คัง โหย่วเหวย์
คัง โหย่วเหวย์ | |
---|---|
เกิด | 19 มีนาคม ค.ศ. 1858 ตำบลหนานไห่ มณฑลกวางตุ้ง จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 31 มีนาคม ค.ศ. 1927 ชิงเต่า มณฑลซานตง สาธารณรัฐจีน | (69 ปี)
ชื่ออื่น | คัง ซูจี (康祖詒) คัง กังเซี่ย (康廣廈) |
บุตร | 15 คน |
คัง โหย่วเหวย์ (อังกฤษ: Kang Youwei, จีนตัวเต็ม: 康有为, จีนตัวย่อ: 康有為, พินอิน: Kāng Yǒuwéi) นักคิด, นักเขียน และนักปฏิรูปคนสำคัญชาวจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง
ประวัติ
[แก้]คัง โหย่วเหวย์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่ตำบลหนานไห่ มณฑลกวางตุ้ง มีชื่อรองว่า กวางเสีย (康廣廈) สามารถสอบบัณฑิตขั้นจิ้นซื่อได้ จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า คัง หนานไห่ (康南海) เป็นผู้ที่นับถือลัทธิขงจื๊อ
งานการเมือง
[แก้]คัง โหย่วเหวย์ได้รับราชการในเจ้ากรมโยธา ในรัชสมัยจักรพรรดิกวางซวี และเคยดำรงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมการศึกษาขงจื้อ ต่อมาได้เผยแพร่แนวความคิดเรื่องการปฏิรูปการปกครอง ออกสู่วงกว้าง เพื่อให้เกิดเป็นแนวความคิดและต่อมากลายเป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญต่อมาในราชสำนัก โดยองค์จักรพรรดิเองก็มักปรึกษากับคัง โหว่ยเหวย์และบุคคลอื่นที่มีแนวความคิดตรงกันในเรื่องนี้เสมอ ซึ่งกลายมาเป็นการปฏิรูปร้อยวัน (戊戌變法)
แต่การปฏิรูปครั้งนี้ไม่สำเร็จ เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮา ได้ทำการรัฐประหารขึ้นในคืนวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1898 ภายในพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ในปีนั้น และได้ทำการควบคุมองค์จักรพรรดิ ในส่วนของขุนนางและแกนนำการปฏิรูปได้หลบหนีและถูกจับประหารชีวิต 6 คน แต่คัง โหว่ยเหวย์ และกลุ่มผู้สนับสนุนได้หลบหนีไปยังประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ
วรรณกรรม
[แก้]คัง โหว่ยเหวย์ มีผลงานการเขียนที่สำคัญ ๆ ได้แก่ บทความคังจื่อ (康子篇), คนรุ่นใหม่วิจารณ์คำภีร์ปลอม (新学伪经考), การปฏิรูปของจักรพรรดิเมจิ (日本明治變政考), การปฏิรูปของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (俄大彼得變政記) เป็นต้น
เสียชีวิต
[แก้]คัง โหว่ยเหวย์ เสียชีวิตที่เมืองชิงเต่า มณฑลชานตง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1927 สิริอายุได้ 69 ปี ภายหลังจากที่ประเทศจีนในเวลานั้นได้กลายสภาพเป็นสาธารณรัฐจีนแล้ว[1] [2] [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jung-pang Lo. K'ang Yu-wei: A Biography and a Symposium. Library of Congress number 66-20911.
- ↑ M. E. Cameron, The Reform Movement in China, 1898–1912 (1931, repr. 1963); biography ed. and tr. by Lo Jung-pang (1967).
- ↑ CHANG HAO: Intellectual change and the reform movement, 1890-1898, in: Twitchett, Denis and Fairbanks, John (ed.): The Cambridge History of China, Vol. 11, Late Ch’ing, 1800–1911, Part 2 (1980). Cambridge: Cambridge University Press, pp. 274–338, esp. 283-300, 318-338.