คุยกับผู้ใช้:Methakorn Phumsawat/ทดลองเขียน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย[แก้]

โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย (อักษรย่อ : อพ.ว./AP.W. ; อังกฤษ : Amphawanwitthayalai School)(2455-ปัจจุบัน 110 ปี) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสงคราม ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษา

Caption text
โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย

Amphawanwitthayalai School

ที่ตั้ง[แก้]
75 ถ.อัมพวันนิเวศน์ ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 75110
ข้อมูล[แก้]
ชื่ออื่น อพ.ว./AP.W.
ประเภท รัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญ ประพฤติดี มีวิชา กีฬาเด่น รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
คติธรรม บาลี : สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ

ไทย : ความได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข

สถาปนา 1 ตุลาคม 2455 (110 ปี)
เขตพื้นที่การศึกษา สมุทรสงคราม
หน่วยงานกำกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาครและสมุทรสงคราม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

รหัส 1705580101
ผู้อำนวยการ ดร.อภิเชษฐ์ วันทา
ระดับปีที่จัดการศึกษา ม.1-ม.6
จำนวนนักเรียน 1,158 คน (ปีการศึกษา2564)
ภาษา ไทย

อังกฤษ จีน

สี เหลือง-ดำ
เพลง มาร์ชอัมพวันวิทยาลัย
เว็บไซต์ http://www.aw.ac.th/

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย เดิมชื่อ โรงเรียนอัมพวา"อัมพวันวิทยาลัย" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2455 โดยใช้ศาลาวัดอัมพวันเจติยารามเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน เปิดสอนครั้งแรกในระดับประถมศึกษาปีที่1-3 ปี2464 เปิดสอนในระดับประถมศึกษาปีที่1-มัธยมศึกษาปีที่1 และเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่2เพิ่มในปี2467

ปี2473 เริ่มสร้างอาคารขุนวงศ์-ทองดี อัศเวศน์ ด้วยเงินบริจาคของราษฎร โดยขุนนิกรนรารักษ์ นายอำเภออัมพวาในขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินการเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่1-มัธยมศึกษาปีที่4 เริ่มมีการต่อเติมอาคารดังกล่าวในปี2484 โดยมีพระราชสมุทรเมธี(เจริญ ขนติโก) เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้ดำเนินการเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 มีนักเรียนมากขึ้นจึงรื้อถอนอาคารขุนวงศ์-ทองดี อัศเวศน์ เพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์

ปี2491 สร้างอาคารขันตยาภรณ์ ด้วยเงินสมทบจากราษฎร พระราชสมุทรเมธี(เจริญ ขนติโก) และครูใหญ่ และก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าอัมพวันวิทยาลัยในปี2499

ปี2503 สร้างอาคารทับทิม จั่นบุญมี ด้วยเงินสมทบของนางทับทิม จั่นบุญมี และสร้างอาคารดนตรีในปีถัดมา

ปี2507 สร้างโรงฝึกงาน ดำเนินการโดยความช่วยเหลือขององค์การยูนิเซฟ สร้างห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ โรงฝึกงาน ห้องคหกรรม เกษตรกรรม ดนตรี และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเงินบำรุงการศึกษา ต่อมาได้สร้างอาคารหลังที่4 ด้วยเงินงบประมาณและเงินบริจาคของขุนและนางนิกรนรารักษ์ และได้มีการต่อเติมอาคารให้เต็มรูปแบบในเวลาต่อมา

ปี2516 โรงเรียนอัมพวา"อัมพวันวิทยาลัย" เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย และสร้างอาคารอุตสาหกรรมในปีถัดมา

ปี2520 สร้างหอประชุม และอาคารแบบ 418ก(19) อาคาร5 เพียงครึ่งหลัง และต่อเติมให้เต็มรูปแบบในปีถัดมา

ปี2524 สร้างอาคารอัมพวัน 70 สร้างศาลาอุทัยวรรณ เพื่อประดิษฐานรูปหล่อของพระราชสมุทรเมธี(เจริญ ขนติโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม ผู้อุปการะโรงเรียน ในปี2530 เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533

ปี2535 สร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น ปี2537 สร้างอาคารแบบ 424ล(พิเศษ) และสร้างสวนกาญจนาภิเษก เข้าร่วมโครงการ รพชส. รุ่นที่3 ในปีถัดมา

ปี2540 เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2540 และได้สร้างสนามคอนกรีต อาคารอเนกประสงค์ 6 ชั้น นายบุญมาก-นางม่วย ศรีวชิรวัฒน์ บริจาคเงินสร้างอาคารอำนวยการศรีวชิรวัฒน์ และเข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ISSP (International Standard School Project) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541-2544

ปี2543 ดำเนินการปรับปรุงอาคารสถานที่ เปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งของเสาธง และศาลาอุทัยวรรณ ให้มีความเหมาะสม

ปี2561 ดำเนินการสร้างอาคารพระราชสมุทรธรังษี โดยพระราชสมุทรรังษี(สมศักดิ์ ชานคโร) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดอัมพวันเจติยาราม

ปัจจุบัน โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย มีอาคารเรียนถาวร 4 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง อาคารอำนวยการ 1 หลัง อาคารสำนักงาน 1 หลัง สนามอเนกประสงค์ 2 สนาม บ้านพักครู 12 หลัง


รายนามผู้บริหารโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย[แก้]

Caption text
ลำดับ รายนาม ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายใหญ่ เรืองสมบูรณ์ ครูใหญ่ พ.ศ.2455-2463
2 นายฉิว ปริปุรณะ ครูใหญ่ พ.ศ.2463
3 นายปลิว บูรณะสิงห์ ครูใหญ่ พ.ศ.2463
4 นายออด บูรณะสิงห์ ครูใหญ่ พ.ศ.2464-2467
5 นายพ้อง กล้ายประยงค์ ครูใหญ่ พ.ศ.2467-2468
6 นายอรุณ นิลประสิทธิ์ ครูใหญ่ พ.ศ.2468-2473
7 นายฉันท์ วิเศษศิริ ครูใหญ่ พ.ศ.2473-2479
8 นายพิศาล สุวีรานนท์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2479-2509
9 นายกมล กลิ่นพิกุล อาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2509-2514
10 นายไสว เหมาะวิบูลย์ รักษาราชการแทน พ.ศ.2514-2515
11 นายวิศิษฎ์ ดวงสงค์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ.2515-2516
12 นายปฐม นิลวงศ์ รักษาราชการแทน พ.ศ.2516-2517
13 นายบุญเชิด แสงวิภาค ผู้อำนวยการ พ.ศ.2517-2527
14 นายถาวร อุดมสุข ผู้อำนวยการ พ.ศ.2527-2532
15 นายเจริญ เลื่อนธรรมรัตน์ ผู้อำนวยการ พ.ศ.2532-2540
16 นายสุภัทร หงสพันธ์ุ ผู้อำนวยการ พ.ศ.2540-2546
17 นางยุบล อันล้ำเลิศ ผู้อำนวยการ พ.ศ.2546-2550
18 นายสุพร สุวรรณโชติ ผู้อำนวยการ พ.ศ.2550-2554
19 นายชูวิทย์ เข่งคุ้ม ผู้อำนวยการ พ.ศ.2554
20 นายศักดา โกมลวานิช ผู้อำนวยการ พ.ศ.2554-2556
21 นายประพจน์ แย้มทิม ผู้อำนวยการ พ.ศ.2556-2558
22 นายสมเกียรติ รั้วมั่น ผู้อำนวยการ พ.ศ.2558-2562
23 ดร.อภิเชษฐ์ วันทา ผู้อำนวยการ พ.ศ.2562-ปัจจุบัน

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]
  • ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
  • กลุม่การเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
  • กลุ่มการเรียนเรียน คณิตศาสตร์-สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มการเรียนทั่วไป
  • ห้องเรียนพิเศษดนตรีไทย
มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนศิลป์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ-สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • แผนการเรียนทั่วไป
  • แผนการเรียนดนตรี


กีฬาสี[แก้]

  • สีฟ้า
  • สีชมพู
  • สีแดง
  • สีม่วง
  • สีเขียว

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • จิรากร สมพิทักษ์ นักร้อง

อ้างอิง[แก้]