ข้ามไปเนื้อหา

จิตอาสาพระราชทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตอาสาพระราชทาน
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2560
หน่วยงาน
ประเภท3 กลุ่ม
  • • จิตอาสาพัฒนา
  • • จิตอาสาภัยพิบัติ
  • • จิตอาสาเฉพาะกิจ
โครงสร้าง3 โครงสร้าง
  • • ฝ่ายอำนวยการจิตอาสาพระราชทาน
  • • โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน
  • • กองกำลังจิตอาสาพระราชทาน
ผู้บังคับบัญชา
ผู้อำนวยการพลเรือเอก คณีพล สงเจริญ

จิตอาสาพระราชทาน หรือเดิมรู้จักกันในนามว่า จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.[1] เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โครงการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[2] โดยโครงการมีศูนย์อำนวยการใหญ่บริเวณที่ตั้งเดิมของสวนสัตว์ดุสิต

ในระยะเริ่มแรก ทรงมีพระราชปณิธานให้บำเพ็ญประโยชน์พื้นที่ชุมชนรอบพระราชวังดุสิต ซึ่งมีหน่วยราชการในพระองค์และประชาชนเป็นจิตอาสา โดยมีคำขวัญว่า "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ"[3] ต่อมา มีการรับสมัครจิตอาสาพระราชทานในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อปฏิบัติงานอำนวยความสะดวก 8 ประเภท ได้แก่ งานดอกไม้จันทน์, งานประชาสัมพันธ์, งานโยธา, งานขนส่งเพื่อความปลอดภัยของประชาชน, งานบริการประชาชน, งานแพทย์, งานรักษาความปลอดภัย, และงานจราจร[4] จิตอาสาพระราชทานมีบทบาทในหลายเหตุการณ์สำคัญ อย่างปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดโรงครัวพระราชทาน โดยมีประชาชนจิตอาสาร่วมช่วยเหลือ[5] และการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย จิตอาสาพระราชทานได้มอบสิ่งของและเวชภัณฑ์ในแต่ละพื้นที่[6]

จิตอาสาพระราชทานตามพระบรมราโชบายมี 3 ประเภท ได้แก่ จิตอาสาพัฒนา, จิตอาสาภัยพิบัติ, และจิตอาสาเฉพาะกิจ เพื่อเป็นการพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิต เป็นการเฝ้า ตรวจ เตือน หรือเตรียมการรองรับภัยพิบัติ และปฏิบัติในงานพระราชพิธี หรือการรับเสด็จในวโรกาสสำคัญ[7] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีจิตอาสาพระราชทานราว 6.9 ล้านคน[8]

โครงสร้าง

[แก้]

โครงการจิตอาสาพระราชทานแบ่งเป็น 3 โครงสร้าง ดังนี้ ฝ่ายอำนวยการจิตอาสาพระราชทาน (ฝอ.จอส.พระราชทาน), โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน (รร.จอส.พระราชทาน), และกองกำลังจิตอาสาพระราชทาน (กกล.จอส.พระราชทาน) ภายใต้การบังคับบัญชาการของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.จอส.พระราชทาน)

โครงการมีผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานเป็นผู้บังคับบัญชา[9]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฝ่ายอำนวยการจิตอาสาพระราชทาน
 
 
 
 
 
โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน
 
 
 
 
กองกำลังจิตอาสาพระราชทาน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฝ่ายธุรการและกำลังพล
 
 
 
 
กองบัญชาการโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน
 
หน่วยฝึกจิตอาสาพระราชทาน
 
 
ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค
 
 
 
 
 
 
ฝ่ายการข่าวฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
กองกำลังจิตอาสาพิเศษ ข้าราชบริพารหรือข้าราชการ
หน่วยขึ้นตรง 904
 
 
 
ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัด
หรือกรุงเทพมหานคร
 
 
 
 
ฝ่ายยุทธการฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอ
หรือเขต
 
 
ฝ่ายสนับสนุนฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ประเภทของจิตอาสา

[แก้]

จิตอาสาพระราชทานตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

  • จิตอาสาพัฒนา เป็นจิตอาสาที่ทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ รวมทั้งการสาธารณสุข ฯลฯ แบ่งเป็น 8 กลุ่มงานดังนี้
    • จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็งประชามีสุข เป็นกลุ่มจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ
    • จิตอาสางานประดิษฐ์และเผยแพร่งานศิลปาชีพ เป็นกลุ่มจิตอาสาที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป
    • จิตอาสาฝ่ายกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการ เป็นกลุ่มจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรมการแสดงและมีนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเผยแพร่กิจกรรมจิตอาสาฯ กิจกรรมการแสดงดนตรีบริเวณลานพระราชวังดุสิต การจัดงานอุ่นไอรักคลายความหนาว งานเถลิงสุขสุขสุขสันต์มหาสงกรานต์ตำนานไทย เป็นต้น
    • จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข เป็นกลุ่มจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนได้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาล รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ
    • จิตอาสาฝ่ายทะเบียนและข้อมูล เป็นกลุ่มจิตอาสาที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกประชาชนที่มาลงทะเบียนจิตอาสาฯ
    • จิตอาสาฝ่ายส่งกำลังบำรุงและสนับสนุน เป็นกลุ่มจิตอาสาที่สนับสนุน อำนวยความสะดวก ดูแลความเรียบร้อย จัดหาหรือบริการอาหาร น้ำดื่ม ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม/จิตอาสาที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน
    • จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ เป็นกลุ่มจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯรวมถึงช่วยดูแลต้อนรับประชาชนที่เข้ามาร่วมกิจกรรม
    • จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร เป็นกลุ่มจิตอาสาที่สนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกในการสัญจรของประชาชน การแนะนำเส้นทางการแจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้เจ้าพนักงานทราบ
  • จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้า ตรวจ เตือน และเตรียมการรองรับภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรวมและการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติดังกล่าว เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น
  • จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติในงานพระราชพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆ เป็นการใช้กำลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานรวมทั้งการเตรียมการ การเตรียมสถานที่และการฟื้นฟูสถานที่ภายหลังการปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผู้บริหาร

[แก้]

ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน

[แก้]
รายนามผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
ลำดับ นาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ พ.ศ. ? – พ.ศ. 2566
2 พลเรือเอก คณีพล สงเจริญ พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

ข้อวิจารณ์

[แก้]

จิตอาสาพระราชทานถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีลักษณะเหมือนกับกองเสือป่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและลูกเสือชาวบ้าน ในส่วนของบุคลากร มีกรณีเรื่องอื้อฉาวของจิตอาสาพระราชทานอย่างประสิทธิ์ เจียวก๊ก ในเรื่องของฉ้อโกงประชาชน และธิติสรรค์ อุทธนผล ในเรื่องร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน[10] ในเวลาต่อมา ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้มีคำสั่งให้ทั้งสองพ้นสภาพจิตอาสาพระราชทาน[11]

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน. หนังสือศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานที่ พว.0300/2673 เรื่อง แจ้งการเปลี่ยนชื่อศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน. 2562". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-04. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
  2. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ. 2565.
  3. หน่วยราชการในพระองค์ 904. ความเป็นมาของจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ เก็บถาวร 2022-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มปป.
  4. เดอะสแตนดาร์ด. เปิดใจ ‘จิตอาสา’ พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังลงทะเบียนวันแรกคิวเต็มจนล้น. 2560.
  5. ไทยรัฐ. ตั้งครัวพระราชทาน เพื่อเลี้ยง จนท.-ปชช.ที่มาช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง. 2561.
  6. หน่วยราชการในพระองค์ 904. กองทัพเรือ ร่วมกับจิตอาสาพระราชทาน 904 และประชาชนจิตอาสา จัดกิจกรรม “กองทัพเรือ เพื่อประชาชน ร่วมใจต้านภัย โควิด-19” บริเวณวัดศาลาแดง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร[ลิงก์เสีย]
  7. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. กิจกรรมจิตอาสาเฉพาะกิจงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง. 2560.
  8. ประชาไท. ครม.รับทราบผลดำเนินงาน ‘จิตอาสาพระราชทาน’ คนร่วมกว่า 1.14 ล้านคน. 2565.
  9. หน่วยราชการในพระองค์ 904. ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา “การขับเคลื่อนงานจิตอาสาภาคประชาชน มุ่งผลสัมฤทธิ์” ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เก็บถาวร 2023-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2564.
  10. ไทยรัฐพลัส. จิตอาสา 904: เมื่อโครงการติดร่างแหเพราะการกระทำของอาสา. 2564.
  11. ไทยโพสต์. คำสั่ง 'ผู้กำกับโจ้-ประสิทธิ์ เจียวก๊ก' พ้นสภาพจิตอาสา 904. 2564.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]