การสังหารหมู่ที่ออแดซา ค.ศ. 1941
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
การสังหารหมู่ที่ออแดซา ค.ศ. 1941 | |
---|---|
แถวของพลเรือนชาวยิวถูกส่งตัวไปยังทรานส์นีสเตรียโดยมีทหารโรมาเนียคุ้มกัน | |
สถานที่ | ออแดซา |
วันที่ | 22–24 ตุลาคม 1941 |
ประเภท | การสังหารหมู่, การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ |
ตาย | 34,000–100,000 คน |
ผู้เสียหาย | ส่วนมากชาวยิวและชาวโรมานี |
ผู้ก่อเหตุ | โรมาเนีย สนับสนุนโดย: ไรช์เยอรมัน |
การสังหารหมู่ที่ออแดซา เป็นชื่อที่มอบให้กับการสังหารหมู่ประชากรชาวยิวที่ออแดซาและบริเวณรอบเมืองในเขตผู้ว่าการทรานส์นิสเตรียในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1941 และฤดูหนาว ปี ค.ศ. 1942 ในขณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของโรมาเนีย ถือเป็นหนึ่งในการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในดินแดนยูเครน[1]
การสังหารหมู่ที่ออแดซาอาจสื่อถึงเหตุการณ์ในวันที่ 22–24 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ที่มีชาวยิวถูกยิงหรือเผา 25,000 ถึง 34,000 คน หรือการฆาตกรรมชาวยิวในเมืองสูงถึง 100,000 และพื้นที่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์และแม่น้ำบุก (bug) ในช่วงการยึดครองของโรมาเนียและเยอรมนี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ยอมรับของการกล่าวถึงและขอบเขต ณ ค.ศ. 2018 ประมาณการว่ามีประชากรสูงถึง 30,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวยูเครนเชื้อสายยิว ถูกสังหารในการสังหารหมู่ในช่วงวันที่ 22–23 ตุลาคม ค.ศ. 1941[2] ผู้ก่อการหลักคือทหารโรมาเนีย เอ็สเอ็ส ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน และคนท้องถิ่นที่มีเชื้อสายเยอรมัน[3][4]
ภูมิหลัง
[แก้]ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ออแดซามีประชากรยิวอยู่มากมาย โดยมีประมาน 200,000 คนและคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรเมือง ณ ตอนนั้น เมื่อเวลาที่โรมาเนียได้ยึดครองเมือง ชาวยิวจำนวน 80,000 ถึง 90,000 คนยังคงอยู่ที่เมืองออแดซา ส่วนที่เหลือได้หนีหรือทำการอพยพโดยสหภาพโซเวียต ในขณะที่การสังหารหมู่เกิดขึ้น ชาวยิวจากหมู่บ้านโดยรอบถูกกักขังในค่ายกักกันออแดซา และค่ายกักกันโรมาเนียที่จัดตั้งขึ้นในพื้นที่โดยรอบ
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากการล้อมออแดซาสองเดือน เยอรมนีและโรมาเนียได้ยึดครองเมืองออแดซา
การสังหารหมู่ของตัวประกันและชาวยิว ณ วันที่ 22-24 ตุลาคม
[แก้]การทำลายของกองบัญชาการทหารโรมาเนีย
[แก้]ณ วันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1941 อาคารของเอ็นเควีดีบนถนนมาราซลีฟสกายาซึ่งเป็นที่อยู่ของผู้บังคับบัญชากองทัพโรมาเนียและกองบัญชาการของกองพลที่ 10 ของโรมาเนียที่ซึ่งได้รุกเข้ายึงเมืองออแดซา ทุ่นระเบิดวิทยุที่ติดตั้งไว้ ณ อาคารนั้นได้ระเบิดขึ้น โดยที่ตัวทุ่นระเบิดนั้นถูกติดตั้งโดยทหารช่างของกองทัพแดงก่อนการยอมจำนนของกองทัพแดงในการล้อมออแดซา ตัวอาคารได้พังทลายลง โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 67 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารชั้นสัญญาบัตร 16 นาย และหนึ่งในผู้เสียชีวิตคือผู้บังคับบัญชาทหารที่มาปกครองเมืองออแดซา พลเอกโยอาน กโลโกชานู การระเบิดครั้งนี้ถูกกล่าวหาว่าพวกชาวยิวและคอมมิวนิสต์อยู่เบื้องหลังการระเบิดกองบัญชาการ
การสังหารตัวประกัน
[แก้]เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการระเบิดครั้งนี้ พลเอกนิโคลาแย ทาทารานูได้รับคำสั่งจากจอมพลอียอน อันตอเนสกูว่าต้องทำการตอบโต้ด้วยกำลังต่อชาวยิวโดยทันที[5] ทหารโรมาเนียและไอน์ซัทซ์กรุพเพินของนาซีเยอรมนีได้มาถึงเมืองออแดซา ณ วันที่ 23 ตุลาคม เพื่อสังหารตัวประกันประมาณ 5,000 ถึง 10,000 คน[6]: 151 โดยส่วนมากจะเป็นชาวยิว[7]
ทั่วถนนมาราซลีฟสกายา ผู้ยึดครองเมืองได้บุกห้องอยู่อาศัยของประชาชนของเมืองออแดซาและสังหารหรือแขวนคอผู้อยู่อาศัยที่พบเห็นอย่างไม่มีข้อยกเว้น ผู้ยึดครองนั้นได้บุกถนน ตลาด และตัวชานเมืองของออแดซาและผู้คนที่ไม่รู้ว่ามีเหตุระเบิดถูกยิงโดยทันทีตรงรั้วหรือกำแพงบ้าน คนเกือบ 100 นายถูกจับและยิงใน Big Fountain ประมาณ 200 คนในย่านสโลโบดกาที่ซึ่งอยู่ใกล้ตลาดถูกสังหาร และใน อเล็กซานดรอฟสกี ปร็อสเปย็ก ชาวเมืองประมาณ 400 คนถูกปลิดชีวิตลง แถวของตัวประกันได้ถูกขับไล่ไปยังพื้นที่โกดังเก็บปืนใหญ่บนถนนลุสท์ดอร์ฟ ซึ่งตัวประกันเหล่านั้นได้ถูกยิงหรือเผาทั้งเป็นทุกนาย[8]: 145
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบหลง ศพราว ๆ 22,000 นายได้ถูกค้นพบในสุสานหมู่[9]
จุดเริ่มต้นของฮอโลคอสต์
[แก้]เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม มีการออกคำสั่งข่มขู่ชาวยิวทุกคนให้เสียชีวิตเมื่อพบเห็น และสั่งให้พวกเขารายงานตัวที่หมู่บ้านดาลนึกในวันที่ 24 ตุลาคม ในช่วงบ่ายของวันที่ 24 ตุลาคม ชาวยิวประมาณ 5,000 คนรวมตัวกันใกล้ด่านหน้าของหมู่บ้านดาลนึก 50 คนแรกถูกนำตัวไปที่คูต่อต้านรถถังและยิงโดยพันโทนิโคลาเย เดเลยานู ผู้บัญชาการกองพันปืนกลที่ 10[10]
กองบัญชาการทหารแห่งขุนเขา ออแดซาทำให้ประชากรออแดสซาและบริเวณโดยรอบเกิดความสนใจว่าหลังจากการก่อการร้ายที่กระทำต่อกองบัญชาการทหารเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ถูกยิง: สำหรับเจ้าหน้าที่เยอรมันหรือโรมาเนียทุกคนและเจ้าหน้าที่พลเรือน 200 คนบอลเชวิค และสำหรับทหารเยอรมันหรือโรมาเนียทุกคน 100 บอลเชวิค ถูกจับเป็นตัวประกัน ซึ่งหากกระทำการดังกล่าวซ้ำ ๆ จะถูกยิงร่วมกับครอบครัวของพวกเขา
— ผู้บังคำบัญชากองทหาร: ซานดารมะรี พันโท มิฮาอิล นิคูเลสคู
เพื่อเร่งกระบวนการทำลายล้างชาวยิวถูกขับเข้าไปในค่ายทหารสี่แห่งซึ่งมีการสร้างรูสำหรับปืนกลและพื้นก็เต็มไปด้วยน้ำมันเบนซิน ผู้คนในค่ายทหารสองแห่งถูกยิงด้วยปืนกลในวันเดียวกัน เวลา 17.00 น. ค่ายทหารถูกจุดไฟ วันรุ่งขึ้น นักโทษถูกยิง ถูกวางไว้ในค่ายทหารอีก 2 แห่งที่เหลือ และเกิดเหตุระเบิดในค่ายทหารแห่งหนึ่งในนั้น[11]
ในขณะเดียวกัน ชาวยิวที่ไม่ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่มแรก และที่มาถึงดาลนึกแล้ว ก็ได้รับแจ้งว่าพวกเขา "ได้รับการอภัย" แล้ว พวกเขาถูกส่งไปยังกองบัญชาการทหารหลายแห่งและสถานีทหารเพื่อ "ลงทะเบียน" ซึ่งพวกเขาถูกควบคุมตัวด้วยระยะเวลาต่างกันออกไป เมื่อพวกเขาได้รับการปล่อยตัว พวกเขาพบว่าบ้านของพวกเขาถูกยึดและทรัพย์สินของพวกเขาถูกปล้น
ในช่วงสัปดาห์แรกของการยึดครองออแดสซาของโรมาเนีย เมืองนี้สูญเสียประชากรไปแล้วประมาณ 10%[12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ugo Poletti. The Forgotten Holocaust: The Massacre of Odesa’s Jews Kyiv Post. Retrieved 18 December 2022
- ↑ "The Odessa massacre: Remembering the 'Holocaust by bullets'". Deutsche Welle. October 22, 2018. สืบค้นเมื่อ March 1, 2022.
- ↑ Kotlyar, Yuri. "Bogdanov tragedy - Holocaust against the Jewish population" (PDF). KBY Kiev. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
- ↑ "Association of Jewish Organizations and Communities of Ukraine (Vaad of Ukraine)". Association of Jewish Organizations and Communities of Ukraine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-27. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
- ↑ Simion, Adrian (2014). "Terra Sebus. Acta Musei Sabesiensis, 6, 2014, p. 529-549. PROBLEMA HOLOCAUSTULUI REFLECTATĂ ÎN PAGINILE REVISTEI ROMÂNIA MARE ÎN PERIOADA ANILOR 1990-2000" (PDF). Journal of the Sabesian Museum. 6: 533. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2022.
- ↑ Cherkasov, Alexander Anatolievich (2007). Occupation of Odessa. Year 1941. Odessa: Optimum. p. 264. ISBN 978-966-344-144-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ "Shoah in Transnistria: tragedy of Odessa Jewry". Yad Vashem. Holocaust Memorial Complex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2018. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ Cherkasov, Alexander Anatolievich (2007). Occupation of Odessa. Year 1941. Odessa: Optimum. p. 264. ISBN 978-966-344-144-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ Vishnevskaya, Irina. "Memory ... past ... occupation". Odesskiy.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ Umrikhin, Alexander (February 3, 2015). "Odessa: unbroken hero city". TV Center. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ Cohricht, Felix. "Odessa, October, 1941. Memory…". Odesskiy.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ Cherkasov, Alexander Anatolievich (2007). Occupation of Odessa. Year 1941. Odessa: Optimum. p. 264. ISBN 978-966-344-144-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 13 May 2018.
- ↑ "The Romanian Jewry: Historical Destiny, Tolerance, Integration, Marginalisation". JSRI. สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.