ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ
ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | |
---|---|
ญี่ปุ่น | 逃げるは恥だが役に立つ |
ประเภท | โรแมนติกคอเมดี |
เค้าโครงจาก | มังงะต้นฉบับ "เดอะฟูลไทม์ไวฟ์เอสเคปปิสต์" โดย สึนามิ อูมิโนะ |
บทโดย | อากิโกะ โนงิ |
กำกับโดย |
|
แสดงนำ |
|
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง |
|
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | "ซูซูเมะ, ทามานินิเงเตโมะ" โดย ชารังโปะรันตัง |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | "โคอิ" โดย เก็น โฮชิโนะ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศญี่ปุ่น |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาญี่ปุ่น |
จำนวนฤดูกาล | 1 |
จำนวนตอน | 11 + 1 ตอนพิเศษ |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง |
|
ความยาวตอน | 54–69 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | ทีบีเอสทีวี |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ทีบีเอสทีวี |
ออกอากาศ | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2016 – 2 มกราคม ค.ศ. 2021 |
ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ (ญี่ปุ่น: 逃げるは恥だが役に立つ; อังกฤษ: We Married as a Job) เป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นแนวโรแมนติกคอเมดี ตอนแรกของละครโทรทัศน์ออกอากาศเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2016 และออกอากาศตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมในปีเดียวกัน สร้างจากมังงะในชื่อเดียวกันของ สึนามิ อูมิโนะ ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ เล่าความสัมพันธ์ระหว่าง มิกูริ โมริยามะ แสดงโดย ยูอิ อารางากิ หญิงสาววัยกลางคนที่ว่างงานแม้ศึกษาจนได้ปริญญาโทแล้วก็ตาม และ ฮิรามาซะ สึซากิ แสดงโดย เก็น โฮชิโนะ นักวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดห้องพักของตน ว่าจ้างมิกูริผ่านพ่อของเธอให้เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ แต่เมื่อครอบครัวของมิกูริตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่ต่างจังหวัด ทำให้ค่าใช้จ่ายของมิกูริเพิ่มสูงขึ้นหากยังคงทำงานให้แก่สึซากิ เธอและสึซากิจึงตัดสินใจทำสัญญา "การสมรสโดยพฤตินัย" ระหว่างกันและอาศัยอยู่ในห้องพักเดียวกัน จากนั้นความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงเริ่มพัฒนา
ละครโทรทัศน์ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ โดยได้รับความชื่นชมจากการนำเสนอปัญหาสังคมญี่ปุ่นของทีมผลิต "โคอิ" เพลงของโฮชิโนะ นักแสดงสมทบชายในเรื่อง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทีมผลิตและนักแสดงได้รับรางวัลในหลายเวที โดยเฉพาะที่เดอะเทเรวิชันดรามาอะแคเดมีอวอร์ดครั้งที่ 91 ซึ่งสามารถคว้ารางวัลได้ทั้งสิ้น 7 รายการ หลังจากความสำเร็จของฉันแต่งงานเป็นอาชีพ มีการผลิตตอนพิเศษของละครโทรทัศน์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2021
นักแสดง
[แก้]ตัวละครหลัก
[แก้]- ยูอิ อารางากิ แสดงเป็น มิกูริ โมริยามะ[1]:
หญิงสาวผู้จบการศึกษาได้ปริญญาโทแต่ถูกให้ออกจากงาน ทำสัญญา "การสมรสโดยพฤตินัย" เพื่อเป็นแม่บ้านอาศัยอยู่ในห้องพักเดียวกันกับสึซากิแลกกับการไม่ต้องเช่าหอพักหลังพ่อแม่ของเธอตัดสินใจย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด - เก็น โฮชิโนะ แสดงเป็น ฮิรามาซะ สึซากิ[2]:
นักวิศวกรคอมพิวเตอร์หนุ่มที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดบ้านตัดสินใจว่าจ้างมิกูริให้เข้ามาทำความสะอาดห้องพักของเขา จากนั้นจึงทำสัญญา "การสมรสโดยพฤตินัย" กับมิกูริเพื่อไม่ให้เธอต้องออกจากงาน - เรียวเฮ โอตานิ แสดงเป็น เรียวตะ คาซามิ[3]:
เพื่อนร่วมงานของสึซากิที่รักความเป็นอิสระและไม่สนใจเรื่องความรัก แต่มักให้คำปรึกษาแก่สึซากิอยู่บ่อยครั้ง - อาราตะ ฟูราตะ แสดงเป็น โยริสึนะ นูมาตะ[3]:
เพื่อนร่วมงานของสึซากิที่เป็นเกย์และสงสัยการสมรสระหว่างสึซากิและมิกูริที่ดูไม่เหมือน "ข้าวใหม่ปลามัน" - ยูริโกะ อิชิดะ แสดงเป็น ยูริ สึจิยะ[3]:
พี่สาวของมิกูริ ผู้หญิงทำงานในวัยย่างเข้า 50 ที่ยังไม่มีคู่รัก เธอพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มิกูริมีความสุขที่สุด
ตัวละครสมทบ
[แก้]- ทากาชิ ฟูจิอิ แสดงเป็น ฮิเดชิ ฮิโนะ[4]:
เพื่อนร่วมงานของสึซากิและยุ่งกับการเลี้ยงลูกอายุยังน้อย - เรียว นาริตะ แสดงเป็น นัตสึกิ อูเมฮาระ[5]:
ลูกน้องของยูริ มักได้รับการยกย่องว่าเป็นชายหน้าตาดีในบริษัท ต่อมาเขาเปิดเผยว่าเป็นเกย์ - โคโตโกะ ยามางะ แสดงเป็น ยูซุ โฮริอูจิ[6]:
ลูกน้องของยูริ ไม่เก่งด้านการเขียนจึงมักได้รับการแก้ไขเอกสารโดยยูริอยู่บ่อยครั้ง - ทากาชิ อูกาจิ แสดงเป็น โทจิโอะ โมริยามะ[3]:
พ่อของมิกูริ เขาเป็นคนเสนอให้เธอทำงานเป็นแม่บ้านให้แก่สึซากิหลังรู้ว่ามิกูริตกงาน - ยาซูโกะ โทมิตะ แสดงเป็น ซากูระ โมริยามะ[3]:
แม่ของมิกูริซึ่งเธอได้รับความชำนาญในการทำความสะอาดบ้าน - เอรินะ มาโนะ แสดงเป็น ยาซูเอะ ทานากะ / ยัซซัง[7]:
เพื่อนสมัยมัธยมฯ ของมิกูริที่ยังติดต่อกันอยู่ เธอเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวหลังหย่าร้างกับสามี มิกูริได้รับอิทธิพลด้านความรักจากเธอหลายครั้ง
การผลิต
[แก้]การพัฒนาและทีมผลิต
[แก้]จุน นาซูดะ, ฮิโรชิ โทเงดะ และ มาซาโกะ มิยาซากิ เป็นผู้อำนวยการสร้างของฉันแต่งงานเป็นอาชีพ ทั้งสามต้องการผลิตละครโทรทัศน์เรื่องนี้เพื่อ "ตอบแทนการทำงานอย่างหนัก" แก่ผู้ชม[8] อากิโกะ โนงิ เป็นผู้ประพันธ์บทละครโทรทัศน์[9] โดยแปลงมาจากผลงานมังงะต้นฉบับของ สึนามิ อูมิโนะ เดอะฟูลไทม์ไวฟ์เอสเคปปิสต์ (The Full-Time Wife Escapist) ก่อนหน้าการรับหน้าที่เป็นผู้ประพันธ์บทให้ ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ โนงิเคยแปลงมังงะอย่างเรื่อง หน่วยพิทักษ์ห้องสมุด (Library War) มาก่อน และเธอได้รับคำชมจากผู้เขียนมังงะต้นฉบับจากการคงไว้ซึ่งแก่นเดิมของเนื้อเรื่อง[10] อีกทั้งฉันแต่งงานเป็นอาชีพ ยังเป็นการร่วมงานครั้งที่สามระหว่างโนงิ และ ยูอิ อารางากิ ซึ่งรับบทนำแสดงในละครโทรทัศน์[11] อารางากิได้รับการคัดเลือกจากผู้อำนวยการสร้างให้เป็นนักแสดงนำของเรื่อง เธอพบว่ามังงะต้นฉบับซึ่งกล่าวถึงการสมรสผ่านสัญญานั้นมีความน่าสนใจ อีกทั้งยังยกประเด็นปัญหาสมัยใหม่อย่างความยากลำบากในการหางานและการที่ผู้หญิงทำงานไม่สามารถสมรสได้ ทำให้เธอตัดสินใจรับบทตัวละครนำ[12]
การคัดนักแสดง
[แก้]จุน นาซูดะ ผู้อำนวยการสร้าง กล่าวถึงสาเหตุที่มีการเลือกอารางากิเป็นนักแสดงนำว่า ตลอดที่เขาอ่านบทต้นฉบับนั้น อารมณ์ขันและทักษะความสามารถในการแสดงของอารางากิทำให้เขารู้สึกว่าเธอเหมาะสมกับตัวละครตลกหญิง (comedienne) ตัวนี้ที่มีความกระฉับกระเฉงและความเอาใจใส่ อีกทั้งยังมอบรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้แก่ผู้คนรอบข้าง[13] ขณะที่อูมิโนะกล่าวเพิ่มว่า เพื่อนของเธอเคยพูดไว้อย่างไม่จริงจังก่อนจะมีการตัดสินใจแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์ว่า "ถ้ามิกูริจังเป็นยูอิ อารางากิจังล่ะ เธอจะว่าอย่างไร"[14] เก็น โฮชิโนะ ได้รับการเสนอบทโดยนาซูดะและโทเงดะซึ่งทั้งสองเป็นผู้อำนวยการสร้างของละครโทรทัศน์เรื่องคุณหมอนกกระสา (Dr. Storks) หลังการถ่ายทำเสร็จสิ้นลงไม่นานเมื่อปลาย ค.ศ. 2015[15] โฮชิโนะได้รับบทเป็น ฮิรามาซะ สึซากิ ซึ่งมีความจริงจังและจริงใจ ซุ่มซ่ามแต่น่ารักในเวลาเดียวกัน โทเงดะระบุว่ามีเพียงแค่โฮชิโนะเท่านั้นที่สามารถสร้างบรรยากาศของ "ความเป็นสึซากิ" ได้[16] ก่อนหน้าการรับบทนี้ โฮชิโนะไม่เคยมีประสบการณ์ในการแสดงแนวโรแมนติกคอเมดีมาก่อน[16]
เรียวตะ คาซามิ ลูกน้องของสึซากิ รับบทโดย เรียวเฮ โอตานิ ซึ่งเขารับบทแสดงละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เพราะตลอดที่ผ่านมาเขารับเพียงแต่งานแสดงในประเทศเกาหลีใต้ ฮิโรชิ โทเงดะ ระบุว่าครั้งแรกที่ผู้อำนวยการสร้างทั้งสามพบกับโอตานินั้นต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "เท่มาก" โทเงดะกล่าวต่อว่าคาซามิเป็นตัวละครที่เล่นยาก เพราะมักไม่แสดงอาการหุนหันหรืออาการกังวลใด ๆ ออกมา ทำให้ผู้คนรอบข้างไม่รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น คาซามิเป็นคนที่มีความคิดที่แน่วแน่ (firm core) และใช้ความคิดนั้นนำทางวิธีการใช้ชีวิตของเขา อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางตัวเลือกนักแสดงหลายคน ผู้อำนวยการสร้างเลือกโอตานิโดยระบุเหตุผลว่าพวกเขาประทับใจการแสดงอารมณ์และลักษณะนิสัยที่นุ่มสุขุมเป็นธรรมดาของโอตานิ[3] โยริสึนะ นูมาตะ เกย์ที่แอบย่องเขาไปในความสัมพันธ์ของมิกูริกับสึซากิ รับบทโดย อาราตะ ฟูราตะ แต่เดิมในมังงะต้นฉบับ นูมาตะเป็นตัวละครที่ได้รับความนิยมสูงจากผู้อ่าน และเป็นตัวละครสำคัญที่ช่วย "เพิ่มรสชาติ" ของเรื่องและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละครอื่น ๆ ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครนั้นแย่ลง นูมาตะเป็นผู้สร้างบรรยากาศให้แก่ผู้คนรอบข้าง (mood maker) แต่ขณะเดียวกันเขายังมีด้านที่ละเอียดอ่อน โทเงดะกังวลว่าจะมีใครสามารถรับบทนี้ได้จนมีการคัดเลือกว่าฟูราตะจะเป็นผู้รับบทนี้ ความกังวลของเขาจึงหายไปเพราะภาพลักษณ์ของฟูราตะที่มีความสนุกสนาน[3] ยูริ สึจิยะ หญิงทำงานและพี่สาวของมิกูริ รับบทโดย ยูริโกะ อิชิดะ เธอได้รับการคัดเลือกโดยโทเงดะด้วยลักษณะนิสัยของอิชิดะซึ่งคล้ายคลึงกับตัวละครมังงะต้นฉบับที่มีความเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานและในขณะเดียวกันยังมีความเป็นเด็กหญิงตัวน้อย[3]
เพลงธีม
[แก้]—ชารังโปะรันตัง ผู้ประพันธ์ธีมเปิด[17]
"โคอิ" เป็นเพลงธีมปิดของฉันแต่งงานเป็นอาชีพ ประพันธ์และร้องโดย เก็น โฮชิโนะ ซึ่งเขาแสดงเป็นหนึ่งในตัวละครหลักของเรื่อง[18] ได้รับรางวัลเพลงธีมยอดเยี่ยมในงานโตเกียวดรามาอวอร์ด 2017 โฮชิโนะกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องที่สนุกเมื่อต้องแสดง (เป็นตัวละครในเรื่อง) และต้องร้องเพลงธีม (ในฐานะนักร้อง) ในเวลาเดียวกัน"[19] ในเครดิตปิดเรื่อง นักแสดงหลักและนักแสดงสมทบเต้นเพลง "โคอิ" หรือที่เรียกว่า "โคอิแดนซ์" ผู้อำนวยการสร้างตกลงว่า การเพิ่มฉากเต้นในเครดิตท้ายเรื่องจะเป็นการเน้นให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของการแปลงเป็นละครโทรทัศน์เรื่องนี้ที่มีความแตกต่างจากมังงะต้นฉบับ[8] โดยมีบ้านของสึซากิ หนึ่งในตัวละครหลักของเรื่องเป็นฉากหลัง ท่าเต้นออกแบบโดย มิกิโกะ ผู้มีชื่อเสียงจากการออกแบบท่าเต้นให้แก่วงเกิร์ลกรุป "เพอร์ฟูม"[20] หลังจากการออกอากาศตอนแรก "โคอิแดนซ์" เป็นที่นิยมอย่างมาก[21] แต่เดิมทีมผลิตเรียกการเต้นกับเพลง "โคอิ" ว่า "นิเงฮาจิแดนซ์"[a] ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น "โคอิแดนซ์" ในปัจจุบัน โทเงดะให้เหตุผลว่าเขาไม่อยากให้ความนิยมถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ที่ละครโทรทัศน์เท่านั้น จึงเปลี่ยนชื่อเพื่อทำให้การเต้นนี้สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น[8]
ชารังโปะรันตัง ประพันธ์ธีมเปิด "ซูซูเมะ, ทามานินิเงเตโมะ" (進め、たまに逃げても, "เดินหน้าเข้าไว้ แม้บางครั้งจะหนีบ้างก็ตาม")[23] เพลงนี้เขียนหลังอ่านมังงะต้นฉบับ เพราะฉะนั้นทำนองเพลงและเนื้อร้องจึงมีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาของละครโทรทัศน์[24][25]
เค็นอิจิโร ซูเอฮิโระ และ มายูโกะ เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบทั้งสิ้น 26 เพลง[26]
ลำดับเปิดและลีลา
[แก้]ลำดับเปิดของเรื่องดำเนินด้วยธีมเปิด "ซูซูเมะ, ทามานินิเงเตโมะ" โดยปรากฏมิกูริในชุดแต่งงานเผชิญหน้ากับอักษรคำขนาดใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับแก่นเรื่อง เช่น "นายจ้าง–ลูกจ้าง" หรือ "ผู้หญิงอวดดี" ทุก ๆ ตอนลำดับเปิดจะแตกต่างออกไปเล็กน้อย ในตอนที่ 1 อารางากิเผชิญกับตัวอักษรเรียงเป็นคำว่า "ตกงาน ไม่มีคนรัก ไร้ที่อยู่ เงินเดือน 194,000 เยน, สัญญาสมรส" เธอกัดริมฝีปากแสดงอาการกังวล ในตอนที่ 4 ปรากฏคำว่า "ผู้หญิงอวดดี ผู้ชายความมั่นใจในตัวเองต่ำ [...]" อารางากิทำตาโต ขมวดคิ้ว และตัวสั่นระรัวก่อนวิ่งออกจากฉากไป[27]
ตลอดการดำเนินของเรื่อง มิกูริซึ่งเป็นตัวละครหลักจะแสดงอาการเพ้อจินตนาการถึงรายการโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงหลายรายการ โดยส่วนใหญ่รายการดังกล่าวมักมีทีมผลิตละครโทรทัศน์บางคนเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตรายการมาก่อน[28] เช่น โจเนสึไทริกุ (情熱大陸) รายการสารคดีติดตามชีวิตบุคคล รายการข่าวนิวส์23 ลีลาการตัดต่อโดยอิงอนิเมะเรื่องอีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา[28] หรือรายการปกิณกะไคอุน! นันเดโมะคันเตดัน (開運!なんでも鑑定団) ออกอากาศทางทีวีโตเกียว[29] ในตอนพิเศษ มิกูริแสดงเลียนแบบเป็น โยชิฮิเดะ ซูงะ ถือป้ายประกาศชื่อยุคและศักราชใหม่ของประเทศญี่ปุ่น "เรวะ"[30] และกล่าวถึงปัญหาการเข้าถึงบริการฝากครรภ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพแม้จะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่แล้ว[31]
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับเชิงวิจารณ์
[แก้]ละครโทรทัศน์ได้รับบทปริทัศน์เชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ ทากาชิ คัตสึกิ จากอาเอราดอต กล่าวว่าฉันแต่งงานเป็นอาชีพ เป็น "ละครแห่งชาติ" โดยชื่นชมการเสนอปัญหาในสังคมสมัยใหม่อย่างความชายเป็นใหญ่ในที่ทำงาน อัตราการเกิดที่ลดลง ความหลากหลายทางเพศ และค่านิยมการสมรสของผู้หญิงวัยทำงาน[32] อิชิตา แชตเทอร์จี จากมิดการ์ดไทมส์ ชื่นชมการแสดงของอารางากิและโฮชิโนะ โดยกล่าวว่านอกจากการพัฒนาบทและตัวละครอย่างระมัดระวัง แต่การแสดงของทั้งสองนั้นสนับสนุนการพัฒนาดังกล่าวและให้ความรู้สึกสมจริงและไม่ดูกระอักกระอ่วน[33] เขียนให้แก่ซีนีมาส์พลัส เค็นตาโร มูรามัตสึ กล่าวว่าการสร้างและลีลาการตัดต่อของทีมผลิตทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการดำเนินเรื่อง ขณะที่ยกย่อง การโปรยเสน่ห์ของอารางากิและการแสดงที่ยอดเยี่ยมของโฮชิโนะ[34]
นัตสึโอะ ซาวาโนะ จากเอ็กไซต์นิวส์ ให้ความเห็นผสมกันทั้งบวกและลบ โดยเสนอว่าหากพิจารณาอย่างไตร่ตรองแล้ว จะสังเกตเห็นตัวละครหลักในเรื่องต่างทำแต่เรื่องที่แย่ซึ่งผู้ชมส่วนใหญ่มักมองข้ามอย่างการที่สึซากิทำให้มิกูริอับอายเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของตน หรือการที่มิกูริพยายามใส่ "ความยุติธรรม" ในแบบของตนเองลงไปในทุกเหตุการณ์ของเรื่อง ขณะเดียวกันได้ชื่นชมการนำเสนอปัญหาในสังคมและบทประพันธ์ละครโทรทัศน์[35]
เรตติง
[แก้]ฤดูกาล | ตอนที่ | เฉลี่ย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | |||
1 | 6.12 | 7.26 | 7.50 | 7.80 | 7.98 | 8.16 | 8.16 | 9.66 | 10.14 | 10.26 | 12.48 | 8.04 |
ตอน | วันที่ออกอากาศ | ผู้กำกับ | เรตติง[36][c] |
---|---|---|---|
ตอนที่ 1 | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2016 | ฟูมิโนริ คาเกโกะ | 10.2% |
ตอนที่ 2 | 18 ตุลาคม ค.ศ. 2016 | 12.1% | |
ตอนที่ 3 | 25 ตุลาคม ค.ศ. 2016 | โนบูฮิโระ โดอิ | 12.5% |
ตอนที่ 4 | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 | 13.0% | |
ตอนที่ 5 | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 | ยาซูฮารุ อิชิอิ | 13.3% |
ตอนที่ 6 | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 | ฟูมิโนริ คาเกโกะ | 13.6% |
ตอนที่ 7 | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 | 13.6% | |
ตอนที่ 8 | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 | โนบูฮิโระ โดอิ | 16.1% |
ตอนที่ 9 | 6 ธันวาคม ค.ศ. 2016 | ฟูมิโนริ คาเกโกะ | 16.9% |
ตอนที่ 10 | 13 ธันวาคม ค.ศ. 2016 | ยาซูฮารุ อิชิอิ | 17.1% |
ตอนที่ 11 | 20 ธันวาคม ค.ศ. 2016 | ฟูมิโนริ คาเกโกะ | 20.8% |
เรตติงเฉลี่ย | 14.5%[38] | ||
|
รางวัล
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | ผู้รับ | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2017 | คอนฟิเดนซ์อวอร์ดดรามาครั้งที่ 6 | ผลงานผลิตยอดเยี่ยม | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ยูอิ อารางากิ | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เก็น โฮชิโนะ | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ยูริโกะ อิชิดะ | ชนะ | |||
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม | อากิโกะ โนงิ | ชนะ | |||
นักแสดงมาใหม่ยอดเยี่ยม | เรียวเฮ โอตานิ | ชนะ | |||
คอนฟิเดนซ์อวอร์ดดรามาประจำปี 2016 | ผลงานผลิตยอดเยี่ยม | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ยูริโกะ อิชิดะ | ชนะ | |||
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม | อากิโกะ โนงิ | ชนะ | |||
แกแลกซีอวอร์ดครั้งที่ 54 | มายเบสต์ทีวี | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
สาขาโทรทัศน์ | ชนะ | ||||
เอลันดอร์อวอร์ดครั้งที่ 41 | รางวัลพิเศษ | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
เดอะเทเรวิชันดรามาอะแคเดมีอวอร์ดครั้งที่ 91 | ผลงานผลิตยอดเยี่ยม | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ยูกิ อารางากิ | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เก็น โฮชิโนะ | ชนะ | |||
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ยูริโกะ อิชิดะ | ชนะ | |||
ดรามาซอง | "โคอิ" โดย เก็น โฮชิโนะ | ชนะ | |||
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ฟูมิโนริ คาเกโกะ โนบูฮิโระ โดอิ ยาซูฮารุ อิชิอิ |
ชนะ | |||
เดอะเทเลวิชัน | "โคอิแดนซ์" | ชนะ | |||
ทีวีไลฟ์ดรามาประจำปีครั้งที่ 26 | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ยูอิ อารางากิ | ชนะ | ||
เอเอ็มดีอวอร์ดครั้งที่ 22 | เนื้อหายอดเยี่ยมประจำปี | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
นิกกังสปอร์ตส์ดรามากรังปีซ์ครั้งที่ 20 | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ยูอิ อารางากิ | 1 | ||
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เก็น โฮชิโนะ | 3 | |||
รางวัลสมาคมนักกระจายเสียงประเทศญี่ปุ่น 2017 | รายการละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
โตเกียวดรามาอวอร์ด 2017 | ผลงานผลิตยอดเยี่ยม | ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ | ชนะ | ||
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ยูอิ อารางากิ | ชนะ | |||
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | ฟูมิโนริ คาเกโกะ | ชนะ | |||
ผู้อำนวยการสร้างยอดเยี่ยม | จุน นาซูดะ | ชนะ | |||
เพลงธีมยอดเยี่ยม | "โคอิ" โดย เก็น โฮชิโนะ | ชนะ |
ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ ได้รับรางวัลในหลายงาน เช่น งานโตเกียวดรามาอวอร์ด 2017 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่อยากให้ทั้งโลกได้ชม" ได้ชนะและรับรางวัลทั้งสิ้น 5 รายการ[51] ทีมผลิตละครโทรทัศน์ได้รับรางวัลผลงานผลิตยอดเยี่ยม ยูอิ อารางากิ ชนะรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และ "โคอิ" เพลงธีมปิดโดย เก็น โฮชิโนะ ได้รับรางวัลเพลงธีมยอดเยี่ยม[50] ได้ชนะและรับรางวัลในเดอะเทเรวิชันดรามาอะแคเดมีอวอร์ดครั้งที่ 91 ทั้งสิ้น 7 รายการ[44] โฮชิโนะชนะรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ยูริโกะ อิชิดะ ชนะรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม "โคอิแดนซ์" ได้รับรางวัล "ดรามาซอง" ผู้กำกับทั้งสามคนได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม[43]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ガッキー、雇われ妻役で連ドラ主演「今の時代の象徴のようなドラマ」". Sanspo (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-07-27. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ "35年間恋愛ゼロ男!星野源、初挑戦ラブコメでガッキーと契約結婚". Sanspo (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "ドラマ「逃げ恥」百合ちゃん役は石田ゆり子!風見は大谷亮平、沼田は古田新太". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ "ガッキーが紅白で恋ダンスを披露? NHK、TBS関係者に聞いてみた/芸能ショナイ業務話". Sanspo (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-22. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "「逃げ恥」成田凌演じる"百合ちゃんの部下・梅原くん"、最終話のカミングアウトに衝撃". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "「逃げ恥」"恋ダンス"新バージョン公開 藤井隆・真野恵里菜ら登場". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-27. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "真野恵里菜、気になる俳優は「逃げ恥」共演者". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-20. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Nasuda, Jun; Togeta, Hiroshi (2016-12-20). "『逃げ恥』プロデューサーが語る、最終回に込めた想い 峠田P「どの生き方も否定しない」" (Interview). สัมภาษณ์โดย Takane Junji. สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
- ↑ "『逃げ恥』『重版出来!』…脚本家・野木亜紀子作品にハズレなし 原作モノ実写化で定評". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ Kimata, Fuyu (2016-10-25). "ガッキーがかわいいだけじゃない! ドラマ『逃げ恥』に光る原作・脚本・配役・TBSの総合力". Mynavi News (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ "新垣結衣は『逃げ恥』で"第3のスタートライン"に立った 喜劇女優としてのガッキー". Realsound Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2023-03-13.
- ↑ "インタビュー新垣結衣 森山みくり役". TBS (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "ドラマ「逃げ恥」主演は新垣結衣!海野つなみの妄想キャスティングでも"百点"". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-07-27. สืบค้นเมื่อ 2023-03-20.
- ↑ "新垣結衣、"ワケあり新妻"で連ドラ主演「逃げるは恥だが役に立つ」". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-07-27. สืบค้นเมื่อ 2023-03-20.
- ↑ "インタビュー星野源さん 津崎平匡役". TBS (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ 16.0 16.1 "星野源、新垣結衣の"契約夫"でラブコメ初挑戦 主題歌も担当<コメント到着>". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "ガッキー絶賛!チャランポ書き下ろし「逃げ恥」OPテーマ配信で登場". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "星野源、TBS系『逃げるは恥だが役に立つ』で連ドラ ラブコメ初挑戦。主題歌も担当". Barks Japan Music Network (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "新垣結衣が石坂浩二に肩を褒められ照れ笑い、東京ドラマアウォード授賞式". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-26.
- ↑ "「逃げ恥」ガッキーの"恋ダンス"が悶絶級「ポッキー以来の衝撃」「可愛すぎるなんてもんじゃない」". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "新垣結衣×星野源「逃げ恥」話題のダンスシーンが公開!". Cinemacafe (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-14. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "「逃げ恥」正月SPドラマで復活!結婚3年目に入ったみくり&平匡を描く テーマは「がんばれ人類!」". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-09-25. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ "ドラマ「逃げ恥」OPはチャラン・ポ・ランタン「気付けば全巻買っていた」". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "成田凌、 「逃げ恥」OP曲MVに登場!パジャマ姿も披露". Cinemacafe (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "新垣結衣×星野源のドラマ『逃げ恥』、OP曲はチャランポ新曲". Cinra (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "逃げ恥サントラに「プロの独身の極意」「YES GOOD JOB!」ほか劇伴26曲". Natalie Music (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-07. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "逃げ恥、オープニングに秘められた"ガッキーの小ネタ"". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ 28.0 28.1 "「逃げ恥」、みくりの"攻めすぎな妄想"を振り返る<これまでのパロディ>". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-03-30.
- ↑ "「逃げ恥」ガッキー&星野源の和服姿に悲鳴「叫びながら観てました」". Cinematoday (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-09. สืบค้นเมื่อ 2023-03-30.
- ↑ "『逃げ恥』新春SP パロディ連発にネット衝撃 局の垣根をこえてNHKとコラボも". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-30.
- ↑ "กัมบาเระจินรูอิ! ชินชุนสเปเชียล!!". บทโดย โนงิ, อากิโกะ. กำกับโดย คาเกโกะ, ฟูมิโนริ. ฉันแต่งงานเป็นอาชีพ. ทีบีเอสทีวี. 2021-01-02. ตอนพิเศษ
- ↑ "なぜ「逃げ恥」は"国民的ドラマ"になり得たのか?". AERAdot (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
- ↑ "'The Full-Time Wife Escapist' Netflix Series Review - Romantic But Realistic Take on the Fake Marriage Trope". Midgard Times (ภาษาอังกฤษ). 2023-02-16. สืบค้นเมื่อ 2023-04-03.
- ↑ "祝!星野源&新垣結衣結婚!「逃げるは恥だが役に立つ」の魅力を再検証する". Cinema+ (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-03.
- ↑ Sawano, Natsuo (2016-12-21). "「逃げるは恥だが役に立つ」最終回は冷静に考えるとなかなか酷い". Excite News (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-03.
- ↑ 36.0 36.1 เรตติงโดยวิดีโอรีเสิร์ช:
- ตอนที่ 1: "新垣結衣主演『逃げ恥』初回視聴率は10.2% エンディングダンスが話題に". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 2: "新垣結衣主演『逃げ恥』第2話12.1% TBS火10最高視聴率". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 3: "新垣結衣主演「逃げ恥」の勢いがすごい 同枠歴代最高視聴率を2週連続更新". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 4: "逃げ恥:新垣結衣主演ドラマ第4話視聴率13.0% 3週連続右肩上がりで自己最高". MANTAN WEB (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 5: "逃げ恥:新垣結衣主演ドラマ第5話視聴率13.3%と止まらぬ人気! 4週連続右肩上がりで自己最高更新". MANTAN WEB (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-09. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 6: "新垣結衣主演『逃げ恥』第6話視聴率13.6% 5週連続右肩上がり". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-16. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 7: "新垣結衣主演『逃げ恥』第7話視聴率13.6% 6週連続上昇ならずも好調キープ". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-24. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 8: "新垣結衣主演『逃げ恥』第8話視聴率が過去最高16.1%を記録、次回はリストラ危機に"家政婦はミタ"!". Eigaland (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 9: "新垣結衣主演「逃げ恥」、第9話でさらに視聴率更新!". Cinemacafe (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-07. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 10: "「逃げ恥」視聴率&"ムズキュン"度数の右肩上がりが止まらない!地方局でも20%超え". Cinemacafe (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-14. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ตอนที่ 11: "新垣結衣主演『逃げ恥』最終話視聴率20.8% 大台超えで有終の美". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "TV is Key to Succeed in the Japan Market". Kartz Media Works (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-22. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ "『逃げ恥』最終回視聴率20.8%で大台突破! 初回から10.6ポイント上昇". Mynavi News (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "第6回 コンフィデンスアワード・ドラマ賞". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "16年"最も質の高いドラマ"は『逃げ恥』~「年間ドラマ賞」で最多3部門受賞". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "星野源、"逃げ恥"を改めて振り返る ガッキーを祝福<第54回ギャラクシー賞>". Modelpress (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "新垣結衣&星野源『逃げ恥』2ショット再び サプライズ登壇に観客興奮". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ 43.0 43.1 "第91回ザテレビジョンドラマアカデミー賞". The Television Drama Academy Awards (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ 44.0 44.1 "ドラマ『逃げ恥』ドラマアカデミー賞で7冠達成。新垣結衣、星野源、石田ゆり子にインタビューも". Excite Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-02-16. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "2016年「年間ドラマ大賞」作品賞(大賞)は大野智主演『世界一難しい恋』大野は「作品賞」「主演男優賞」「主題歌賞」のトリプル受賞!". TV Life (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "2016年「TV LIFE 年間ドラマ大賞」が決定! 作品賞(大賞)は大野智主演『世界一難しい恋』! 大野は「作品賞」「主演男優賞」「主題歌賞」のトリプル受賞。「主演女優賞」は新垣結衣!". PR Times (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "「逃げ恥」話題尽きず24冠 AMDアワード優秀賞". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-03-14. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "2016年度ドラマGP年間大賞発表". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "「逃げ恥」が民放連盟賞ドラマ番組最優秀賞を受賞". Daily (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-09-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ 50.0 50.1 "新垣結衣『逃げ恥』で主演女優賞「作品のおかげ」- 東京ドラマアウォード". MyNavi News (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
- ↑ "新垣結衣が石坂浩二に肩を褒められ照れ笑い、東京ドラマアウォード授賞式". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-26.