งูหลามบอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูหลามบอล
Python regius 070731 a.jpg
งูหลามบอลสีตามธรรมชาติ (ไวลด์ไทป์)
Piebald (Pied) Ball Python.jpg
ตัวที่มีสีและลวดลายผิดแผกไปตามธรรมชาติที่เรียก "ไพบอลด์"
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Pythonidae
สกุล: Python
สปีชีส์: P.  regius
ชื่อทวินาม
Python regius
(Shaw, 1802)
Locatormaps Python regius.jpeg
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Boa regia - Shaw, 1802
  • [Enygrus] regi[us]. - Wagler, 1830
  • Cenchris regia - Gray, 1831
  • Python Bellii - Gray, 1842
  • Python regius - A.M.C. Duméril & Bibron, 1844
  • Hortulia regia - Gray, 1849
  • Python regius - Boulenger, 1893

งูหลามบอล หรือที่นิยมเรียกว่า บอลไพธอน (อังกฤษ: ball python) เป็นงูในวงศ์งูหลาม งูเหลือม (Pythonidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python regius โดยที่ไม่มีชนิดย่อย

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา โดยพบตั้งแต่แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก โดยปกติแล้วงูหลามบอลมักจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่ก็พบบ่อยครั้งที่พบงูหลามบอลอยู่บนต้นไม้ได้เช่นกัน ลักษณะทั่วไป งูหลามบอลจัดเป็นงูขนาดกลาง มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน ป้อม สั้น ขนาดโดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เกิน 1.2 เมตร ลำตัวอาจมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีเหลืองสด ตัดกับลวดลายสีดำทั่วทั้งตัว โดยงูแต่ละตัวจะมีลวดลายไม่ซ้ำกัน

อุปนิสัย งูหลามบอลเป็นงูที่มีนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว เมื่อพบกับศัตรูจะขดตัวกลมคล้ายลูกบอล จึงเป็นที่มาของชื่อ และอาหารจะกินแต่เฉพาะหนูและสัตว์ฟันแทะเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากงูหลาม งูเหลือม ชนิดอื่น ๆ การแพร่พันธุ์ จะกระทำในฤดูใบไม้ผลิ หรือหลังจากฤดูหนาว โดยมักเป็นช่วงปลายปี โดยตัวผู้จะเลื้อยคลอเคลียกับตัวเมียไปทางด้านข้าง ใช้หางเขี่ยคลอเคลียไปบนหลังตัวเมีย มีการใช้เทคนิค นวดตัวเมียโดยใช้สเปอร์และปลายหาง เมื่อเป็นที่ถูกใจตัวเมียจะม้วนหางขึ้นเพื่อให้ตัวผู้ได้ผสมพันธุ์ จากนั้น 1-4 เดือนต่อมา ตัวเมียจะออกไข่ ประมาณ 5-8 ฟอง ในการกกไข่ ตัวเมียทำหน้าที่เพียงป้องกันไข่ ไม่ได้ใช้การสั่นของกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นไข่หรือให้ความอบอุ่น ในขณะที่เป็นลูกงูนั้น การลอกคราบจะถี่มากช่วงปีแรกเฉลี่ยเดือนละครั้ง

จากอุปนิสัยที่ไม่ดุร้ายและสีสันลวดลายที่สวยงาม ทำให้งูหลามบอลเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ชนิดหนึ่งของผู้ที่ชื่นชอบสัตว์เลื้อยคลาน โดยสามารถเลี้ยงได้ในตู้กระจกหรือกล่องพลาสติก อีกทั้งสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้เพื่อให้ได้ลวดลายสีสันที่แตกต่างแปลกออกไปด้วยหลักของสัณฐานวิทยา ซึ่งงูตัวที่มีสีสันหรือลวดลายสวยงามแตกต่างไปจากตัวอื่นทั่วไป จะมีสนราคาแพงกว่าปกติมาก

เทพปกรณัมกรีก[แก้]

งูหลามบอลได้ถูกกล่าวถึงในเทพปกรณัมกรีกไว้ว่า เมื่อ มหาเทพซูสได้มีจิตปฏิพัทธ์ต่อ นางเลโต ทำให้ เทพีฮีรา มเหสีเอกเกิดความหึงหวงจึงกลั่นแกล้งด้วยการส่ง งูหลามบอลที่เลี้ยงไว้ไปตามรังควาน นางจึงต้องอุ้มครรภ์หนีซอกซอนไปจนถึง เกาะดีลอส (Delos) โปเซดอน มีความสงสารบันดาลให้เกาะผุดขึ้นในทะเล เพื่อให้นางได้ประสูติ เทพอพอลโล กับ เทพีอาร์เตมิส บนเกาะนั้น ทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา เทพอพอลโล ก็จับงูหลามบอลฆ่าทิ้งเสีย จึงได้รับการขนานนามว่า ไพธูส (Pytheus) ซึ่งแปลว่า “ผู้สังหารงูหลาม”


ระเบียงภาพ[แก้]


อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Python regius ที่วิกิสปีชีส์