กฤษณมูรติ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
ชิททู กฤษณมูรติ | |
---|---|
![]() กฤษณมูรติในวัยหนุ่ม
|
|
เกิด | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1895 รัฐอานธรประเทศ บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 (90 ปี) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
อาชีพ | นักปรัชญา, นักเขียน |
ชิททู กฤษณมูรติ (สันสกฤต: जिद्दू कृष्णमूर्ति: พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2529) เป็นปราชญ์และนักคิดอิสระที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อยังเป็นเด็กหนุ่ม ทางสมาคมเทวปรัชญาได้ประกาศยกย่องเขาขึ้นเป็นศาสดาองค์ใหม่ของโลก แต่ในปี พ.ศ. 2472 เขาประกาศสลัดทิ้งบทบาททางศาสดา รวมทั้งสานุศิษย์ผู้ติดตามจำนวนมหาศาล สลายสมาคมอัครสาวกอันใหญ่โตซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อประกาศศาสนาใหม่ พร้อมทั้งยืนยันความตั้งใจว่า ไม่ต้องการเป็นศาสดา และก่อตั้งศาสนาใหม่เพื่อแบ่งแยกและครอบงำมนุษย์
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ชิททู กฤษณมูรติ เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 เกิดที่ เมืองมทนปัลลี เมืองเล็กๆ ในรัฐอานธรประเทศ ทางตอนใต้ของอินเดีย เป็นบุตรคนที่ 8 ใน 11 คน เมื่ออายุได้ 10 ปี มารดาของเขาเสียชีวิตลง ครอบครัวจึงย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองมัทราส เพราะบิดาของเขาต้องการจะทำงานให้กับสมาคมเทวปรัชญาหลังจากที่เกษียณอายุราชการ
เมื่ออายุได้ 14 ปี กฤษณมูรติถูกเลือกให้เป็นผู้ที่จะมาเป็นพาหนะแห่งครูโลกโดย บุคคลสำคัญคนหนึ่งในเทวปรัชญา ต่อจากพระเยซูและพระโคตมพุทธเจ้า กฤษณมูรติจึงถูกนำมาเลี้ยงดูอย่างระมัดระวังและเอาใจใส่โดยผู้นำของสมาคม เพื่อเตรียมพร้อมให้เขารับบทบาทอันพิเศษนี้ เพื่อรองรับการกลับมาของครูโลก ได้มีการก่อตั้งสมาคม “ดวงดาวแห่งตะวันออก” ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกและทรัพย์สินมากมาย
แต่ในปี พ.ศ. 2472 ด้วยความประหลาดใจและงุนงงอย่างยิ่งของเหล่าสมาชิกสมาคม กฤษณมูรติประกาศสละทิ้งทุกบทบาทที่ตั้งขึ้นเพื่อเขา และแยกทางจากสมาคมเทวปรัชญา และกลับประกาศไม่เห็นด้วยกับอำนาจของผู้รู้ผู้มีอิทธิพลเหนือจิตวิญญาณ ปฏิเสธบทบาทพระศรีอริยเมตไตรย และลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ทั้งหมด เขาประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการก่อตั้งศาสนาใหม่ แต่สิ่งที่เขาสนใจเพียงประการเดียว คือ “ปลดปล่อยมนุษย์” ให้เป็นอิสระ โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ
มูลนิธิกฤษณมูรติทุกแห่งตั้งขึ้นเพื่อจัดหมายกำหนดการโปรแกรมการเดินทางไปพูด และจัดพิมพ์งานที่มีมากมายของกฤษรมูรติจากการพูด การสนทนา การเสวนา ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ความใส่ใจเป็นห่วงเป็นใยที่กฤษณมูรติมีต่อเยาวชนในฐานะอนาคตของมวลมนุษย์ ทำให้เขาก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และ อินเดีย มีนักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ บุคคลสำคัญเหล่านั้นหลายคน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีอำนาจทางการเมือง คือ มิตรที่คุ้นเคยกับกฤษณมูรติเป็นการส่วนตัว และเป็นกลุ่มที่มาร่วมเสวนาค้นหาเข้าสู่ปัญหาที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน
เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในผู้สอนของโลกในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติที่กฤษณมูรติเคารพเป็นพิเศษ คือ พระพุทธเจ้า การที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกตะวันออกได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากคำสอนอันนุ่มนวลของพระพุทธเจ้า จึงคาดคะเนได้ว่าผู้คนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนผืนดินที่เปิดรับกฤษณมูรติและคำสอนของเขา แต่กระนั้น ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ แม้ว่ากฤษณมูรติจะเดินทางเพื่อพูดคุยและเสวนาเป็นเวลายาวนานถึง70 ปี ท่านก็ยังไม่เคยไปเยือนซีกโลกตะวันออก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาให้ละเอียดขึ้น จะพบว่ากฤษณมูรติและคำสอนของเขา ได้เข้าไปอยู่ในใจของชาวซีกโลกตะวันออก คำสอนของกฤษณมูรติห่างไกลจากเหตุการณ์ในโลก และไม่ถูกขัดขวางโดยกลียุคทางสังคม-การเมือง และอุปสรรคด้านภาษา จึงทำให้คำสอนของท่านค่อยๆ ซึมผ่านอย่างแท้จริงและค่อยเป็นค่อยไปเข้าสู่ใจคน และมีผู้สนับสนุนและเห็นด้วยในประเทศในตะวันออกไกล และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นเวลาล่วงกว่า 70 ปีที่กฤษณมูรติได้เดินทางเพื่อพบปะสนทนากับผู้ที่สนใจในด้านจิตวิญญาณ เพื่อทำความเข้าใจปัญหาเป็นปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอิทธิพลหล่อหลอมและกำหนดชีวิตเราอยู่ทั้งภายในจิตใจและภายนอก เพราะที่สุดแล้วเราคือโลก สังคมโลกก็คือสภาพที่เราแต่ละคนร่วมกันสร้างขึ้น ฉะนั้น จากความเข้าใจในตนเองอย่างลึกซึ้ง อาจจะนำไปสู่สังคมที่มีความรัก ความเมตตา มีมนุษยธรรมและความรู้สึกรับผิดชอบ
กฤษณมูรติถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2529 อายุได้ 91 ปีด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน
คำสอน[แก้]
|
||
— กฤษณมูรติ |
|
||
— กฤษณมูรติ |
การแตกหักสมาคมเทวปรัชญา[แก้]
การแตกหักครั้งใหญ่กับสมาคมเทวญาณเกิดขึ้น ในเดือนสิงหาคม ปี 1929 ที่แคมป์ ออมแมน ในฮอลแลนด์ ต่อหน้านางบีแซนท์ และผู้ฟังที่เป็นสมาชิกมากกว่าสามพันคน กฤษณมูรติได้ยุบพรรคดวงดาว และท่านยังได้กล่าวว่า "สัจจะเป็นดินแดนที่ไร้หนทาง ไม่อาจมีการตั้งองค์การใดๆ ขึ้น เพื่อนำหรือบังคับผู้คนให้เดินไปตามทางเฉพาะ ทางใดทางหนึ่ง ทั้งนี้เพราะสัจจะเป็นสิ่งไร้ขอบเขต และไร้เงื่อนไข ไม่อาจเข้าถึงได้ โดยผ่านศาสนา นิกาย หรือองค์การใดๆ ท่านชี้แจงว่า ท่านไม่ต้องการเป็นคนขององค์การทางจิตวิญญาณใดๆ เพราะองค์การดังกล่าวจะกลายมาเป็นไม้ยัน เป็นความอ่อนแอ เป็นพันธะผูกมัดและทำให้ปัจเจกบุคคลต้องพิการ ท่านประกาศว่า ท่านไม่ต้องการผู้ติดตามหรือสาวก เพราะขณะที่คุณเริ่มติดตามผู้ใดผู้หนึ่ง คุณก็หยุดการติดตามสัจจะ ท่านกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดถือกุญแจแห่งสัจจะไว้ กุญแจนั้นคือตัวคุณเอง และขึ้นอยู่กับการทำความบริสุทธิ์ ความปราศจากมลทินของตัวคุณเองเท่านั้น เป็นเรื่องน่าตื่นตระหนกสำหรับทุกคน กฤษณมูรติลาออกจากสมาคมเทวปรัชญา และจากองค์การทุกๆแห่ง ซึ่งท่านเป็นสมาชิกอยู่ ท่านบอกเลิกทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกหยิบยื่นให้แก่ท่าน ขณะนั้นท่านมีอายุ 34 ปี[3]
ผลงานหนังสือไทยที่แปล[แก้]
- กบฎความคิด 2555
- จ.กฤษณมูรติ และ โลกท่ามกลางวิกฤต 2553
- สมองใหม่ เล่ม 1 2552
- สมองใหม่ เล่ม 2 2552
- วิวาทะ กฤษณมูรติ & ปราชญ์ชาวพุทธ 2551
- ความรู้สึกตัวอันไร้ขอบเขต 2545
- อนาคตของมนุษย์อยู่ตรงไหน 2549
- มิติใหม่ทางการศึกษา เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 2549
- การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต 2556
- อิสรภาพเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่รู้
- สนทนากับกฤษณมูรติ 2541
- ปัจเจกชนและสังคม 1 2547
- ปัจเจกชนและสังคม 2 2547
- ศาสนาแบ่งแยกมนุษย์ 2547
- ปฏิวัติจากดวงใจ 1 2546
- ปฏิวัติจากดวงใจ 2 2548
- มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง…ด่วน 1 2546
- มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง…ด่วน 2 2546
- ดับสิ้นหนึ่งพันวันวาน 2545
- พลังแห่งจิตเงียบ 2545
- กระจกเงาแห่งความสัมพันธ์ 2545
- ที่สุดแห่งการแสวงหา 2545
- เผชิญความจริง 2545
- พรวิเศษ สถิต ณ ที่คุณอยู่ 2556
แหล่งข้อมูลอื่นๆ[แก้]
- มูลนิธิอันวีกษณา
- เพจเฟสบุ๊กกฤษณมูรติ-สาร รวบรวมคำสอนกฤษณมูรติ
- เพจเฟสบุ๊กกฤษณมูรติ Krishnamurti Thailand รวบรวมคำสอนกฤษณมูรติ