กระโจมเรดาร์

กระโจมเรดาร์[1][2] (อังกฤษ: radar beacon, racon) หรือ กระโจมตอบเรดาร์[1] คือวัตถุตามมาตรา 1.103 ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (ITU Radio Regulations: RR)[3] ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ กำหนดให้เป็น เครื่องส่ง-เครื่องรับที่เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายเดินเรือที่ติดตั้งประจำที่ ซึ่งหากถูกกระตุ้นด้วยเรดาร์ จะส่งสัญญาณปรากฏเป็นรูปแบบที่กำหนดออกมาโดยอัตโนมัติซึ่งปรากฏบนจอแสดงผลเรดาร์ ซึ่งจะให้ข้อมูลระยะ ทิศทาง และข้อมูลตัวตน" โดยแต่ละสถานี (เครื่องส่ง-เครื่องรับ เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องรับส่งสัญญาณ) โดยจะจำแนกตามการให้บริการว่าเป็นบริการแบบถาวรหรือชั่วคราว
หลักการทำงาน
[แก้]เมื่อกระโจมเรดาร์ได้รับพัลส์เรดาร์ ระบบจะตอบสนองด้วยสัญญาณบนความถี่เดียวกันกับเรดาร์ คือความถี่ 9 และ 3 กิกะเฮิร์ตซ์[2] ทำให้เกิดภาพบนหน้าจอเรดาร์ ในรูปแบบของจุดและขีดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของรหัสมอร์สแผ่ออกมาจากที่ตั้งของกระโจมเรดาร์บนหน้าจอตำแหน่งของเป้าหมายในแนวระนาบ (Plan position indicator) โดยความยาวของเส้นจะสอดคล้องกับระยะทางประมาณสองสามไมล์ทะเลบนจอแสดงผล[1]
คุณสมบัติเหล่านี้ได้รับการกำหนดไว้ใน ข้อเสนอแนะของ ITU-R M.824 พารามิเตอร์ทางเทคนิคของกระโจมเรดาร์ (เรคอนส์) (ITU-R Recommendation M.824, Technical Parameters of Radar Beacons (RACONS)) โดยปกติกระโจมเรดาร์จะทำงานบนย่านเรดาร์ทางทะเล (X-band) ความถี่ 9320 MHz ถึง 9500 MHz และย่านเรดาร์ทางทะเล (S-band) ความถี่ 2920 MHz ถึง 3100 MHz[2] ในขณะที่กระโจมเรดาร์รุ่นใหม่มีความอ่อนตัวด้านความถี่ โดยมีตัวรับสัญญาณความถี่กว้างที่สามารถตรวจจับพัลส์เรดาร์ที่เข้ามา แล้วตอบสนองต่อสัญญาณดังกล่าวแล้วตอบสนองด้วยสัญญาณความยาว 25 ไมโครวินาที ภายใน 700 นาโนวินาที

กระโจมเรดาร์แบบเก่าทำงานในโหมดกวาดช้า โดยที่เครื่องรังส่งเรดาร์จะกวาดผ่านย่านเอกซ์แบนด์ในช่วง 1 หรือ 2 นาที โดยมันจะตอบสนองก็ต่อเมื่อมีการปรับคลื่นความถี่สัญญาณเรดาร์ในขาเข้าตรงกับขณะที่การกวาดสัญญาณมาถึง ซึ่งในทางปฏิบัติแปลว่ามันจะตอบสนองต่อสัญญาณเรดาร์เพียงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นจากเวลาทั้งหมดที่มันกวาด
เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบสนองต่อสัญญาณหลังจากการผ่านหลังกระโจมไปแล้ว กระโจมเรดาร์จะทำงานเพียงบางเวลาเท่านั้น ในสหราชอาณาจักร มีดิวตี่ไซเคิล (duty cycle) เพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกใช้งาน — โดยปกติแล้วกระโจมเรดาร์จะใช้เวลา 20 วินาทีในการตอบสนองต่อสัญญาณเรดาร์ ตามมาด้วยระยะเวลา 40 วินาทีหลังที่ไม่มีการตอบสนอง หรือในบางครั้งตอบสนองเพียง 9 วินาที และไม่ตอบสนองอีก 21 วินาที (อย่างในกรณีเรือไฟเซเว่นสโตน) ในสหรัฐ มีการใช้งานดิวตี่ไซเคิลที่ยาวนานกว่า โดย 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับทุ่นที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (เปิด 20 วินาที ปิด 20 วินาที) และ 75 เปอร์เซ็นต์สำหรับกระโจมบนฝั่ง
เครื่องหมายด้วยเรดาร์[1] หรือ เรมาร์ค (Ramarks) คือกระโจมย่านความถี่กว้างที่ส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องบนย่านความถี่เรดาร์โดยไม่ต้องมีการกระตุ้นโดยสัญญาณเรดาร์ที่ส่งเข้ามาแบบกระโจมเรดาร์แบบเดิม การส่งสัญญาณจะสร้างเส้นอักขระของรหัสมอร์สขึ้นมาบนหน้าจอแสดงผลที่แผ่ออกจากกึ่งกลางของจอไปยังขอบของหน้าจอ
เรคอนที่ตอบสนองไวต่อความถี่
[แก้]กระโจมเรดาร์ที่ตอบสนองไวต่อความถี่ (Frequency - agile Racon) จะตอบรับกับความถี่วิทยุที่สามารถรับได้และตอบกลับไปในรูปแบบของการ "ป้ายสีซ้ำ" ในทุกครั้งของการกวาดคลื่นสัญญาณ โดยการตอบสนองไวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สัญญาณตอบกลับไปยังเรดาร์ที่อยู่ในความถี่นั้น ๆ ซึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดการบดบัง (Masking) ในรูปลักษณ์อื่น ๆ บนจอเรดาร์ การตอบโต้กลับไปโดยปกติจึงตั้งเป็นวงรอบเปิดและปิดสลับกันไป[2]
คุณลักษณะของสัญญาณ
[แก้]กระโจมเรดาร์จะทำงานที่ความถี่ 9 กิกะเฮิรตซ์ ด้วยกระบวนการโพลาไรเซชันในแนวราบ และ/หรือ ย่านความถี่ 3 กิกะเฮิรตซ์ด้วยการโพลาไรเซชันในแนวราบ และสามารถเลือกให้เป็นในแนวดิ่งได้เช่นกัน[2]
ตารางเปรียบเทียบคำเรียกและคำอธิบายความถี่ในการทำงานของกระโจมเรดาร์[2]
คำที่ใช้เรียก | การเรียก/เขียนแบบอื่น | ||
---|---|---|---|
9 GHz | 9300 - 9500 MHz | X - Band | 3 cm |
3 GHz | 2900 - 3100 MHz | S - Band | 10 cm |
การประยุกต์ใช้
[แก้]โดยทั่วไป กระโจมเรดาร์ถือเป็นอุปกรณ์เสริมจากเครื่องหมายทางเรือที่มีการติดตั้งไฟนำอยู่ในตัวเอง โดยที่กระโจมเรดาร์สามารถนำมาใช้ในการ[2]
- ใช้ในการวัดระยะและพิสูจน์ทราบตำบลที่ตั้งในสภาวะน้ำแข็งหรือชายฝั่งที่ไม่มีที่หมายชัดเจน
- ใช้ในการพิสูจน์ทราบเครื่องหมายทางเรือที่ตั้งอยู่ในทะเลและบนฝั่ง
- ใช้ในการหมายรู้การเข้าสู่ฝั่ง (Landfall)
- ใช้ในการแสดงศูนย์กลางและจุดหันเลี้ยวในพื้นที่ที่ต้องใช้ความระวังสูงในการเดินเรือ หรือแผนแบ่งแนวจราจร (TSS)
- ใช้ในการทำเครื่องหมายที่อันตราย
- ใช้ในการแสดงช่วงความกว้างใต้สะพานที่ใช้ในการเดินเรือผ่าน
- ใช้ในการแสดงเครื่องหมายรู้ในแนวนำ
ดูเพิ่ม
[แก้]- เครื่องทวนสัญญาณเพื่อการค้นหาและช่วยเหลือผ่านระบบระบุบ่งชี้อัตโนมัติ (AIS-SART)
- เครื่องวิทยุคมนาคมบอกตำแหน่งผ่านดาวเทียมในกรณีฉุกเฉิน (EPIRB)
- วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ
- สถานีวิทยุ
- กิจการวิทยุคมนาคม
- เครื่องทวนสัญญาณเพื่อการค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Transponder: SART)
- เครื่องหมายด้วยเรดาร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 คู่มือปฏิบัติการสร้างแผนที่เดินเรือ กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์ (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-11-25. สืบค้นเมื่อ 2023-11-25.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 คู่มือเครื่องหมายทางเรือ (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. 2560. p. 113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-25.
- ↑ ITU Radio Regulations, Section IV. Radio Stations and Systems – Article 1.103, definition: radar beacon (racon)