กล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ–กัสแกร็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ–กัสแกร็ง รูรับแสง 150 มม.
แผนภาพแสดงทางเดินแสงในกล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ–กัสแกร็ง

กล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ–กัสแกร็ง (Maksutov–Cassegrain telescope) หรือ กล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ (Maksutov telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาจากกล้องโทรทรรศน์แบบกัสแกร็ง

ประวัติการคิดค้น[แก้]

แม้ว่าจะมีการพัฒนาเครื่องขัดเงาแบบควบคุมด้วยตัวเลขและวิธีการตรวจสอบ แต่การผลิตแผ่นปรับแก้สำหรับกล้องโทรทรรศน์แบบชมิท นั้นยากกว่าการขัดพื้นผิวทรงกลม และวิธีการเพื่อให้ได้ผลเช่นเดียวกับแผ่นปรับแก้ชมิทโดยใช้พื้นผิวทรงกลมเพียงอย่างเดียวได้รับการวิจัยจากทั่วโลก[1] ในปี 1943 ดมีตรี ดมีตรีเยวิช มัคซูตอฟ แห่งสหภาพโซเวียต ได้มุ่งความสนใจไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า เลนส์นูนแกมเว้า ที่มีพื้นผิวเว้าหันไปทางวัตถุมี ความคลาดทรงกลมและความคลาดแบบโคมา ตรงข้ามกับกระจกเงาผิวทรงกลม และได้ผลิตกล้องถ่ายภาพมัคซูตอฟ และเพื่อที่จะใช้เป็นกล้องโทรทรรศน์ เขาจึงทำการชุบผิวตรงกลางด้านหลังของเลนส์นูนแกมเว้าทำเป็นกระจกเงาสะท้อนแสงและทำรูตรงกลางกระจกเงาปฐมภูมิเพื่อนำจุดโฟกัสไปทางด้านหลัง เพื่อให้สามารถสังเกตได้จากด้านหลังของลำกล้อง จึงเกิดเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบมัคซูตอฟ–กัสแกร็งขึ้นมา[1]

เนื่องจากส่วนหน้าของกระบอกเลนส์ปิดอยู่ กระแสลมในลำกล้องจึงน้อย และเนื่องจากไม่มีแกนรองรับสำหรับกระจกเงาทุติยภูมิ จึงเกิดการเลี้ยวเบนน้อยและให้ภาพที่ดีได้ง่าย มีความคลาดสีเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "シュミット・カセグレン望遠鏡", 天文アマチュアのための望遠鏡光学・反射編, 誠文堂新光社, pp. 141–166, ISBN 978-4416288139