การเห็นแกว่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเห็นแกว่ง (อังกฤษ: Oscillopsia, oscillating vision จากคำภาษาละตินว่า oscillo และภาษากรีกว่า opsis แปลว่าการเห็น[1]) เป็นความผิดปกติในการเห็นที่วัตถุต่าง ๆ ในลานสายตาดูเหมือนจะแกว่งไกว (ซึ่งเป็นอัตวิสัยเท่านั้นคือไม่เป็นจริง) ความรุนแรงเริ่มตั้งแต่เพียงมองไม่ชัด จนกระทั่งถึงเห็นวัตถุแกว่งไปมาอย่างรวดเร็วเป็นจังหวะ เป็นความพิการที่ประสบโดยคนไข้โรคทางประสาทเป็นจำนวนมาก[2] ซึ่งอาจเป็นผลของความไม่เสถียรของลูกตาที่เกิดจากปัญหาระบบกล้ามเนื้อตา ทำให้ไม่สามารถทรงภาพให้นิ่งที่จอตา การเปลี่ยนการส่งกระแสประสาทเนื่องกับ vestibulo-ocular reflex เพราะโรคในระบบการทรงตัว (เช่นในหูชั้นใน) ก็อาจก่ออาการนี้เมื่อขยับศีรษะอย่างรวดเร็ว[3] อาการอาจมีเหตุจากการเคลื่อนไหวตานอกอำนาจจิตใจ เช่น อาการตากระตุก (pathologic nystagmus) หรือการทำงานประสานที่บกพร่องของเปลือกสมองส่วนการเห็น (โดยเฉพาะเพราะสารพิษ) และเป็นอาการหนึ่งของกลุ่มอาการ superior canal dehiscence syndrome คนไข้อาจเวียนศีรษะและคลื่นไส้ อาการนี้สามารถใช้แสดงพิษจากยาปฏิชีวนะ aminoglycoside การเห็นแกว่งถาวร (permanent oscillopsia) อาจเกิดจากความพิการของระบบกล้ามเนื้อที่รักษาเสถียรภาพของการเห็น[2] ส่วน การเห็นแกว่งกำเริบ (paroxysmal oscillopsia) อาจเกิดจากการทำงานเกินปกติของระบบกล้ามเนื้อตาหรือระบบการทรงตัวนอกประสาทกลาง[2]

vestibulo-ocular reflex[แก้]

คนไข้ที่มีระบบการทรงตัวเสียหาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ vestibulo-ocular reflex อาจไม่สามารถตรึงตาที่วัตถุต่าง ๆ เมื่อศีรษะขยับ ซึ่งทำให้รู้สึกเหมือนโลกกำลังขยับ ถ้ามีความเสียหายในซีกร่างกายเดียว คนไข้ปกติจะฟื้นสมรรถภาพการตรึงตาที่วัตถุ แต่ถ้ามีความเสียหายในระบบทั้งสองข้าง ก็อาจทำให้รู้สึกอย่างนี้อย่างถาวร เพราะระบบควบคุมกล้ามเนื้อตาไม่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวศีรษะที่ปกติจะได้จากระบบการทรงตัว ดังนั้น จึงไม่สามารถชดเชยการตรึงตาเนื่องกับการเคลื่อนไหวได้[4]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "oscillopsia", Physicians' Desk Reference, 2006, The subjective sensation of oscillation of objects viewed. SYN: oscillating vision. [L. oscillo, to swing, + G. opsis, vision]
  2. 2.0 2.1 2.2 Tilikete, Caroline; Vighetto, Alain (February 2011). "Oscillopsia : Causes and Management". Current Opinion in Neurology. 24 (1): 38–43. doi:10.1097/WCO.0b013e328341e3b5. PMID 21102332.
  3. Straube, A.; Leigh, R. J.; Bronstein, A.; Heide, W.; Riordan-Eva, P.; Tijssen, C. C.; Dehaene, I.; Straumann, D. (2004). "EFNS task force - therapy of nystagmus and oscillopsia" (PDF). European Journal of Neurology. 11 (2): 83–89. doi:10.1046/j.1468-1331.2003.00754.x. PMID 14748767. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
  4. Dale Purves (2008a). "14 - The Vestibular System". ใน George J. Augustine; David Fitzpatrick; William C. Hall; Anthony-Samuel LaMantia; James O. McNamara; Leonard E. White (บ.ก.). Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. Central Pathways for Stabilizing Gaze, Head, and Posture, p. 357. ISBN 978-0-87893-697-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]