การเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซลล์รับแสง (เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย) และชั้นประสาทต่าง ๆ ในเรตินา ด้านหน้าของตาอยู่ทางซ้าย ดังนั้น แสงจากด้านซ้ายจึงเดินทางผ่านชั้นประสาทใสหลายชั้นไปถึงเซลล์รับแสงทางด้านขวาสุด ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเซลล์รับแสงแล้วเกิดการส่งสัญญาณไปทางเส้นประสาท เดินทางไปยัง retinal bipolar cell และ horizontal cell[1] (ชั้นสีเหลือง) ก่อน แล้วจึงไปยัง amacrine cell[2] และ retinal ganglion cell (ชั้นสีม่วง) แล้วจึงดำเนินไปถึงเส้นประสาทตา จะมีกระบวนการประมวลผลในชั้นต่าง ๆ เหล่านี้ คือ ขั้นต้น เซลล์รับแสงส่งข้อมูลดิบเป็นจุด ๆ และต่อจากนั้น ชั้นต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะทำการระบุรูปร่างแบบง่าย ๆ เช่นจุดสว่างตรงกลางล้อมรอบด้วยจุดมืด หรือขอบเส้น หรือการเคลื่อนไหว (ดัดแปลงจากรูปวาดของซานเตียโก รามอน อี กาฆัล)
รูปตัดผ่านเรตินา

การเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทน[3] (อังกฤษ: Retinal regeneration) เป็นการคืนสภาพหน้าที่ของเรตินาในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรตินา ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร "Proceedings of the National Academy of Sciences (รายงานการประชุมของบัณฑิตสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[ประเทศสหรัฐอเมริกา])" กลุ่มนักวิจัยของ Nuffield Laboratory of Ophthalmology (แล็บจักษุวิทยานัฟฟิลด์) นำโดย ดร. รอเบิร์ต แม็คลาเร็นของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด คืนการเห็นให้กับหนูตาบอดสนิทโดยฉีดเซลล์รับแสงเข้าไปในตา เดิมหนูไม่มีเซลล์รับแสงในเรตินา และไม่สามารถแม้จะบอกว่าอยู่ในที่สว่างหรือที่มืด นอกจากนั้นแล้ว ผลที่น่าพอใจใช้วิธีรักษาแบบเดียวกันก็ปรากฏด้วยกับหนูที่ตาบอดกลางคืน (night-blind) แม้ว่าจะยังมีคำถามเกี่ยวกับคุณภาพของการเห็นที่ได้คืนมา วิธีการรักษานี้ให้ความหวังกับคนไข้ที่มีปัญหาในการเห็นและคนไข้โรคตาเสื่อมเช่นโรคอาร์พี (retinitis pigmentosa)[4]

วิธีการรักษาใช้การฉีดเซลล์ตั้งต้นของเซลล์รูปแท่งที่ได้เกิดสภาพเป็น "ชั้น outer nuclear layer ที่มีสรีรภาพที่เฉพาะเจาะจงและสามารถเกิดสภาพ polarization ได้ตามสมควร" (ดูเพิ่มที่เรตินา) และหลังจากนั้น 2 อาทิตย์เรตินาก็คืนสภาพการเชื่อมต่อและการเห็น เป็นข้อพิสูจน์ว่า เป็นไปได้ที่จะสร้างชั้นเรตินาไวแสงทั้งชั้นขึ้นมาใหม่ นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยที่โรงพยาบาลจักษุมัวร์ฟิลด์ส (Moorfields Eye Hospital) ได้ใช้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ที่อยู่ในระยะเอ็มบริโอเพื่อทดแทนชั้น pigmented layer ของเรตินาในคนไข้โรค Stargardt's disease[5][6]

อีกอย่างหนึ่ง ยังมีนักวิจัยที่คืนการเห็นให้กับคนไข้ตาบอดด้วยเรตินาเทียมซึ่งทำงานโดยกระบวนการเดียวกันคือทดแทนการทำงานของเซลล์รับแสงในเรตินา[7] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติการวางตลาดเรตินาเทียมคือ Argus II Retinal Prosthesis System[8] ซึ่งเป็นระบบแรกที่ได้รับการอนุมัติเพื่อรักษาโรคจอตาเสื่อม ซึ่งสามารถช่วยผู้ใหญ่โรคอาร์พีที่ได้สูญเสียการรับรู้รูปร่างสัณฐานและการเคลื่อนไหว เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดียิ่งขึ้นในชีวิตประจำวัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. horizontal cell เป็นนิวรอนที่มีการเชื่อมต่อกันและกันในชั้น Inner nuclear layer ของเรตินาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหน้าที่ประสานและควบคุมข้อมูลที่มาจากเซลล์รับแสงหลายตัว ช่วยให้ตาสามารถเห็นได้ทั้งในที่สว่างและที่สลัว
  2. amacrine cell เป็น interneuron ในเรตินา retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) รับข้อมูลถึง 70% จาก amacrine cell และ bipolar cell ซึ่งส่งข้อมูล 30% ที่เหลือผ่านการควบคุมโดย amacrine cell
  3. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ regeneration ว่า "การงอกใหม่, การเจริญทดแทน, การซ่อม"
  4. Blind Mice Have Sight Restored - Medical News Today
  5. Totally blind mice get sight back - BBC News
  6. "Reversal of end-stage retinal degeneration and restoration of visual function by photoreceptor transplantation - PNAS 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-22. สืบค้นเมื่อ 2014-07-18.
  7. Blind man 'excited' at retina implant - BBC News
  8. "FDA approves first retinal implant for adults with rare genetic eye disease". FDA. Feb. 14, 2013. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)CS1 maint: date and year (ลิงก์)