ฉบับร่าง:รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ CommonsDelinker (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 2 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ.2567 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ |
ศาสนา | พุทธ |
การศึกษา | ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ (ปีการศึกษา 2522-2525)
ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การเมืองการปกครอง (ปีการศึกษา 2526-2532) ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิชาเอก สื่อสารมวลชน (ปีการศึกษา 2543-2547) |
อาชีพ |
|
เป็นที่รู้จักจาก |
|
รางวัล | ศิษย์เก่าผู้สร้างชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรอบ 70 ปี / บันทึกชื่ออยู่ในหอเกียรติยศศิษย์เก่า 1 ใน 999 ชื่อ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
นันทนา นันทวโรภาส ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา กลุ่มสื่อสารมวลชนและผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567[1] เป็นนักพูดและนักวิชาการด้านสื่อสารการเมือง เป็นผู้บุกเบิกองค์ความรู้ด้านสื่อสารการเมืองในประเทศไทย โดยก่อตั้งวิทยาลัยสื่อสารการเมืองขึ้นในปีพ.ศ.2548 เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย[2] เคยดำรงตำแหน่ง คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก เป็นเวลากว่า 19 ปี
ประวัติ
[แก้]ในอดีตเคยเป็นนักทอล์คโชว์ ในรายการทีวีวาที[3] ซึ่งเป็นรายการที่มีเนื้อหาเสียดสี ประชดประชันทางการเมือง ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงในเวลาเดียวกัน โดยมีกรรณิการ์ ธรรมเกษร เป็นผู้ดำเนินรายการ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ร่วมกับวิทยากรนักพูด อาทิ สุขุม นวลสกุล จตุพล ชมพูนิช วสันต์ พงษ์สุประดิษฐ์ พนม ปีย์เจริญ ฯลฯ
มีผลงานดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “การสื่อสารทางการเมือง : ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย” เป็นวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาการนำทฤษฎีการตลาดทางการเมือง มาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย จนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่ทำให้พรรคการเมืองอื่นๆ ได้นำเอากลยุทธ์การตลาดทางการเมือง มาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ในทุกระดับ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดในประเทศไทย ที่มิได้ใช้ “การตลาดทางการเมือง” ซึ่งต่อมาวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ได้จัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คชื่อ “ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด” โดยสำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน[4]
ด้วยความขาดแคลนตำราด้านสื่อสารการเมือง นันทนา นันทวโรภาส จึงได้เขียนตำราว่าด้วยทฤษฎีสื่อสารการเมือง ออกเผยแพร่เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ชื่อ “สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้”[5] เป็นตำราที่รวบรวมทฤษฎีด้านสื่อสารการเมือง และการทำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ ทำให้องค์ความรู้ด้านสื่อสารการเมือง เป็นที่แพร่หลายในหมู่นักศึกษา ปัญญาชนและนักการเมือง สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การสื่อสารทางการเมือง เป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ในสังคมไทย
นอกจากการทำหน้าที่สอนหนังสือแก่นักศึกษาปริญญาเอกและปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเกริกแล้ว ยังเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ด้านการสื่อสารทางการเมือง ให้แก่สถาบันอื่นๆ อาทิ สถาบันพระปกเกล้าฯ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฯลฯ และเป็นวิทยากรให้ความรู้ ทัศนะ มุมมอง วิพากษ์วิจารณ์ การเมือง ในรายการสนทนาการเมืองต่างๆ อาทิ มติชนทีวี เดอะสแตนดาร์ด ไทยรัฐทีวี เนชั่นทีวี ฯลฯ
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 70 ปี ได้มอบโล่เกียรติยศให้แก่ นันทนา นันทวโรภาส ในฐานะศิษย์เก่าผู้บำเพ็ญประโยชน์ สร้างและเผยแพร่ชื่อเสียง หรือปกป้องเกียรติคุณ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งใน 999 ศิษย์เก่า ที่ได้จารึกชื่อไว้ในหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2547
นันทนา นันทวโรภาส เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาสื่อสารการเมืองในประเทศไทย เป็นนักวิชาการฝีปากกล้า ที่วิเคราะห์การเมืองแบบตรงไปตรงมา มีความเป็นกลาง และผสมผสานความรู้ด้านการสื่อสารทางการเมือง และได้นำองค์ความรู้ด้านสื่อสารการเมือง ไปใช้จนประสบความสำเร็จได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปีพ.ศ. 2567
ประสบการณ์การทำงาน
[แก้]- อดีตสมาชิกสภาเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (ปีพ.ศ.2533-2535)
- วิทยากรรายการ “ทีวีวาที” รายการทอล์คโชว์ โต้วาที แซววาที ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.[6]
- ผู้ผลิตและสร้างสรรค์รายการ “ยกนิ้วให้” สารคดียกย่องผู้ทำประโยชน์แก่สังคม ทางสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี
- ผู้ผลิตรายการและพิธีกร รายการ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” สารคดีเผยแพร่ผลงานอันเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ในชนบท ทางสถานี โทรทัศน์ NBT ช่อง11
- ผู้ดำเนินรายการ “สุขุม นันทนา เฮฮาสภากาแฟ” ทอล์คโชว์การเมือง ร่วมกับรศ.สุขุม นวลสกุล ทางมติชนทีวี
- วิทยากร รายการวิเคราะห์การเมืองร่วมสมัย ทางสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ต่าง อาทิ รายการ The Standard Now / รายการ “คมชัดลึก” เนชั่นทีวี / รายการ”โหนกระแส” ช่อง3 / รายการ “เปิดปากกับภาคภูมิ” ไทยรัฐทีวี / รายการ “ถกไม่เถียง” ช่อง 7HD / รายการ “มีเรื่อง live กับจอมขวัญ” / รายการ “ Off the Record” PPTV. / รายการ “คนดังนั่งเคลียร์” ช่อง8 ฯลฯ
ผลงานวิชาการและอื่นๆ
[แก้]- วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต เรื่อง “สื่อสารทางการเมือง : ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย”[7]
- หนังสือเรื่อง “ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด”[8]
- หนังสือเรื่อง “สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้”[9]
- หนังสือเรื่อง “หลังไมค์”[10]
- หนังสือเรื่อง “ปาก”[11]
- หนังสือเรื่อง “นันทนา นอนสต็อป”[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/37185.pdf
- ↑ www.pcc.krirk.ac.th
- ↑ ทีวีวาที
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด กรุงเทพ : ขอคิดด้วยคน , 2549
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพ : แมสมีเดีย , 2563
- ↑ ทีวีวาที- วิกิพีเดีย th.m.wikipedia.org
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส “สื่อสารการเมือง : ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . 2548
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพ : แมสมีเดีย , 2554
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่3) อยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , 2563
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. หลังไมค์ (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สามสี , 2536
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. ปาก (พิมพ์ครั้งที่3) กรุงเทพ : สนพ.บุ๊คแบงค์ , 2537
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส. นันทนา NON STOP กรุงเทพ : สนพ.สนุกอ่าน , 2542