ข้ามไปเนื้อหา

กล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างของกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง

กล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง (Cassegrain telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงประเภทหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยโลร็อง กัสแกร็ง นักบวชชาวฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17

ประกอบขึ้นโดยการวางกระจกเงาทุติยภูมิที่เป็นกระจกเงานูนทรงไฮเพอร์โบลาไว้ด้านหน้ากระจกเงาปฐมภูมิที่เป็นกระจกเงาเว้าทรงไฮเพอร์โบลา แล้วเปิดช่องว่างตรงกลางกระจกเงาปฐมภูมิให้ลำแสงผ่านไปยังด้านหลังซึ่งวางอุปกรณ์วัดแสงเช่น CCD เอาไว้[1]

เนื่องจากกระจกเงาทุติยภูมิมีลักษณะนูน ความยาวโฟกัสของกล้องโทรทรรศน์จึงเป็น 3-4 เท่าของความยาวโฟกัสของกระจกเงาปฐมภูมิ เช่นเดียวกับ กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตัน กล้องแบบนี้จะไม่เกิดความคลาดทรงกลมสำหรับภาพของจุดที่ระยะอนันต์บนแกนหลัก[2]

กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่บางรุ่นสามารถปรับให้เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันได้โดยเปลี่ยนกระจกเงาทุติยภูมิเป็นกระจกเงาระนาบที่เอียง 45 องศา

รูปแบบอื่น

[แก้]

กล้องโทรทรรศน์แบบอื่น ๆ หลายประเภทได้ดัดแปลงโดยมีพื้นฐานจากกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง เช่น กล้องโทรทรรศน์แบบริตชี–เครเตียง, กล้องโทรทรรศน์แบบดอล–เคอร์แค็ม, กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–กัสแกร็ง, กล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ–กัสแกร็ง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "天体望遠鏡を使いこなすための実際的基礎知識", 天体望遠鏡のすべて ('75年 ed.), 地人書館, 1975, pp. 36–53
  2. "カセグレン焦点". 天文学辞典. 日本天文学会. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
  3. "反射望遠鏡の種類". キヤノンサイエンスラボ・キッズ. キヤノン. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.