คีโตนบอดีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างเคมีของคีโตนบอดีส์ทั้งสาม: อะซีโตน (บน), กรดอะซีโตอะซีติก (กลาง) และ กรดเบตา-ไฮดรอกซีบิวทีริก (ล่าง)

คีโตนบอดีส์ (อังกฤษ: ketone bodies) เป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้สามชนิด เป็นผลผลิตพลอยได้เมื่อมีการสลายกรดไขมันให้พลังงานในตับ คีโตนบอดีส์สองในสามชนิดถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานในหัวใจและสมอง ขณะที่สารตัวที่เหลือเป็นผลิตภัณฑ์ของเสียที่ถูกขับออกจากร่างกาย ในสมอง คีโตนบอดีส์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญขณะอดอาหาร[1]

คีโตนบอดีส์ที่เกิดในสิ่งมีชีวิตทั้งสาม ได้แก่ อะซีโตน กรดอะซีโตอะซีติก และกรดเบตาไฮดรอกซีบิวทีริก[2] แม้ว่ากรดเบตา-ไฮดรอกซีบิวทีริกจะเป็นกรดคาร์บอกซิลิก มิใช่คีโตน ในทางเทคนิคก็ตาม คีโตนบอดีส์อื่น เช่น เบตา-คีโตเพนทาโนเอต และบาตา-ไฮดรอกซีเพนทาโนเอตอาจถูกสร้างขึ้นเป็นผลของเมแทบอลิซึมของไตรกลีเซอไรด์ที่เกิดจากการสังเคราะห์ เช่น ไตรเฮปทาโนอิน

อ้างอิง[แก้]

  1. Mary K. Campbell, Shawn O. Farrell (2006). Biochemistry (5th ed.). Cengage Learning. p. 579. ISBN 0-534-40521-5.
  2. Lori Laffel (1999). "Ketone bodies: a review of physiology, pathophysiology and application of monitoring to diabetes". Diabetes/Metabolism Research and Reviews. 15 (6): 412–426. doi:10.1002/(SICI)1520-7560(199911/12)15:6<412::AID-DMRR72>3.0.CO;2-8. PMID 10634967.