การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง

พิกัด: 51°03′00″N 13°44′24″E / 51.05000°N 13.74000°E / 51.05000; 13.74000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทิ้งระเบิดที่เดรสเดินในสงครามโลกครั้งที่สอง
ส่วนหนึ่งของ ยุทธวิธีการทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2

เดรสเดินหลังจากถูกระเบิด
วันที่13–15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945
สถานที่51°03′00″N 13°44′24″E / 51.05000°N 13.74000°E / 51.05000; 13.74000
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
นาซีเยอรมัน
กำลัง
ความสูญเสีย
อากาศยาน 7 ลำ (โบอิง บี-17 ฟลายอิงฟอร์เทรส 1 ลำ และเอฟโร แลนด์แคสเตอร์ 6 ลำ รวมถึงคนขับ) ถูกฆ่าสูงถึง 25,000 คน[1][2]

การทิ้งระเบิดเดรสเดิน เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายบริติชและอเมริกันต่อเมืองเดรสเดิน เมืองหลวงของรัฐแซกโซนีของเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในการตีโฉบฉวยสี่ครั้งระหว่างวันที่ 13 และ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก 722 ลำของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF) และ 527 ลำของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ(USAAF) ซึ่งได้ทิ้งระเบิดแรงสูงมากกว่า 3,900 ตันและอุปกรณ์ในการก่อให้เกิดเพลิงไหม้ในตัวเมือง[3] การทิ้งระเบิดครั้งนี้ก่อให้เกิดพายุเพลิงทำลายมากกว่า 1,600 เอเคอร์ (6.5 ตารางกิโลเมตร) ของส่วนกลางเมือง[4] มีประชากรที่เสียชีวิตลงถึง 25,000 คน[1][2][a] ถึงแม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงตัวเลขเสียชีวิตจำนวนมากขึ้น การตีโฉบฉวยของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐได้เพิ่มเติมอีกครั้ง จำนวนสองครั้ง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม มุ่งเป้าหมายไปที่ลานจอดรถไฟของเมืองและการตีโฉบฉวยขนาดเล็กครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน มุ่งเป้าหมายไปที่เขตอุตสาหกรรม

โฆษณาชวนเชื่อของเยอรมันได้กล่าวออกมาทันทีว่าภายหลังจากการโจมตีและการอภิปรายหลังสงครามว่า การโจมตีนั้นมีเหตุสมควรหรือไม่นั้นที่ทำให้การทิ้งระเบิดกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลทางศีลธรรม กรณีที่โด่งดัง (causes célèbres) ในสงคราม[6] ปี ค.ศ. 1953 กองทัพอากาศสหรัฐได้รายงานปกป้องปฏิบัติการว่า การทิ้งระเบิดที่สมเหตุต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ซึ่งพวกเขาได้สังเกตเห็นว่า เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟและการสื่อสาร์ที่สำคัญ ที่ตั้งโรงงาน 110 แห่ง และคนงาน 50,000 คนที่สนับสนุนในความพยายามทำสงครามของเยอรมัน[7] นักวิจัยหลายคนได้อ้างว่าไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมทั้งหมด เช่น สะพาน เป็นเป้าหมาย และไม่ได้มีพื้นที่เขตอุตสาหกรรมที่กว้างขวางบนนอกใจกลางเมือง[8] มีการวิจารณ์ต่อการทิ้งระบิดครั้งนี้ได้รับการยืนยันว่าเดรสเดิน เป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม ในขณะที่ได้มองข้ามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และอ้างว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นการทิ้งระเบิดลงบนพื้นดินแบบไม่เจาะจงและไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางทหาร[9][10][11] แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนโดยมาตรฐานทางกฎหมายใดๆ ในขณะที่เดรสเดินได้รับการปกป้องและตั้งเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทหารที่สำคัญและเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมสงครามหลายแห่ง บางส่วนอ้างว่าการตีโฉบฉวยครั้งนี้คือการก่ออาชญากรรมสงคราม[12] บางครั้ง ส่วนใหญ่ในกลุ่มเยอรมันฝ่ายขวาจัด ได้เรียกว่าการทิ้งระเบิดครั้งนี้ว่าเป็นการสังหารหมู่ เรียกว่า "การทิ้งระเบิดฮอโลคอสต์ที่เดรสเดิน"[13][14]

รูปแบบจำนวนมากในยอดผู้เสียชีวิตที่ได้มีการอ้างอิงได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 รัฐบาลเยอรมันได้ออกคำสั่งให้สื่อมวลชนเผยแพร่จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวน 200,000 คน จากการตีโฉบฉวยเดรสเดิน และผู้เสียชีวิตจำนวนสูงสุดถึง 50,000 คนได้ถูกกล่างอ้างถึง[15][16][17] ผู้มีอำนาจเมืองในช่วงเวลานั้นได้ประเมินผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถึง 25,000 คนซึ่งเป็นตัวเลขที่สนับสนุนในการสืบสวนภายหลัง รวมทั้งการศึกษาในปี ค.ศ. 2010 ที่ได้รับมอบหมายจากสภาเทศบาลเมือง[18] หนึ่งในนักเขียนหลักที่รับผิดชอบจากการเขียนจำนวนตัวเลขที่สูงเกินจริงได้ถูกเผยแพร่ในตะวันตกคือผู้ปฏิเสธฮอโลคอสต์ เดวิด ไอวิง ซึ่งได้ประกาศในภายหลัง เมื่อเขาได้ค้นพบว่าเอกสารที่เขาทำงานมานั้นได้ถูกปลอมแปลงขึ้นมาและจำนวนแท้จริงนั้นรองรับจำนวน 25,000 คน[19]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Casualty figures have varied mainly due to false information spread by Nazi German and Soviet propaganda. Some figures from historians include: 18,000+ (but less than 25,000) from Antony Beevor in "The Second World War"; 20,000 from Anthony Roberts in "The Storm of War"; 25,000 from Ian Kershaw in "The End"; 25,000–30,000 from Michael Burleigh in "Moral Combat"; 35,000 from Richard J. Evans in "The Third Reich at War: 1939–1945".[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Dresden Historical Commission" (PDF). Abschlussbericht der Historikerkommission zu den Luftanfriffen auf Dresden zwischen dem 13 un 15 Februar 1945. สืบค้นเมื่อ 13 July 2023.
  2. 2.0 2.1 "Dresden historical commission publishes final report". www.dresden.de (ภาษาอังกฤษ). 19 January 2024.
  3. *The number of bombers and tonnage of bombs are taken from a USAF document written in 1953 and classified secret until 1978 (Angell 1953). "Mission accomplished" เก็บถาวร 6 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Guardian, 7 February 2004.
  4. Harris 1945.
  5. Evans, Richard J. (2008). The Third Reich at War, 1939–1945 (Kindle ed.). London: Allen Lane. para. 13049.
  6. Selden 2004, p. 30: Cites Schaffer 1985, pp. 20–30, 108–109. Note: The casualty figures are now considered lower than those from the firebombing of some other Axis cities; see Tokyo 9–10 March 1945, approximately 100,000 dead, and Operation Gomorrah campaign against Hamburg July 1943, approximately 50,000 dead (Grayling 2006, p. 20)
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USAFHD
  8. McKee 1983, p. 62.
  9. Dresden was a civilian town with no military significance. Why did we burn its people? เก็บถาวร 21 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน By Dominic Selwood. The Telegraph, 13 February 2015
  10. Addison & Crang 2006, Chapter 9 p. 194.
  11. McKee 1983, pp. 61–94.
  12. Furlong, Ray (22 June 2004). "Dresden ruins finally restored". BBC News.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Volkery
  14. Rowley, Tom (8 February 2015). "Dresden: The wounds have healed but the scars still show". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2017.
  15. Bergander 1998, p. 217.
  16. Taylor 2004, p. 370.
  17. Atkinson 2013, p. 535.
  18. Neutzner 2010, p. 68.
  19. "Wie David Irving eingestand, eine Fälschung genutzt zu haben". Dresdener Neueste Nachrichten (ภาษาเยอรมัน). 24 January 2005.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]