กล้วยไข่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้วยไข่
‘Kluai Khai’
ต้นกำเนิดลูกผสมMusa × acuminata
กลุ่มพันธุ์ปลูกAA Group
พันธุ์ปลูก'Lady Finger'[1]
ต้นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กล้วยไข่ เป็นชื่อของผลไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลกล้วย (Musaceae) โดยมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ: Lady Finger, มลายู: Pisang Mas, กล้วยชนิดนี้สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ เป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร นิยมรับประทานกับกระยาสารท

งานวิจัยของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย พบว่า กล้วยไข่มีประโยชน์สูง โดยมีวิตามินอี เบตาแคโรทีน และวิตามีนซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง การอักเสบ รวมทั้งโรคตาต้อกระจกได้ ผลการวิจัยพบว่าใน 1 ผล ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม มีเบตาแคโรทีน 108 ไมโครกรัม, วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม, วิตามินซี 4 มิลลิกรัม และให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี ในการกินนั้น แนะนำให้รับประทานแทนข้าวได้ 2 ผล เด็กกินได้ 1–2 ผล โดยต้องลดปริมาณข้าวลงเพราะกล้วยไข่ 2 ผลเท่ากับข้าว 1 ทัพพี[2]

เศรษฐกิจ[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

กล้วยไข่เป็นผลไม้ส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย มีปริมาณ และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในปี พ.ศ. 2550 รายงานว่ามีปริมาณการส่งออก 15,000 ตัน มูลค่า 100 ล้านบาท แต่ข้อมูลที่ได้รับฟังจากผู้ส่งออกมีปริมาณสูงกว่าทางราชการประมาณ 2-3 เท่า และมูลค่าการส่งออกนับพันล้านบาท ทำนองเดียวกับพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะกล้วยไข่มีปลูกทั้งเป็นพืชเชิงเดี่ยวและปลูกแซมในสวนผลไม้ ข้อมูลในปี พ.ศ. 2546 รายงานว่ามีพื้นที่ปลูก 75,177 ไร่[3] แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกล้วยไข่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แหล่งปลูกกล้วยไข่เชิงเดี่ยว เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ ลดพื้นที่ปลูกลง เพราะปัญหาลมพายุทำให้ผลผลิตเสียหาย ขณะเดียวกันก็มีพืชอื่นที่มีราคาดีเช่น อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด จึงได้มีการนำมาปลูกแทน ทำให้พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ลดลง ตรงกันข้ามกับในภาคตะวันออกนั้นได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ปลูกแซมในสวนผลไม้ ทำให้ลดปัญหาการโค่นล้มจากลมพายุ ทางภาคใต้มีการปลูกมากที่จังหวัดชุมพร ซึ่งสามารถผลิตกล้วยไข่ออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี

อ้างอิง[แก้]

  1. Michel H. Porcher, บ.ก. (27 มีนาคม 2011). "Sorting Musa cultivars". The University of Melbourne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2020.
  2. "แนะกิน "กล้วยไข่" อร่อยดีมีสารต้านมะเร็ง". ผู้จัดการออนไลน์. 15 ตุลาคม 2012.
  3. จริยา วิสิทธิ์พานิช (มีนาคม–เมษายน 2008). "Trip นี้มีเรื่องเล่า : กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน". ประชาคมวิจัย. 13 (78). ISSN 1686-008X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]