กอนต์เล็ตดาร์กเลกาซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กอนต์เล็ตดาร์กเลกาซี
ใบปลิวฝ่ายขายที่แสดงคลาสตัวละครใหม่สี่คลาสและตู้อาร์เคดเฉพาะ
ผู้พัฒนามิดเวย์เกมส์เวสต์ (เพลย์สเตชัน 2, เกมคิวบ์, เอกซ์บอกซ์)
พ็อคเกตสตูดิโอส์ (เกมบอยอัดวานซ์)
ผู้จัดจำหน่ายมิดเวย์เกมส์
ชุดกอนต์เล็ต
เครื่องเล่นอาร์เคด, เพลย์สเตชัน 2, เกมคิวบ์, เอกซ์บอกซ์, เกมบอยอัดวานซ์
วางจำหน่ายอาร์เคด
เพลย์สเตชัน 2[1]
เกมคิวบ์[2]
เอกซ์บอกซ์[3]
เกมบอยอัดวานซ์[4]
แนวสับและเฉือน, ตะลุยดันเจียน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (ผู้เล่นสูงสุด 4 คน)
ระบบอาร์เคดมิดเวย์เวกัส

กอนต์เล็ตดาร์กเลกาซี (อังกฤษ: Gauntlet Dark Legacy) เป็นวิดีโอเกมที่เปิดตัวครั้งแรกในระบบอาร์เคดใน ค.ศ. 2000 โดยเป็นผลงานลำดับที่หกในซีรีส์กอนต์เล็ต และเป็นภาคเสริมของกอนต์เล็ตเลเจนส์ซึ่งเป็นภาคก่อนหน้าในซีรีส์ ภาคเสริมนี้เพิ่มระดับใหม่ห้าระดับ และคลาสตัวละครใหม่สี่คลาส ได้แก่ คนแคระ, อัศวิน, ตัวตลก และแม่มด นอกจากนี้ ยังเพิ่มตัวละครลับจำนวนมากซึ่งบางตัวสามารถปลดล็อกได้ในเกม ในขณะที่คนอื่น ๆ สามารถเข้าถึงได้โดยการป้อนรหัสโกงโดยเฉพาะเท่านั้น

องค์ประกอบจากภาคดาร์กเลกาซีได้รับการรวมเข้ากับพอร์ตดรีมแคสต์ของกอนต์เล็ตเลเจนส์ ส่วนพอร์ตโดยตรงสู่เพลย์สเตชัน 2 เปิดตัวใน ค.ศ. 2001 ตามด้วยเวอร์ชันสำหรับเกมบอยอัดวานซ์, เกมคิวบ์ และเอกซ์บอกซ์ ที่วางจำหน่ายใน ค.ศ. 2002

รูปแบบการเล่น[แก้]

กอนต์เล็ตดาร์กเลกาซีในฐานะภาคเสริมของกอนต์เล็ตเลเจนส์จะเล่นในลักษณะเดียวกัน แต่มีเลเวล, ไอเทม, ตัวละคร และความสามารถใหม่ในการต่อสู้ ผู้เล่นมีตัวเลือกในการโจมตีแบบช้า ๆ, โจมตีรุนแรง หรือโจมตีที่รวดเร็ว และอ่อนกว่าเมื่อเทียบกับภาคเลเจนส์ที่มีการโจมตีเพียงประเภทเดียว ในกอนต์เล็ตดาร์กเลกาซี ผู้เล่นสามารถทำคอมโบได้โดยใช้การโจมตีแบบช้า ๆ และการโจมตีอย่างรวดเร็วตามลำดับในขณะต่อสู้ระยะประชิด การทำคอมโบนั้นแข็งแกร่งกว่าการโจมตีปกติมาก และโดยปกติจะสามารถกำจัดศัตรูหลายตัวพร้อมกันได้ เช่นเดียวกับในภาคเลเจนส์ ผู้เล่นแต่ละคนจะมีมาตรวัดเทอร์โบที่เติมอย่างช้า ๆ และอัตโนมัติ มาตรวัดเทอร์โบนี้ช่วยให้ผู้เล่นสามารถใช้การโจมตีเทอร์โบ ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้างหรือในระยะไกล และสามารถเจาะทะลุศัตรูและกำแพงได้หลายตัว เมื่อมาตรวัดเทอร์โบว่างเปล่าจะไม่สามารถใช้การโจมตีเทอร์โบได้จนกว่าจะเต็มอีกครั้ง ภาคดาร์กเลกาซีเพิ่มความสามารถให้แก่ผู้เล่นสองคนที่ยืนอยู่ติดกันเพื่อทำการโจมตีเทอร์โบร่วมกัน ซึ่งโดยปกติจะบรรจุกำลังจำนวนมาก (และระบายครึ่งหนึ่งของมาตรวัดเทอร์โบของผู้เล่นที่เริ่มการรวมเทอร์โบ)

ผู้เล่นสามารถรวบรวมไอเทมจากในเลเวลหรือซื้อในร้านค้า ไอเทมจะเปิดใช้งานเมื่อเก็บขึ้น แต่สามารถปิดใช้งานได้โดยใช้เมนูไอเทม โดยไอเทมเอื้ออำนวยประโยชน์และหายไปภายในเวลาที่กำหนดหรือจำนวนการใช้งานที่กำหนด ภาคดาร์กเลกาซีมีไอเทมมากกว่าของเดิม แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีราคาแพงกว่า สิ่งนี้ให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อไอเทมมากขึ้น

ในภาคดาร์กเลกาซี ผู้เล่นมีความสามารถเพิ่มเติมในการบล็อก, การชาร์จ และการยิงกราด การยิงกราดทำให้ผู้เล่นหันหน้าไปทางเดียวตลอดเวลา และยิงโจมตีด้วยความเร็วปานกลาง ส่วนการบล็อกทำให้ตัวละครของผู้เล่นหยุดนิ่งในตำแหน่งป้องกันเป็นเวลาหนึ่งหรือสองวินาที ซึ่งการโจมตีใด ๆ ที่ทำกับผู้เล่นจะถูกลบล้างหรือสร้างความเสียหายน้อยลงอย่างมาก เมื่อทำการชาร์จผู้เล่นจะวิ่งไปข้างหน้าพร้อมกับอาวุธที่ทำหน้าที่เหมือนทวนในขณะที่บล็อกไปพร้อม ๆ กัน ผู้เล่นสามารถสังหารศัตรูข้างหน้าได้ในขณะที่บล็อกการโจมตี อย่างไรก็ตาม การชาร์จจะใช้มาตรวัดเทอร์โบเล็กน้อยในแต่ละครั้งที่ใช้งาน

รูปแบบการเล่นมีรากฐานมาจากเกมกอนต์เล็ตดั้งเดิม ระดับส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด ทำลายศัตรูก่อนที่จะสามารถสังหารผู้เล่นได้ เช่นเดียวกับในกอนต์เล็ต และกอนต์เล็ต II เหล่าศัตรูจะเกิดจากตัวก่อกำเนิด เฉพาะเมื่อตัวก่อกำเนิดถูกทำลาย ศัตรูจะหยุดการกำเนิด ตัวก่อกำเนิดบางตัวจะถูกโจมตีหลายครั้งเพื่อทำลาย เมื่อตัวก่อกำเนิดอ่อนแอลง มันจะพลังวางไข่ศัตรูน้อยลง จนกว่าจะถูกทำลายจนหมด ขณะที่มีบางระดับที่มีลักษณะเหมือนเขาวงกตและหาเส้นทางได้ยากกว่า โดยทั่วไป ระดับต่าง ๆ จะมีเส้นทางไปยังจุดสิ้นสุดที่มองเห็นได้ง่าย โดยมีเส้นทางด้านข้างที่แยกจากกันซึ่งยากต่อการเข้าถึง เส้นทางด้านข้างเหล่านี้มักจะนำไปสู่ไอเทมสำคัญ เช่น สมบัติ, อาวุธในตำนาน (ซึ่งใช้ในการทำให้บอสอ่อนแอ) หรือหินรูน (ซึ่งจำเป็นสำหรับความคืบหน้าในเกม) บางระดับจะมีภาพยนตร์สั้นก่อนที่ระดับจะโหลด ทำหน้าที่แนะนำผู้เล่นให้รู้จักศัตรูประเภทใหม่ หรือเตือนผู้เล่นว่าอาวุธในตำนานถูกซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่งในระดับดังกล่าว หินรูนไม่ได้รับการบอกใบ้ในภาพยนตร์ แม้ว่าจะมีการออกจากด่านที่มีหินรูนโดยไม่พบหินรูน เสียงหัวเราะชั่วร้ายก็ดังขึ้น อาหารยังคงฟื้นฟูพลังชีวิตในภาคดาร์กเลกาซี เช่นเดียวกับในกอนต์เล็ต II โดยอาหารแต่ละประเภทจะฟื้นฟูพลังชีวิตในปริมาณที่แตกต่างกัน ส่วนสมบัติเป็นสิ่งหายากในภาคดาร์กเลกาซี เนื่องจากใช้สำหรับซื้อไอเทมในร้านค้า นี่เป็นข้อแตกต่างจากเกมกอนต์เล็ตก่อนหน้านี้ ที่ซึ่งสมบัติมีมากมาย, ให้คะแนนพิเศษ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น

ตัวละคร[แก้]

ตัวละครแต่ละตัวมีความสามารถที่ไม่ตรงกันในบางสาขา:

สาขา เอฟเฟกต์
เวทมนตร์ เพิ่มระยะและความเสียหายจากการใช้ยาวิเศษ
กำลัง สร้างความเสียหายให้กับศัตรูมากขึ้นเมื่อโจมตี
ความเร็ว ช่วยให้ตัวละครเคลื่อนที่และโจมตีได้เร็วขึ้น
เกราะ ทำให้ตัวละครมีความทนทานมากขึ้นเมื่อถูกโจมตี

นอกจากนี้ ตัวละครแต่ละชุดยังมีพลังพิเศษที่สามารถใช้ได้เมื่อใช้ยาวิเศษในระดับหนึ่งของประสบการณ์

พ่อมดซัมเนอร์ยังสามารถใช้เล่นได้หลังจากปลดล็อกหนึ่งในเลเวลสุดท้ายของเกม

โครงเรื่อง[แก้]

ในสมัยโบราณ การ์มซึ่งเป็นจอมเวทย์ผู้ชั่วร้ายที่ใช้พลังของหินรูน ได้ปลดปล่อยความชั่วร้ายที่ยิ่งใหญ่ต่อแผ่นดิน ซึ่งปีศาจที่ชื่อสกอร์นตนนี้ได้หลุดพ้นจากการควบคุมของการ์ม โดยบดขยี้เขา และกักขังวิญญาณของเขาในยมโลก จากนั้น สกอร์นก็ปล่อยสมุนของมันลงบนพื้นดิน และทำให้หินรูนกระจัดกระจายไปทั่วทั้งแปดอาณาจักร เพื่อที่พวกมันจะไม่ถูกประกอบขึ้นและใช้ต่อต้านสกอร์นได้อีก

ซึ่งไม่มีใครกล้าลอง ...

จนถึงตอนนี้

— ภาพยนตร์เบื้องต้นของเกม

คู่มือที่มาพร้อมกับเกมได้อธิบายเรื่องราวเพิ่มเติม โดยระบุว่าซัมเนอร์เป็นราชาที่ดีของอาณาจักรทั้งแปดและมีอำนาจเหนือหอคอย ซึ่งหอคอยมีประตูใหญ่ไปยังทุกอาณาจักรเพื่อให้พระองค์เข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าการ์มพระอนุชาของพระองค์อิจฉาในอำนาจและสถานะของพระองค์ และได้ค้นหาหินรูนทั้ง 13 มานานหลายปี เมื่อพบ 12 ก้อนหลังจากการค้นหาอย่างหนัก เขาก็หมดความอดทน และปล่อยสกอร์นจากที่นั่น น่าเสียดาย ที่เขาไม่สามารถควบคุมปีศาจได้หากไม่มีหินรูนก้อนที่ 13 สกอร์นได้เรียกสมุนของมันและส่งพวกมันผ่านประตูใหญ่ในหอคอยเพื่อยึดครองอาณาจักร ซัมเนอร์ซึ่งไม่อยู่ในเวลานั้น ได้กลับไปที่หอคอยเพียงเพื่อดูปีศาจสกอร์นที่ใช้มันเพื่อผลประโยชน์อันชั่วร้ายของตัวเอง สิ่งนี้ได้ทำให้ซัมเนอร์กริ้ว และพระองค์ทรงพระพิโรธในการในการต่อสู้กับสกอร์นหลังจากปิดผนึกประตูใหญ่ทั้งหมด ตามที่ระบุในคู่มือ สกอร์น "ไม่สามารถเทียบได้" สำหรับพลังของซัมเนอร์ และมันก็ถอยกลับเข้าไปในวิหารร้างผ่านหอคอยของซัมเนอร์ สกอร์นได้ทำลายหน้าต่างกระจกสีต้องมนตร์ซึ่งเป็นทางผ่านเดียวสู่วิหาร และมอบเศษกระจกหนึ่งชิ้นให้แก่ลูกน้องที่ทรงพลังที่สุดของมัน (บอสของเกม) นอกจากนี้ มันยังได้กระจายหินรูนที่ประกอบกัน 12 ก้อนไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งวิหารจากจุดนั้นถูกเรียกว่าวิหารที่ถูกทำลาย

เกมนี้แบ่งออกเป็นโลกต่าง ๆ โดยแต่ละด่านมีหลายระดับ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากหอคอยของซัมเนอร์

เป้าหมายแรกของผู้เล่นคือเอาชนะทุกเลเวล, เอาชนะบอสจากแปดโลกที่มีอยู่เดิม ผู้เล่นจะต้องรวบรวมคริสตัลที่กระจัดกระจายในระดับต่าง ๆ เพื่อปิดใช้งานการป้องกันของซัมเนอร์ และเข้าถึงโลกใหม่รวมทั้งเลเวลอื่น ๆ เมื่อเอาชนะบอสได้ หน้าต่างกระจกสีจะได้รับการบูรณะอย่างช้า ๆ และแสงที่ส่องออกมาจากหน้าต่างนั้นเผยให้เห็นประตูพิเศษในหอคอย ประตูใหญ่นี้จะพาผู้เล่นไปสู่โลกที่ 9 ซึ่งคือวิหารที่ถูกทำลาย ผู้เล่นจะต้องต่อสู้ผ่านด่านเดียวที่เต็มไปด้วยศัตรู เมื่อออกไป ผู้เล่นจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังห้องโถงของสกอร์นโดยอัตโนมัติ ที่นี่ผู้เล่นจะต้องเอาชนะปีศาจสกอร์น หลังจากที่มันถูกกำจัด มันก็ถอยเข้าสู่อันเดอร์เวิลด์ จากนั้นผู้เล่นจะต้องรวบรวมหินรูน 12 ก้อนจาก 8 โลกก่อนหน้านี้ เมื่อสำเร็จแล้ว พลังของพวกเขาจะเผยประตูพิเศษอีกแห่งในหอคอย โดยนำผู้เล่นเข้าสู่โลกที่ 10 ซึ่งคืออันเดอร์เวิลด์ ที่นั่น หลังจากเอาชนะในด่านเดียว ผู้เล่นจะถูกส่งไปรบกับสกอร์นร่างแท้จริงโดยอัตโนมัติ ผู้เล่นเอาชนะร่างแท้ และขับไล่มันออกจากอาณาจักรทั้งแปดตลอดไป แต่สงครามยังไม่จบ การ์มดูดซับพลังที่หลงเหลือของสกอร์น จนกลายเป็นรูปปั้นสกอร์นขนาดใหญ่ ที่ทรงพลังมหาศาล เขาจัดตั้งกองทัพและปลดปล่อยการโจมตีใส่หอคอยของซัมเนอร์ เป้าหมายสุดท้ายของผู้เล่นคือการเอาชนะโลกที่ 11 และโลกสุดท้ายคือแบตเทิลกราวด์ หลังจากเอาชนะด่านที่สามของโลกนี้และรวบรวมฟินรูนก้อนที่ 13 ที่ซ่อนอยู่ภายใน ประตูพิเศษที่สี่และสุดท้ายจะถูกเปิดเผยในหอคอย ประตูใหญ่นี้จะพาผู้เล่นไปยังป้อมปราการของการ์ม ที่ซึ่งการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเกมจะเกิดขึ้น

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์(เพลย์สเตชัน 2) 70.77 เปอร์เซ็นต์[5]
(เกมคิวบ์) 61.43 เปอร์เซ็นต์[6]
(เอกซ์บอกซ์) 52.65 เปอร์เซ็นต์[7]
(เกมบอยอัดวานซ์) 35.25 เปอร์เซ็นต์[8]
เมทาคริติก(เพลย์สเตชัน 2) 73/100[9]
(เกมคิวบ์) 60/100[10]
(เอกซ์บอกซ์) 54/100[11]
(เกมบอยอัดวานซ์) 37/100[12]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม3.5/5 stars[13]
(เอกซ์บอกซ์) 3/5 stars[14]
(เกมบอยอัดวานซ์) 1.5/5 stars[15]
แฟมิซือ31/40[16]
เกมอินฟอร์เมอร์(เพลย์สเตชัน 2) 7.75/10[17]
(เกมคิวบ์) 7.25/10[18]
(เกมบอยอัดวานซ์) 1.5/10[19]
เกมโปร(เพลย์สเตชัน 2) 4.5/5 stars[20]
(เกมคิวบ์) 3/5 stars[21]
เกมเรโวลูชันซีบวก[22]
เกมสปอต(เพลย์สเตชัน 2) 6.2/10[23]
5.1/10[24][25]
(เกมบอยอัดวานซ์) 4.3/10[26]
เกมสปาย(เพลย์สเตชัน 2) 85 เปอร์เซ็นต์[27]
(เกมคิวบ์) 58 เปอร์เซ็นต์[28]
(เกมบอยอัดวานซ์) 1/5 stars[29]
เกมโซน(เพลย์สเตชัน 2) 8/10[30]
(เกมคิวบ์) 7.3/10[31]
(เอกซ์บอกซ์) 7.2/10[32]
(เกมบอยอัดวานซ์) 5.2/10[33]
ไอจีเอ็น(เพลย์สเตชัน 2) 6.7/10[34]
(เกมคิวบ์) 5/10[35]
(เอกซ์บอกซ์) 4.9/10[36]
(เกมบอยอัดวานซ์) 3/10[37]
เนกซ์เจเนอเรชัน3/5 stars[38]
นินเท็นโดเพาเวอร์(เกมคิวบ์) 3.6/5[39]
(เกมบอยอัดวานซ์) 2.5/5[40]
นินเท็นโดเวิลด์รีพอร์ต(เกมคิวบ์) 7/10[41]
ออฟฟิเชียลเอกซ์บอกซ์แมกกาซีน6.2/10[42]

แดเนียล เอริกสัน ได้วิจารณ์เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 2 สำหรับนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชัน โดยให้คะแนนสามดาวจากห้าดาว และระบุว่า "ไม่ใช่การผ่าตัดสมอง แต่มันก็สนุกดีสำหรับผู้เล่นหลายคน และนั่นก็หายากพอสำหรับวันนี้"[38]

กอนต์เล็ตดาร์กเลกาซีได้รับการตอบรับอย่างดีถึงปานกลาง เจอรัลด์ วิลโลเรีย แห่งเว็บไซต์เกมสปอตกล่าวถึงเวอร์ชันเอกซ์บอกซ์และเกมคิวบ์ว่า "รูปลักษณ์ที่ล้าสมัยและประสิทธิภาพที่ไม่ดีของเกมทำให้ไม่สามารถแข่งกับเกมยอดนิยมอื่น ๆ ที่มีผู้เล่นสี่คน" ในขณะนั้น[24]

ในบรรดาเวอร์ชันเครื่องเล่นทั้งหมดของเกมดังกล่าว เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 2 ได้รับการตอบรับดีที่สุด โดยได้ 31 คะแนนเต็ม 40 จากนิตยสารแฟมิซือ[16] และคะแนนเฉลี่ย 70.77 เปอร์เซ็นต์ในเว็บไซต์เกมแรงกิงส์[5] และ 73 คะแนนเต็ม 100 จากเว็บไซต์เมทาคริติก[9] ส่วนเวอร์ชันเกมคิวบ์และเอกซ์บอกซ์ ซึ่งสร้างขึ้นจากเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 2 และเปิดตัวในปีต่อมา ได้รับคะแนนเฉลี่ยที่น่าพอใจน้อยกว่าที่ 61.43 เปอร์เซ็นต์ และ 52.65 เปอร์เซ็นต์ ในเว็บไซต์เกมแรงกิงส์[6][7] และ 60 คะแนน กับ 54 คะแนนเต็ม 100 ในเว็บไซต์เมทาคริติก[10][11] แม้ว่าเวอร์ชันเหล่านี้จะเพิ่มคุณสมบัติใหม่ให้แก่เกม เช่น ความสามารถในการเก็บรักษาเพาเวอร์-อัป พื่อใช้ในภายหลัง แต่มีรายงานจำนวนข้อบกพร่องที่มากกว่า เวอร์ชันเกมคิวบ์น่าสังเกตเป็นพิเศษในด้านนี้ เนื่องจากประสบปัญหาการชะลอตัวครั้งใหญ่ในพื้นที่ขนาดใหญ่หรือมีรายละเอียดสูง และไม่แสดงแถบชีวิตสำหรับโกเลม, การ์กอยล์ และบอส (ยกเว้นในเวอร์ชันแพล) ส่วนเว็บไซต์เกมโครนิเคิลส์ในทางตรงกันข้าม ชอบเวอร์ชันเอกซ์บอกซ์ โดยระบุว่า "นี่เป็นครั้งที่สามที่ผมเล่นเกมนี้ และเวอร์ชันเอกซ์บอกซ์เป็นประสบการณ์ที่สนุกที่สุดจากทั้งสามเวอร์ชัน พลังของเอกซ์บอกซ์ได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อมอบกราฟิกที่ยอดเยี่ยม และนวัตกรรมสุดเจ๋งทั้งหมดที่เวอร์ชันเกมคิวบ์ได้รับเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้รวมเอาประสบการณ์กอนต์เล็ตขั้นสูงสุดไว้ด้วย"[43]

สื่อพ่วงขาย[แก้]

ใน ค.ศ. 2004 ผู้จัดพิมพ์ไอบุ๊กส์ (สำนักพิมพ์ไซมอนแอนด์ชูสเตอร์) ได้ออกนวนิยายอิงจากวิดีโอเกมชื่อกอนต์เล็ตดาร์กเลกาซี - บุ๊ก 1: พาธส์ออฟอีวิล โดยริชาร์ด ซี. ไวต์ (ISBN 0-74349-305-2) ส่วนภาคต่อชื่อกอนต์เล็ตดาร์กเลกาซี - บุ๊ก 2: พาธส์ออฟเฟียร์ ได้รับการเขียนขึ้นและมีการวางแผนสำหรับการเปิดตัวใน ค.ศ. 2005 แต่เนื่องจากการจากไปของทั้งไบรอน ไพรส์ วิชวลโปรดักชันส์ และเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งนี้จึงไม่เกิดขึ้น ซึ่งใน ค.ศ. 2007 ใบอนุญาตสำหรับเรื่องราวเหล่านี้ได้เปลี่ยนกลับไปสู่บริษัทมิดเวย์เกมส์ เล่ม 1 จึงน่าจะเป็นเล่มสุดท้ายของซีรีส์ เว้นแต่ผู้อนุญาตรายใหม่จะมอบหมายให้ไวต์เขียนเรื่องของเขาให้จบ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Release information for PlayStation 2". GameFAQs.
  2. "Release information for GameCube". GameFAQS.
  3. "Release information for Xbox". GameFAQs.
  4. "Release information for Game Boy Advance". GameFAQS.
  5. 5.0 5.1 "Gauntlet: Dark Legacy for PlayStation 2". GameRankings. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  6. 6.0 6.1 "Gauntlet: Dark Legacy for GameCube". GameRankings. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  7. 7.0 7.1 "Gauntlet Dark Legacy for Xbox". GameRankings. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  8. "Gauntlet: Dark Legacy for Game Boy Advance". GameRankings. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  9. 9.0 9.1 "Gauntlet: Dark Legacy Critic Reviews for PlayStation 2". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  10. 10.0 10.1 "Gauntlet: Dark Legacy Critic Reviews for GameCube". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  11. 11.0 11.1 "Gauntlet Dark Legacy Critic Reviews for Xbox". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  12. "Gauntlet: Dark Legacy Critic Reviews for Game Boy Advance". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  13. White, Jason. "Gauntlet: Dark Legacy (PS2) - Review". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-12-09.
  14. Frankle, Gavin. "Gauntlet: Dark Legacy (Xbox) - Overview". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-12-09.
  15. Marriott, Scott Alan. "Gauntlet: Dark Legacy (เกมบอยอัดวานซ์) - Review". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-12-09.
  16. 16.0 16.1 "プレイステーション2 - Gauntlet Dark Legacy". Famitsu. 915: 93. June 30, 2006.
  17. Leeper, Justin (June 2001). "Gauntlet: Dark Legacy (PS2)". Game Informer (98). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-02. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  18. Leeper, Justin (May 2002). "Gauntlet: Dark Legacy (GC)". Game Informer (109): 84. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  19. McNamara, Andy (March 2003). "Gauntlet: Dark Legacy (GBA)". Game Informer (119): 92. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  20. Dr. Zombie (2001-04-30). "Gauntlet: Dark Legacy Review for PS2 on GamePro.com". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  21. Star Dingo (2002-04-22). "Gauntlet: Dark Legacy Review for GameCube on GamePro.com". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  22. Sanders, Shawn (2001-05-03). "Gauntlet: Dark Legacy Review". Game Revolution. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  23. Lopez, Miguel (2001-05-09). "Gauntlet: Dark Legacy Review (PS2)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  24. 24.0 24.1 Villoria, Gerald (2002-03-22). "Gauntlet: Dark Legacy Review (GC)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  25. Villoria, Gerald (2002-04-25). "Gauntlet Dark Legacy Review (Xbox)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  26. Provo, Frank (2002-12-12). "Gauntlet Dark Legacy Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  27. Thornton, Benjaman (2001-05-15). "Gauntlet Dark Legacy". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  28. Wessel, Greg "Talon" (2002-04-06). "Gauntlet: Dark Legacy (GCN)". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-06-13. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  29. Gibson, Jon (2003-02-16). "GameSpy: Gauntlet: Dark Legacy (GBA)". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  30. Snackdawg (2001-05-15). "Gauntlet Dark Legacy - PS2 - Review". GameZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-10. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  31. Tha Wiz (2002-03-19). "Gauntlet Dark Legacy Review (GC)". GameZone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  32. Lafferty, Michael (2002-05-05). "Gauntlet Dark Legacy - XB - Review". GameZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  33. Tha Wiz (2002-12-13). "Gantlet Dark Legacy - GBA - Review". GameZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-06. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  34. Smith, David (2001-05-07). "Gauntlet: Dark Legacy (PS2)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  35. Mirabella III, Fran (2002-03-11). "Gauntlet: Dark Legacy (GC)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  36. Mirabella III, Fran (2002-04-23). "Gauntlet: Dark Legacy (Xbox)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  37. Harris, Craig (2003-01-14). "Gauntlet: Dark Legacy (GBA)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2013-10-25.
  38. 38.0 38.1 Erickson, Daniel (July 2001). "Finals". Next Generation. Vol. 4 no. 7. Imagine Media. p. 81.
  39. "Gauntlet: Dark Legacy (GC)". Nintendo Power: 148. April 2002.
  40. "Gauntlet: Dark Legacy (GBA)". Nintendo Power: 137. March 2003.
  41. Lake, Max (2002-04-18). "Gauntlet Dark Legacy Review". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ 2013-10-27.
  42. "Review: Gauntlet: Dark Legacy". Official Xbox Magazine: 80. July 2002.
  43. http://www.gamechronicles.com/reviews/xbox/gauntlet/darklegacy.htm

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]