ข้ามไปเนื้อหา

การท่องเที่ยวในประเทศเซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การท่องเที่ยวในประเทศเซอร์เบีย
แผนที่ประเทศเซอร์เบีย
แผนที่ประเทศเซอร์เบีย
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
รหัสพื้นที่+ 381
เว็บไซต์หน้าเว็บท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ

การท่องเที่ยวในประเทศเซอร์เบีย ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นด้านหลักสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม[1] ภาคการโรงแรมและการจัดเลี้ยงมีสัดส่วนประมาณ 2.2 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีใน ค.ศ. 2015[2] การท่องเที่ยวในประเทศเซอร์เบียจ้างงานประมาณ 75,000 คน หรือประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานในประเทศ[1] โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามามากขึ้นปีละประมาณแสนคน ซึ่งใน ค.ศ. 2019 การท่องเที่ยวสร้างรายได้เกือบ 1.698 พันล้านดอลลาร์ โดยรองรับนักท่องเที่ยว 3.7 ล้านคน ที่ครึ่งหนึ่งเป็นชาวต่างชาติ[3] นักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือนักท่องเที่ยวจากบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, ตุรกี และเยอรมนี[4] จุดหมายปลายทางหลักสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่เบลเกรด, นอวีซาด และนีช ในขณะที่นักท่องเที่ยวในประเทศชอบสปาและรีสอร์ตบนภูเขา[5] การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและอย่างยั่งยืนยังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยคนหนุ่มสาวจำนวนมากไปเยี่ยมชมเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและสวนสาธารณะหลายแห่งทางภาคตะวันตกและทางใต้ของประเทศ[6] ประเทศเซอร์เบียยังเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยมีเบลเกรดเป็นจุดนัดพบที่มีร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, บาร์ และสถานบันเทิงยามค่ำคืนกว่า 2,000 แห่ง[7]

ประวัติ

[แก้]

ต้นกำเนิด

[แก้]

ต้นกำเนิดของการท่องเที่ยวในประเทศเซอร์เบียมีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของน้ำพุร้อนและแหล่งน้ำแร่ จนถึงขนาดที่ประวัติศาสตร์ของการท่องเที่ยวในประเทศเซอร์เบียบางครั้งเทียบได้กับประวัติศาสตร์ของสปาในประเทศเซอร์เบีย (คำภาษาเซอร์เบียสำหรับสปาคือบาญา ซึ่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานที่ต่าง ๆ จำนวนมาก) รวมถึงบางส่วนมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการค้นพบซากแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่รอบ ๆ สถานที่เหล่านั้น ส่วนการใช้งานจริงที่กว้างขึ้นมาพร้อมกับการพิชิตของชาวโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 1[8] นอกจากนี้ ชาวโรมันยังได้พัฒนากิจกรรมสาธารณะอื่น ๆ ให้เป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวสมัยใหม่ โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ ซิงกิดูนม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเบลเกรดในปัจจุบัน ส่วนพื้นที่เนินเขาทางตะวันออกของเมืองริมแม่น้ำดานูบได้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวโดยมีวิลลาและบ้านพักตากอากาศจำนวนมากสำหรับพลเมืองที่มีฐานะร่ำรวย[9][10] ส่วนในพื้นที่ย่านสมัยใหม่ของเบลเกรดอย่างอาดาฮูญา และคาราบูรมา ซึ่งอยู่นอกเมืองในสมัยโรมัน มีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากที่ใช้เป็นโรงอาบน้ำสาธารณะ[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Serbia เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in: Alain Dupeyras (ed.) (2012). OECD tourism trends and policies 2012. Paris: Organization for Economic Cooperation & Development. ISBN 9789264177567. p. 403–407.doi:10.1787/tour-2012-56-en
  2. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "Србија ове године од туризма зарадила готово милијарду и по евра".
  4. "Кинези и Босанци најбројнији туристи у Србији".
  5. "Туризам и угоститељство (Tourism and catering trade)" (PDF). 2017-10-19. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-10.
  6. "Како до средстава за развој сеоског туризма".
  7. "Gastronomija Srbije i specijaliteti koji oduševljavaju turiste". 16 May 2021.
  8. "Banje u Srbiji: Istorija banja u Srbiji - Istorija srpskog turizma" [Spas in Serbia: History of spas in Serbia - History of tourism in Serbia]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย). 15 December 2020.
  9. "Od beogradske spavaonice do poslovnog centra" [Depo has been sold]. Politika-Magazin, No. 1037 (ภาษาเซอร์เบีย). 13 August 2017. p. 16.
  10. Zorica Atić (26 August 2017). "Misteriozni kamenovi iz Brestovika" [Mysterious stones from Brestovik]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย). p. 13.
  11. Tanjug (15 April 2017). "Ada Huja postaje izletište i stambeno-komercijalna zona" [Ada Huja becomes an excursion site and a residential-commercial zone]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย).
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "marat" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]