การบุกประชิดด้วยกระบอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกประชิดด้วยกระบองระหว่างการประท้วงประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปปี 2544 ในสวีเดน

การบุกประชิดด้วยกระบอง (อังกฤษ: baton charge) หรือ การชาร์จด้วยกระบอง เป็นยุทธวิธีที่ใช้การประสานกันสำหรับสลายฝูงชน ซึ่งมักใช้งานโดยตำรวจหรือทหารเพื่อตอบโต้ต่อความไม่สงบเรียบร้อย ในอนุทวีปอินเดีย แท่งไม้ไผ่ยาวเรียกว่า ละติ ในภาษาฮินดีและภาษาอูรดูถูกใช้สำหรับการควบคุมฝูงชนและคำว่า lathi charge ก็ถูกใช้ในการอธิบายในความหมายเดียวกันกับกระบอง

ยุทธวิธีนี้เป็นวิธีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพุ่งเข้าใส่ฝูงชนพร้อมกับกระบอง[1] และในบางกรณีจะใช้ร่วมกับโล่ปราบจลาจล กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจจะวิ่งไปยังฝูงชนและโจมตีผู้คนด้วยกระบอง และในบางสถานการณ์จะใช้โล่ปราบจลาจลในการผลักดันฝูงชนออกจากพื้นที่นั้น การบุกประชิดด้วยกระบองถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความเจ็บปวดหรือทำให้กลัวความเจ็บปวด โดยหวังว่าจะช่วยบังคับให้ผู้คนเคลื่อนที่ออกจากพื้นที่เกิดเหตุ และกระจายฝูงชนที่รวมตัวกันอยู่

อนุทวีปอินเดีย[แก้]

ในอนุทวีปอินเดีย โดยเฉพาะอินเดีย, บังคลาเทศ, ปากีสถาน และศรีลังกา ใช้ไม้ไผ่ยาวหรือไม้เท้าที่เรียกว่า ละติ (lathi) ในการควบคุมฝูงชน กองกำลังตำรวจอินเดียบางแห่งใช้ไม้ระแนงที่มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร (5 ฟุต) แต่ในที่อื่น ๆ ไม้ระแนงจะสั้นกว่า ซึ่งคำว่า การพุ่งเข้าใส่พร้อมละติ (lathi charge) ถูกใช้งานโดยสื่ออินเดียและปากีสถาน[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "BATON CHARGE | English meaning - Cambridge Dictionary". dictionary.cambridge.org.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Police lathi charge protesters Times of India-Retrieved 29 July 2010