กระทู้ถาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร (interpellation)[แก้]

  • กระทู้ถามนั้นเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร

ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยได้แก่รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540)

  1. สภาผู้แทนราษฎร
  2. วุฒิสภา
  • โดยที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันก็ได้ จึงทำให้ต้องกำหนดระเบียบวาระการประชุมแยกกัน ได้แก่
  1. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร (เรียกว่า"ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร"ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2544)
  2. การประชุมวุฒิสภา (เรียกว่า"ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา"ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2544)
  3. การประชุมร่วมกันของรัฐสภา (เรียกว่า"ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา"ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2544)
  • ในการบัญญัติข้อบังคับนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และการบัญญัติของแต่ละสภา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป นับแต่นี้เป็นต้นไปจะเป็นเรื่องกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544

ประเภทของกระทู้ถาม[แก้]

  • กระทู้ถามมี 3 ประเภท คือ
  1. กระทู้ถามสด (verbal interpellation)
  2. กระทู้ถามทั่วไป (interpellation)
    1. กระทู้ถามทั่วไปที่ต้องตอบในที่ประชุมสภา
    2. กระทู้ถามทั่วไปที่ต้องตอบในราชกิจจานุเบกษา

(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 128)

3. กระทู้ถามแยกเฉพาะ

ลักษณะต้องห้ามของกระทู้ถาม[แก้]

  1. เป็นเชิงประชด เสียดสี หรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย
  2. เคลือบคลุมหรือเข้าใจยาก
  3. เป็นเรื่องที่ได้ตอบแล้วหรือชี้แจงแล้วว่าไม่ตอบ
  4. เป็นเรื่องที่มีประเด็นคำถามซ้ำกับกระทู้ถามซึ่งมีผู้เสนอมาก่อน
  5. เป็นการให้ออกความเห็น
  6. เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
  7. เป็นเรื่องที่มีสาระสำคัญ
  8. เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลใด เว้นแต่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ราชการ

(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 130)

อย่างไรก็ดีสำหรับข้อ 3 และข้อ 4 หากปรากฏว่าพฤติการณ์ (สถานการณ์) ได้เปลี่ยนแปลงไป หรือมีสาระสำคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็อาจจะตั้งกระทู้ถามในประเด็นคำถามนั้นขึ้นใหม่ได้ (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 131)

การบรรจุและจัดลำดับกระทู้ถาม[แก้]

การบรรจุกระทู้ถาม[แก้]

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งหนึ่งๆ จะสามารถบรรจ

  1. กระทู้ถามสดได้ไม่เกิน 3 กระทู้
  2. กระทู้ถามทั่วไป (เพื่อให้ตอบในที่ประชุม) ไม่เกิน 3 กระทู้ แต่หากปรากฏว่ามีกระทู้ถามทั่วไปรอบรรจุระเบียบวาระจำนวนมาก ประธานสภาจะบรรจุกระทู้ถามทั่วไปเกินกว่านี้ก็ได้

(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 132 วรรคแรก) โดยในการบรรจุระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร จะจัดลำดับเป็นดังนี้

  1. กระทู้ถาม
  2. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
  3. รับรองรายงานการประชุม
  4. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
  5. เรื่องที่ค้างพิจารณา
  6. เรื่องที่เสนอใหม่
  7. เรื่องอื่นๆ

(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 15 วรรคแรก)

โดยในระเบียบวาระกระทู้ถามนั้นก็แบ่งเป็น

  1. กระทู้ถามสด จำนวน 3 กระทู้ถาม
  2. กระทู้ถามทั่วไป จำนวน 3 กระทู้ถาม แต่ประธานสภาก็อาจจะบรรจุเพิ่มเติมได้เป็นดุลยพินิจของประธานสภาฯในทางปฏิบัติ

ที่ผ่านมาประธานสภาจะได้จัดให้มีระเบียบวาระกระทู้ถามทั่วไปเพื่อให้ตอบในที่ประชุมสภาเป็นพิเศษแยกออกไปต่างหาก คือ วาระปกติที่มีกระทู้ถามสดและกระทู้ถามทั่วไปอย่างละ 3 กระทู้นั้นเป็นระเบียบวาระการประชุมในวันพฤหัสบดี (ซึ่งเป็นวันที่กำหนดให้พิจารณากระทู้ถาม) โดยปกติจะเริ่มประชุมในช่วงบ่ายตั้งแต่ 13.30 น.เป็นต้นไป แต่หากจะได้บรรจุวาระกระทู้ถามเป็นพิเศษ ประธานสภาจะสั่งให้ประชุมนัดพิเศษ โดยเริ่มประชุมู่ในช่วงเวลา 09.30 น.ถึง 13.30 น.ในวันเดียวกัน

การถามและการตอบกระทู้ถาม[แก้]

  • การถามกระทู้

กระทู้ถามนั้นเป็นสิทธิของสมาชิกที่จะถามโดยถือเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลซึ่งจะตั้งถามและซักถามได้เฉพาะสมาชิกคนเดียวเท่านั้น (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ129) โดยสมาชิกจะเป็นผู้ตั้งถามกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดก็ได้ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา183) และถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือเป็นเรื่องกระทบถึงประโยชน์ของ ประเทศชาติประชาชนหรือเป็นเรื่องเร่งด่วน สมาชิกอาจถามกระทู้ถามสดก็ได้ ัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา184)