ฉบับร่าง:แสบคูณสอง
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 โดย Just Sayori (คุย) บทความที่ส่งมาไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย โปรดอ่านว่าอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดียสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
ฉบับร่างนี้ถูกส่งซ้ำและกำลังรอการตรวจทานอีกรอบ |
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 2 พฤษภาคม 2565 โดย Kaoavi (คุย) แหล่งอ้างอิงในบทความที่ส่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าหัวข้อของบทความมีคุณสมบัติเพียงพอจะมีบทความในวิกิพีเดีย กล่าวคือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงหัวเรื่องดังกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ (คือไม่ได้กล่าวถึงอย่างลอย ๆ) ในแหล่งอ้างอิงที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ, เชื่อถือได้, เป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ซึ่งเป็นอิสระจากหัวเรื่อง (โปรดดูที่แนวทางว่าด้วยความโดดเด่นของเว็บไซต์) ก่อนจะส่งบทความอีกครั้ง คุณควรใส่แหล่งอ้างอิงที่ตรงกับเงื่อนไขดังกล่าวเพิ่มเติม (โปรดดู ความช่วยเหลือทางเทคนิค และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยง) หากไม่มีแหล่งอ้างอิงอื่นมาเพิ่มเติม หัวข้อดังกล่าวก็อาจไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย |
ความคิดเห็น: วิกิพีเดียมิใช่ที่รวบรวมข้อมูลจิปาถะ โปรดตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป Just Sayori OK? (have a chat) 21:11, 15 พฤษภาคม 2565 (+07)
ความคิดเห็น: ไม่มีอ้างอิง เขียนไม่เว้นวรรค กรุณาศึกษาการเขียนที่ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน kaoavi ピンク (คุย) 09:17, 2 พฤษภาคม 2565 (+07)
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ PSTPK. (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 3 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
แสบคูณสอง | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ |
พัฒนาโดย | บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด |
เสนอโดย | |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง |
|
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอ กันตนา |
ความยาวตอน | 60 นาที , 120 นาที , 75 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 |
ออกอากาศครั้งแรก | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 |
ออกอากาศ | 1 กุมภาพันธ์ 2540 – 11 มกราคม 2544 |
แสบคูณสอง เป็นรายการเกมโชว์ของ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ถึง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 ถึง 11 มกราคม พ.ศ. 2544
ประวัติ[แก้]
แสบคูณสอง เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์รายการแรกของ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[1] ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540) เวลา 14.30 น. ถึง 15.30 น. ต่อมารายการแสบคูณสองได้ย้ายวันออกอากาศไปเป็นทุกคืนวันจันทร์ พร้อมทั้งได้ขยายเวลา เพิ่มเกม เพิ่มของรางวัลให้มากขึ้น โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540[2] เวลา 22.00 น. ถึง 00.00 น. (ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม - 29 กันยายน พ.ศ. 2540) และในปีเดียวกันได้ย้ายวันออกอากาศไปเป็นทุกคืนวันศุกร์ โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540[3] (ตั้งแต่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541) และในปี 2541 รายการแสบคูณสอง ได้ย้ายทั้งวัน เวลาออกอากาศ และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในคืนวันพฤหัสบดี โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541[4] (ตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544) และได้ออกอากาศเป็นตอนสุดท้ายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 แล้วถูกแทนที่ด้วยรายการ เกมพันหน้า ซึ่งเป็นรายการในบริษัทเดียวกัน
พิธีกร[แก้]
พิธีกร | ||||
---|---|---|---|---|
สมาชิก | ชื่อในวงการ | ช่วงระหว่าง | หมายเหตุ | |
เกียรติ กิจเจริญ | ซูโม่กิ๊ก | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | ||
ชาญณรงค์ ขันทีท้าว | ติ๊ก กลิ่นสี | เป็นทั้งพิธีกร และนักแสดงในช่วงละครแสบ |
ชื่อรายการ[แก้]
รายการ แสบคูณสอง ได้ปรับเปลี่ยนชื่อมาแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะคงคำว่า แสบคูณสอง ไว้เสมอ โดยมีรายชื่อดังนี้
ชื่อรายการ | ||
---|---|---|
ชื่อ | ช่วงระหว่าง | ระยะเวลา |
แสบคูณสอง | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2542 | 2 ปี 1 เดือน 24 วัน |
แสบคูณสอง แลกหมัด[5] | 1 เมษายน พ.ศ. 2542 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | 9 เดือน |
แสบคูณสอง ยกแก๊ง | 6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | 1 ปี 5 วัน |
สถานีที่ออกอากาศ[แก้]
สถานีออกอากาศ | ||
---|---|---|
สถานีออกอากาศ | ช่วงระหว่าง | ระยะเวลา |
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | 1 ปี 6 เดือน |
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | 3 กันยายน พ.ศ. 2541 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | 3 ปี 4 เดือน 11 วัน |
นักแสดงในรายการ[แก้]
นักแสดงหลัก | ||||
---|---|---|---|---|
สมาชิก | ชื่อในวงการ | ช่วงระหว่าง | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ | เท่ง เถิดเทิง | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | 4 ปี 11 เดือน 10 วัน | ช่วงแรกเป็นผู้นำของปริศนาออกมา ต่อมาได้ไปเป็นนักแสดงในละครแสบ |
กอบโชค คล้ายสำริด | เฉื่อย เถิดเทิง | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | 4 ปี 10 เดือน 27 วัน | |
นพดล ทรงแสง | จิ้ม ชวนชื่น | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | 2 ปี 6 เดือน 28 วัน | |
ดนัย ศรีภิญโญ | แดนนี่ ศรีภิญโญ | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | 3 ปี 4 เดือน 14 วัน | |
ชูเกียรติ เอี่ยมสุข | นุ้ย เชิญยิ้ม | 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | 11 เดือน 9 วัน | |
อดีตนักแสดงในรายการ และนักแสดงสมทบ | ||||
สมาชิก | ชื่อในวงการ | ช่วงระหว่าง | รับหน้าที่แทน | หมายเหตุ |
เกมศักดิ์ แจ้งทิพย์นาง | เหลือเฟือ มกจ๊ก | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ถึง 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 | นักแสดงสมทบในส่วนนี้ จะเป็นนักแสดงที่มาเล่นเป็นครั้งคราว มาร่วมเล่นละครหรือกรณีที่มาเล่นแทนนักแสดงหลักที่ไม่สามารถมาเล่นละครได้ | |
ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข | โหน่ง ชะชะช่า | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | เท่ง เถิดเทิง | |
ชำนาญ ไชยเสนา | ชูศรี เชิญยิ้ม | 15 กันยายน พ.ศ. 2540 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | ||
เจริญพร อ่อนละม้าย | โก๊ะตี๋ อารามบอย | 19 เมษายน พ.ศ. 2540 , 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 | ||
อาฉี เสียงหล่อ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |||
อาคม ปรีดากุล | ค่อม ชวนชื่น | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2540 , 19 ธันวาคม พ.ศ. 2540 , 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | จิ้ม ชวนชื่น นุ้ย เชิญยิ้ม | |
จ๊ะเอ๋ เชิญยิ้ม | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และ 8 กันยายน พ.ศ. 2540 | |||
จาตุรงค์ พลบูรณ์ | จาตุรงค์ มกจ๊ก | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 , 28 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | จิ้ม ชวนชื่น | |
ศรสุทธา กลั่นมาลี | ถั่วแระ เชิญยิ้ม | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และ 22 เมษายน พ.ศ. 2542 | เท่ง เถิดเทิง | |
นักแสดงรับเชิญ | ||||
สมาชิก | ชื่อในวงการ | วันที่ปรากฏ | รับหน้าที่แทน | หมายเหตุ |
พงษ์ศักดิ์ ชูศรี | ปลาคาร์ฟ เชิญยิ้ม | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 | นักแสดงรับเชิญในส่วนนี้ จะเป็นนักแสดงที่มาร่วมเล่นละครหรือกรณีที่มาเล่นแทนนักแสดงหลักที่ไม่สามารถมาเล่นละครได้ | |
วลัชณัฏฐ์ ประภานันยศอนันต์ | หยอง ลูกหยี | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | ||
อุดม ทรงแสง | อุดม ชวนชื่น | 3 เมษายน พ.ศ. 2541 | ||
แสงดาว ทรงแสง | จอย ชวนชื่น | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 | ||
นิรัญ ช้างกลาง | โชเล่ย์ ดอกกระโดน | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | ชูศรี เชิญยิ้ม | |
อภิรดี ภวภูตานนท์ | แก้ว อภิรดี | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2541 | ||
เฉลิม ปานเกิด | เจี๊ยบ เชิญยิ้ม | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 | นุ้ย เชิญยิ้ม |
วันและเวลาออกอากาศ[แก้]
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | วัน | เวลา | ระยะออกอากาศ | ช่วงระหว่าง |
---|---|---|---|---|
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 | เสาร์ | 14.30 - 15.30 น. | 60 นาที | 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540 |
จันทร์ | 22.00 - 24.00 น. | 120 นาที | 5 พฤษภาคม - 29 กันยายน พ.ศ. 2540 | |
ศุกร์ | 22.20 - 24.20 น. | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | ||
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | พฤหัสบดี | 22.20 - 23.35 น. | 75 นาที | 3 กันยายน พ.ศ. 2541 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 |
ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]
รูปแบบของผู้แข่งขันในยุคแรก จะเป็นแบบ 3 คนต่อสัปดาห์ (ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2540 โดยในแต่ละสัปดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันชาย 2 คน และหญิง 1 คน บางสับดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันหญิง 2 คน ชาย 1 คน หรือบางสัปดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันหญิง 3 คน หรือ ชาย 3 คน) ต่อมา (ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม 2540 - 18 มีนาคม 2542) ก็ได้ปรับรูปแบบเป็น 5 คนต่อสัปดาห์ ยกเว้นบางเทปที่มีการลดผู้แข่งขันลง เนื่องจากมีรายการพิเศษของช่อง พอเข้ายุคแลกหมัด ผู้แข่งขันจะมีสัปดาห์ละ 2 คน (ตั้งแต่ 1 เมษายน - 17 มิถุนายน 2542) ต่อมา (ตั้งแต่ 24 มิถุนายน - 23 ธันวาคม 2542) ได้ปรับรูปแบบเป็นทีม แบ่งป็นทีมละ 2 คนต่อสัปดาห์ พอมาถึงยุคยกแก๊ง ก็กลับมาใช้รูปแบบ 3 คนต่อสัปดาห์เหมือนยุคแรก
เกมในรายการ[แก้]
ในส่วนของเกมในรายการแสบคูณสอง นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรกเริ่ม (ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540) , ยุคที่ 2 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2542) ยุคที่ 3 [แลกหมัด (1 เมษายน - 30 เมษายน พ.ศ. 2542)] และยุคสุดท้าย [ยกแก๊ง (6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544)] โดยแต่ละรูปแบบจะเป็นดังนี้
ยุคแรก (1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540)[แก้]
เกมในรายการ | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แสบปริศนา | 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540 | ในเกมแสบปริศนานี้จะมีของปริศนาทั้งหมด 2 ชิ้น กติกาก็คือ ผู้แข่งขันจะต้องปิดตาเพื่อทำการทายของปริศนาในแต่ละชิ้น โดยในแต่ละชิ้น เท่ง เถิดเทิง จะเป็นผู้นำของปริศนาออกมาพร้อมคำเฉลย ต่อมาจะเป็นละครสั้นๆ 1 เรื่อง วิธีการถามคือ ผู้แข่งขันต้องถามคำถามแล้วต้องต่อท้ายด้วยว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ สามารถถามได้สูงสุด 5 คำถาม
ถ้าพิธีกรบอกว่า ใช่ จะสามารถถามต่อได้ แต่ถ้าพิธีกรบอกว่า ไม่ใช่ สิทธิ์ในการถามคำถามจะตกเป็นของอีกคนทันที โดยการถามนั้นจะถามไปเรื่อยๆ จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีผู้ที่ทายของได้ถูกต้อง ผู้ที่ทายถูกจะเข้ารอบทันที โดยในรอบนี้จะมีผู้เข้ารอบ 2 คน ผู้ตกรอบ 1 คน โดยผู้ที่ตกรอบ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท |
|
แสบเจาะยาง | 1 กุมภาพันธ์ - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 | ในเกมแสบเจาะยาง จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีเลข 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 อย่างละ 1 แผ่นป้าย เลข 0 4 แผ่นป้าย และจุดทศนิยม (.) 2 แผ่นป้าย โดยให้ผู้แข่งขันเลือกแผ่นป้าย 3 แผ่นป้าย
โดยการเลือกนั้นจะเลือกให้ฝั่งตรงข้าม พยายามให้ฝั่งตรงข้ามมีคะแนนน้อยกว่าเรา โดยจะมีเลข 1 เป็นเลขตัวตั้ง โดยการวางนั้น จะเลือกวางข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้ ผู้ที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป ส่วนผู้ที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เข้ารอบทันที โดยผู้ที่ตกรอบ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท |
ใช้เพียงแค่ 2 เทปเท่านั้น คือวันที่ 1 และ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 |
แสบไม่รู้ตัว | 15 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540 | กติกาคือ จะมีแผ่นป้าย 12 แผ่นป้าย โดยในแต่ละแผ่นป้ายจะมีคำใบ้ คำใบ้ละ 1 คำใบ้ กล่าวคือ จะมีคำใบ้ทั้งหมด 12 คำใบ้ โดยแต่ละคำใบ้จะเกี่ยวข้องกับบุคคลปริศนาทั้งหมด โดยผู้ที่ทายจะมีเวลาพูดชื่อดาราภายใน 5 วินาที เกมจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีผู้ที่พูดชื่อดาราออกมาถูกต้อง ผู้ที่ทายถูกต้องจะเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที ส่วนผู้ที่ทายไม่ได้จะต้องตกรอบไป ต่อมาจะให้ผู้ที่ตกรอบไปสะสมทองคำ | เริ่มใช้ครั้งแรกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 |
ยุคที่ 2 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2542)[แก้]
เกมในรายการ | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แสบพบญาติ | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2542 | ในเกมนี้ จะมีดารารับเชิญออกมาสัปดาห์ละ 1 คน โดยทางรายการจะเรียกดารารับเชิญว่า แสบพบญาติ โดยดารารับเชิญจะพาญาติของตัวเองมาทั้งหมด 4 ท่าน (ตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 จะมีญาติของดารารับเชิญเหลือเพียง 3 ท่าน) โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนน ข้อที่ 1 กับ ข้อที่ 2 มี 1 คะแนน ข้อที่ 3 กับข้อที่ 4 มี 2 คะแนน รวมทั้งสิ้น 6 คะแนน
โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราวจากญาติของดาราที่พามา แล้วต้องทายว่า ญาติที่ดารารับเชิญพามานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม โดยผู้ที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ได้ปรับเปลี่ยนคะแนนเป็นดังนี้ ข้อที่ 1 กับ ข้อที่ 2 มี 1 คะแนน ข้อที่ 3 มี 2 คะแนน และข้อที่ 4 มี 4 คะแนน รวมทั้งสิ้น 8 คะแนน โดยที่ผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ 8 คะแนนเต็ม จะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 5,000 บาท (ผู้สนับสนุนที่มอบเงินรางวัลพิเศษในรอบนี้คือ ร้านอาหารเกาะเกร็ด ต่อมาเป็นหมากฝรั่งคิดคิด เพื่อนเคี้ยว น้ำผลไม้ยูเอฟซี บะหมี่โคคารสต้มยำกุ้ง ผงซักฟอกโอโม โรงเรียนสอนดำน้ำมารีนไดร์พ และ ทิชชูซิลค์ คอตตอน ทวินโรล) แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าดารารับเชิญสามารถทำให้ผู้แข่งขันท่านใดได้ 0 คะแนน ดารารับเชิญจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 5,000 บาท (ผู้สนับสนุนที่มอบเงินรางวัลให้ดารารับเชิญคือ เครื่องสำอางโอเปร่า เครือข่ายโทรศัพท์เวิลด์โฟน 1800 ดิจิตอล) |
โดยในรูปแบบแรก พิธีกรจะให้คำใบ้ครั้งละ 1 คำใบ้ ต่อมาจะเป็นคำใบ้จากผู้สนับสนุนหลักในช่วง 10 คำใบ้ และปรับเปลี่ยนมาเป็นการเลอกคำใบ้จากนักแสดงในรายการ 5 คน โดยจะมีคนละ 2 คำใบ้ โดยเลือกแล้วไม่สามารถเลือกซ้ำได้ ต้องเลือกจนครบ 5 คนก่อนถึงจะเลือกได้อีก 1 ครั้ง (บางสัปดาห์จะมีถึง 12 คำใบ้ จากนักแสดงในรายการ 6 คน) |
แสบปริศนา | ในเกมแสบปริศนานี้รูปแบบจะต่างจากยุคแรกเล็กน้อย กติกาก็คือ ผู้แข่งขันจะถูกแบ่งเป็น 2 ทีม แล้วทำการทายของปริศนาในแต่ละชิ้น โดยในแต่ละชิ้น จะมีละครสั้นๆ 1 เรื่อง วิธีการถามคือ ผู้แข่งขันต้องถามคำถามแล้วต้องต่อท้ายด้วยว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ สามารถถามได้สูงสุด 5 คำถาม
ถ้าพิธีกรบอกว่า ใช่ จะสามารถถามต่อได้ แต่ถ้าพิธีกรบอกว่า ไม่ใช่ สิทธิ์ในการถามคำถามจะตกเป็นของอีกทีมทันที โดยการถามนั้นจะถามไปเรื่อยๆ จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีทีมที่ทายของได้ถูกต้อง ทีมที่ทายถูกจะเข้ารอบทันที ส่วนทีมที่ตกรอบ จะไดรับเงินรางวัล 30,000 บาท (คนละ 15,000 บาท ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็น ผู้ที่ตกรอบ จะได้ทองที่สะสมไว้ก่อนหน้านั้นกลับบ้านไป) | ||
แสบไม่รู้ตัว | 5 พฤษภาคม - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | เกมนี้สืบเนื่องมาจากยุคแรก กติกาคือ จะมีแผ่นป้าย 12 แผ่นป้าย โดยในแต่ละแผ่นป้ายจะมีคำใบ้ คำใบ้ละ 1 คำใบ้ กล่าวคือ จะมีคำใบ้ทั้งหมด 12 คำใบ้ โดยแต่ละคำใบ้จะเกี่ยวข้องกับบุคคลปริศนาทั้งหมด โดยผู้ที่ทายจะมีเวลาพูดชื่อดาราภายใน 5 วินาที เกมจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีผู้ที่พูดชื่อดาราออกมาถูกต้อง ผู้ที่ทายถูกต้องจะเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที ส่วนผู้ที่ตกรอบจะต้องไปสะสมทองคำต่อไป |
ยุคแลกหมัด (1 เมษายน พ.ศ. 2542 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542)[แก้]
เกมในรายการ | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แสบพบญาติ | 1 เมษายน พ.ศ. 2542 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ในเกมนี้จะต่างจากยุคที่ 2 เล็กน้อย โดยจะมีญาติของผู้เข้าแข่งขันออกมาสัปดาห์ละ 2 คน โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนน ข้อที่ 1 มี 1 คะแนน ข้อที่ 2 มี 2 คะแนน รวมทั้งสิ้น 3 คะแนน โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราวจากญาติของดาราที่พามา แล้วต้องทายว่า ญาติที่ดารารับเชิญพามานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม | ตั้งแต่ 24 มิถุนายน ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 จะใช้รูปแบบเดียวกับยุคที่ 2 แต่จะต่างตรงที่จะมีดารารับเชิญออกมาสัปดาห์ละ 2 คน และพาญาติออกมา 1 คน |
แสบไม่รู้ตัว | เกมนี้จะต่างจากยุคแรกและยุคที่ 2 โดยสิ้นเชิง กติกาคือ จะมีละคร 1 เรื่อง แล้วจะพาบุคคลออกมา 2 คน (บุคคลที่ทางรายการพามาในแต่ละสัปดาห์ เช่น บาร์เทนเนอร์ คนเจียระไนเพชร เป็นต้น) โดยจะต้องฟังเรื่องราวคร่าวๆจากบุคคลที่พามา แล้วพิธีกรเลือกมา 1 คน ว่าบุคคลที่พามา (บุคคลที่ทางรายการพามาในแต่ละสัปดาห์) พิธีกร ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม
โดยในรอบนี้มีคะแนน 3 คะแนน โดยทั้ง 2 รอบ ผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ 6 คะแนนเต็ม จะได้รับเงินรางวัลพิเศษจากทางรายการ 5,000 บาท (ต่อมามีผู้สนับสนุนที่มอบเงินรางวัลพิเศษในรอบนี้คือ ซุปปลาทะเลสกัสตราซีเบส จากสุพรีเดิร์ม) แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าดารารับเชิญสามารถทำให้ผู้แข่งขันท่านใดได้ 0 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 5,000 บาท (ผู้สนับสนุนที่มอบเงินรางวัลให้ดารารับเชิญคือ เครื่องสำอางโอเปร่า) ต่อมาเปลี่ยนกติกาเป็นถ้าทีมใดตกรอบ จะได้เงินรางวัล 20,000 บาท (ผู้สนับสนุนที่มอบเงินรางวัลให้ดารารับเชิญคือ เครื่องสำอางโอเปร่า ต่อมาเป็นสัญญาณกันขโมย ABT) |
โดยในรูปแบบแรก ผู้ที่ซักถามบุคคลที่พามาจะแบ่งเป็น บุคคลคนที่ 1 อยู่คู่กับเท่งและจิ้ม บุคคลคนที่ 2 อยู่คู่กับติ๊กและแดนนี่ ต่อมาพิธีกรจะเป็นคนซักถาม และนักแสดงในรายการจะเป็นผู้สาธิตในบางสัปดาห์ |
ยุคยกแก๊ง (6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544)[แก้]
เกมในรายการ | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เส้นผมบังภูเขา | 6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | ในเกมนี้เป็นเกมใหม่ของแสบคูณสอง ยกแก๊ง โดยจะมีคำถาม 5 คำถาม (ชุดคำถามสนับสนุนโดย แชมพูปาล์มโอลีฟ ต่อมาเป็น ผลิตภัณฑ์ตราสก็อต) แล้วให้ผู้แข่งขันเลือกมา 1 คำถาม โดยในแต่ละคำถามจะเป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปทั้งสิ้น แล้วต้องทายว่า ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ในเกมนี้มีคะแนน 1 คะแนน | รูปแบบจะคล้ายคลึง กับรายการ แฟนตาซีมีหาง ปี 2543 แต่รูปแบบนั้น พอหลังจากทายคำถามเสร็จ จะต้องมาเปิดแผ่นป้ายเพื่อลุ้นคะแนนเฉพาะผู้ที่ทายถูก |
แก๊งลูกหมู | ในเกมนี้เป็นเกมใหม่ที่ปรับเปลี่ยนมาจากเกมแสบไม่รู้ตัวของยุคแลกหมัด โดยจะเปิดตัวแก๊งลูกหมู (ในช่วงแรกๆ จะมี เท่ง , ไทด์ , ธงชัย หลังๆ เหลือแค่ ไทด์และธงชัย) แล้วแก๊งลูกหมูจะพาบุคคลออกมาทั้งหมด 3 ท่าน (บุคคลที่เป็นอาชีพที่หายาก เช่น คนทำบาตรพระ หมอทำขวัญ เป็นต้น)
โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนนข้อละ 1 คะแนน รวมทั้งสิ้น 3 คะแนน โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราวคร่าวๆจากบุคคลที่แก๊งลูกหมูที่พามา แล้วต้องทายว่า บุคคลที่แก๊งลูกหมูพามานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม |
||
แสบพบญาติ (แสบ BIG STORY) |
ในเกมนี้จะต่างจากยุคอื่นๆ โดยสิ้นเชิง โดยจะมีละคร 1 เรื่อง แล้วจะพาดารารับเชิญออกมา โดยทางรายการจะเรียกดารารับเชิญว่า แสบพบญาติ โดยดารารับเชิญจะพาญาติของตัวเองมาทั้งหมด 3 คน
โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนนข้อละ 1 คะแนน รวมทั้งสิ้น 3 คะแนน โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราว จากญาติของดาราที่พามา แล้วต้องทายว่า ญาติที่ดารารับเชิญพามานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม |
ในรูปแบบแรกดารารับเชิญ จะพาญาติออกมา 1 คน แต่มีคะแนน 3 คะแนน | |
แสบ MY STORY | ในเกมนี้จะเป็นการทายเรื่องราวส่วนตัวของ แสบพบญาติ ที่มาในแต่ละสัปดาห์ แล้วต้องทายว่า เรื่องราวส่วนตัวของแสบรับเชิญนั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม โดยทั้ง 3 รอบ ผู้ใดที่ตกรอบ จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท (ผู้สนับสนุนที่มอบเงินรางวัลพิเศษในรอบนี้คือ สก็อตไบรท์ 3M) |
รอบวัดดวง[แก้]
ในรอบนี้จะใช้สำหรับผู้ที่ทำคะแนนเสมอกัน 2 คนขึ้นไป โดยในรูปแบบแรกจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 6 แผ่นป้าย โดยจะมีเลข 0 , 1 , 2 , 3 , 4 และ 5 โดยเลือกมาคนละ 1 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันคนใดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด จะต้องตกรอบไป และได้เงินรางวัล 10,000 บาทกลับบ้านไป ซึ่งเกมนี้จะเล่นหลังรอบแสบพบญาติ ถ้ามีกรณีคะแนนเสมอกันมากกว่า 1 คน
ต่อมาในยุคแลกหมัด มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยตามรูปแบบรายการ โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 3 แผ่นป้าย โดยจะมีเลข 0 , 1 และ 2 โดยผู้เข้าแข่งขันคนใด หรือทีมใด เปิดได้คะแนนมากกว่า จะได้เข้ารอบไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบ จะได้รับทองคำที่สะสมกลับบ้านไป ต่อมาในรูปแบบทีม ทีมที่ตกรอบ จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ซึ่งเกมนี้จะเล่นหลังรอบแสบไม่รู้ตัว ถ้ามีกรณีคะแนนเสมอกันทั้ง 2 ทีม
รอบสะสมเงินรางวัล[แก้]
รอบสะสมเงินรางวัล[แก้]
รอบสะสมเงินรางวัลจะแบ่งเป็น 2 รอบ โดยจะสะสมเงินรางวัลให้กับผู้ที่เข้าไปในรอบสุดท้ายได้ โดยจะแบ่งเป็นการสะสมเงินรางวัล กับสะสมทอง [เดิมจะให้ผู้ที่ตกรอบในรอบแสบไม่รู้ตัว / แสบปริศนา (ยุคแรก) มาสะสมทอง ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นการช่วยกันสะสมทอง และผู้ที่ตกรอบในรอบแสบพบญาติ (ยุคแรก) , รอบแสบไม่รู้ตัว (ยุคแลกหมัด) จะได้รับทองคำที่สะสมกลับบ้านไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นการสะสมให้กับผู้ที่ชนะในรอบแสบไม่รู้ตัว (ยุคแลกหมัด) และปรับเปลี่ยนเป็นการสะสมเงินรางวัลทั้ง 2 รอบในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2542]
รอบสะสมเงินรางวัล (สปอนเซอร์หลัก) | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เฮง-ซวย[6] | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2541 | รอบเฮง-ซวยนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย เฮง ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย ซวย 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเฮง จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอเฮงครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 100,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอซวย จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอซวย ถ้าเปิดเจอซวยครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท |
ในเกมนี้ เคยมีเหตุการณ์แจ๊กพอตแตก 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 |
สิบล้อเบรกแตก (จักรยานเฟสสัน)[7] | 3 เมษายน พ.ศ. 2541 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2541 | รอบสิบล้อเบรกแตกนี้ มีผู้สนับสนุนแจกรางวัล 100,000 บาทคือ จักรยานเฟสสัน โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย เฟสสัน ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย สิบล้อเบรกแตก 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเฟสสัน จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอเฟสสันครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 100,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอสิบล้อเบรกแตก จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอสิบล้อเบรกแตก ถ้าเปิดเจอสิบล้อเบรกแตกครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท |
|
โซฟี-ซีโฟ
(ผ้าอนามัยโซฟี)[8] |
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 | รอบโซฟี-ซีโฟนี้ มีผู้สนับสนุนแจกรางวัล 100,000 บาทคือ ผ้าอนามัยโซฟี โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย โซฟี ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย [แบ่งเป็นแบบกลางวัน (สีชมพู) 5 แผ่นป้าย และแบบกลางคืน (สีน้ำเงิน) 5 แผ่นป้าย] และป้าย ระเบิด C-4 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอโซฟี จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอโซฟีครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 100,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอระเบิด C-4 จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอระเบิด C-4 ถ้าเปิดเจอระเบิด C-4 ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท ต่อมาเมื่อเข้ายุคแลกหมัด มีการเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอโซฟี จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอโซฟีครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอระเบิด C-4 จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอระเบิด C-4 ถ้าเปิดเจอระเบิด C-4 ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 25,000 บาท |
|
เจ้างูน้อย (โทรศัพท์ NOKIA 5110 และ NOKIA 5130)[9] | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 - กันยายน พ.ศ. 2542 | รอบเจ้างูน้อยนี้ มีผู้สนับสนุนแจกรางวัล 50,000 บาท คือ โทรศัพท์มือถือโนเกีย โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย NOKIA ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย (จะเป็นสีของโทรศัพท์มือถือโนเกียที่มีขาย ณ ขณะนั้น คือ สีแดง สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเงิน) และป้าย เจ้างูน้อย 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอโนเกีย จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอโนเกียครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเจ้างูน้อยจะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอเจ้างูน้อย ถ้าเปิดเจอเจ้างูน้อย ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 25,000 บาท |
|
ลิโพวิตันดี - ลิโพพลัส | กันยายน พ.ศ. 2542 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | รอบลิโพวิตันดี-ลิโพพลัสนี้ มีผู้สนับสนุนแจกรางวัล 50,000 บาท คือ เครื่องดื่มลิโพวิตันดี โดยกติกาจะต่างจากเกมสะสมเงินรางวัลอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็น ลิโพวิตันดี 8 แผ่นป้าย และ ลิโพพลัส 4 แผ่นป้าย
โดยจะมีเงินตั้งต้นที่ 50,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอลิโพวิตันดี จะถูกหักเงินรางวัลออกไปใบละ 5,000 บาท จนกว่าจะเจอลิโพพลัสครบทั้ง 4 แผ่นป้าย แต่ถ้าเปิดเจอลิโพพลัสครบ 4 ใบโดยที่ไม่เจอลิโพวิตันดี จะได้รับเงินรางวัลตั้งต้นสะสมไป 50,000 บาท |
รูปแบบจะเหมือนกับรอบตามล่าเอเลี่ยนในรายการ เกมจารชน |
น้ำมันพืชหยก | กันยายน พ.ศ. 2542 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | รอบน้ำมันพืชหยกนี้ มีผู้สนับสนุนแจกรางวัล 50,000 บาทคือ น้ำมันพืชหยก โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย น้ำมันพืชหยก ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอน้ำมันพืชหยก จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอน้ำมันพืชหยกครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแสบจะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอแสบ ถ้าเปิดเจอแสบ ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 25,000 บาท |
ในเกมนี้มาแทนที่รอบสะสมทอง โดยจะเปลี่ยนเป็นการสะสมเงินรางวัลทั้ง 2 รอบ |
รอบตกรอบ / รอบสะสมทอง[แก้]
รอบตกรอบจะเป็นการสะสมทองเฉพาะผู้ที่ตกรอบในรอบแสบไม่รู้ตัว (ยุคแรก) ต่อมาปรับเปลี่ยนให้ผู้ที่ตกรอบในรอบแสบปริศนา และปรับเปลี่ยนโดยการช่วยกันสะสม โดยผู้ที่ตกรอบในรอบแสบปริศนา จะได้รับทองคำที่สะสมไปก่อนหน้านั้นไป
รอบสะสมเงินรางวัล | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เต่าทองเท็น - เท็น[10] | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2542 | รอบเต่าทองเท็น-เท็นนี้ มีผู้สนับสนุนแจกทองคำหนัก 10 บาทคือ เต่าทองเท็น-เท็น โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย เต่าทองเท็น-เท็น ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเต่าทองเท็น-เท็น จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท ถ้าเปิดเจอเต่าทองเท็น-เท็นครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 10 บาท แต่ถ้าเปิดมาเจอแสบ ก็จะได้ทองคำที่สะสมก่อนหน้านั้นไป (แต่ในบางกรณีพิธีกรอาจจะมีการแถมให้โดยการเปิดแผ่นป้ายเพิ่ม แล้วแต่ความประสงค์ของรายการ หรือถ้าในกรณีผู้แข่งขันเปิดเจอแสบเป็นใบแรก พิธีกรอาจจะแถมให้โดยการเปิดเจอแสบอีก 1 ใบ เพื่อที่จะได้ทองคำหนัก 5 บาท) |
ในรูปแบบแรกป้ายตัวหยุดจะเป็นหน้ากิ๊ก 1 แผ่นป้าย กับหน้าติ๊ก 1 แผ่นป้าย |
BLACKCAT แบล็คไทย | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2541 | รอบ BLACKCAT นี้ มีผู้สนับสนุนแจกทองคำหนัก 20 บาทคือ วิสกี้ไทย BLACKCAT โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย BLACKCAT ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ BLACKCAT จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท ถ้าเปิดเจอ BLACKCAT ครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 20 บาท แต่ถ้าเปิดมาเจอแสบ ก็จะได้ทองคำที่สะสมก่อนหน้านั้นไป |
ในบางกรณีพิธีกรอาจจะมีการแถมให้โดยการเปิดแผ่นป้ายเพิ่ม แล้วแต่ความประสงค์ของรายการ หรือถ้าในกรณีผู้แข่งขันเปิดเจอแสบเป็นใบแรก พิธีกรอาจจะแถมให้โดยการเปิดเจอแสบอีก 1 ใบ เพื่อที่จะได้ทองคำหนัก 10 บาท |
น้ำมันพืชมรกต[11] | 7 มกราคม พ.ศ. 2542 - กันยายน พ.ศ. 2542 | รอบ น้ำมันพืชมรกต นี้ มีผู้สนับสนุนแจกทองคำหนัก 20 บาทคือ น้ำมันพืชมรกต โดยกติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย น้ำมันพืชมรกต ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย
โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ น้ำมันพืชมรกต จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท ถ้าเปิดเจอ น้ำมันพืชมรกต ครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 20 บาท แต่ถ้าเปิดมาเจอแสบ ก็จะได้ทองคำที่สะสมก่อนหน้านั้นไป ต่อมาเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแสบจะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอแสบ ถ้าเปิดเจอแสบ ครบ 2 ใบ จะได้รับทองคำหนัก 10 บาท ต่อมาเมื่อเข้ายุคแลกหมัด มีการเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอน้ำมันพืชมรกต จะได้รับทองคำสะสม 1 บาท ถ้าเปิดเจอน้ำมันพืชมรกตครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำสะสมหนัก 10 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแสบ จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอแสบ ถ้าเปิดเจอแสบ ครบ 2 ใบ จะได้รับทองคำสะสมหนัก 5 บาท |
ในบางกรณีพิธีกรอาจจะมีการแถมให้โดยการเปิดแผ่นป้ายเพิ่ม แล้วแต่ความประสงค์ของรายการ |
รอบสุดท้าย[แก้]
สปอนเซอร์หลัก | ช่วงระหว่าง | กติกา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เครื่องดื่มตรา ซัมเมอร์
|
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ถึง 25 มีนาคม พ.ศ. 2542 | กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินตั้งต้นให้ 10,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะคูณ 2 ทันที เช่น จากเดิมเงินตั้งต้น 10,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะหาร 2 ทันที เช่น จากเดิมเงินตั้งต้น 10,000 บาท ลดลงเหลือ 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,280,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 640,000 บาท ให้กับผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมา
ต่อมาปรับกติกาเล็กน้อย กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินตั้งต้นให้ 20,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะคูณ 2 ทันที เช่น จากเดิมเงินตั้งต้น 20,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 40,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะหาร 2 ทันที เช่น จากเดิมเงินตั้งต้น 20,000 บาท ลดลงเหลือ 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,560,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,280,000 บาท ให้กับผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมา ต่อมาปรับกติกาใหม่ กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินตั้งต้นให้ 20,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 20,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมา ต่อมาปรับกติกาเล็กน้อย กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยเงินที่ได้ในรอบนี้จะไปรวมกับเงินที่สะสมในรอบก่อนๆ โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 20,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมา |
|
เครื่องดื่มลิปตัน ไอซ์ที รสเลมอน และ รสพีช | 1 เมษายน พ.ศ. 2542 ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยเงินที่ได้ในรอบนี้จะไปรวมกับเงินที่สะสมในรอบก่อนๆ โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมา | ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2542 ได้กลับมาใช้กติกาเดิม |
แชมพูปาล์มโอลีฟ
|
6 มกราคม พ.ศ. 2543 ถึง 11 มกราคม พ.ศ. 2544 | กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยมีเงินตั้งต้นให้ 10,000 บาท ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 500,000 บาท ให้กับผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนมา |
ละครแสบ[แก้]
ละครแสบในรูปแบบแรก จะเป็นสถานการณ์จำลองเพื่อนำของชิ้นนี้ออกมา ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นละครแสบ (ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2540 จะมีละครแสบ 2 เรื่อง ต่อมาตั้งแต่ 5 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป ละครแสบจะมี 1 เรื่อง) โดยตอนสุดท้ายของแต่ละตอน จะเป็นการเกริ่นเกี่ยวกับสิ่งของชิ้นนั้น (ยุคแรก) , บุคคลที่พามาในอาชีพนั้น ๆ (แลกหมัด) , ดารารับเชิญ (ยกแก๊ง) ว่า ของชิ้นนี้มันคืออะไร บุคคลที่พามา ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ดารารับเชิญที่มาในแต่ละสัปดาห์จะเป็นใคร โดยรูปแบบจะเหมือนกับละคร 3 ช่า ในรายการ " ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า " (27 มกราคม 2542 - 28 สิงหาคม 2545)
แสบการกุศล[แก้]
แสบการกุศล เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2541 โดยตัวงานจะเป็นการนำของที่ดารามามอบให้ในรายการและมีการตั้งราคาของมาให้ประมูลกันในงาน และจะมีโชว์รายการ แสบคูณสอง ทุกอย่าง แต่จะแตกต่างที่ ผู้ที่มาร่วมงานในครั้งนั้น สามารถมาร่วมเล่นเกมกับรายการได้เลย โดยแสบการกุศลจัดขึ้นมาโดยหลักจะมี 4 ครั้ง และจะมี โดยสถานที่ที่จัดจะแตกต่างกัน ดังนี้
- ครั้งที่ 1 จัดงานที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ห้วยขวาง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม 2541
- ครั้งที่ 2 จัดงานที่ โรงภาพยนตร์ MAJOR CINEPLEX สาขารัชโยธิน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2542
- ครั้งที่ 3 จัดงานที่ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2542 (เนื่องจากของประมูลของดาราที่มาประมูลเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ยังไม่หมด)
- ครั้งที่ 4 จัดงานที่ โรงภาพยนตร์ MAJOR CINEPLEX สาขารัชโยธิน เมื่อวันเสาร์ที่ 29 และวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2543
การผลิตวีซีดี[แก้]
ในรายการ แสบคูณสอง ได้มีการผลิตวีซีดี โดยจะใช้ชื่อชุดว่า "ฮาล้นจอ" ซึ่งจะรวมละครแสบ ตั้งแต่ปี 2540 - 2543 ชุดละ 4 ตอน และแบบดีวีดี โดยจะใช้ชื่อชุดว่า "ฮาสะเทือน ตับตับตับ" โดยจะรวมไว้ชุดละ 4 ชุดย่อย 16 ตอน (เช่นเดียวกับรายการ เกมพันหน้า ที่มีการรวมละครพันหน้ามาผลิตเป็นวีซีดี) โดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์คือ บริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เช่นเดียวกับรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 1) - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 14).. แสบรับเชิญ : "วิลลี่ แมคอิททอช" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 35).. แสบรับเชิญ : "ญานี จงวิสุทธิ์" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 79).. แสบรับเชิญ : "โดม ปกรณ์ ลัม" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" แสบรับเชิญ : " กิ๊ก สุวัจนี " - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 37).. แสบรับเชิญ : "ยอดรัก สลักใจ" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 60).. แสบรับเชิญ : "ศรราม เทพพิทักษ์" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 88).. แสบรับเชิญ : "เต๋า สมชาย" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" แสบรับเชิญ : " ปู แบล็คเฮด " - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 3) - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 95).. แสบรับเชิญ : "โอ วรุฒ" - YouTube". www.youtube.com.
- ↑ "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 52).. แสบรับเชิญ : "นัท มีเรีย" - YouTube". www.youtube.com.
ก่อนหน้า | แสบคูณสอง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | ![]() |
แสบคูณสอง (1 กุมภาพันธ์ 2540 - 11 มกราคม 2544) |
![]() |
เกมพันหน้า |
แสบคูณสอง[แก้]
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 27 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|
- AfC submissions declined as not suitable for Wikipedia
- ฉบับร่างเรียงตามวันที่ส่ง/12 พฤษภาคม 2022
- AfC submissions declined as non-notable web content
- ฉบับร่างเรียงตามวันที่ส่ง/01 พฤษภาคม 2022
- ฉบับร่างเกี่ยวกับสื่อและละคร
- หน้าที่ใช้กล่องข้อมูลรายการโทรทัศน์ที่มีพารามิเตอร์ว่างที่ไม่รู้จัก
- ฉบับร่างรอตรวจ
- ฉบับร่างรอตรวจเรียงตามอายุ/6 วันก่อน
- ฉบับร่างเรียงตามวันที่ส่ง/23 พฤษภาคม 2022