กล้องโทรทรรศน์แบบแนสมิธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางเดินแสงของกล้องโทรทรรศน์แบบแนสมิธ

กล้องโทรทรรศน์แบบแนสมิธ (Nasmyth telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ชนิดหนึ่ง

สิ่งประดิษฐ์[แก้]

เจมส์ แนสมิธได้เกษียณจากงานนักประดิษฐ์เมื่ออายุ 48 ปีหลังจากที่ประสบความสำเร็จร่ำรวยอย่างมากแล้วมุ่งความสนใจไปที่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์[1] จากนั้นเขาจึงได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันอย่างดีของเขาเอง กล้องโทรทรรศน์ที่เขาสร้างขึ้นเองนั้นค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น และเมื่อเขาวางแผนกล้องโทรทรรศน์ขนาด 51 ซม. จึงได้คิดค้นวิธีในแบบของเขาเองขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายและความไม่สะดวกจากการใช้บันได[1]

โครงสร้าง[แก้]

กล้องโทรทรรศน์แบบแนสมิธมีลักษณะคล้ายกับกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง หรือ กล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียง โดยได้เพิ่มกระจกเงาแบนเข้าไประหว่างกระจกเงาปฐมภูมิและกระจกเงาทุติยภูมิ และลำแสงจะส่องไปที่แกนหูของกล้องโทรทรรศน์เพื่อการสังเกตการณ์[2] เมื่อติดตั้งบนแท่นแบบอัลตาซิมุท เลนส์ใกล้ตาจะอยู่ในแนวนอนเสมอและความสูงจะคงที่ ทำให้สะดวกในการติดและถอดอุปกรณ์สังเกตการณ์ขนาดใหญ่ และใช้ในกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่[2]

ตัวอย่างการใช้งาน ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ 6 เมตร BTA-6 ของอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียงที่ทำเป็นแบบแนสมิธ และกล้องโทรทรรศน์ขนาด 75 ซม. ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ของโรงเรียนซุนไดที่เมืองนางาโนฮาระ จังหวัดกุมมะ ของญี่ปุ่น[2]

ข้อเสียคือมุมมองจะหมุนไปเรื่อย ๆ เมื่อต้องสังเกตการณ์เป็นระยะเวลานาน จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีเวลาจะใช้เพื่อทำการถ่ายภาพ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.1-34「反射望遠鏡が宇宙を開拓した」。
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編』pp.53-70「反射望遠鏡の種類」。