คุยกับผู้ใช้:Viivianaa

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย[แก้]

สวัสดีครับคุณ Viivianaa ผมขอถือโอกาสยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย สารานุกรมเสรี พร้อมทั้งแนะนำหน้าดังนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นวิกิพีเดีย:

ในกรณีพูดคุยกับผู้อื่น อย่าลืมทำการลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ ซึ่งจะใส่ชื่อผู้ใช้ของคุณและวันเวลาให้โดยอัตโนมัติ ข้อควรระวังคือจะไม่มีการลงชื่อในหน้าบทความนะครับ นอกจากนี้สามารถบอกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณให้ชาววิกิพีเดียคนอื่นทราบ ได้ที่หน้าผู้ใช้ของคุณครับ และถ้าต้องการติดต่อผู้ดูแลระบบหรือแจ้งเกี่ยวกับบทความสามารถทำได้ที่ แจ้งผู้ดูแลระบบ สุดท้ายขอให้กล้าแก้ไขบทความครับ

ถ้าหากไม่แน่ใจว่าควรจะทำอะไรก่อนดี ลองแวะไปดูได้ที่คุณช่วยเราได้ หากมีคำถามอะไรสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน หรือเรื่องใดๆในวิกิพีเดีย ยินดีสอบถาม ปรึกษา เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ --Horus | พูดคุย 18:48, 31 มกราคม 2553 (ICT)

เนื้อหาที่เพิ่มในหน้า ทรัพยากรธรรมชาติ อาจละเมิดลิขสิทธิ์[แก้]

สวัสดีครับและยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย ผมเองอยากจะมาแจ้งว่า ทรัพยากรธรรมชาติ ที่คุณเขียนหรือเพิ่มเติมนั้น เหมือนนำมาจากเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ซึ่งในกรณีแบบนี้อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ จึงรบกวนช่วยตรวจสอบและระวังเรื่องนี้ด้วยนะครับ ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวนั้นสามารถลบออกก่อนได้ หรือเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ผมเองขอแนะนำให้ศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ และแนวทางการเขียนให้ดียิ่งขึ้น หากมีคำถามอะไรเพิ่มเติม มาพูดคุยกันได้ครับ --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 21:39, 31 มกราคม 2553 (ICT)

>> ขอโทษจริงๆค่ะ .. ยอมรับว่ายกมาทั้งข้อความจาก website นั้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยเอามากๆ แต่เพราะเล็งเห็นว่าบทความที่เขียนเกิดจากการรวมเอาบทความจากหลายๆบทความเข้าด้วยกัน จึงอาจจะไม่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าลบไปแล้ว .. อยากทราบว่าจะขอข้อมูลคืนได้มั๊ยคะ พวกเนื้อหา?? เพราะเป็นรายงานที่ต้องส่งอาจารย์ แล้วพอดีว่าไม่ได้บันทึกไว้ก่อนค่ะ --- ขอร้องนะคะ T___T --~~~~

ได้คืนครับ ติดต่อผู้ดูแลระบบ จะกู้คืนให้ได้ครับ แต่ต้องระบุเหตุและชื่อบทความหรือสื่อที่ต้องการได้คืนให้ชัดเจน
อันนี้เอามาคืนให้ก่อนลบเลยครับ --taweethaも 09:54, 1 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

{{ลบ|เนื้อหาต้นฉบับ ไม่เป็นสารานุกรม}} {{ต้นฉบับ}}

ไฟล์:Chart-for-uses-of-GEO1.jpg
สาระสำคัญทางธรณีวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ จาก หนังสือธรณีวิทยาประเทศไทย, พ.ศ. 2550

ปัจจุบันการวางแผนจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนจะยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เพราะต้องคำนึงถึงการนำทรัพยากรมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ โดยให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากนักวิชาการทุกสาขาในการเข้าร่วมกิจกรรมเดียวกัน โดยสาระสำคัญของความรู้ทางด้านธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนใช้พื้นที่แสดงได้ดังผังในรูป ซึ่งจะเห็นได้ว่าธรณีวิทยาเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ และสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ธรณีวิทยากับการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่[แก้]

นักธรณีวิทยามีบทบาทต่อการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่ ในด้านการจัดเตรียมข้อมูลและนำความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยาของพื้นที่พัฒนาเสนอต่อนักวางแผนและผู้ตัดสินใจกำหนดนโยบาย หรือแนวทางในการดำเนินการพัฒนาของพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลดังกล่าวจะครอบคลุมถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ทรัพยากรธรณี[แก้]

วิชาการธรณีวิทยาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องช่วยในการสำรวจหาปริมาณ คุณภาพและการแพร่กระจายของทรัพยากรธรณีเพื่อกำหนดตลอดจนช่วยในการนำทรัพยากรออกมาใช้ได้อย่างถูกหลักวิชาการและคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรธรณีดังกล่าว ได้แก่ แร่และหินเศรษฐกิจ แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน แหล่งแร่เชื้อเพลิงและพลังงาน กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ประชาชนมีงานทำและผลผลิตที่ได้กลายเป็นปัจจัยที่ตอบสนองความต้องการให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

ธรณีพิบัติภัย[แก้]

วิชาการธรณีวิทยาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ แผ่นดินไหว การกัดเซาะพังทลายทั้งบนบกและแนวชายฝั่ง แผ่นดินถล่ม และน้ำท่วม ผลของการเกิดภัยธรรมชาตินำไปสู่การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ตามด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ ความรุนแรง การแผ่กระจายหรือขอบเขต (zoning) ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และระยะเวลายาวนานที่ภัยธรรมชาตินั้นๆคงอยู่ในแต่ละครั้ง รวมถึงการอุบัติซ้ำ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการวางแผนหลบเลี่ยง (avoidance) ป้องกันภัย (prevention) บรรเทาภัย (mitigation) และกำหนดเขตการใช้ที่ดิน (land-use zoning) ตัวอย่างของการเลือกพื้นที่พัฒนาโดยมิได้คำนึงถึงภัยธรรมชาติ ได้แก่ การจัดตั้งชุมชนในพื้นที่น้ำท่วมเป็นเหตุให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่ตั้งแต่เริ่มสร้าง ค่าบำรุงรักษา ป้องกันและบรรเทาภัยเป็นจำนวนมหาศาล ทุกปี ดังเช่นที่ปรากฏในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางส่วนในที่ราบภาคกลางของประเทศ

วิศวกรรมธรณีวิทยา[แก้]

ความรู้ทางธรณีวิทยาสามารถบอกได้ถึงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดินและหินว่ามีความเสถียรหรือไม่ในแง่ของการใช้เป็นฐานรากรองรับสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรม อาทิ ถนน อาคารสูง เขื่อน และแหล่งฝังกลบขยะ คุณสมบัติของวัสดุดังกล่าวยังช่วยบอกถึงศักยภาพและความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้อีกด้วย

มลพิษกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[แก้]

ภัยที่เกี่ยวข้องกับธรณีวิทยาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ภัยอันเนื่องมาจากกระบวนการทางธรรมชาติดังที่กล่าวแล้วข้างต้น และภัยอันเนื่องมาจากมลพิษที่มนุษย์เป็นผู้สร้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกพื้นที่ฝังกลบขยะโดยขาดความรู้ทางธรณีวิทยาเป็นเหตุให้สารพิษซึมเข้าสู่ระบบทรัพยากรน้ำทั้งบนผิวดินและใต้ดิน นอกจากนี้ วิชาการธรณีวิทยายังช่วยให้เข้าใจการผลิตและการนำทรัพยากรธรณีออกมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างหรือแพร่กระจายออกสู่ระบบนิเวศน์อัน เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อมวลมนุษย์ชาติได้ ในการวางแผนใช้พื้นที่จึงควรได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลธรณีวิทยา ตลอดจนข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องเพราะจะช่วยให้การวางแผนมีความสมบูรณ์มากขึ้นและสามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เป็น อย่างดี

ปัจจัยสำหรับการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่[แก้]

ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการวางแผนใช้พื้นที่มีหลายประเภทและเกี่ยวข้องกับวิชาการหลายแขนง ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแล้ว ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการวางแผนการใช้พื้นที่มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยเศรษฐกิจ (economic) ปัจจัยสังคม(social) ปัจจัยการเมือง(political) และปัจจัยกายภาพ(physical)

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่[แก้]

เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวางแผนที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคนิคการซ้อนทับชั้นข้อมูลของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแยกออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • วิธีการกันออก (exclusionary method) โดยหลีกเลี่ยง (avoidance) การจัดตั้งชุมชนบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยและขัดต่อมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม และไม่จัดทำกิจกรรมพัฒนาไปในทางอื่นที่ขัดกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • วิธีการใช้ระบบเทียบน้ำหนัก (weight-rating system) เพื่อการกำหนดเขตการใช้พื้นที่ (land-use zoning) ตามความเหมาะสมเฉพาะอย่าง เฉพาะเรื่อง

หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ตามวิธีที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีมานานแล้ว โดยในอดีตใช้วิธี manual ในการวิเคราะห์แต่มาในระยะหลังนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เจริญขึ้นมาก และมีการนำเอาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System – GIS) มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้การศึกษาทางด้านการนำเอาความรู้และข้อมูลธรณีวิทยามาประยุกต์ใช้กับการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ มีผลเป็นที่น่าพอใจ ตัวอย่างการนำเอาGIS มาใช้ทางด้านนี้อย่างได้ผล ได้แก่ การศึกษาของ Jearpataranon (1996) และโครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-เยอรมัน ซึ่งดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2539– 2542 และจัดพิมพ์แผนที่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542

กรณีศึกษา[แก้]

การนำความรู้และข้อมูลทางด้านธรณีวิทยามาประยุกต์ใช้ในการวางแผนใช้พื้นที่ได้รับความสนใจมานานแล้ว ดังที่ได้มีการประชุมนานาชาติครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “ดิน ธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน:ผลกระทบต่อการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ในประเทศกำลังพัฒนา” (The First International Symposium on Soil, Geology and Landforms: Impact on Land Use Planning in Developing Countries–LANDPLAN 1) ซึ่งจัดให้มีขึ้นในประเทศไทยโดยมี Nutalaya and others (1982) เป็นบรรณาธิการจัดทำเอกสารการประชุม และมีผู้ส่งบทความเข้าร่วมมากกว่า 90 บทความ จาก 30 กว่าประเทศ กรณีศึกษาที่ยกมาเป็นตัวอย่างในตารางที่ 11.2 รวมทั้งรูปที่ 11.35 ถึง 11.37 เป็นกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลทรัพยากรกายภาพและสภาพธรณีวิทยาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยในการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่ และการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา

ไฟล์:Map-for-uses-of-GEO.jpg
แผนที่แสดงพื้นที่เหมาะต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก จาก หนังสือธรณีวิทยาประเทศไทย, พ.ศ. 2550

สรุป[แก้]

การนำข้อมูลและความรู้ทางธรณีวิทยามาใช้กับการพัฒนาพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ควรครอบคลุม ข้อมูลด้านทรัพยากรธรณี ในด้านการสำรวจและนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยไม่ขัดต่อมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านภัยธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นสำหรับการวางแผนลด ป้องกัน บรรเทาภัย และฟื้นฟูพื้นที่พิบัติภัย ความรู้และข้อมูลธรณีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกและการจัดเตรียมพื้นที่ในการรองรับสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเลือกพื้นที่สำหรับกำจัดขยะ เพื่อขจัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อน

กรณีศึกษาที่ยกมากล่าวถึงแต่ละกรณีจะมีการนำเสนอประเภทของปัจจัยข้อมูลแตกต่างกันบ้างในกรณีที่สภาพธรณีวิทยาและสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ศึกษาแตกต่างกันออกไป เช่น กรณีที่มีดินบวมน้ำอยู่ในพื้นที่ (Hinthong, 1992) หรือกรณีที่มีพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลก็จะมีสภาพธรณีวิทยาทางทะเล ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นลมและกระแสน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง (Sarapirome, 1982) หรือบางพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองหินเป็นจำนวนมาก เช่นที่จังหวัดสระบุรี (Jearpataranon, 1996) ก็จะมีข้อมูลทางด้านมาตรการสิ่งแวดล้อมหรือกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการพัฒนาเหมืองหินมาเป็นหนึ่งในปัจจัยข้อมูลเพื่อประกอบการศึกษา

ข้อมูลของกรณีศึกษาส่วนใหญ่จะนำเสนอในรูป ของแผนที่ประกอบคำอธิบายชัดเจน ทั้งที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน (basic data) และข้อมูลที่เป็นผลมาจากการแปลความหมาย (interpreted data) ข้อมูลที่ใช้ประโยชน์สำหรับการวางแผนการใช้พื้นที่ได้โดยตรง (derivative data) สามารถจัดทำได้ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ manual และแบบที่ใช้ GIS เข้าช่วย และวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตัวอย่างการศึกษาของ Hinthong (1992) เป็นการวิเคราะห์แบบ manual เชิงคุณภาพให้ได้แผนที่เสนอแนะความเหมาะสมในการใช้พื้นที่บางส่วนของจังหวัดลำปาง ส่วนการศึกษาของ Sarapirome (1982) มีการวิเคราะห์แบบ manual เชิงปริมาณให้ได้แผนที่แสดงสมรรถนะของพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมหนัก ด้านเกษตรกรรม และด้านที่อยู่อาศัย แผนที่เสนอแนะการใช้พื้นที่ทำนองนี้สามารถใช้ระบบ GIS เข้าช่วยอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพดังตัวอย่างในการศึกษาของ Jearpataranon (1996)และของโครงการความร่วมมือวิชาการไทย-เยอรมัน (2539-2542)

ในอนาคตการนำเอาความรู้ด้านธรณีวิทยามาช่วยในการวางแผนใช้ประโยชน์พื้นที่ จะได้ผลที่แม่นยำและทันต่อความต้องการของนักวางแผนมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรได้รับความสนใจมากขึ้น คือการสนับสนุนให้มีการนำเอาผลการศึกษาธรณีวิทยาไปใช้ในการปฏิบัติการวางแผนได้อย่างจริงจัง และให้มีการประเมินผล (evaluation) และเฝ้าระวัง (monitoring) ผลการนำไปใช้งานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องด้วย เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไขปรับปรุงการศึกษาด้านนี้ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง[แก้]

กรมทรัพยากรธรณี, ธรณีวิทยาประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2550, 628 หน้า.