จอน แม็กลาฟลิน
จอน แม็กลาฟลิน | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | โจนาธาน แม็กลาฟลิน |
เกิด | 27 กันยายน พ.ศ. 2525 |
ที่เกิด | แอนเดอร์สัน รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | ป๊อป, ร็อก |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ไอส์แลนด์เดฟแจมเรคอร์ดส พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน |
เว็บไซต์ | Jonmcl.com |
จอน แม็กลาฟลิน (อังกฤษ: Jon McLaughlin) เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 ที่เมืองแอนเดอร์สัน รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา เป็นนักร้องและนักประพันธ์เพลงชาวอเมริกา ออกอัลบั้มอีพีแรกเป็นอัลบั้มอิสระในชื่อว่า อัปอันทิลนาว
จอนเรียนเปียโนแต่ครั้งวัยเยาว์ และชนะการประกวดดนตรีที่โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา อันเป็นจุดเริ่มต้นของเขาในวงการดนตรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เขาได้เซ็นสัญญากับค่ายไอส์แลนด์เรคอร์ดส และได้ออกอัลบั้ม อินดีแอนา โดยชื่ออัลบั้มมีที่มาจากรัฐที่เขาเติบโตมา นอกจากนี้ จอนยังได้ขับร้องเพลง "โซโคลส" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มหัศจรรย์รักข้ามภพ (อังกฤษ: Enchanted) ซึ่งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 3 รางวัล รวมั้งเพลง "โซโคลส" ทั้งนี้จอนได้ร้องสดเพลงนี้ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80อีกด้วย
เพลงของจอนส่วนมากเป็นเพลงแนวป๊อปและร็อก ซึ่งใช้ประกอบละครชุดหลายเรื่องในสหรัฐอเมริกา เพลงของจอนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อหลายแขนง นอกจากนี้จอนยังร่วมงานการนักร้องคนอื่นๆอีกหลายท่าน ปัจจุบันจอนมียอดขายอัลบั้มในสหรัฐอเมริกากว่า 105,000 ชุด
ประวัติ
[แก้]ชีวิตในวัยเยาว์และก้าวแรกในวงการดนตรี
[แก้]จอน แม็กลาฟลิน เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 ที่เมืองแอนเดอร์สัน รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา เขาเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่ในวัยเยาว์ ในช่วงมัธยมศึกษา เขาเว้นว่างจากการฝึกเปียโนเนื่องมาจากประสบอุบัติเหตุที่ข้อมือของเขา จนกระทั่งช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย เขากลับมาเล่นเปียโนอีกครั้งหนึ่ง จอนเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีท้องถิ่น ในระหว่างนั้น เขาได้เรียนเปียโน และใช้เวลาว่างในการประพันธ์เพลง ในระหว่างเรียนนั้น จอนชนะการประกวดดนตรีที่โรงเรียนอันเปิดโอกาสให้จอนสู่วงการดนตรี
จอนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยแอนเดอร์สันในสาขาดนตรี[1] และออกอัลบั้มอีพีอิสระในชื่อว่า อัปอันทิลนาว (อังกฤษ: Up Until Now) ในปี พ.ศ. 2546[2] เขาได้เซ็นสัญญากับค่าย Orangehaus Records และได้ออกอัลบั้มอีพีในชื่อเดียวกับเขาเองในปี พ.ศ. 2547 และ ในปีถัดมาเขาได้ออกอัลบั้มอีพี ซองไอโรทแอนด์เลเทอร์เรคอร์ด ซึ่งขึ้นอันดับ 1 ในเว็บไซต์อแวร์สโตร์ นอกจากนี้ยังได้จัดคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วประเทศ และได้ขยายฐานแฟนเพลงของเขาด้วยการเล่นที่ทะเลสาบทิมเบอร์วูฟ ซึ่งเป็นค่ายวัยรุ่น โดยใช้เพลงจากอัลบั้มอีพี จอนแม็กลาฟลิน
นักร้องระดับสากล
[แก้]ในปี พ.ศ. 2549 เขาได้มีโอกาสเข้าทดสอบเป็นนักร้องใน 3 ค่าย หนึ่งในนั้นคือค่ายไอส์แลนด์เรคอร์ดส อันเป็นค่ายที่เขาเซ็นสัญญาด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 เขาได้ออกอัลบั้ม อินดีแอนา ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้นำเพลงจาก 2 อีพีแรกของเขามาขับร้องใหม่[2]
หลังจากนั้น เพลงของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีการนำเพลงของเขาใช้ประกอบกับละครชุดหลายเรื่อง อาทิ ละครชุดทางช่องเอ็นบีซีเรื่อง สครัป ในตอน "มายคอนเว็นชันแนลวิสดอม" ซึ่งออกอากาศในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ยังนำเพลง "ฮิวแมน" ของเขาประกอบเรื่อง โกสท์วิสเปอร์เรอร์ ในตอน "เดอะวอล์ก-อิน", เพลง "บิวตีฟูลดิสแอสเตอร์" ได้นำมาประกอบละครชุดชื่อดัง อะลิตเติลธิงคอลด์ไลฟ์ ฤดูที่ 1 ตอน "เดอะเกรเทสท์และเวิสท์ฮาโลวีนแอฟเวอร์" และเพลง "ฮิวแมน" ยังใช้ประกอบละครชุดทางช่องซีบีเอส เรื่อง แฟลชพอยท์
ปัจจุบันมีเพลงของจอนจากอัลบั้ม อินดีแอนา ที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ 3 เพลง ได้แก่เพลง "อะนาเธอร์เลเยอร์" (อังกฤษ: Another Layer) ได้นำมาใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ทีราบิเตีย สะพานมหัศจรรย์ (อังกฤษ: Bridge to Terabithia) และเพลง "บิวตีฟูลดิสแอสเตอร์" (อังกฤษ: Beautiful Disaster) ได้นำมาใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง หลานสาวตัวร้ายกับคุณยายปราบพยศ (อังกฤษ: Georgia Rule) ภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้จอนยังได้ขับร้องเพลง "โซโคลส" ผลงานการประพันธ์ของอลัน เมนเคน และสตีเฟน สตีร์วาร์ด อันเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มหัศจรรย์รักข้ามภพ (อังกฤษ: Enchanted) เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ทั้งนี้จอนได้แสดงสดเพลงนี้ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80 โดยมาพร้อมกับเอนี ภรรยาของเขา[3] ภายหลังการแสดงทำให้ยอดขายเพลงของเขาในเว็บไซต์อะเมซอนเพิ่มขึ้นกว่า 1,514 เปอร์เซ็นต์ในเพียงชั่วข้ามคืน[4]
อัลบั้ม อินดีแอนา ได้รับการชื่นชมจากสื่อโดยทั่วไป เจสสิกา กรีกอเรียส จากเว็บไซต์จีซัสเฟรกไฮด์เอาท์ อันเป็นเว็บไซต์ด้านดนตรีได้วิจารณ์อัลบั้มนี้ว่า "มันง่ายมากที่จะคาดเดาเพลงป๊อปอื่นๆ ที่นำเสนอแต่รูปแบบเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่อัลบั้มนี้นำเสนอมากกว่าเพลงบัลลาดที่เกี่ยวกับชีวิต และความรัก อินดีแอนา เป็นอัลบั้มที่ทุกคนสามารถฟังได้ ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่" (อังกฤษ)[5] รัส บรีมิเออร์ จากเว็บไซต์คริสเตียนมิวสิกทูเดย์ กล่าวว่า "อินดีแอนา เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นที่ดีของจอน แม็กลาฟลิน นักร้องและนักประพันธ์เพลงหนุ่ม อัลบั้มนี้เต็มไปด้วยเนื้อเพลงดุจมีชีวิตจิตใจ ประกอบกับแนวเปียโนป๊อปที่น่าประทับใจ"[6]
จอนร่วมแสดงกับเคลลี คลาร์กสัน ในวันเปิดการแสดงคอนเสิร์ตทัวร์มายดีเซมเบอร์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการในรายการ ทูไนต์โชว์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เขาแสดงคอนเสิร์ตทัวร์ร่วมกับ Sara Bareilles นักร้องและนักประพันธ์เพลงอันมีแนวเพลงคล้ายคลึงกัน และบันทึกเสียงร่วมกับเจสัน มราซ และแวน ฮันต์ ให้กับอัลบั้มของแรนดี แจ็กสัน ชื่อว่า แรนดีแจ็กสันส์มิวสิก ชุดที่ 1 ในเพลง "ซัมธิงทูบีลีฟอิน"[7]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เพลง "บีตติงมายฮาร์ต" ได้เผยแพร่ทางวิทยุ และออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[8] และได้เข้าชาร์ตเพลงร่วมสมัยของผู้ใหญ่ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551[9] "บีตติงมายฮาร์ต" เป็นซิงเกิลแรกของเขาจากอัลบั้ม โอเคนาว (อังกฤษ: OK Now) ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ในอัลบั้มนี้ จอนได้เปลี่ยนแนวเพลงของตัวเองจากเพลงป๊อป ที่มีเปียโนประกอบเป็นแนวร็อกมากขึ้น สตีเฟน โธมัส เออรล์ไวน์ จากเว็บไซต์ออลมิวสิกกล่าวว่า "โอเคนาว แสดงให้เห็นว่าจอน แม็กลาฟลินเป็นมากกว่านักร้อง/นักประพันธ์เพลงที่มีพรสวรรค์"[10] โลแกน เลเชอร์จากเว็บไซต์จีซัสเฟรกไฮด์เอาท์กล่าวว่า "การเสี่ยงไม่ใช่การหาคำตอบ แต่คำนี้คงใช้ไม่ได้กับอัลบั้ม โอเคนาว อัลบั้มใหม่ของจอน แม็กลาฟลินที่ผสมผสานแนวเพลงโฟล์ก เปียโน ร็อก ดั้งเดิม พร้อมกับแนวป๊อปสปินแบบใหม่"[11]
กิจกรรมการกุศล
[แก้]จอนร่วมกับกาเรธ บลูคส์, แพท สีนาทาร์ และนีล กีแรลโด บริจาคเงินกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐแก่มูลนิธิสตาร์คีย์เฮียริง มูลนิธิช่วยเหลือผู้พิการทางโสตประสาท[12] เขาร่วมงาน "ร็อกเดอะกาซาปห์" ของมูลนิธิเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน อันเป็นมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม และสังคม เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551[13][14] นอกจานี้จอนยังร่วมแสดงดนตรีในงาน "ยูนิเซฟสโนว์เฟลกบอล ประจำปี ค.ศ. 2008" ของยูนิเซฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อหารายได้เข้ากองทุนยูนิเซฟ โดยแสดงเพลง "บีตติงมายฮาร์ต" เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551[4][15]
ผลงาน
[แก้]อัลบั้ม
[แก้]อีพี
[แก้]-
อัปอันทิลนาว
(2546) -
จอนแม็กลาฟลิน
(2547) -
อินดรัสทรี
(2550)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jon McLaughlin @ Awarestore.com สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ 2.0 2.1 เอโอแอล เก็บถาวร 2008-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ Temporary Sanity » Jon McLaughlin at the Oscars เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ archive.today สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ 4.0 4.1 2008 UNICEF Snowflake Ball Honors Lucy Liu & Gary Cohen เว็บไซต์มาร์เก็ตวอช สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "มาร์เก็ตวอช" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ จีซัสเฟรกไฮด์เอาท์ สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ จอน แม็กลาฟลิน อินดีแอนา จากเว็บไซต์คริสเตียนมิวสิกทูเดย์ สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ [1] Album Preview for "Randy Jackson's Music Club, Vol. 1" สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ New Mainstream Radio Single Releases เก็บถาวร 2012-05-25 ที่ archive.today. FMQB สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ New AC Radio Single Releases เก็บถาวร 2011-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FMQB สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ ออลมิวสิกไกด์ สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ จีซัสเฟรกไฮด์เอาท์ สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ สำนักข่าวรอยเตอร์[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ ไฮต์บีม เก็บถาวร 2016-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จอน แม็กลาฟลิน ณ งานรื่นเริงของมูลนิธิเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ เดย์ลีไลฟ์[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
- ↑ องค์การยูนิเซฟของสหรัฐอเมริกา สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)