ฉบับร่าง:เหตุการณ์ดินโคลนถล่มในอำเภอพิปูน พ.ศ. 2531

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: เขียนไม่เป็นสารานุกรม เหมือนรายงานข่าว อ้างอิงบางอ้างอิงใช้วิกิพีเดียอ้าง บางอ้างอิงเข้าถึงไม่ได้ Sry85 (คุย) 20:45, 25 กรกฎาคม 2566 (+07)

เหตุการณ์ดินโคลนถล่มในอำเภอพิปูน พ.ศ. 2531 หรือ เหตุการณ์ดินโคลนถล่มกะทูน เป็นเหตุการณ์ดินโคลนถล่มที่ใหญ่และสร้างความเสียหายมากที่สุดในประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ที่ ต.กะทูน และ ต.เขาพระ ในอำเภอพิปูน และหมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

เหตุการณ์ดินโคลนถล่มกะทูน
วันที่22 พฤศจิกายน 2531
ที่ตั้งอำเภอพิปูน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอบ้านนาสาร และ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เสียชีวิต700
ทรัพย์สินเสียหาย1,000 ล้านบาท
พื้นที่ภัยพิบัติโคลนถล่ม ต.กะทูน อ.พิปูนประมาณ สีขาวบนเขาคือพื้นที่ที่โคลนถล่ม สีขาวบนพื้นราบคือพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเดิมของชาวบ้าน โปรดสังเกตทางน้ำออกที่ลูกศรชี้

เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ผู้รอดชีวิตกล่าวว่าได้ยินเสียงดังมาจากภูเขาด้านหลัง ก่อนที่จะมีมวลน้ำมหาศาลพร้อมโคลน ก้อนหิน และท่อนซุง ไหลมาพร้อมน้ำป่าที่ไหลอย่างเชี่ยวกราด จากน้ำตกหนานน้ำฟุ้ง ก่อนที่จะมารวมกับคลองกะทูน และ คลองดินแดง ไหลบ่าเข้ามาในตัวเมืองกะทูน (สมัยนั้นกะทูนเป็นตำบลที่เจริญมากๆ คนท้องถิ่นมีการคาดการว่าหากตำบลกะทูนไม่เจอเหตุการณ์นี้อาจจะมีความเจริญกว่า อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ใกล้กันเสียอีก) พาดผ่านบ้านเรือนของประชาชนที่บ้างคนกำลังหลับอยู่ พืชสวนนาไร่สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่รอดชีวิตกล่าวว่าเขาเห็นคนลอยไปกับน้ำหรือจมน้ำหายสาบสูญต่อหน้าก็มี เมื่อเวลาผ่านไปได้ 4-6 วัน น้ำค่อยๆลดลง จนเห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ที่หมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา มีรายงานว่าน้ำมหาศาลได้ไหลเข้ามาในหมู่บ้านหมู่บ้านคีรีวง[1]จากคลองท่าดี น้ำตกวังไม้ปัก และ น้ำตกกินรี ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเช่นกัน ที่อำเภอบ้านนาสาร และ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็มีน้ำป่าไหลบ่าลงมาเช่นกันแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง พายุดีเพรสชั่น ในภาคใต้ที่ทำให้เกิดฝนตกในบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช และภาคใต้เป็นระยะเวลา 6-7 วันทำให้เกิดมวลน้ำที่สะสมบนเทือกเขานครศรีธรรมราชและเกิดดินโคลนถล่มขี้น[2] [3]พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกล่าวรายงานว่า "พังพินาศหมดเลยครับ เหลืออยู่อย่างเดียวคือเมรุเผาศพ"[4] แต่เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับท่อนซุง เพราะว่าท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำนั้นมีรอยเลื่อยและหมายเลขหมายอยู่บนท่อนซุง เมือตรวจสอบก็พบว่ามีสัมปทานป่าไม้บนเทือกเขานครศรีธรรมราช จึงมีการเรียกร้องและในที่สุดคระรัฐมนตรีในสมัยนั้นมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกสัมปทานป่าไม้ของไทย ยกเว้ยแต่สัมปทานทำไม้ป่าชายเลน ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 โดยให้ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จนทำให้การทำไม้สัมปทาน 276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ยุติลงโดยสิ้นเชิง และทำให้ต้นไม้ในป่าสัมปทานไม่ถูกตัดฟัน สามารถอนุรักษ์ป่าไม้สำหรับใช้สอยในอนาคตได้เพิ่มขึ้น[5]

แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นใน ต.กะทูน และ ต.เขาพระ เกินเยียวยาที่จะแก้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของชาวบ้าน ในการประสบเหตุการณ์สูญเสียครั้งนี้ เลยมีพระราชดำริให้กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำนี้ขึ้น 2 แห่งคือ อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน และ อ่างเก้บน้ำคลองดินแดง โดยสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2540 ครอบคลุมพื้นที่ต.กะทูน และ ต.เขาพระ ในอำเภอพิปูน ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคลองกะทูน ได้รับการขนานนามว่า สวิตเซอร์แลนด์แดนใต้ อีกทั้งใต้อ่างเก็บน้ำนี้ ในอดีตก็เคยเป็นบริเวณของตำบลกะทูนและบ้านเขาพระมาก่อนด้วยมาก่อนด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. หมู่บ้านโคลนถล่ม : ความจริงไม่ตาย (21 พ.ย. 61), สืบค้นเมื่อ 2023-07-24
  2. เพชรคงทอง, นันท์นภัส (2017-12-30). "แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยสีเขียว:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช". Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS). 14 (2): 89–104. doi:10.56261/jars.v14i2.116254. ISSN 2773-8868.
  3. "โคลนถล่ม", วิกิพีเดีย, 2022-02-08, สืบค้นเมื่อ 2023-07-24
  4. ข่าวดังข้ามเวลา พิปูนมหันตภัยโคลนถล่ม คลิปเต็มรายการ, สืบค้นเมื่อ 2023-07-24
  5. "E0 (Bluetooth)", SpringerReference, Springer-Verlag, สืบค้นเมื่อ 2023-07-24