ความล้มเหลว
ความล้มเหลว (บางบริบทใช้ ความขัดข้อง) หมายถึงสถานะหรือสภาวะที่ไม่ประสบกับจุดมุ่งหมายดังที่ต้องการหรือที่ตั้งใจ และอาจมองได้ว่ามีความหมายตรงข้ามกับความสำเร็จ ความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์มีความหมายกว้างครอบคลุมตั้งแต่ความล้มเหลวในการขายผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการแตกหักของผลิตภัณฑ์ ในกรณีเลวร้ายที่สุดอาจทำให้บุคคลบาดเจ็บล้มตาย ซึ่งเป็นขอบเขตหนึ่งของการศึกษานิติวิศวกรรม (forensic engineering)
เกณฑ์วัดความล้มเหลว
[แก้]เกณฑ์วัดความล้มเหลวขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้อย่างยิ่ง และอาจข้องเกี่ยวกับผู้สังเกตการณ์หรือระบบความเชื่อ สถานการณ์ที่ถือว่าเป็นความล้มเหลวสามารถเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่ถือว่าเป็นความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการแข่งขันโดยตรงหรือเกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ และเช่นเดียวกัน ระดับของความสำเร็จหรือความล้มเหลวในสถานการณ์หนึ่ง ๆ อาจขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สังเกตการณ์หรือผู้มีส่วนร่วมด้วย ตัวอย่างเช่นคนหนึ่งบอกว่าเป็นความล้มเหลว อีกคนหนึ่งอาจบอกว่าเป็นความสำเร็จ ความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ หรือสถานการณ์ที่เป็นกลางก็ได้
การสืบเสาะให้ชัดเจนว่าสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งถึงเกณฑ์ความล้มเหลวหรือความสำเร็จ อาจทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องด้วยการกำหนดเกณฑ์วัดที่กำกวมหรือบกพร่องเหล่านั้น การค้นหาเกณฑ์วัดที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ หรือฮิวริสติกส์ เพื่อตัดสินว่าสถานการณ์ใดสำเร็จหรือล้มเหลว ก็เป็นงานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ประเภทของความล้มเหลว
[แก้]ความล้มเหลวสามารถรับรู้ได้จากมุมมองที่แตกต่างกันของผู้ประเมิน หากมองเป็นระบบ การที่บุคคลสนใจเพียงแต่ผลลัพธ์สุดท้ายของกิจกรรม แต่ปัญหาหลักยังไม่ได้แก้หรือความต้องการหลักยังไม่ได้ตอบสนอง เรียกได้ว่าเป็น ความล้มเหลวเชิงผลลัพธ์ ส่วนกิจกรรมที่ดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วง แต่บุคคลยังคงไม่พึงพอใจเนื่องจากกระบวนการภายในเป็นที่รับรู้ได้ว่าดำเนินงานต่ำกว่ามาตรฐานหรือเกณฑ์ที่คาดหวัง เรียกได้ว่าเป็น ความล้มเหลวเชิงกระบวนการ ความล้มเหลวสามารถเกิดได้ทุกแห่งในกระบวนการ ตั้งแต่กลยุทธ์ การวางแผน การวิจัย การปฏิบัติการ การควบคุม การประเมินผล อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ รวมไปถึงปัจจัยภายนอกก็สามารถส่งผลกระทบให้เกิดความล้มเหลวได้เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม
ความล้มเหลวเชิงพาณิชย์ หมายถึงการดำเนินงานค้าขายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ผลิตภัณฑ์หลายชนิดคาดหวังไว้สูง ทุ่มทุนการเงินไปอย่างมาก และ/หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขาง แต่ก็ยังคงห่างไกลความสำเร็จ เมื่อกิจการประสบความล้มเหลว มีแนวทางปฏิบัติสองทางได้แก่ วิเคราะห์และกำจัดจุดบกพร่องที่ทำให้เกิดความล้มเหลว หรือไม่ก็ล้มเลิกการดำเนินงานนั้น
ดูเพิ่ม
[แก้]หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Perrow, Charles. Normal Accidents: Living with High-Risk Technologies. New York: Basic Books, 1983. Paperback reprint, Princeton, N.J.: Princeton University Press, 1999. ISBN 0-691-00412-9
- Sandage, Scott A. Born Losers: A History of Failure in America. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 2005. ISBN 0-674-01510-X, ISBN 0-674-02107-X