ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตันเซียวเชอะ หรือ เซียวเซอะ ทองตัน ผู้เป็นต้นตระกูลทองตัน เกิดที่ตำบลน่ำฮั้ว มณฑลฮกเกี้ยน จีนแผ่นดินใหญ่ เกิดปีฉลู เกิดราว ๆ ปี พ.ศ. 2407 - 2408 เดินทางมาภูเก็ตตั้งแต่อายุราว 11 ปี ในปี พ.ศ. 2419 [1]

ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากรัชกาลที่ 6 เป็น “ขุนชนานิเทศ” มีตำแหน่งทางราชการเป็นกำนันตำบลทุ่งคา เมืองภูเก็ต และได้ขอตั้งนามสกุล “ทองตัน” เมื่อปี พ.ศ. 2458 ขณะดำรงตำแหน่ง กำนัน สังกัดกระทรวงมหาดไทย[2]

ขุนชนานิเทศถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2471 สิริอายุ 63 ปี (ส่วนปี พ.ศ. 2469 พบหลักฐานว่าเป็นปีที่ทำพินัยกรรม ไม่ใช่ปีที่มรณะ)

การงาน[แก้]

เปิดร้านขายของชำบนถนนถลาง ชื่อร้าน “สุ่ยหิ้นจั่ง” เป็นตึกสไตล์ชิโน-โปรตุกีส (ปัจจุบันได้มีการบูรณะทำเป็นเกสท์เฮาส์ “ถลาง เกสท์เฮ้าส์”)[3] และการค้าส่งออกหอม กระเทียม พริกไทย ระหว่างภูเก็ต ตรังและปีนัง

ในปี พ.ศ. 2458 ได้สร้างบ้านสองชั้นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังคามุมกระเบื้องดินเผา ต่อมาจึงสร้างอาคารด้านหลังเพิ่มเติม ซึ่งกลายเป็น “บ้านทองตัน[4] ในเวลาต่อมา อยู่ตรงหัวมุมถนนดีบุกกับถนนเทพกระษัตรี (ถูกจัดเป็นหนึ่งในอังมอเหลา[a] จังหวัดภูเก็ต ที่มีสถาปัตยกรรมแนวยุโรป) [5]

จากนั้นก็เริ่มทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ที่เหมืองป้อซ่าง (บริเวณถนนเจ้าฟ้า ตรงกันข้ามกับโรงเรียนดาวรุ่งวิทยา ในปัจจุบัน) และกิจการห้องเช่า ห้องแถว แถวบางเหนียว ถนนภูเก็ต แถวน้ำ แถวถนนรัษฎา และถนนถลาง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 300 หลัง

นอกจากนี้ยังได้สร้างโรงอุปรากรจีน (โรงงิ้ว หรือโรงละคร) ซึ่งต่อมาได้พัฒนากิจการเป็น “โรงภาพยนตร์เฉลิมตัน” เมื่อปี พ.ศ. 2472[6] พบบางหลักฐาน เช่น บัตรสมนาคุณ สะกดว่า "เฉลิมตันติ"[7] แต่อ่านว่า "เฉลิมตัน" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "โรงภาพยนตร์สยาม" เมื่อปี พ.ศ. 2517[8] และได้เลิกกิจการไปแล้ว คาดว่าเลิกกิจการประมาณปี พ.ศ. 2522[9] ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสถานออกกำลังกาย

ยศ/บรรดาศักดิ์[แก้]

ตันเซียวเชอะ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากรัชกาลที่ 6 เป็น “ขุนชนานิเทศ” มีตำแหน่งทางราชการเป็นกำนันตำบลทุ่งคา เมืองภูเก็ต (หรือที่ตั้งย่านเมืองเก่าภูเก็ตในปัจจุบัน)[5] เนื่องจากได้สร้างสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ได้แก่

การสมรส และครอบครัว[แก้]

ขุนชนานิเทศ มีภรรยา 2 คน ได้แก่

ภรรยาคนแรกเป็นคนไทย ชื่อ นางนุ้ย แซ่อึ๋ง เป็นชาวจังหวัดตรัง มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชายทั้งหมด ได้แก่

  1. ตันเฉ่งห้อ (หรือ หลวงชนาทรนิเทศ[b]) (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2497) มีภรรยา 2 คน
    1. ภรรยาคนแรก ชื่อ นางฉ้ายหวัน แซ่อู๋ (ใจหวาน ทองตัน) เป็นคนจีนชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ มีบุตรธิดารวม 13 คน (บุตร 7 คน และธิดา 6 คน) ได้แก่
      1. นายล่องเต็ก ทองตัน
      2. นายล่องจิ้น ทองตัน
      3. นางกุ้ยปี้ โสดาบรรลุ (ถึงแก่กรรม)
      4. นายล่องเล้ ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
      5. นางกุ้ยหัว กำลัง
      6. นายเกียรติ ทองตัน (ล่องตี่ ทองตัน)
      7. นายศิลป ทองตัน (ล่องสิ่น ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
      8. นางจู้ ไกรทัศน์ (กุ้ยจู้ ทองตัน)
      9. นางกุ้ยหา ทองตัน
      10. นายล่องเหียน ทองตัน
      11. นางกุ้ยจี่ ทองตัน
      12. นางสาวกุ้ยเจ้ง ทองตัน
      13. นายล่องเปียว ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
    2. ภรรยาคนที่ 2 เป็นคนไทย ชื่อนางละมุน  มีบุตรชาย  4  คน  ธิดา  1  คน  ได้แก่
      1. นายไทย  ทองตัน  
      2. นายสำราญ  ทองตัน  
      3. นายทวี  ทองตัน  
      4. นายกิตติ  ทองตัน  
      5. นางสาวรำลึก  ทองตัน
  2. ตันเฉ่งกาง ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ปีนัง จึงไม่พบประวัติ (ถึงแก่กรรมก่อนขุนชนานิเทศ) สมรสกับ นางกิ่มหลวน มีธิดา 4 คน และบุตร 1 คน ได้แก่
    1. นางลู้ห่อ ทองตัน (ถึงแก่กรรม)
    2. นางลู้เล่ง ทองตัน
    3. นางลู่ซา อ๋องสกุล
    4. นางลู้สี่ เอี๋ยวพานทอง
    5. นายเอก ทองตัน (ล่องเอก ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
  3. ตันเฉ่งเกียด (หรือ ขุนตันติวณิชกรรม) (คาดว่าเกิดช่วงปี พ.ศ. 2439-2444 และถึงแก่กรรม พ.ศ. 2484 สิริอายุ 40 ปีกว่า) สมรสกับ นางซุ่ยโถ แซ่อ๋อง (ปรางทอง ทองตัน) มีบุตรธิดารวม 15 คน (บุตรชาย 9 คน และธิดา 6 คน)
    1. นางอุดมลักษณ์ งานทวี (กุ้ยหยก ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
    2. นายเฉลิม ทองตัน (ล่องซี ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
    3. นางทัศนีย์ งานทวี (กุ้ยเพ็ก ทองตัน)
    4. นางสุรภี สฤษดิพันธุ์ (กุ้ยสิ้น ทองตัน)
    5. นายกิตติ ทองตัน (ล่องกี่ ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
    6. นางดุสิดา กีรติสุทธิโสภณ (กุ้ยอิ่น ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
    7. นางสาวสะอาดศรี ทองตัน (กุ้ยปี่ ทองตัน)
    8. นายธนา ทองตัน (ล่องอิ้ว ทองตัน) (ถึงแก่กรรม)
    9. นางมณีรัตน์ พงษ์นริศร (กุ้ยหุน ทองตัน)
    10. นายธาตรี ทองตัน (ล่องหม่อ ทองตัน)(ถึงแก่กรรม)
    11. นายธนกิจ ทองตัน (ล่องเสียง ทองตัน)(ถึงแก่กรรม)
    12. นายธีระ ทองตัน (ล่องต๊าด ทองตัน)
    13. นายสมศักดิ์ ทองตัน (ล่องเก้ง ทองตัน)(ถึงแก่กรรม)
    14. นายสุทัศน์ ทองตัน (ล่องแอ๋ง ทองตัน)
    15. นายธนิต ทองตัน (ล่องปิ้น ทองตัน)

ภรรยาคนที่ 2 ของขุนชนานิเทศ ไม่มีบุตรด้วยกัน

นอกจากนี้ขุนชนานิเทศยังมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน เป็นผู้หญิง[16]


สุสาน[แก้]

สุสานที่ฝังศพของขุนชนานิเทศ อยู่ที่สุสานควนลิ้มซ้าน (ชื่อทางการ: ควนหงิมสั้น) ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จ.ภูเก็ต ถือเป็นสุสานต้นตระกูลทองตัน และมีสุสานที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆกันได้แก่ ขุนตันติวณิชกรรม (พ่อของ เฉลิม ทองตัน) และ หลวงชนาทรนิเทศ ตามลำดับ

เชิงอรรถ[แก้]

  1. อังมอเหลา ในเมืองภูเก็ตมีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกผสมจีน ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงสมัยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 6 บอกเล่าประวัติศาสตร์ของภูเก็ตและการก่อร่างสร้างตัวของชาวฮกเกี้ยนจนกลายเป็นคหบดีผู้ร่ำรวย ปัจจุบันในเมืองภูเก็ตมีอังมอเหลาหลงเหลืออยู่ประมาณ 20 กว่าหลัง
  2. ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงชนาทรนิเทศ” จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ตำแหน่งกรมการเมืองพิเศษ ศักดินา 600 ในฐานะที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางด้านการศึกษาและช่วยเหลืองานราชการ

อ้างอิง[แก้]

  1. "ขุนชนานิเทศ (เซียวเชอะ ทองตัน)". www.phuketcity.info.
  2. หนังสือคำขอตั้งนามสกุล "ทองตัน" ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จ.ตรัง, สืบค้นเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2560
  3. "ถูก สบาย สไตล์ "เกสท์เฮาส์" กลางเมืองภูเก็ต". ร้านอาหารภูเก็ต ที่พักภูเก็ต หางาน ภูเก็ต มะเร็งปากมดลูก อาหารเพื่อสุขภาพ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-10-15.
  4. "พาชม 7 อังมอเหลา คฤหาสน์เก่าของเถ้าแก่ภูเก็ต". SARAKADEE LITE (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. 5.0 5.1 หนังสืออังมอเหลา บ้านเก่าเถ้าแก่ภูเก็ต โดยมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต, ISBN: 9786169367000, พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
  6. "ที่นี่ภูเก็ต - สี่แยกถนนเยาวราช ตัด ถนนดีบุก..." www.facebook.com.
  7. "บัตรสมนาคุณโรงหนังตันติเฉลิมตันตอนหลั... - Boonlert Sanprasert". www.facebook.com.
  8. "ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงภาพยนตร์สยามภูเก็ต". thaicorporates.com.
  9. ชื่นนิรันดร์, ณรงค์ (3 Oct 2022). "โรงหนังเฉลิมตัน..ในอดีต". Facebook หนึงถ้วยกาแฟ. สืบค้นเมื่อ 8 Oct 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ศาลเจ้าเจ่งอ๋อง สำนักองค์เทพเจ้าหม่าอู่หวาง". ภูเก็ต ไลฟ์ : คู่มือการท่องเที่ยว และ การอยู่อาศัย ใน จังหวัดภูเก็ต (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-09-22.
  11. ราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เล่ม 32 หน้า 2124-2130, https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1049288.pdf, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2565
  12. "พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว (Phuket Thai Hua Museum)". http://oknation.nationtv.tv. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  13. "ไฟล์เล็ก-ทุ่งคา2ฉ6 - ดาวน์โหลดหนังสือ | 1-50 หน้า | AnyFlip". anyflip.com. หน้า24. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2565
  14. Thailand, Museum. "ศาลเจ้าจ้อซู้ก๋ง :: Museum Thailand". www.museumthailand.com.
  15. 15.0 15.1 "ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ - ดาวน์โหลดหนังสือ | 51-100 หน้า | PubHTML5". pubhtml5.com.
  16. “ตระกูล ทองตัน : ขุนชนานิเทศ และ หลวงชนาทรนิเทศ บรรพชนผู้สร้างเมืองภูเก็ต” จากหนังสือที่ระลึกการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ จังหวัดภูเก็ต 25-31 มีนาคม 2533