ข้ามไปเนื้อหา

การผ่าตัดแบบบาทิสตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การผ่าตัดแบบบาทิสตา (อังกฤษ: Batista operation, Batista procedure) เป็นการผ่าตัดหัวใจอย่างหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงมาก โอกาสรอดชีวิตมีน้อย เพราะเป็นการผ่าตัดที่ยากมาก[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นเทคนิคที่อยู่ในระหว่างการวิจัยอยู่ คือเป็นการผ่าตัดรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายเพื่อเอาชิ้นเนื้อหัวใจส่วนที่ผิดปกติในหัวใจออกไป และทำให้หัวใจกลับมามีขนาดเป็นปกติเหมือนเดิม ซึ่งการหาส่วนที่ผิดปกตินั้นอาจจะเกิดจากการติดเชื้อและเป็นกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ตายแล้ว หมอที่ผ่าตัด จะต้องมีสัมผัสที่ดีเยี่ยม (เพราะจะใช้นิ้วสัมผัสเนื้อตรงหัวใจเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติแล้วเริ่มการผ่า) และต้องระวังด้วยว่า เส้นเลือดหัวใจของผู้ป่วยมีการอุดตันหรือไม่ เพราะถ้าหากผ่าตัดแล้วเส้นเลือดหัวใจแตก ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ดังนั้น ต้องมีการทำบายพาสด้วย (ในบางกรณี) นอกจากนี้ ยังมีการผ่าบาทิสตาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ คุณหมอผู้ผ่าตัด อาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งการผ่าตัดอีกแบบนี้ จะเป็นการกรีดกล้ามเนื้อหัวใจออก แล้วดึงกล้ามเนื้อหัวใจอีกด้านมาเย็บซ้อนกัน ซึ่งจะทำให้หัวใจมีขนาดเล็กลงเป็นปกติได้ (แต่วิธีนี้ โอกาสที่จะสำเร็จยิ่งมีน้อยมากๆ) ซึ่งก่อนการผ่า จะต้องรอให้ร่างกายผู้ป่วย มีความพร้อมเต็มที่ และจะต้องอาศัยฝีมือการทำงาน ของทีมแพทย์ผู้ผ่าตัดด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]