ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพอากาศลิเบียเสรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพอากาศลิเบียเสรี
القوات الجوية الليبية الحرة
ประจำการมีนาคม ค.ศ. 2011-ตุลาคม ค.ศ. 2011
ประเทศ ลิเบีย
ขึ้นต่อสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ
เหล่ากองทัพอากาศ
บทบาทสงครามกลางอากาศ
กำลังรบอาสาสมัคร 3,000 คน

อากาศยานมากกว่า 28 ลำ
เฮลิคอปเตอร์มากกว่า 9 ลำ

อากาศยานไร้คนขับ 1 ลำ
ขึ้นกับAnti-Gaddafi forces
ศูนย์บัญชาการฐานทัพอากาศบะนีนะฮ์, เบงกาซี
ปฏิบัติการสำคัญสงครามกลางเมืองลิเบีย
ผู้บังคับบัญชา
หัวหน้าศ็อกร์ อัลญะเราชี
ผบ. สำคัญพันเอกอับดุุลลอฮ์ อัลฮัสซี
พันเอกอะลี อะตียะ
เครื่องหมายสังกัด
Roundel
Fin Flash
Aircraft flown
FighterMiG-21, MiG-23
เฮลิคอปเตอร์CH-47 Chinook, Mil Mi-2, Mil Mi-8, Mil Mi-14, Mil Mi-17
Attack helicopterMil Mi-24
TrainerAero L-39, SF.260, Soko G-2 Galeb, Soko J-21
TransportIl-76, An-26

กองทัพอากาศลิเบียเสรี (อาหรับ: القوات الجوية الليبية الحرة‎‎) เป็นกองทัพอากาศของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ กลุ่มของบุคลากรทหารแปรพักตร์และอากาศยานที่ถูกยึดได้ซึ่งภักดีต่อกำลังต่อต้านกัดดาฟี ในสงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554

ปฏิบัติการ

[แก้]

วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554 อาลี อัตติยา นาวาอากาศเอกแห่งกองทัพอากาศลิเบียที่สนามบินทหารมาติกา ใกล้กับกรุงทริโปลี แปรพักตร์และเข้ากับการปฏิวัติ[1] ซึ่งเป็นการอ้างถึงการมีบุคลากรกองทัพอากาศของกำลังต่อต้านกัดดาฟีเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม เครื่องบินขับไล่เจ็ตมิก-21 มากถึงสี่ลำลงจอดที่สนามบินเบงกาซีและเข้ากับฝ่ายกบฏ

กองทัพอากาศลิเบียปรากฏตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม โดยเปิดฉากโจมตีด้วยเครื่องบินมิก-23 และเฮลิคอปเตอร์ จมเรือรบฝ่ายนิยมกัดดาฟีลงได้สองลำนอกชายฝั่งตะวันออกใกล้กับแนวรบของยุทธการทางบกที่อัจดาบิยา ก่อนหน้านั้น อากาศยานเดียวกันยังทิ้งระเบิดรถถังฝ่ายรัฐบาลไม่ทราบจำนวนแน่นอนใกล้กับเบรกาและอัจดาบิยา[2]

วันที่ 19 มีนาคม มิก-23ยูบี ถูกยิงตกระหว่างยุทธการเบงกาซีครั้งที่สอง รายงานสื่อในตอนแรกเป็นไปด้วยความสับสน กระทั่งโฆษกยืนยันว่าเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นของฝ่ายกบฏ[3] โฆษกฝ่ายนิยมกัดดาฟีว่า กบฏละเมิดเขตห้ามบินของสหประชาชาติ[4] อย่างไรก็ตาม โฆษกฝ่ายกบฏอ้างว่าอากาศยานลำนั้นถูกยิงตกโดยกำลังนิยมกัดดาฟี[5] ท้ายที่สุด บีบีซีนิวส์รายงานเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ว่า อากาศยานกบฏดังกล่าวถูกยิงตกโดยฝ่ายเดียวกัน และนักบินเสียชีวิตเพราะดีดตัวออกจากเครื่องไม่ทัน[6]

วันที่ 9 เมษายน เฮลิคอปเตอร์เอ็มไอ-25เดี่ยวของฝ่ายกบฏถูกพบว่าบินอยู่เหนืออัจดาบิยา อันเป็นการละเมิดเขตห้ามบินของสหประชาชาติ[7] มีการอ้างว่าเครื่องบินดังกล่าวถูกยิงตกโดยฝ่ายรัฐบาล[8] วันเดียวกัน เครื่องบินขับไล่มิก-23 ของฝ่ายกบฏถูกสกัดกั้นโดยอากาศยานนาโตและนำกลับสู่ฐาน[9]

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เครื่องบินมิก-21 สามลำของกองทัพอากาศลิเบียเสรี เป็นแบบสองที่นั่งหนึ่งลำ และที่นั่งเดี่ยวสองลำ ถูกถ่ายภาพได้เหนือสนามบินเบนินาในเบงกาซี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นการฝึกซ้อมหรือภารกิจบินผ่าน แต่การบินดังกล่าวชัดเจนว่าละเมิดการบังคับใช้เขตห้ามบินของสหประชาชาติ เว้นเสียแต่ว่าได้รับความยินยอมก่อนหน้านั้นแล้ว[10]

ในความขัดแย้งระยะต่อมา เมื่อสะเบียงถูกส่งลงไปยังพื้นที่ของลิเบียที่ถูกปิดล้อมโดยฝ่ายนิยมกัดดาฟี เครื่องบินเจ็ตขับไล่มิก 21 ภายใต้การควบคุมของฝ่าย ต่อต้านคุ้มครองเครื่องบินเสบียงจากการโจมตีของฝ่ายรัฐบาล โดยนาโตปรากฏว่าแสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นการละเมิดเขตห้ามบินนี้[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Al Jazeera Arabic". March 13, 2011. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
  2. Reuters (March 15, 2011). "Libyan website reports rebels sink Gaddafi ships". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ April 9, 2011.
  3. . The Washington Post. 26 Jun 2011 http://www.washingtonpost.com/2011/06/26/AG1uMMmH_photo.html. สืบค้นเมื่อ 23 Aug 2011. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. "Fighter plane shot down in Libya's Benghazi: Al-Jazeera". Xinhua. March 19, 2011. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
  5. "Libya: French plane fires on military vehicle". BBC News. March 19, 2011.
  6. "Benghazi 'bombarded by pro-Gaddafi forces'". BBC News. March 20, 2011. สืบค้นเมื่อ March 20, 2011.
  7. Al Jazeera (April 12, 2011). "Libya Live Blog - April 9". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-10. สืบค้นเมื่อ April 12, 2011.
  8. McGreal, Chris (April 10, 2011). "Libya: rebel defences 'failing' as Gaddafi forces move towards Benghazi". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ April 10, 2011.
  9. "Libya: Fierce battle for second day in Ajdabiya". BBC News. April 10, 2011. สืบค้นเมื่อ April 12, 2011.
  10. David Cenciotti (July 13, 2011). "Picture taken near Benghazi raises question: is the Libyan No-Fly Zone active?". สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
  11. http://www.gizmodo.com.au/2011/08/the-tech-that-took-out-gaddafi/