ความถูกต้องทางการเมือง
ความถูกต้องทางการเมือง (อังกฤษ: political correctness หรือใช้อักษรย่อว่า “PC”) คือคำที่ใช้สำหรับภาษา, ความคิดเห็น, นโยบาย และ พฤติกรรมที่เป็นการหลีกเลี่ยงการดูหมิ่นหรือการสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองแก่เพศ, ผิว, วัฒนธรรม, เพศภาพ (Gender identity), วิถีทางเพศ (Sexual orientation), ผู้พิการ และ สิ่งที่เกี่ยวกับผู้มีอายุขัยรวมไปถึงรสนิยม การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะใช้ไปในเชิงเสียดสี (pejorative) ที่สื่อความคิดของ “การยอมรับ” และ “การไม่ยอมรับ”[1][2] ขณะที่คำว่า “ความไม่ถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: politically incorrect) เป็นคำที่ใช้สำหรับการบรรยายตนเองในทางบวก ตัวอย่างเช่น “คู่มือความไม่ถูกต้องทางการเมือง” ของฝ่ายอนุรักษนิยม[3] และรายการโทรทัศน์ “ความไม่ถูกต้องทางการเมือง” ฉะนั้นความไม่ถูกต้องทางการเมืองจึงหมายถึงการใช้ภาษา, การออกความคิดเห็น, การออกนโยบาย และ พฤติกรรมทีไม่ถูกจำกัดอยูในกรอบของความเป็นอนุรักษนิยม และกรอบของความกังวลที่ว่าสิ่งที่พูดที่กระทำจะสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองหรือความหมางใจให้แก่ผู้อื่น
ประวัติ
[แก้]การใช้ในสมัยแรก
[แก้]การใช้ในสหรัฐอเมริกา
[แก้]หลักฐานแรกของวลี “ไม่ถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: not politically correct) พบในคำตัดสินในกรณี “คดีชิสซอล์ม และ จอร์เจีย” โดยศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1793) ที่กล่าวว่าประโยคของคำตัดสินไม่ถูกต้องตามตัวอักษร ที่เข้าใจกันในสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ว่า “รัฐ, แทนที่จะเป็นประชาชน, ผู้ที่เป็นผู้ก่อให้รัฐเกิดขึ้นได้, มักจะเป็นเป้าที่ดึงดูด และ เรียกความสนใจ. . . .ความรู้สึกเช่นนั้นและการแสดงออกของความไม่ถูกต้องยังคงตกค้างอยู่ในภาษาโดยทั่วไป แม้ในโอกาสอันรื่นรมณ์ เช่นการดื่มอวยพรเป็นการถามหรือ? [แด่] ‘สหรัฐอเมริกา’, แทนที่จะเป็น [แด่] ‘ประชาชนแห่งสหรัฐอเมริกา’ จะเป็นการอวยพรที่เป็นคำตอบ ซึ่งเป็นความไม่ถูกต้องทางการเมือง”[4]
การใช้ในสหราชอาณาจักร
[แก้]ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาร์โนลด์ เบ็นเนทท์แห่งกระทรวงข้อมูลแห่งสหราชอาณาจักรใช้คำว่า “ถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: politically correct) ในการกล่าวถึง “ความเหมาะสม”[5]
การใช้โดยลัทธิมาร์กซ–ลัทธิเลนิน
[แก้]ในศัพท์ของลัทธิมาร์กซ–ลัทธิเลนิน และ ลัทธิทรอทสกี คำว่า “ถูกต้อง” (อังกฤษ: correct) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปที่หมายถึง “ความเหมาะสมตามนโยบายของพรรค” และ ตรงตามปรัชญาของพรรค[6] ซึ่งก็ตรงกับการประกาศของเหมา เจ๋อตงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเกี่ยวกับความ “ถูกต้อง” ในการดำเนินการเกี่ยวกับ “ข้อขัดแย้งที่มิได้สร้างความเป็นปรปักษ์” (อังกฤษ: non-antagonistic contradictions)[1][7][8][9] ศาสตราจารย์ของวิชาวรรณกรรมรูธ เพอร์รีแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สืบคำกล่าวของเหมา เจ๋อตงไปถึง “Little Red Book” (ค.ศ. 1964)[ต้องการอ้างอิง]
การใช้โดยฝ่ายซ้าย
[แก้]ในคริสต์ทศวรรษ 1960 ฝ่ายซ้ายจัดเริ่มนำวลีนี้มาใช้ โดยเริ่มการใช้ตามความหมายตามตัวอักษร แต่ต่อมาใช้ในเชิงประชดประชันในการวิจารณ์ตนเองเกี่ยวกับการยึดมั่นในทัศนคติทางหลักการอย่างฝังหัว (dogmatic attitudes) เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1970 ผู้สนับสนุนฝ่ายซ้ายใหม่ก็เริ่มใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: political correctness)[1] ในบทความ “สตรีผิวดำ” โดยนักประพันธ์และนักต่อสู้เพื่อสังคมโทนี คาเด บามบารากล่าวว่า: “ผู้ชายไม่สามารถที่จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ “ถูกต้องทางการเมือง” และเป็นชายหลงตัวหลงอำนาจ (Male chauvinism) ไปด้วยในขณะเดียวกัน” ต่อมาฝ่ายซ้ายใหม่ก็ใช้วลี “ความถูกต้องทางการเมือง” ในการวิจารณ์ตนเองเชิงเสียดสี เช่นในกรณีของเดบรา ชุลทซ์ผู้กล่าวว่า: “ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 ฝ่ายซ้ายใหม่, ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และผู้มีหัวก้าวหน้า. . .ใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ในเชิงเหยียดในการป้องกันแนวคิดเชิงอนุรักษนิยมของตนเองต่อความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสังคม”[1][2][10] นอกจากนั้นนักเขียนเอลเลน วิลลิสก็ยังกล่าวว่า: “ . . . เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ในการกล่าวอย่างเสียดสีถึงความพยายามของขบวนการต่อต้านการอนาจาร (Anti-pornography movement) ในการให้ความหมายของคำว่า “เพศสภาพของสตรี” (feminist sexuality)[11]
การใช้ในปัจจุบัน
[แก้]การใช้วลี “ความถูกต้องทางการเมือง” และวลีที่คล้ายคลึงกันอย่างกว้างขวางเริ่มขึ้นเมื่อเริ่มใช้ในเชิงเหยียดโดยนักการเมืองฝ่ายขวาในคริสต์ทศวรรษ 1990 ในบริบทของสงครามวัฒนธรรม ริชาร์ด เบิร์นสไตน์ในเดอะนิวยอร์กไทมส์ในปี ค.ศ. 1990[12] ตั้งข้อสังเกตว่า “คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ในเชิงอนุรักษนิยมของลัทธิสตาลินมักจะใช้ในเชิงเหน็บแนมและไม่เห็นด้วยมากกว่าที่จะเป็นเชิงชื่นชม แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” จะได้ยินกันบ่อยขึ้นในบริบทของการโต้เถียงกันว่าสิ่งใดควรสอนหรือสิ่งใดไม่ควรสอนในมหาวิทยาลัย” เบิร์นสไตน์กล่าวถึงการประชุมของ Western Humanities Conference ที่เบิร์คลีย์ในหัวเรื่อง “ความถูกต้องทางการเมือง” และ “วัฒนธรรมศึกษา” ที่วิจัย “ผลที่เกิดขึ้นจากความกดดันในการพยายามที่จะทำตามความนิยมร่วมสมัยที่เป็นที่ยอมรับต่อทุนการเรียน” และกล่าวถึง “ผู้ปฏิบัติตามความถูกต้องทางการเมือง” (อังกฤษ: politically correct people หรือ pcp) แต่เป็นคำที่ไม่ได้รับความนิยมจนเป็นที่ใช้โดยทั่วไป
ภายในสองสามปีวลีที่เดิมไม่ไคร่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักก็เริ่มนำมาใช้กันอย่างสม่ำเสมอในความหมายในการท้าทายความอนุรักษนิยมทางการเมืองและสังคมในการต่อต้านการขยายตัวของวิธีการสอนแบบก้าวหน้า (progressive teaching method) ในโรงเรียนมัธยมในสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัย[13] ในปี ค.ศ. 1991 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชกล่าวปาฐกถาต่อนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนต่อต้าน “ . . . ขบวนการ[ที่จะ]ประกาศว่าหัวเรื่องบางเรื่องเป็นหัวเรื่องที่อยู่ ‘นอกข่าย’ (off-limits), หรือคำพูดบางคำว่าอยู่ ‘นอกข่าย’, หรือแม้แต่ท่าทางบางอย่างว่าเป็นสิ่ง ‘นอกข่าย’” ที่เป็นนัยยะถึงผู้ปฏิบัติตามความถูกต้องทางการเมืองผู้เป็นเสรีนิยม[14] การใช้วลีที่ทำกันเสมอที่สุดคือการใช้ในเชิงเหยียดว่าเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงความกระทบกระเทือนต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดกันอย่างพร่ำเพรื่อ เหนือวิจารณญาณอื่นใด
การใช้วลีนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องชาติพันธุ์และเพศ ที่รวมทั้งภาษาที่ใช้และทัศนคติที่มีต่อหัวข้อที่กล่าวถึง ผู้สนับสนุนทัศนคติที่ว่าชนผิดดำโดยทั่วไปมีสติปัญญาด้อยกว่าชนผิวขาว หรือ สตรีมีสติปัญญาด้อยกว่าชายกล่าวว่าการวิจารณ์ทัศนคติดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความถูกต้องทางการเมือง[15]
ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นภาษาที่ “ถูกต้องทางการเมือง” ก็ได้แก่:[16]
- “แอฟริกันอเมริกัน” ที่ใช้แทนคำว่า “คนดำ”, “นีโกร” และอื่นๆ
- “ชนพื้นเมืองในอเมริกัน” แทนคำว่า “อินเดียน” หรือ “อินเดียนแดง”
- คำที่ไม่ระบุเพศ (Gender-neutral) เช่นคำว่า “firefighter” (นักดับเพลิง) แทนคำว่า “fireman”
- คำที่เกี่ยวกับคนพิการเช่น “visually challenged” (ผู้พิการทางตา) แทนคำว่า “blind” (คนตาบอด)
- “Holiday” (วันเทศกาล) ที่ใช้แทนคำว่า “คริสต์มาส” เช่นการอวยพรในโอกาสใกล้ปีใหม่ก็อาจจะใช้คำว่า “Happy Holidays” ซึ่งเป็นการอวยพรแบบกลางๆ เพื่อเป็นการแสดงความเข้าใจว่าชาวต่างประเทศทุกคนมิได้นับถือคริสต์ศาสนา
โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะนโยบายใดหรือข้ออ้างใดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายขวาเช่นการอ้างว่าปรากฏการณ์โลกร้อนเป็นปัญหาวิกฤติที่ต้องมีการออกนโยบายตอบโต้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นพฤติกรรมที่มีแรงบันดาลใจมาจาก “ความถูกต้องทางการเมือง”[16]
ความเกินเลยของความถูกต้องทางการเมือง
[แก้]ในสหราชอาณาจักร “ความเกินเลยของความถูกต้องทางการเมือง” เป็นสำนวนติดปากที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยหนังสือพิมพ์อนุรักษนิยมเดลลีเมล การตีความหมายตามตัวอักษรก็อาจจะหมายความว่าสำนวนติดปากที่ใช้เพื่อ “ความถูกต้องทางการเมือง” ทำกันอย่างพร่ำเพรื่อเกินเลยกว่าที่ควรจะเป็น แต่ตามความเป็นจริงแล้ววลีนี้เป็นวลีที่ส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงเหยียด และสำนวนติดปากที่ใช้ก็จะเกี่ยวกับเรื่องราว (ที่ส่วนใหญ่เป็นเกร็ดเรื่อง) ที่เป็นตัวอย่างของการใช้ “ความถูกต้องทางการเมือง” อย่างเกินกว่าเหตุ[3]
การใช้โดยสากล
[แก้]การใช้ “ความถูกต้องทางการเมือง” เป็นที่นิยมกันในสแกนดิเนเวีย (“politiskt korrekt” ย่อว่า “PK”), ในโปรตุเกส, สเปน และ ลาตินอเมริกา (สเปน: políticamente correcto, โปรตุเกส: politicamente correcto), ฝรั่งเศส (politiquement correct), เยอรมนี (politisch korrekt), โปแลนด์ (poprawność polityczna), สโลวีเนีย (politično korekten), เนเธอร์แลนด์ และ ฟลานเดอร์ส (politiek correct), อิตาลี (politicamente corretto), รัสเซีย (политкорректность) และ นิวซีแลนด์,[17]
คำอธิบาย
[แก้]ในบริบทของวัฒนธรรมลัทธิมาร์กซ
[แก้]ผู้วิจารณ์อนุรักษนิยมฝ่ายขวา และ ฝ่ายอิสรเสรีนิยมอ้างว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” เป็นปรัชญาลัทธิมาร์กซที่กัดกร่องคุณค่าของวัฒนธรรมตะวันตก[18] ปีเตอร์ ฮิทเคนส์เขียนใน “การยุบเลิกบริเตน” (อังกฤษ: The Abolition of Britain) ว่า: “วลีที่ชาวอเมริกันใช้กันตามสบาย. . .“ความถูกต้องทางการเมือง” คือระบบความคิดที่แคบที่มามีอิทธิพลเป็นอันมากที่สุดในเกาะอังกฤษตั้งแต่ การปฏิรูปศาสนา” วิลเลียม เอส. ลินด์ และ แพ็ททริค บุคานันบรรยาย “ความถูกต้องทางการเมือง” ว่าเป็นเท็คนิคที่เริ่มขึ้นโดยตระกูลความคิดฟรังเฟิร์ตที่มีวัตถุประสงค์ในการบ่อนทำลายคุณค่าของวัฒนธรรมตะวันตกโดยการมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยวัฒนธรรมมลัทธิมาร์กซ.[19][20] แพ็ททริค บุคานันกล่าวในหนังสือ “การสิ้นสุดของโลกตะวันตก” (อังกฤษ: The Death of the West) ว่า: “ความถูกต้องทางการเมืองคือวัฒนธรรมมลัทธิมาร์กซ ของสถาบันการปกครองที่ลงโทษผู้ทรยศต่อหลักการและประทับตราผู้ไม่เห็นด้วยว่าเป็นผู้นอกระบบสังคม เช่นเดียวกับการลงโทษผู้นอกศาสนาคริสต์โดยผู้ไต่สวนศรัทธา สิ่งที่เด่นของความคิดที่ว่านี้คือการไม่ยอมรับความคิดนอกระบบ”[21]
ในบริบทของภาษาศาสตร์
[แก้]ในการพยายามเลือกคำที่ใช้ให้ “ถูกต้องทางการเมือง” เอ็ดนา แอนดรูว์ส์กล่าวว่าการใช้ภาษาที่เป็น “คำรวม” (inclusive) และ “คำกลาง” (neutral) มีรากฐานมาจากปรัชญาที่ว่า “ภาษาคือสิ่งที่แทนความคิด และอาจจะถึงกับควบคุมความคิด”[22] ข้ออ้างนี้มาจากสมมุติฐานซาเพียร์–วอร์ฟ (Sapir–Whorf hypothesis) ที่กล่าวว่ากลุ่มไวยากรณ์ของภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรม แต่แอนดรูว์ส์กล่าวว่าความเข้าใจเพียงเล็กน้อยของความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและความคิดก็เพียงพอที่จะสนับสนุน “การกำจัดระดับอย่างมีเหตุผล. . . [ของ]ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโดยการเปลี่ยนแปลงทางภาษาศาสตร์”[23]
งานทางด้านจิตวิทยาเชิงการรู้ (cognitive psychology) และ ภาษาศาสตร์เชิงการรู้ (cognitive linguistics) ชี้ให้เห็นว่าการเลือกคำมีอิทธิพลต่อการสร้างรูปแบบของสัญชาน, ความทรงจำ และทัศนคติของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง[24][25] ฉะนั้นคำถามจึงอยู่ที่ว่าภาษาที่ไม่มีเพศจะสามารถสร้างความลำเอียงทางต่อทัศนคติเกี่ยวกับเพศ (sexism) ได้หรือไม่--ทัศนคติหรือพฤติกรรมทางลบ
ผู้สนับสนุนภาษาเอกเพศ (Gender-neutral language) โต้ว่าการใช้ภาษาดังว่าเป็นการใช้ภาษาที่ไม่สร้างอันตรายจากเหตุผลหลายประการ:
- สิทธิ, โอกาส และเสรีภาพของบุคคลบางคนได้รับการจำกัดลงเพราะผู้นั้นถูกลดลงมาเป็นสามัญทัศน์
- สามัญทัศน์ส่วนใหญ่เป็นนัย, เกิดจากจิตใต้สำนึก และ ได้รับการส่งเสริมจากการใช้ตราหรือคำเชิงเหยียด
- การใช้ตราหรือคำที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมทำให้บุคคลนั้นต้องหาวิธีที่จะบรรยายผู้ที่ไม่เหมือนตนเอง
- เมื่อการใช้ตราทำด้วยความจงใจ ผู้ที่ได้รับการบรรยายก็จะได้รับการบรรยายอย่างแจ่มแจ้ง แทนที่จะเป็นสามัญทัศน์ของผู้นั้น
ผู้วิจารณ์ความคิดดังว่านี้และภาษาเอกเพศโดยทั่วไปก็มักจะใช้คำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง”[4].
ข้อติที่พบโดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่องคำที่เลือกใช้โดยกลุ่มว่าเป็นคำที่เหมาะแก่กลุ่ม และกลายมาเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปรวมทั้งการใช้โดยผู้เหยียดผิวเหยียดเพศ ฉะนั้นคำใหม่จึงกลายเป็นคำที่หมดความหมาย ซึ่งทำให้ต้องคิดหาคำใหม่ขึ้นมาแทนที่ เช่นในกรณีของการวิวัฒนาการจากคำว่า “นีโกร” มาเป็น “คนผิวสี” มาเป็น “คนดำ” มาเป็น “แอฟริกันอเมริกัน”
ในบริบทของการเมือง
[แก้]นักวิจารณ์การเมืองฝ่ายซ้ายอ้างว่าหลังจาก ค.ศ. 1980 นักอนุรักษนิยมอเมริกันฝ่ายขวานิยามคำว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” ขึ้นมาใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของการเมืองอเมริกันในรูปของสงครามวัฒนธรรม ฮัททันรายงานว่า:
ความถูกต้องทางการเมืองเป็นอุปกรณ์วิเศษที่ชาวอเมริกันฝ่ายขวาพัฒนาขึ้นมาราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำลายความเป็นเสรีนิยมอเมริกัน. . . .สิ่งที่ฝ่ายขวามองเห็นชัดอย่างรวดเร็วคือถ้าทำการประกาศสงครามต่อการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมของเสรีนิยม — โดยการใช้ “ความถูกต้องทางการเมือง” ในการต่อต้านแล้ว — ฝ่ายขวาก็จะสร้างความเสื่อมเสียให้แก่โครงการทางการเมืองได้ทั้งหมด[26]
นอกจากนั้นแล้วนักวิจารณ์การเมืองยังอ้างว่าอันที่จริงแล้วสหรัฐไม่เคยมี “ขบวนการเพื่อความถูกต้องทางการเมือง และกล่าวว่าผู้ใช้วลีนี้ทำเพื่อหันเหความสนใจจากประเด็นสำคัญในการถกเถียงในเรื่องที่เกี่ยวกับการเหยียดผิว, ชั้นวรรณะ และเพศ และการปฏิบัติทางกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน”[27] ในทำนองเดียวกันพอลลี ทอยน์บีโต้ว่า “วลีดังกล่าวเป็นวลีของฝ่ายขวาที่ปราศจากความหมายที่ใช้เพื่อป้ายสีผู้อื่น เพื่อทำให้ภาพพจน์ของตนเองดีขึ้น”[28]
ทอยน์บีกล่าวว่า:
วลี “ความถูกต้องทางการเมือง” เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นรหัสที่หมายถึงผู้ที่ยังคงต้องการใช้คำว่า “Paki”[29], “spastic”[30] หรือ “queer”[31] หรือทุกคนที่ต้องการที่จะเหยียดหยามผู้ที่ไม่เหมือนตน หรือ ผู้ชอบข่มเหงผู้อื่นผู้ที่ไม่ยอมโต สังคมของ “ความถูกต้องทางการเมือง” เป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม แม้ว่าเราจะต้องหลิ่วตากับการหากลวิธีต่างๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นไม่หมางใจ[32]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Ruth Perry, (1992), “A short history of the term ‘politically correct’ ”, in Beyond PC: Toward a Politics of Understanding , by Patricia Aufderheide, 1992
- ↑ 2.0 2.1 Schultz, Debra L. (1993). To Reclaim a Legacy of Diversity: Analyzing the “Political Correctness” Debates in Higher Education. New York: National Council for Research on Women. [1]
- ↑ "Regnery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-09. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
- ↑ Chisholm v State of GA, 2 US 419 (1793) Findlaw.com - Accessed 6 February 2007. “The states, rather than the People, for whose sakes the States exist, are frequently the objects which attract and arrest our principal attention. . . . Sentiments and expressions of this inaccurate kind prevail in our common, even in our convivial, language. Is a toast asked? ‘The United States’, instead of the ‘People of the United States’, is the toast given. This is not politically correct.”
- ↑ Flower, Newmas (2006). The Journals of Arnold Bennett. READ BOOKS,. ISBN 9781406710472.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "Marxism and Form". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-23. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26.
- ↑ Chang-tu Hu, International Review of Education / Internationale Zeitschrift für Erziehungswissenschaft / Revue Internationale de l'Education, Vol. 10, No. 1. (1964), pp.12–21.
- ↑ Susan Biele Alitto, Comparative Education Review, Vol. 13, No. 1. (Feb. 1969), pp.43–59.
- ↑ "On the Correct Handling of Contradictions Among the People - Britannica Online Encyclopedia". Britannica.com. 1957-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
- ↑ Schultz citing Perry (1992) p.16
- ↑ Ellen Willis, “Toward a Feminist Revolution”, in No More Nice Girls: Countercultural Essays (1992) Wesleyan University Press, ISBN 0-8195-5250-X, p.19.
- ↑ "IDEAS & TRENDS; The Rising Hegemony of the Politically Correct - The New York Times".
- ↑ D’Souza 1991; Berman 1992; Schultz 1993; Messer Davidow 1993, 1994; Scatamburlo 1998
- ↑ Remarks at the University of Michigan Commencement Ceremony in Ann Arbor, May 4, 1991. George Bush Presidential Library.
- ↑ "The Bell Curve Wars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20.
- ↑ 16.0 16.1 "www.amazon.com".
- ↑ mapp (9 December 2005). "Political Correctness - Next Steps". สืบค้นเมื่อ 2007-04-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-01-05.
- ↑ "William S. Lind says Political Correctness is a form of cultural marxism". Academia.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-02-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
- ↑ "Buchanan interview on Fox News". Foxnews.com. 2005-05-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
- ↑ Buchanan, Patrick The Death of the West, p.89
- ↑ Cultural Sensitivity and Political Correctness: The Linguistic Problem of Naming, Edna Andrews, American Speech, Vol. 71, No. 4 (Winter, 1996), pp.389-404.
- ↑ Development and Validation of an Instrument to Measure Attitudes Toward Sexist/Nonsexist Language Sex Roles: A Journal of Research, March 2000, by Janet B. Parks, Mary Ann Roberton [2] เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Loftus, E. and Palmer, J. 1974. “Reconstruction of Automobile Destruction: An example of the interaction between language and memory”. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior 13, pp.585-9
- ↑ Kahneman, D. and Amos Tversky. 1981. “The Framing of Decisions and the Psychology of Choice”. Science, 211, pp.453-8
- ↑ Hutton W, “Words really are important, Mr Blunkett” The Observer, Sunday 16 December 2001 - Accessed 6 February 2007.
- ↑ Messer–Davidow 1993, 1994; Schultz 1993; Lauter 1995; Scatamburlo 1998; and Glassner 1999.
- ↑ Toynbee P, “Religion must be removed from all functions of state”, The Guardian, Sunday 12 December 2001 - Accessed 6 February 2007.
- ↑ คำเหยียดหยามที่ใช้เรียกชาวปากีสถาน
- ↑ คำเหยียดหยามที่ใช้เรียกผู้ทำอะไรที่ไม่ค่อยฉลาดนัก
- ↑ คำเหยียดหยามที่ใช้เรียกเกย์
- ↑ http://www.guardian.co.uk/commentisfree/2009/apr/28/toynbee-equality-bill-welfare
ดูเพิ่ม
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]สนับสนุน
[แก้]- Aufderheide, Patricia. (ed.). 1992. Beyond P.C.: Toward a Politics of Understanding. Saint Paul, Minnesota: Graywolf Press.
- Berman, Paul. (ed.). 1992. Debating P.C.: The Controversy Over Political Correctness on College Campuses. New York, New York: Dell Publishing.
- Gottfried, Paul E., After Liberalism: Mass Democracy in the Managerial State, 1999. ISBN 0-691-05983-7
- Jay, Martin., The Dialectical Imagination: A History of the Frankfurt School and the Institute of Social Research, 1923-1950, University of California Press, New Ed edition (March 5, 1996). ISBN 0-520-20423-9
- Switzer, Jacqueline Vaughn. Disabled Rights: American Disability Policy and the Fight for Equality. Washington DC: Georgetown University Press, 2003.
คัดค้าน
[แก้]- Buchanan, Patrick J.2002. The Death of the West, St Martin's Press.
- Dinesh D'Souza, Illiberal Education: The Politics of Race and Sex on Campus New York: Macmillan, Inc./The Free Press, 1991, ISBN 0-684-86384-7
- Henry Beard and Christopher Cerf, The Official Politically Correct Dictionary and Handbook, Villard Books, 1992, paperback 176 pages, ISBN 0-586-21726-6
- David E. Bernstein, "You Can't Say That! The Growing Threat to Civil Liberties from Antidiscrimination Laws," Cato Institute 2003, 180 pages ISBN 1-930865-53-8
- Daniel Brandt, "An Incorrect Political Memoir", Lobster Issue 24: December 1992.
- William S. Lind, "The Origins of Political Correctness" เก็บถาวร 2002-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Accuracy in Academia, 2000.
- Nat Hentoff, Free Speech for Me - But Not for Thee, HarperCollins, 1992, ISBN 0-06-019006-X
- Diane Ravitch, The Language Police: How Pressure Groups Restrict What Students Learn, Knopf, 2003, hardcover, 255 page.
- Nigel Rees, The Politically Correct Phrasebook: what they say you can and cannot say in the 1990s, Bloomsbury, 1993, 192 pages, ISBN 0-7475-1426-7
- Kors, Alan C. (1998). The Shadow University: The Betrayal of Liberty on America’s Campuses. New York: Free Press. ISBN 0-684-85321-3.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - Arthur Schlesinger Jr., The Disuniting of America: Reflections on a Multicultural Society, W.W. Norton, 1998 revised edition, ISBN 0-393-31854-0
- Howard S. Schwartz, Revolt of the Primitive: An Inquiry into the Roots of Political Correctness, Piscataway, NJ: Transaction Publishers, 2003 Revised Paperback Edition ISBN 0-7658-0537-5
- Psychodynamics of Political Correctness - Published in Journal of Applied Behavioural Science
- The Campaign Against Political Correctness