ข้ามไปเนื้อหา

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์
(Medical ultrasonography)
การแทรกแซง
แพทย์กำลังตรวจหัวใจผู้ป่วยเด็กด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ICD-10-PCSB?4
ICD-9-CM88.7
MeSHD014463
OPS-301 code:3-03...3-05

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง[1] หรือ อัลตราซาวด์ (อังกฤษ: ultrasonography) หมายถึง คลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounographyคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่าง ๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นมา

ประเภทของการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

[แก้]

การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน

[แก้]

เพื่อดูลักษณะทั่ว ๆ ไป ของตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และไต เช่น มีก้อนเนื้อที่ผิดปกติ มีนิ่วที่ไตหรือถุงน้ำดี

การเตรียมตัวก่อนตรวจช่องท้องส่วนบน
กรณีที่มีการนัดมาทำการตรวจ หมอจะแนะนำให้งดอาหารประมาณ 4 ชั่วโมง ก่อนมาทำการตรวจ เพื่อให้เวลาถุงน้ำดีเก็บกักน้ำดี และเพื่อลดปริมาณลมในกระเพาะและลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน

การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง

[แก้]

เพื่อตรวจดูขนาด และความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง อันประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก หรือกรณีที่สงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนตรวจช่องท้องส่วนล่าง
การตรวจช่องท้องส่วนล่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีน้ำปัสสาวะมาก ๆ ในกระเพาะปัสสาวะ เพราะน้ำในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่น ๆ ได้ดีขึ้น ปริมาณปัสสาวะในกระเพาะที่จะช่วยให้การตรวจสมบูรณ์นั้น มักจะมากกว่าปริมาณที่ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะในภาวะปกติ จึงต้องดื่มน้ำขณะรอตรวจ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลั่นปัสสาวะเพิ่ม ซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาทีหลังดื่มน้ำ

การตรวจอัลตร้าซาวด์ในอวัยวะอื่น ๆ

[แก้]
  • การตรวจความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ สามารถดูเพศและความผิดปกติต่าง ๆ ได้
  • การตรวจแยกระหว่างก้อนเนื้อและถุงน้ำที่เต้านม และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • การตรวจเส้นเลือดและต่อมธัยรอยด์

ข้อบ่งชี้

[แก้]
  • ดูความผิดปกติทั่ว ๆ ไป เช่น นิ่วในไต, นิ่วในถุงน้ำดี,ก้อนเนื้อในตับ เป็นต้น
  • เพื่อยืนยันกับการตรวจอื่น ๆ ว่าพบก้อนเนื้อ
  • ก้อนเนื้อที่พบเป็นก้อนเนื้อประเภทใด เป็นส่วนของอวัยวะใด หรือติดต่อกับอวัยวะใดบ้าง
  • ติดตามดูความเปลี่ยนแลงของรอยโรค
  • เพื่อช่วยในการเจาะอวัยวะที่สงสัย เพื่อการวินิจฉัยและการรักษา
  • เพื่อดูเพศ, ความผิดปกติ, ขนาดของทารกในครรภ์
  • ดูความผิดปกติของเส้นเลือดดำ, เส้นเลือดแดง ว่ามีการอุดตัน, โป่ง หรือขอด เป็นต้น
  • ดูจังหวะการเต้น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นเลือดแดงส่วนต้น (ตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจโดยเฉพาะ)
  • ดูกล้ามเนื้อ ดูเอ็น
  • ดูสมองเด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบ

ข้อจำกัด

[แก้]
  • อัลตราซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะอากาศจะไม่สะท้อนคลื่นสัญญาณกลับ ทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณมาสร้างภาพได้
  • อัลตราซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูก หรือถูกกระดูกบังได้ เพราะกระดูกจะสะท้อนคลื่นกลับหมด ไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกข้อมูลวันที่ 8 มี.ค. 2553.