วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีนตอนปลาย—ปัจจุบัน [1]
งูชนิดต่าง ๆ ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์ใหญ่: Colubroidea
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
Oppel, 1811

วงศ์งูเขี้ยวหลัง (อังกฤษ: Colubrid, Typical snake) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colubridae นับเป็นวงศ์ของงูที่มีปริมาณสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ด้วยมีมากมายถึง 249 สกุล[2] และมีทั้งหมดในปัจจุบัน (ค.ศ. 2014) 1,938 ชนิด[3] โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Colubridae ฟอสซิลชนิดแรกสุดของวงศ์นี้สืบไปถึงสมียอีโอซีนตอนปลาย ส่วนต้นกำเนิดก่อนหน้ายังคงอยู่ในข้อสงสัย[1] งูวงศ์งูเขี้ยวหลังพบได้ในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา[4]

คำว่า "Colubridae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษาละตินว่า "coluber" แปลว่า "งู"

รายละเอียด[แก้]

รูปร่างโดยรวมของงูในวงศ์นี้คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันชนิดที่ต่างกันไป แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ aplyph, opisthoglyph, proteroglyph ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปิดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็น้อยมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน

โดยรวมแล้วพิษของงูในวงศ์นี้เมื่อเทียบกับงูพิษวงศ์อื่นแล้ว เช่น วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) หรือวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) นับว่ามีพิษร้ายแรงน้อยกว่ามาก หรือบางชนิดก็ไม่มีพิษเลย[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 P Dennis; A J (2003). Nebraskophis HOLMAN from the Late Eocene of Georgia (USA), the oldest known North American colubrid snake.
  2. "Colubrid". britannica.com. Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  3. หน้า 134-137, Colubridae Station โดย Chelonian. "Exotic Pets". นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 46 ปีที่ 4: เมษายน 2013
  4. Bauer, Aaron M. (1998). Cogger, H.G.; Zweifel, R.G. (บ.ก.). Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 188–195. ISBN 0-12-178560-2.
  5. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 414 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]