คณะ ซี. เอ็ม. เอ.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะ ซี. เอ็ม. เอ.
กลุ่มโปรเตสแตนต์
ความโน้มเอียงEvangelical
เทววิทยาKeswickian[1][2]
แผนการปกครองแนวคิด Congregationalist, เพรสไบทีเรียน และอิปิสโคปัลแบบไม่ศักดิ์สิทธิ์
ประธานJura Yanagihara
ภูมิภาค88 ประเทศ
ศูนย์กลางเซาเปาลู ประเทศบราซิล
ผู้ก่อตั้งอัลเบิร์ต เบนจามิน ซิมป์สัน[1]
ต้นกำเนิด1975
การชุมนุม22,000
สมาชิก6,200,000
เว็บไซต์ทางการawf.world

องค์การเดอะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอะไลแอนซ์ (อังกฤษ: Christian and Missionary Alliance) เรียกโดยย่อว่า คณะ ซี. เอ็ม. เอ. (CMA) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มอีแวนเจลิคัล เป็นคณะคริสตจักรที่สหรัฐอเมริกาและเป็นคณะมิชชันนารีที่ดำเนินงานเผยแพร่ศาสนาคริสตในประเทศต่าง ๆ เอกลักษณ์ของคณะนี้คือความเชื่อว่างานคริสตจักรและงานมิชชันนารีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่ใช่กิจกรรมที่แยกออกจากกัน

ประวัติ[แก้]

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ก่อตั้งในปี ค.ศ.1884 โดย ดร. อัลเบิร์ต เบนจามิน ซิมป์สัน (Albert B. Simpson) ศาสนาจารย์ประจำคริสตจักรเพรสไบทีเรียนในแคนาดา เพื่อทำการประกาศข่าวดีไปทั่วโลก คณะนี้เกิดจากการที่ซิมป์สันได้พบผู้ลี้ภัยในนครนิวยอร์ก จึงเป็นเหตุให้ซิมป์สันได้คิดว่ายังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากในแถบทวีปอื่น ๆ ที่ไม่มีโอกาสได้ยินเรื่องของพระเยซู เขาเชื่อว่าหากคริสเตียนประกาศเรื่องพระเยซูไปทุกชนชาติทั่วโลกเร็วแค่ไหน พระเยซูจะเสด็จกลับมาเร็วแค่นั้น ความเชื่อในเรื่องนี้เป็นจุดกำเนิดของ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ซิมป์สันมุ่งหมายที่จะประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์ และสร้างคริสตจักรไปทั่วโลกสำหรับทุกชนชั้น ในปี ค.ศ. 1974 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้สถาปนาเป็นคณะนิกายในศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี ค.ศ. 1998 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ระดับวิทยาลัย 4 แห่งในสหรัฐอเมริกา และสถาบันด้านเทววิทยาศาสนาคริสต์อีกหนึ่งแห่งในประเทศฟิลิปปินส์

งานผู้ลี้ภัย[แก้]

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ช่วยเหลือและทำการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์แก่ผู้ลี้ภัยประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ค่ายผู้อพยพในประเทศไทยในยุคของเขมรแดง ผู้ลี้ภัยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนในฮ่องกง ผู้ลี้ภัยในเลบานอน เด็กขาดอาหารในทวีปแอฟริกา เป็นต้น

สัญลักษณ์[แก้]

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ออกแบบสัญลักษณ์เป็นรูปกางเขน ถ้วยยา ขันชำระ และมงกุฎ เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อและหลักคำสอนของคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ว่าแกนหลักคำสอนของศาสนาคริสต์มี 4 ด้าน คือ พระเยซูทรงเป็นทั้งพระผู้ช่วยให้รอด เป็นผู้ชำระให้บริสุทธิ์ เป็นแพทย์ และเป็นกษัตริย์ผู้จะเสด็จกลับมา คณะ ซี. เอ็ม. เอ. เรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า พระกิตติคุณ 4 ด้าน

ขอบเขตงานของคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ในปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบันนี้ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. มีงานการประกาศและก่อตั้งคริสตจักรอยู่ในหลายที่ ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย/แปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา จากฐานข้อมูลสถิติของ Association of Religion Data Archives แสดงตัวเลขการเติบโตของจำนวนคริสตจักรและสมาชิกดังปรากฏในตารางข้างล่างนี้ (ตัวเลขประมาณการ)[3]

ตารางแสดงข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวน
คริสตจักรและสมาชิกของคณะ ซี. เอ็ม. เอ.
ช่วงปี ค.ศ. จำนวนคริสตจักร จำนวนสมาชิก
1929 392 25,000
1930–1960 1,016 59,657
1961–1980 1,382 189,710
1981–2000 1,959 364,949
2001–2009 2,021 432,471
2013 3,000 600,000

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา คณะ ซี. เอ็ม. เอ. มีโครงการ Envision ที่ส่งเยาวชนและฆราวาสกว่า 1,000 คนทุก ๆ ปี เดินทางไป 40 ประเทศ ประเทศที่คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพื่องานประกาศเรื่องพระเยซูคริสตเป็นพิเศษมีจำนวน 11 ประเทศ เช่น กรุงไทเป-ประเทศไต้หวัน, กรุงพนมเปญ-ประเทศกัมพูชา, กรุงเอนเซนาดา-ประเทศเม๊กซิโก, กรุงซาน ซัลวาดอร์-ประเทศ เอล ซัลวาดอร์, กรุงกาบอน-ประเทศอาฟริกา, กรุงปารีส-ประเทศฝรั่งเศส, รัฐฟิลาเดลเฟียและชิคาโก-ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

งานของ คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ในประเทศไทย[แก้]

คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้เริ่มทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า "สยามมิชชั่น" ในเวลานั้นคณะ ซี. เอ็ม. เอ. ได้ส่งมิชชันนารี 6 คนและพวกเขาได้เริ่มประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์แก่ชาวบ้าน โดยการล่องแพไม้ไผ่ไปตามลำคลองของหมู่บ้านต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1950 พวกเขาได้เยียวยารักษาคนไทยที่เป็นโรคเรื้อนนับพันคน และได้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสอนพระคัมภีร์ให้แก่เด็กโรคเรื้อน ซึ่งเป็นหลักสูตร 4 ปี จากจำนวนมิชชันนารี 6 คน พวกเขาได้ก่อตั้งคริสตจักรในประเทศไทยกว่า 110 แห่ง และมีสมาชิกกว่า 7,000 คนในช่วง 20 ปีแรก เมื่อปี 2001 คณะ ซี. เอ็ม. เอ. ประเทศไทย หรือสยามมิชชั่นในประเทศไทยก่อตั้งกลุ่มช่วยเหลือคู่แต่งงานภายใต้ชื่อ แอลมา (ALMA) โครงการนี้มีเป้าหมายช่วยคู่แต่งงานไม่ต้องหย่าร้างและนำไปสู่การนับถือพระเยซูคริสต์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Wu, Dongsheng John (1 เมษายน 2012). Understanding Watchman Nee: Spirituality, Knowledge, and Formation (ภาษาอังกฤษ). Wipf and Stock Publishers. p. 58. ISBN 978-1-63087-573-2. D. D. Bundy notes that A. B. Simpson (1843–1919)—Presbyterian founder of the Christian and Missionary Alliance—who never accepted the Wesleyan doctrine of eradication of sin, accepted the Keswickian understanding of sanctification.
  2. Kenyon, Howard N. (29 ตุลาคม 2019). Ethics in the Age of the Spirit: Race, Women, War, and the Assemblies of God (ภาษาอังกฤษ). Wipf and Stock Publishers. ISBN 978-1-4982-8522-3. Much of the Keswickian influence came through A.B. Simpson's Christian and Missionary Alliance, itself an ecumenical missionary movement
  3. "The Association of Religion Data Archieves". Association of Religion Data Archives. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]