คาโรชิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงต่อต้านวัฒนธรรมคาโรชิในโตเกียว ค.ศ. 2018

คาโรชิ (ญี่ปุ่น: 過労死โรมาจิKarōshi) แปลตรงตัวว่า "ตายจากการทำงานหนัก" เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตโดยฉับพลันที่เกิดจากการทำงาน[1] สาเหตุทางการแพทย์ส่วนใหญ่ของคาโรชิคือหัวใจขาดเลือดเฉียงพลันและเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน เป็นผลมาจากความเครียดและการขาดอาหารหรือการอดอาหาร ความเครียดทางใจจากที่ทำงานสามารถทำให้เกิดคาโรชิผ่านการฆ่าตัวตายได้เช่นกัน โดยผู้ที่ฆ่าตัวตายจากการทำงานหนักเกินไปจะเรียกว่า คาโรจิซัตสึ (過労自殺; karōjisatsu)[1]

กรณีแรกของคาโรชิในญี่ปุ่นมีรายงานในปี ค.ศ. 1969 เป็นกรณีของชายวัย 29 ปี พนักงานขนส่งของบริษัทหนังสือพิมพ์เจ้าใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน[2][3] ผลการสำรวจในปี ค.ศ. 1988 โดย Labor Force Survey รายงานว่าเกือบหนึ่งในสี่ของลูกจ้างชายทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งคิดเป็นมากกว่าหนึ่งครึ่งเท่าของเวลาการทำงานต่อสัปดาห์โดยปกติที่ควรเป็น 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความแพร่หลายและความหนักของปัญหานี้ทำให้นักกฎหมายและแพทย์จำนวนหนึ่งรวมตัวจัดตั้ง "สายด่วนคาโรชิ" ขึ้นเพื่อให้บริการแก่ทุกคนในญี่ปุ่นที่ต้องการปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับคาโรชิ[4]

การเติบโตขึ้นของญี่ปุ่นหลังความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่สองสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประกอบกับค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลนั้นเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดคาโรชิในระดับที่เรียกว่าเป็นโรคระบาดทั่ว มีรายงานยืนยันแล้วว่าหากลูกจ้างทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน ยาวนาน 6–7 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลาหลายปีจะส่งผลให้เกิดความทรมานทางกายภาพและทางจิต[5][6]

ลักษณะ[แก้]

ในบทความขององค์การแรงงานสากลมียกตัวอย่างกรณีของคาโรชิที่พบได้ทั่วไปอยู่สี่กรณี คือ[7] นาย ก เป็นลูกจ้างในบริษัทแปรรูปขนมขนาดใหญ่ ทำงานยาวนานถึง 110 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สิริอายุ 34 ปี, นาย ข เป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ทำงานสะสม 3,000 ชั่วโมงต่อปี และไม่ได้หยุดงานในรอบ 15 วัน ก่อนที่จะเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน สิริอายุ 37 ปี, นาย ค เป็นลูกจ้างในบริษัทสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ในโตเกียว ทำงานสะสม 4,320 ชั่วโมงต่อปี (รวมการทำงานนอกเวลาในตอนกลางคืน) เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน สิริอายุ 58 ปี ภรรยาได้รับเงินชดเชยใน 14 ปีหลังนาย ค เสียชีวิต และ นาย ง เป็นพยาบาลวิชาชีพ เสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหลังทำงานอยู่เวร 34 ชั่วโมงต่อกันเป็นเวลา 5 ครั้งในเดือนนั้น สิริอายุ 22 ปี

นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดยังมีส่วนสำคัญในการก่อคาโรชิ[8][9] รายงานของ ILO ได้ระบุรายการปัญหาความเครียดจากที่ทำงานที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของลูกจ้างไว้ ได้แก่ การทำงานข้ามคืน ทำงานตอนดึกดื่น ทำงานแม้ในวันหยุด โดยเฉพาะในยุค "ทศวรรษที่สูญหาย" ของญี่ปุ่น ฟองสบู่แตก บริษัทจ้างงานลดลง ภาระงานต่อหัวจึงเพิ่มขึ้นตาม, ความเครียดสะสมจากความหงุดหงิดใจที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้, การบังคับลาออก (แม้แต่ลูกจ้างที่ทำงานมานานและถูกมองว่า "ซื่อสัตย์" ต่อบริษัท) การถูกปฏิเสธ หรือ การกลั่นแกล้ง เป็นต้น

ในประเทศอื่น[แก้]

ปรากฏการณ์การเสียชีวิตจากการทำงานมากเกินยังพบแพร่หลายในพื้นที่อื่น ๆ ของเอเชีย มีรายงานการเสียชีวิต 745,194 กรณีที่สามารถย้อนเหตุมาจากการทำงานมากเกิน ในรายงานของ WHO/ILO ในปี ค.ศ. 2016[10]

จีน[แก้]

ในจีน แนวคิด "การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก" เรียกว่า กั้วเหลาสื่อ (จีนตัวย่อ: 过劳死; จีนตัวเต็ม: 過勞死; พินอิน: Guò láo sǐ)[11] ทั้งในจีนและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย นักธุรกิจหลายคนทำงานยาวนานภายใต้ความกดดันของการจ้องขยับขยายเส้นสายและเพื่อให้คนในเส้นสายพอใจ ระบบเส้นสายนี้เรียกว่ากวงสี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในระบบธุรกิจของประเทศจีน[12] แรงกดดันจากระบบกวงสีให้ตั้งใจทำงานมีผลให้เกิดกั้วเหลาสี่ตามมา นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันให้นักธุรกิจในการต้องดื่มหนักและไปสถานบันเทิงยามค่ำคืนทุก ๆ คืนเหมือนกัน[13] เพื่อยืนยันและสร้าง "ความมีชีวิตชีวา" ให้กับลูกจ้างคนอื่น ๆ[14]

เกาหลีใต้[แก้]

ในเกาหลีใต้มีคำเรียกว่า ควาโรซา (เกาหลี과로사; ฮันจา過勞死; อาร์อาร์gwarosa; เอ็มอาร์kwarosa) สำหรับเรียกการเสียชีวอนจากการทำงานหนัก เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีชั่วโมงทำงานยาวที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มากกว่าญี่ปุ่น โดยอยู่ที่ 42 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย[15] ปัญหานี้มีมายาวนาน แต่เพิ่งมาได้รับความสนใจจากสื่อหลังมีการเสียชีวิตแบบควาโรซาในลูกจ้างของหน่วยงานรัฐบาล[16] ในปี ค.ศ. 2018 รัฐบาลเกาหลีได้ผ่านกฎหมายลดชั่วโมงการทำงานสูงสุดลงจาก 68 เหลือ 52 ชั่วโมง[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Case Study: Karoshi: Death from overwork (Report) (ภาษาอังกฤษ). 2013-04-23.
  2. Katsuo Nishiyama; Jeffrey V. Johnson (February 4, 1997). "Karoshi-Death from overwork: Occupational health consequences of the Japanese production management". International Journal of Health Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2009. สืบค้นเมื่อ June 9, 2009.
  3. Pfeffer, Jeffrey (20 March 2018). Dying for a Paycheck. pp. 63, (chapter 5). ISBN 9780062800923.
  4. Marioka, Koji (2004). "Work Till You Drop". New Labor Forum. 13 (1): 80–85. doi:10.1080/10957960490265782. JSTOR 40342456.
  5. Japanese salarymen fight back The New York Times - Wednesday, June 11, 2008
  6. "Recession Puts More Pressure on Japan's Workers". Bloomberg News. January 5, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2015.
  7. Case Study: Karoshi: Death from overwork (Report). 23 April 2013. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
  8. "Karoshi - Institutet för språk och folkminnen". 2021-04-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-03-22.
  9. Ma, Alexandra. "Japan's toxic culture of overwork drove a 31-year-old woman to death — and it looks like there's no end in sight". Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-23. Work-related suicides among females and employees under 29 have also risen over the past few years[...] On Christmas Day 2015, 24-year-old ad agency employee Matsuri Takahashi jumped to her death [...] after working around 100 hours of overtime the month before. Weeks before her death, she posted on social media, according to the Guardian, to say: "I'm physically and mentally shattered" and "I want to die." On October 11, [...] a 23-year-old construction worker's suicide was karoshi, the Associated Press reported. The [...] man's body was found in the central Japan mountains in April, alongside a note that said he was "physically and mentally pushed to the limit."
  10. Pega, Frank; Náfrádi, Bálint; Momen, Natalie C.; Ujita, Yuka; Streicher, Kai N.; Prüss-Üstün, Annette M.; Descatha, Alexis; Driscoll, Tim; Fischer, Frida M.; Godderis, Lode; Kiiver, Hannah M.; Li, Jian; Magnusson Hanson, Linda L.; Rugulies, Reiner; Sørensen, Kathrine; Woodruff, Tracey J.; Woodruff, T. J. (2021-09-01). "Global, regional, and national burdens of ischemic heart disease and stroke attributable to exposure to long working hours for 194 countries, 2000–2016: A systematic analysis from the WHO/ILO Joint Estimates of the Work-related Burden of Disease and Injury". Environment International (ภาษาอังกฤษ). 154: 106595. doi:10.1016/j.envint.2021.106595. ISSN 0160-4120. PMC 8204267. PMID 34011457.
  11. Oster, Shai (30 June 2014). "Is Work Killing You? In China, Workers Die at Their Desks". Bloomberg.com. Bloomberg.
  12. Osburg, John (2013). Anxious Wealth: Money and Morality among China's New Rich. Stanford, California: Stanford University Press. p. 24.
  13. Osburg, John (2013). Anxious Wealth: Money and Morality Among China's New Rich. Stanford, California: Stanford University Press. p. 140.
  14. Osburg, John (2013). Anxious Wealth: Money and Morality Among China's New Rich. Stanford, California: Stanford University Press. p. 141.
  15. "E-나라지표 지표조회상세".
  16. Ko Dong-hwan (27 February 2017). "[K-Terminology] Koreans being overworked to death in 'kwarosa'". Korea Times.
  17. Haas, Benjamin (1 March 2018). "South Korea cuts 'inhumanely long' 68-hour working week". The Guardian – โดยทาง www.theguardian.com.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]