การประชุมนานาชาติว่าด้วยฮอโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมนานาชาติว่าด้วยฮอโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ประเทศอิสราเอล
วันที่20–24 มิถุนายน 1982
สถานที่จัดงานฮิลตันเทลอาวีฟ
เมืองเทลอาวีฟ

การประชุมนานาชาติว่าด้วยฮอโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (อังกฤษ: International Conference on the Holocaust and Genocide) เป็นการประชุมใหญ่ครั้งแรกในสาขาของการศึกษาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จัดขึ้นในเทลอาวีฟระหว่างวันที่ 20-24 มิถุนายน ค.ศ. 1982 จัดขึ้นโดยอิสราเอล ชาร์นี, อีลี วีเซิล, ชามาย เดวิดสัน และ สถาบันฮอโลอคสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งพวกเขาตั้งขึ้นในปี 1979 วัตถุประสงค์ของการประชุมคือเพื่อทำความเข้าใจและป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งปวง ถือเป็นจุดสำคัญที่เปลี่ยนมุมมองต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล ไปเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้

รัฐบาลตุรกีมีความพยายามให้การประชุมนี้ถูกยกเลิกเนื่องจากในการประชุมจะมีการพูดถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย ที่ซึ่งตุรกีปฏิเสธ ตุรกีข่มขู่ว่าจะปิดพรมแดนไม่ให้ชาวยิวจากซีเรียและอิหร่านที่หลีกหนีการข่มเหง ซึ่งจะทำให้ชีวิตของชาวยิวเหล่านี้ตกอยู่ในอันตราย คำข่มขู่เหล่านี้ส่งผลให้กระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลพยายามจะยกเลิกการประชุมและชักจูงให้ผู้เข้าร่วมไม่มาร่วมการประชุม องค์การรำลึกฮอโลคอสต์ทางการของอิสราเอล ยาด วาเชม และผู้เข้าร่วมระดับสูงหลายคน รวมถึงวีเซิล ถอนตัวจากการเข้าร่วมการประชุม ผู้จัดการประชุมปฏิเสธที่จะนำเอาประเด็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียออกจากโปรแกรมและยังคงเดินหน้าจัดการประชุมต่อไป ทั้งรัฐบาลของตุรกีและอิสราเอลถูกวิจารณ์จากการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ

การเตรียมการ[แก้]

ฮิลตันเทลอาวีฟ สถานที่จัดการประชุม

สถาบันว่าด้วยฮอโลคอสต์และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก่อตั้งขึ้นในปี 1979 โดยนักจิตวิทยา อิสราเอล ชาร์นี, จิตแพทย์ ชามาย เดวิดสัน และผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์และนักวิชาการสาธารณะ อีลี วีเซิล เพื่อทุ่มเทให้กับการศึกษาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อผู้คนทั้งปวง สถาบันจัดการประชุม ลงวันที่ในเดือนมิถุนายน 1982 ซึ่งจะถือเป็นการประชุมนานาชาจิครั้งใหญ่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[1][2][3]

จากการบรรยายกว่าหนึ่งร้อยรายการที่วางแผนไว้[a] ในจำนวนนี้ หกการบรรยายเป็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อาร์มีเนีย[2][4][5] ซึ่งเป็นการขับไล่และกำจัดชาวอาร์มีเนียออตโตมันล้านคนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1[6] นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี รัฐบาลทุกชุดของตุรกีปฏิเสธว่ามีการก่ออาชญากรรมใด ๆ ต่อความอาร์มีเนีย[6][7] และมีความพยายามจะชักจูงประเทศอื่นให้ปฏิเสธเช่นกัน สามารถย้อนความพยายามนี้กลับไปได้ถึงทศวรรษ 1920s[8][9] นักสังคมวิมยา Levon Chorbajian เขียนว่า "modus operandi remains consistent throughout and seeks maximalist positions, offers no compromise though sometimes hints at it, and employs intimidation and threats" to prevent any mention of the Armenian genocide.[10] ในปี 1982 ตุรกีเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศมุสลิมที่อิสราเอลยังคงความสัมพันธ์ทางการทูตไว้อยู่[11] อิสราเอลไม่เคยยอมรับว่ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อาร์มีเนียเกิดขึ้นจริง เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับตุรกี[12] การประชุมนี้เป็นครั้งแรกที่ประเด็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียถูกยกขึ้นมาถกเถียงในประเทศอิสราเอล[5][13]

การประชุมได้รับการสนับสนุนโดยองค์การระลึกถึงฮอโลคอสต์ทางการของอิสราเอล ยาดวาเชม และมีการวางแผนไว้ว่าจะมีพิธีการจุดคบเพลิงที่ยาดวาเชม วีเซิลกล่าวสุนทรพจน์ประเด็นสำคัญของการประชุม ผู้พูดคนอื่น ๆ ในการประชุม เช่น ยิตซาก อารัด ผู้อำนวยการของยาดวาเชม และ กีเดียร เฮาส์เนอร์ ผู้สั่งการลงโทษในการตัดสินคดีไอช์มันน์[2][4][5] นัดวิจัยกว่าครึ่งหนึ่งที่ได้รับคำเชิญมาจากอิสราเอล และที่เหลือมาจากประเทศอื่น ๆ[14] ไม่กี่สัปดาห์ก่อนการประชุมเริ่ม อิสราเอลบุกรุกเลบานอน เป็นผลให้ผู้จัดการประชุมออกแถลงการณ์ต่อต้านการทำสงครามนี้[15] การประชุมจัดขึ้นที่ฮิลตันเทลอาวีฟ[16][17]

นักประวัติศาสตร์ A. Dirk Moses ระบุว่าการประชุมนี้เป็น "กิจกรรมความเสี่ยงสูง ที่บังคับให้คำกล่าวอ้างที่เพิ่มสูงขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของสาขาการศึกษาที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่นี้ เป็นผลประโยชน์แก่โมเดลทางธุรกิจ" ยกตัวอย่างเช่น "การประชุมนี้เป็น สิ่งต้องกระทำ สำหรับมนุษยชาติทั้งปวง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้ที่ซึ่งต้องผ่านความทุกข์ทรมานจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาแล้ว"[18] ผู้จัดการประชุมพยายามที่จะให้มีนักวิชาการระดับสูง Irving Horowitz และ Robert Jay Lifton มาเข้าร่วม เพื่อที่จะหาผู้เข้าประชุม ซึ่งมีค่าใช้จ่าย มากพอที่จะทำให้การประชุมดำเนินไปได้ในทางการเงิน แต่ท้ายที่สุด นักวิชาการทั้งสองปฏิเสธการเข้าร่วมเนื่องจากชาร์นีไม่สามารถการันตีว่าค่าใช้จ่ายการเดินทางและที่พักจะได้รับการจัดสรรให้โดยการประชุม[18]

ความพยายามยกเลิกการประชุม[แก้]

นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอล Yair Auron ระบุว่า รัฐบาลตุรกีน่าจะรับรู้ถึงการประชุมนี้ผ่านบทความบน The Jerusalem Post ในวันที่ 20 เมษายน 1982[1] กลุ่มชาวยิวตุรกีจำนวนหนึ่งเดินทางไปบังอิสราเอลเพื่อกล่าวอ้างว่าหากการประชุมนี้จัดขึ้น ชีวิตของชาวยิวในตุรกีจะตกอยู่ในอันตราย[19] กระทรวงการต่างประเทศตุรกี[20] ได้ส่ง Jak Veissid ประธานคณะกรรมการของชุมชนยิวในตุรกี มายังอิสราเอลเพื่อขอให้การประชุมนี้ถูกยกเลิก ในภายหลัง ชาร์นีได้ออกมากล่าวย้อนถึงว่าเคยถูก Veissid ข่มขู่ซึ่งหน้าในเทลอาวีฟ ผู้บอกเขาว่าพรมแดนตุรกีจะถูกปิดกั้นไม่ให้ชาวยิวจากซีเรียและอิหร่านที่หลีกหนีการเบียดเบียน ไม่ให้เข้าประเทศ หากการประชุมนี้ยังดำเนินต่อไป[21][22]

กระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลโอนอ่อนต่อแรงกดดันจากตุรกีและเห็นด้วยที่จุดให้การประชุมถูกยกเลิก[1] โฆษกกระทรวงรับรู้ถึงแรงกดดันนี้และกล่าวว่าการประชุมนี้ "อยู่นอกเหนือความกังวลซึ่งผลประโยชน์ของชาวยิว"[19][23] ชาร์นีระบุว่าไม่กี่เดือนก่อนการประชุา เขาและผู้จัดการประชุมคนอื่นเริ่มได้รับคำร้องขอจากกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอลให้ยกเลิกการประชุม[5] ผู้จัดการประชุมเสนอที่จะนำเอาเอกสารเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อาร์มีเนียออกจากโปรแกรมทางการ แต่จะยังคงมันไว้มนการประชุมจริง อย่างไรก็ตามข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธโดยทางการอิสราเอล วีเซิลและชาร์นีร่วมกันปฏิเสธที่จะยกเลิกการเชิญผู้พูดจากอาร์มีเนีย[24][25][26] เจ้าหน้าที่รัฐของอิสราเอลเสนอให้ยกเลิกทุกส่วนของการประชุมที่ไม่เกี่ยวกับฮอโลคอสต์ ข้อเสนอนี้ก็ถูกปฏิเสธโดยผู้จัดเช่นกัน[27]

Avner Arazi กงสุลประจำอิสตันบูล เขียนในบันทึกภายใน (internal memo) ว่า "เหตุผลหลักสำหรับความพยายามไม่หยุดของเราที่จะยกเลิกการประชุมนี้ เพื่อเป็นการบอกใบ้ว่าเราได้รู้เกี่ยวกับผู้อพยพชาวยิวจากอิหร่านและซีเรียข้ามพรมแดนเข้ามาในตุรกี ... Veissid พบว่าทุกข้อถกเถียงที่เขาเตรียมมาต่อต้านการประชุมดูแล้วไม่สำคัญเลยเมื่อเทียบกับปัญหาผู้ลี้ภัย"[28] Azari ยังเสริมว่ารัฐบาลตุรกี ซึ่งในตอนนั้นอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารจากการรัฐประหาร ไม่เข้าใจว่าอิสราเอล ในฐานะรัฐประชาธิปไตยเสรีนิยม จะเคารพเสรีภาพในการพูด และสามารถที่จะยกเลิกการประชุมได้เลยถ้ารัฐบาลไม่พอใ[28] รัฐบาลตุรกียังอ้าง่วาผู้เข้าร่วมชาวอาร์มีเนียจะกัดกร่อนความพิเศษของฮอโลคอสต์[29][30] แง่มุมนี้ไม่ได้โดดเด่นไปกว่าประเด็นปัญหาการดำรงชีพของชาวยิว ซึ่งเป็นประเด็นสำคุญของกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล[31] ถึงแม้ Azari จะกล่าวว่าการปิดพรมแดนเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ Eldad Ben Aharon สรุปว่า: "It is clear that the lives of Iranian and Syrian Jews were at stake; the Turkish Foreign Ministry did not hesitate to use this sensitive situation to exert pressure on Israel."[32]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ข้อมูลจาก Encyclopedia of Genocide ระบุว่ามีวางแผนการบรรยายรวม 300 รายการ [2] และ ยายร์ อาวโรน ระบุว่าผู้จัดวางแผนจะจัดการบรรยาย 150 รายการ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Auron 2003, p. 218.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Sherman 1999, p. 358.
  3. Hovannisian 2003, p. 7.
  4. 4.0 4.1 4.2 Auron 2003, pp. 217–218.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Ben Aharon 2015, p. 646.
  6. 6.0 6.1 Chorbajian 2016, p. 168.
  7. Mouradian, Khatchig (2019). "Mouradian on Dixon, 'Dark Pasts: Changing the State's Story in Turkey and Japan'". H-Net. สืบค้นเมื่อ 3 January 2021.
  8. Chorbajian 2016, p. 174.
  9. Ben Aharon 2018, p. 3.
  10. Chorbajian 2016, p. 178.
  11. Auron 2003, p. 222.
  12. Ben Aharon 2015, p. 639.
  13. Ben Aharon 2018, p. 16.
  14. "Genocide Parley With Armenians to Proceed". The New York Times. 4 June 1982. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
  15. Somerville 1982, p. 14.
  16. Conference program p. 14
  17. Boghosian, Edward K. (1 July 1982). "Conference in Tel Aviv, Israel, Discusses the Jewish Holocaust and the Arm. Massacres – 250 Participate". Armenian Reporter International. Vol. XV no. 37. ISSN 1074-1453. ProQuest 371410574.
  18. 18.0 18.1 Moses 2021, p. 454.
  19. 19.0 19.1 Baer 2020, p. 126.
  20. Ben Aharon 2015, p. 650.
  21. Ben Aharon 2015, pp. 646–647.
  22. Baer 2020, pp. 126–127.
  23. Auron 2003, p. 221.
  24. Auron 2003, p. 219.
  25. Charny 1986, p. 6.
  26. "Israelis Said to Oppose Parley After Threat to Turkish Jews". The New York Times. 3 June 1982. สืบค้นเมื่อ 27 December 2020.
  27. Auron 2003, p. 225.
  28. 28.0 28.1 Ben Aharon 2015, p. 647.
  29. Ben Aharon 2015, p. 648.
  30. Baer 2020, p. 128.
  31. Ben Aharon 2015, pp. 648, 652.
  32. Ben Aharon 2015, pp. 647–648.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Official conference materials
  • Charny, Israel W.; Davidson, Shamai, บ.ก. (1982). The Book of the International Conference on the Holocaust and Genocide: Tel Aviv, June 20–24, 1982 (ภาษาอังกฤษ). Institute of the International Conference on the Holocaust and Genocide. OCLC 234076986.
  • Charny, Israel W. (2021). Israel's Failed Response to the Armenian Genocide: Denial, State Deception, Truth Versus Politicization of History (ภาษาอังกฤษ). Academic Studies Press. ISBN 978-1-64469-523-4.