งูสิง
งูสิง | |
---|---|
![]() | |
งูสิงบ้าน หรือ งูเห่าตะลาน (P. korros) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Serpentes |
วงศ์: | Colubridae |
วงศ์ย่อย: | Colubrinae |
สกุล: | Ptyas Fitzinger, 1843[1] |
ชนิดต้นแบบ | |
Coluber mucosus Linnaeus, 1758[2] | |
ชนิด | |
|
งูสิง เป็นสกุลของงูไม่มีพิษหรือพิษอ่อนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ptyas ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae)
งูสิงโดยทั่วไปเป็นงูที่มีลักษณะคล้ายกับงูเห่า โดยเมื่อถูกคุกคามมักจะขู่ฟ่อเหมือนงูเห่า แต่ไม่มีแม่เบี้ย และเมื่อถูกรบกวนหนักเข้าก็จะเลื้อยหนี เพราะไม่มีพิษ มีความว่องไวและคล่องแคล่วกว่างูเห่า[3]
งูสิง ได้ชื่อว่ามีเนื้อที่อร่อยและนิยมปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะชาวชนบทโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานของไทย[4]
การจำแนก[แก้]
- P. carinata (Günther, 1858) - งูสิงหางดำ (จัดเป็นงูสิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นงูที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ด้วย ด้วยมีความยาวเต็มที่ได้ถึง 3.7 เมตร[6] )
- P. dhumnades (Cantor, 1842)
- P. dipas (Schlegel, 1837)
- P. fusca (Günther, 1858) - งูสิงใต้, งูสิงทอง
- P. korros (Schlegel, 1837) - งูสิงบ้าน, งูสิงธรรมดา, งูเห่าตะลาน
- P. luzonensis (Günther, 1873)
- P. mucosa (Linnaeus, 1758) - งูสิงหางลาย
- P. nigromarginata (Blyth, 1854)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Wikispecies.
- ↑ Fitzinger, L.J., 1843: Systema Reptilium. Fasciculus primus. Amblyglossae. 106 pp. Braumüller et Seidel: Wien.
- ↑ "งูพิษ-ไม่มีพิษที่พบบ่อย". ผู้จัดการออนไลน์. 1 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
- ↑ "เมนูที่ได้จากงูสิง". eisanfood.blogspot.com. 1 April 2014. สืบค้นเมื่อ 1 April 2014.
- ↑ The Reptile Database. www.reptile-database.org
- ↑ วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. หน้า 414. ISBN 978-616-556-016-0
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Ptyas |
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ptyas ที่วิกิสปีชีส์