กระโถนพระฤๅษี
กระโถนพระฤๅษี | |
---|---|
ดอกของกระโถนพระฤๅษี | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Rafflesiaceae |
สกุล: | Sapria |
สปีชีส์: | S. himalayana |
ชื่อทวินาม | |
Sapria himalayana Griff.[1] | |
ชื่อพ้อง | |
Richthofenia siamensis Hosseus[2] |
กระโถนพระฤๅษี[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sapria himalayana) เป็นพืชดอกจำพวกกาฝากหรือพืชเบียนหายาก เป็นญาติใกล้ชิดกับพืชสกุลบัวผุด พบในทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย[2][4] กระโถนพระฤๅษีเป็นการแสดงออกให้เห็นอย่างสุดโต่งของการอิงอาศัย ทุกอย่างจะขึ้นกับพืชเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นน้ำ, สารอาหาร และ ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์แสงที่มันจะดูดมาด้วยระบบรากพิเศษที่เรียกว่ารากเบียน (haustoria) [4] รากเบียนนี้จะเจาะเข้าไปที่ไซเล็มและโฟลเอ็มของพืชเจ้าบ้าน
การกระจายพันธุ์
[แก้]กระโถนพระฤๅษีถูกพบในอุทยานแห่งชาตินัมทาฟา[4][5] ในตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และยังมีประวัติว่าพบในบริเวณนี้อีก เช่น หุบเขามิศมี (Mishmi) [6] หุบเขาอะกา (Aka) [7] ในอรุณาจัลประเทศ, และในรัฐอัสสัม, รัฐมณีปุระ และรัฐเมฆาลัย,[8] แต่ไม่มีการพบในบริเวณเหล่านี้มานานแล้ว[4] ในประเทศไทยพบในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย, อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, อุทยานแห่งชาติดอยภูคา, ภูสอยดาว, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว[9] และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน[10] และยังพบกระโถนพระฤๅษีในประเทศภูฏาน, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน, ประเทศพม่า, และประเทศเวียดนามด้วย พบในป่าไม่ผลัดใบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 ถึง 1,450 ม.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ดอกของกระโถนพระฤๅษีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. มีเพศเดียวและดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกต้นกัน มี 10 กลีบ กลีบหนาอ้วน เรียงเป็น 2 ชั้นกลีบชั้นนอกใหญ่กว่ากลีบชั้นใน มีสีแดงเลือดหมูปกคลุมด้วยจุดสีเหลือง[4] กลีบลักษณะตั้งขึ้นส่วนปล่ายโค้งแอ่นออกด้านนอกคล้ายระฆังหงาย มีช่องเปิดตรงกราง ปลายฐานรูปแคปซูลแผ่ออกเป็นจานคล้ายแอ่งกระทะ เส้าเกสรอยู่บนแคปซูลใต้แผ่นจาน ในดอกเพศผู้แคปซูลจะผอมและเรียวกว่าในดอกเพศเมีย และมีลักษณะนูนตรงกลางจานขณะที่ดอกเพศเมียมีลักษณะเว้น ดอกปรากฏอยู่เหนือดิน ดอกบานใน 2-3 วัน มีกลิ่นเน่าเหม็น ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนติดผลช่วงฤดูหนาว หลังจากบานแล้วดอกจะแตกออกมีสีเข้มขึ้นและค่อยๆเน่าเปื่อยอย่างช้าๆ ผลหนาและมีกลีบเลี้ยงด้านบน เมล็ดมีขนาดเท่าผลองุ่นมีสีน้ำตาลดำ[4]
พืชสกุลกระโถนฤๅษีมีรากเบียนและพืชที่มันอิงอาศัยนั้นเป็นไม้เลื้อยเขตร้อน[11] เช่น องุ่น และ พืชสกุลเถาวัลย์น้ำ (Tetrastigma)[2] ดอกจะแทงขึ้นมาสั้นๆ, ตั้งขึ้น และไม่แตกกิ่งก้าน มันอาจถูกผสมเกสรโดยแมลงวันและเมล็ดถูกกระจายพันธุ์โดยสัตว์จำพวกฟันแทะ[11] แต่ยังไม่มีการยืนยัน[4]
นอกจากนี้กระโถนพระฤๅษียังมีรูปแบบอีกหนึ่งรูปแบบคือกระโถนพระฤๅษีจุดขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sapria himalayana Griffith f. albovinosa Bänziger&Hansen) ซึ่งต่างจากกระโถนพระฤๅษีตรงกลีบมีสีแดงแบบไวน์แดง และมีจุดสีขาวกระจายทั่วกลีบ เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Griffith (1844) Proc. Linn. Soc. Lond., 1: 217
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Sapria", Flora of China 5: 271. 2003. PDF
- ↑ สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Adhikari, D., Arunachalam, A., Majumder, M., Sarmah, R. & Khan, M.L. (2003) "A rare root parasitic plant (Sapria himalayana Griffith.) in Namdapha National Park, northeastern India", Current Science 85 (12), p. 1669. PDF
- ↑ "Threatened Plants of Arunachal Pradesh", National Wildlife Database. Wildlife Institute of India, Dehradun. PDF[ลิงก์เสีย]
- ↑ Griffith, W. (1847). Journals of Travels in Assam, Burma, Bhutan, Afghanistan and the neighbouring countries, Calcutta
- ↑ Bor, N.L. (1938) Indian For. Rec., 1, i–ix, pp. 103–221.
- ↑ Chauhan, A.S., Singh, K.P., & Singh, D.K. (1996) A Contribution to the Flora of Namdapha, Arunachal Pradesh (ed. Hajra, P.K.), Botanical Survey of India
- ↑ ครอบครัวบัวผุด ราชินีแห่งกาฝาก,นิตยสารสารคดี ปีที่25 ฉบับที่ 292 หน้า 122-158
- ↑ National Park Bulletin, October–November 2005. Wildlife and Park Conservation Department, Government of Thailand. PDF
- ↑ 11.0 11.1 Elliott, S. (1992) "Status, Ecology and Conservation of Sapria himalayana Griff. (Rafflesiaceae) in Thailand", Journal of Wildlife in Thailand, 2 (1) pp. 44–52 LINK เก็บถาวร 2009-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน