กึลนุช ซุลตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กึลนุช ซุลตัน
พระสาทิสลักษณ์หลังสวรรคต วาดในคริสต์ศตวรรษที่ 19
วาลีเดซุลตันแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
ระหว่าง6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1695 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715
ฮาเซกีซุลตันแห่งจักรวรรดิออตโตมัน
(พระมเหสี)
ระหว่าง4 สิงหาคม ค.ศ. 1683 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1687
คู่อภิเษกเมห์เหม็ดที่ 4
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
ตุรกี: Emetullah Rabia Gülnuş Sultan
ตุรกีออตโตมัน: :جولنوس امت الله رابعه سلطان
ราชวงศ์ออตโตมัน
ประสูติป. ค.ศ. 1642
เรธิมโน ครีต สาธารณรัฐเวนิส
Eumenia Voria
สวรรคต6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 (72–73 ปี)
คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคืออิสตันบูล ประเทศตุรกี)
ฝังพระศพมัสยิดเยนีวาลีเด อิสลตันบูล
ศาสนาอิสลาม, อดีตกรีกออร์ทอดอกซ์

เอเมทุลลาฮ์ ราบีอา กึลนุช ซุลตัน (ตุรกีออตโตมัน: جولنوس امت الله رابعه سلطان; ตุรกี: Emetullah Rabia Gülnuş Sultan; ค.ศ. 1642[1] – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715) เป็นฮาเซกีซุลตันในเมห์เหม็ดที่ 4 สุลต่านออตโตมัน และวาลีเดซุลตันของมุสทาฟาที่ 2 กับอาห์เหม็ดที่ 3 พระราชโอรสทั้งสองของพระองค์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระองค์กลายเป็นหญิงที่มีอำนาจและทรงอิทธิพลที่สุดในจักรวรรดิออตโตมัน[2][3]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

กึลนุช ซุลตันเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1642[4] ที่เมืองเรธิมโน ครีตในสมัยสาธารณรัฐเวนิส เดิมพระองค์มีพระนามว่า Eumenia Voria (Ευμενία Βόρια) และมีเชื้อสายกรีก เป็นบุตรีของนักบวชประจำคริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์[5][a] พระองค์ถูกฝ่ายออตโตมันจับกุมในช่วงที่มีการรุกรานครีตใน ค.ศ. 1645[5]

สวรรคต[แก้]

ข้างในโดมของมัสยิดเยนีวาลีเดที่อึสคือดาร์ อิสตันบูล

กึลนุช ซุลตันเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 ที่อิสตันบูลในรัชสมัยอาห์เหม็ดที่ 3 พระราชโอรสของพระองค์ ไม่นานก่อนจุดเริ่มต้นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขที่นักประวัติศาสตร์ตุรกีเรียกว่า ยุคทิวลิป พระศพของพระองค์ถูกฝังในสุสานที่เปิดโล่งใกล้มัสยิดที่พระองค์ทิ้งมรดกให้สร้างที่อึสคือดาร์ในอิสตันบูลฝั่งอานาโตเลีย ซึ่งมีชื่อว่ามัสยิดเยนีวาลีเด[6]

พระโอรสธิดา[แก้]

พระองค์สมรสกับเมห์เหม็ดที่ 4 และมีพระโอรส 2 พระองค์ และพระธิดา 4 พระองค์:[7]

พระโอรส[แก้]

พระธิดา[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ^ อย่างไรก็ตาม Sakaoglu รายงานว่าพระองค์อยู่ในตระกูลเวนิสที่มีชื่อว่า Verzini ที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Verlag, K.G. Saur – Çıkar, Jutta R. M. (2004). Türkischer biographischer Index. Saur. p. 417. ISBN 3-598-34296-9. Rabia Gülnus; Emetullah Rabia Gülnûş Sultan as wefl (c. 1642 (1052) - 6 November 1715){{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Sultan II. Mustafa Han". Republic of Turkey Ministry of Culture and Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  3. "Sultan III. Ahmed Han". Republic of Turkey Ministry of Culture and Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 2009-02-06.
  4. M. Orhan Bayrak (1998). İstanbul'da gömülü meşhur adamlar: VIII. yüzyıl-1998. Mezarlıklar Vakfı. p. 178.
  5. 5.0 5.1 Baker 1993, p. 146.
  6. Sakaoğlu, Necdet (2008). Bu mülkün kadın sultanları: Vâlide sultanlar, hâtunlar, hasekiler, kadınefendiler, sultanefendiler. pp. 375–6. ISBN 978-9-753-29623-6.
  7. Mehmed IV, in The Structure of the Ottoman Dynasty; D.A. Alderson
  8. Sakaoglu, Necdet (1999). Bu Mülkün Sultanlari. Oglak. pp. 303, 315. ISBN 975-329-299-6. His mother was harem girl Rabia Gulniş who was of Venetian Verzini family settled in the city of Resmo in Crete.

ข้อมูล[แก้]

  • Baker, Anthony E. (1993). The Bosphorus. Redhouse Press. p. 146. ISBN 975-413-062-0.
  • Gordon, Matthew S.; Hain, Kathryn A. (2017). Concubines and Courtesans: Women and Slavery in Islamic History. Oxford University Press. ISBN 978-0-190-62218-3.