ปิตาธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงประเทศต่าง ๆ ในโลกลงสีตามความแตกต่างระหว่างระดับการศึกษาของชายและหญิง สีเข้มแปลว่ามีความแตกต่างมาก

ปิตาธิปไตย[1][a] (อังกฤษ: patriarchy) เป็นระบบสังคมแบบหนึ่งที่ซึ่งเพศชายเป็นผู้กุมอำนาจหลักและครอบงำบทบาทในด้านผู้นำการเมือง อำนาจหน้าที่ทางศีลธรรม เอกสิทธิ์ทางสังคม และการควบคุมทรัพย์สิน สังคมปิตาธิปไตยบางแห่งยังเป็นสังคมแบบสืบทอดทางพ่อ (patrilineal) ด้วย หมายความว่า ทรัพย์สินและยศฐาบรรดาศักดิ์นั้นสืบทอดโดยสายสกุลเพศชาย

ปิตาธิปไตยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับชุดความคิดหนึ่ง อุดมการณ์ปิตาธิปไตยนั้นใช้เพื่ออธิบายและให้เหตุผลกับสภาพครอบงำของเพศชาย และถือว่าเป็นผลมาจากความแตกต่างตามธรรมชาติระหว่างชายและหญิง นักสังคมวิทยามักมองว่าปิตาธิปไตยเป็นผลผลิตทางสังคมและไม่ได้เป็นผลจากความแตกต่างระหว่างเพศทั้งสองในตัวเอง และมุ่งให้ความสนใจกับทางที่บทบาทจากเพศในสังคมหนึ่งนั้นส่งผลต่อความแตกต่างเชิงอำนาจระหว่างชายกับหญิงอย่างไร[2][3]

ในประวัติศาสตร์ ปิตาธิปไตยปรากฏอยู่ในองค์กรทางสังคม กฎหมาย การเมือง ศาสนา และเศรษฐกิจ แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม[4] ในสังคมร่วมสมัย ถึงแม้จะไม่มีการระบุว่าเป็นปิตาธิปไตยอย่างเปิดเผย แต่ในทางปฏิบัติพบว่าเป็นปิตาธิปไตยยังคงมีอยู่[5][6]

นักสังคมวิทยามักปฏิเสธคำอธิบายเชิงชีววิทยาเกี่ยวกับปิตาธิปไตยซึ่งถูกนำมาใช้อธิบายกำเนิดของปิตาธิปไตยอย่างแพร่หลาย[2] และยึดมั่นว่าเป็นที่กระบวนการทางสังคมที่นำไปสู่บทบาทตามเพศที่ทำให้เกิดปิตาธิปไตยขึ้น[3] ทฤษฎีทางสังคมวิทยามาตรฐานเชื่อว่าปิตาธิปไตยเป็นผลมาจากการก่อร่างทางสังคมและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ชื่ออื่น เช่น สังคมอำนาจฝ่ายบิดา, สังคมแบบพ่อบ้าน ดูศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภา คำว่า "patriarchal society"

อ้างอิง[แก้]

  1. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/download/131587/98734/ วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  2. 2.0 2.1 Macionis, John J. (2012). Sociology (13th ed.). Prentice Hall. ISBN 0205181090
  3. 3.0 3.1 Henslin, James M. (2001). Essentials of Sociology. Taylor & Francis. pp. 65–67, 240. ISBN 9780536941855.
  4. Malti-Douglas, Fedwa (2007). Encyclopedia of Sex and Gender. Detroit: Macmillan. ISBN 978-0-02-865960-2.[ต้องการเลขหน้า]
  5. Lockard, Craig (2007). Societies, Networks, and Transitions. Vol. 1. Cengage Learning. pp. 111–114. ISBN 9780547047669. Today, as in the past, men generally hold political, economic, and religious power in most societies.
  6. Pateman, Carole (2016). "Sexual Contract". The Wiley Blackwell Encyclopedia of Gender and Sexuality Studies. Singapore: John Wiley & Sons, Ltd. pp. 1–3. doi:10.1002/9781118663219.wbegss468. ISBN 978-1-4051-9694-9.
  7. Sanderson, Stephen K. (2001). The Evolution of Human Sociality. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. p. 198. ISBN 9780847695348.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]