กระจกเงาทุติยภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระจกเงาทุติยภูมิของกล้องโทรทรรศน์เค็ก

กระจกเงาทุติยภูมิ (อังกฤษ: secondary mirror) คือกระจกเงาบานที่ 2 ในกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ซึ่งใช้เพื่อรวบรวมและโฟกัสแสง โดยทั่วไปแล้วแสงที่รวบรวมโดยกระจกเงาปฐมภูมิจะผ่านไปยังตำแหน่งของกระจกเงาทุติยภูมิก่อนที่จะไปถึงยังจุดโฟกัส กระจกเงาทุติยภูมิจะปรับแสงไปทางด้านข้างในกรณีของกล้องโทรทรรศน์แบบนิวตัน[1] หรือสะท้อนกลับไปในทิศตรงกันข้ามผ่านระนาบโฟกัสและผ่านกระจกเงาหลักในกรณีของกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง[2] หรือแบบอื่น ๆ

โดยปกติแล้วกระจกเงาทุติยภูมิจะถูกค้ำด้วยฐานยึดรูปตัว X (บางครั้งเรียกว่า "แมงมุม") บนเส้นทางแสงระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับกระจกเงาปฐมภูมิ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกระจกเงาต้องไม่ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของภาพ แต่ละจุดบนกระจกเงาปฐมภูมิจะถูกสร้างเป็นภาพขึ้นโดยแยกอิสระกัน และเมื่อพื้นที่เพิ่มขึ้น ความสว่างของภาพที่แสงอ่อนจะเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปร่างของภาพ นั่นคือ กระจกเงาทุติยภูมิและตัวรองรับอาจบิดเบี้ยวเล็กน้อยเนื่องจากฟังก์ชันกระจายจุด และการแผ่รังสีจากแหล่งกำเนิดแสงจ้าอาจทำให้เกิดการเลี้ยวเบนเป็นรูปกากบาทซึ่งพบได้ทั่วไปในในการสร้างภาพ

อ้างอิง[แก้]

  1. 『天体望遠鏡の作り方』pp.9-32「天体望遠鏡を作る楽しさ」。
  2. "天体望遠鏡を使いこなすための実際的基礎知識", 天体望遠鏡のすべて ('75年 ed.), 地人書館, 1975, pp. 36–53