจากเหมืองถ่านหินมาร่วมทีมมากมาย ค.ศ.1924 พวกเค้าได้แยกสโมสรฟุตบอลออกมาอีกครั้ง โดยประธานสโมสรและทีมงาน ได้ตั้งชื่อสโมสรใหม่ว่า เอฟซี ชัลเคอ 04 ใช้สีน้ำเงินและขาวเป็นสีประจำสโมสร เป็นที่มาของฉายา ราชันย์สีน้ำเงิน ปีต่อมาพวกเค้ากลายเป็นสโมสรท้องถิ่นที่มีรูปแบบการเล่นเป็นเอกลักษณ์คือการเล่นส่งบอลสั้น เท้าสู่เท้า ในการเล่นบอล ทำให้แผนการเล่นดังกล่าวรู้จักในชื่อ Schalker Kreisel ซึ่งระบบการเล่นแบบนี้ทำให้พวกเขาเป็นทีมชั้นนำใน Gauliga สู่การเป็นแชมป์ลีก และการเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันระดับประเทศ สโมสรเป็นที่นิยมมากจนสร้างสนาม the Glückauf-Kampfbahn ขึ้นในปี ค.ศ.1928 และเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับท้องถิ่นเป็น เอฟซี เก็ลเซินเคียร์เชิน ชัลเคอ 04 ทีมได้แชมป์ เวสต์ เยอรมัน แชมป์เปี้ยนชิพ ในปี 1929 แต่ถูกทีมอื่นๆไม่พอใจจากการจ้างนักเตะมากกว่าเพดานเงินเดือนที่ลีกกำหนดไว้ จนเป็นเหตุให้ทีมถูกห้ามแข่งกว่าครึ่งปี อย่างไรก็ตาม หลังพ้นโทษแบนพวกเคาเปิดบ้านพบกัน ฟอร์ทูน่า ดุยเซลดอร์ฟ ท่ามกลางแฟนบอลถึง 70,000 คน

ยุครุ่งเรืองของสโมสร[แก้]

ชัลเคอรุ่งเรืองสุดๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1931 โดยเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลเยอรมัน แชมป์เปี้ยนชิพ ปี ค.ศ.1932 และปีต่อมาคือ ค.ศ.1933 เอาชนะฟอร์ทูน่า ดุยเซลดอร์ฟ ในนัดชิงชนะเลิศ และเอาชนะไปได้ 3-0 ได้แชมป์ในที่สุด หลังจากสมาคมฟุตบอลเยอรมันได้เปลี่ยนแปลงระบบฟุบอลในประเทศในปี ค.ศ.1933 ชัลเคอต้องไปแข่งใน the Gauliga Westfalen 1 ใน 16 ดิวิชั่นของระบบฟุตบอลเยอรมัน ซึ่งพวกเค้าประสบความสำเร็จมากในช่วงปี 1933-1942 โดยได้เข้าชิงถึง 14 ครั้งจากทั้งหมด 18 ครั้ง ได้แชมป์เยอรมัน แชมป์เปี้ยนชิพ 10 ครั้ง,DFB Pokal อีก 8 ครั้ง,และได้แชมป์ลีกอีก 11 ครั้ง ชัลเคอไม่เคยแพ้ในการแข่งขัน the Gauliga Westfalen เลยตลอด 11 ฤดูกาล โดยทีมแพ้แค่ 6 ในฤดูกาล 1935–36,1936–37,1937–38,1938–39,1940–41 และ 1942–43 เท่านั้น

ยุค บุนเดิสลีกา[แก้]

ในปี ค.ศ.1963 ได้มีการก่อตั้งบุนเดิสลีกาขึ้น และพวกเขาก็ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 16 สโมสรฟุตบอลที่มีสิทธิเข้าร่วมลงแข่งในรายการนี้ โดยปีแรกทำผลงานได้ไม่ดีจนทีมเกือบตกชั้น โชคดีที่มีการขยายจำนวนทีมเป็น 18 ทีม ทำให้พวกเขารอดตกชั้น ฤดูกาล 1971-1972 พวกเขาได้รองแชมป์ พร้อมกับคว้าแชมป์ DFB Pokal ได้เป็นครั้งที่สอง แม้ทีมจะมีผลงานดีขึ้นแต่ในปี ค.ศ.1971 พวกเค้าถูกตัดสินว่าล้มบอล ในนัดที่ 28 ในการแข่งกับอาร์เมเนีย บีเลฟิลด์ ทำให้นักเตะโดนแบนตลอดชีวิต 3 คน ก่อนที่จะได้รับการลดโทษเหลือ 6 เดือน ถึง 2 ปี เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่อื้อฉาวมากในปี ค.ศ.1970 ปี ค.ศ.1973 พวกเขาย้ายสนามแข่งจาก พาร์คสเตเดี้ยน ไปแข่งที่สนามใหม่ ที่สร้างเพื่อรองรับฟุตบอลโลกปี ค.ศ.1974 ความจุกว่า 70,000 ที่นั่ง หลังเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นพวกเขาทำผลงานได้ไม่ดีนัก แต่ฤดูกาล 1976-1977 พวกเค้าก็ได้อันดับสองของตารางคะแนน โดยห่างจากแชมป์แค่ 1 คะแนนเท่านั้น ในฤดูกาล 1981-1982 พวกเขาตกชั้นจากบุนเดิสลีกา ก่อนจะกลับขึ้นมาอีกครั้งในฤดูกาล 1983-1984 ปี ค.ศ.1988 ก็ตกชั้นอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะขึ้นมาได้ในฤดูกาล 1991-1992 และอยู่ในลีกสูงสุดมาถึงปัจจุบัน ปี ค.ศ.1972 ได้แชมป์ DFB Pokal และได้แชมป์ยูฟ่า คัพ ในฤดูกาล 1996-1997 ได้แชมป์ DFB Pokal ติดต่อกันในฤดูกาล 2000-2001 และ 2001-2002 และได้รองแชมป์บุนเดิสลีกาในฤดูกาล 2000-2001,2004-2005,2006-2007 หลังจากได้อันดับสอง ในปี ค.ศ.2005 พวกเขาก็ได้เข้าแข่งขันในยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งนี้ได้อันดับสามของกลุ่ม ต้องไปแข่งในยูฟ่า คัพ แต่ก้ตกรอบเพราะแพ้ต่อเซบีญ่าในรอบรองชนะเลิศ ฤดูกาล 2007-2008 พวกเขาผ่านรอบแบ่งกลุ่มยุฟ่าแชมป์เปี้ยนลีกเป็นครั้งแรก โดยเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศก่อนจะแพ้บาร์เซโลนาไปในรอบดังกล่าว วันที่ 6 ตุลาคม 2006 บริษัทน้ำมันจากรัสเซียได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนใหม่ของสโมสร ด้วยเงินลงทุนกว่า 125 ล้านยูโรตลอด 5 ปี พร้อมการเป็นพันธมิตรกับสโมสรเซนิต เซ้นต์ ปีเตอร์เบิร์ก 13 เมษายน 2008 สโมสรเปลี่ยนโค้ชจาก เมียร์โก สโลมก้า ที่ทำผลงานในลีกและยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีกได้ย่ำแย่ แทนที่ด้วยอดีตนักเตะ ไมค์ บุสเก็นส์ และ ยูริ มูลเดอร์ ฤดูกาล 2008-2009 ได้เซ็นสัญญาโค้ชคนใหม่คือ เฟร็ด รอยท์เตน โดยเซ็นสัญญาถึงมิถุนายน 2010 แต่ปี ค.ศ.2009 รอยท์เตน และแต่งตั้ง ไมค์ บัสเกนส์,ยูริ มูลเดอร์และโอลิเวอร์ เร็คก์ เข้าคุมทีมอีกครั้ง

เกียรติประวัติ[แก้]

เยอรมนี ระดับประเทศ[แก้]

  • การแข่งขันชิงชนะเลิศฟุตบอลเยอรมัน/บุนเดิสลีกา
    • ชนะเลิศ (7): 1934, 1935, 1937, 1939, 1940, 1942, 1958

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป[แก้]

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เยอรมนี Ralf Fährmann
3 DF บราซิล Júnior Caiçara
4 DF เยอรมนี เบเนดิคท์ เฮอเวเดส (กัปตัน[2])
5 MF เยอรมนี โยฮันเนส ไกส์
6 DF บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา Sead Kolašinac
7 MF เยอรมนี มักซ์ ไมเออร์
8 MF เยอรมนี Leon Goretzka
10 MF แอลจีเรีย นะบีล บิน ฏอลิบ
13 FW แคเมอรูน เอริค มักซิม ชูโป-โมติง
14 DF กานา บาบา ราห์มาน (ยืมตัวมาจาก เชลซี)
15 MF เยอรมนี Dennis Aogo
16 FW เยอรมนี Fabian Reese
17 FW สวีเดน Christian Rubio Sivodedov
18 MF เยอรมนี Sidney Sam
20 DF เยอรมนี Thilo Kehrer
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 MF ออสเตรีย อาเลสซันโดร เชิพฟ์
23 DF สเปน โกเก
24 DF ตุรกี Kaan Ayhan
25 FW เนเธอร์แลนด์ กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ (รองกัปตัน[3])
27 DF เยอรมนี Sascha Riether
28 DF เยอรมนี Joshua Bitter
29 DF บราซิล Naldo
30 GK เยอรมนี Timon Wellenreuther
31 DF เซอร์เบีย Matija Nastasić
32 FW กานา Bernard Tekpetey
33 FW แอลเบเนีย Donis Avdijaj
34 GK เยอรมนี Fabian Giefer
35 GK เยอรมนี Alexander Nübel
36 FW สวิตเซอร์แลนด์ เบรล เอมโบโล

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.uefa.com/MultimediaFiles/Download/StatDoc/competitions/UEFACup/01/67/59/06/1675906_DOWNLOAD.pdf
  2. "S04 have landed in London – Höwedes ruled out". FC Schalke 04. 16 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-19. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  3. "Huntelaar: Best not to think in front of goal!". FC Schalke 04. 20 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]