กฎชัทแธมเฮ้าส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัทแธมเฮ้าส์

กฎชัทแธมเฮ้าส์ คือ ระบบการจัดโต้วาทีและการอภิปรายแบบคณะเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นที่ถกเถียง ชื่อของกฎถูกตั้งตามสำนักงานใหญ่ของสถาบันกิจการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชัทแธมเฮ้าส์ เมืองลอนดอนตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2470

ในการประชุมภายใต้กฎชัทแธมเฮ้าส์ ผู้ร่วมประชุมทุกคนสามารถใช้ข้อมูลจากการอภิปรายอย่างเสรี ทว่าไม่สามารถเปิดเผยผู้ให้ความเห็น กฎนี้ถูกออกแบบให้เพิ่มความเปิดกว้างของการอภิปราย 

กฎ[แก้]

นับตั้งแต่การปรับปรุงในพ.ศ. 2545 กฎบัญญัติไว้ว่า[1]

เมื่อการประชุมถูกจัดขึ้นภายใต้กฎชัทแธมเฮ้าส์ ผู้เข้าร่วมสามารถใช้สารสนเทศที่ได้รับอย่างเสรี ทว่าไม่สามารถเปิดเผยทั้งตัวตน ตำแหน่ง หรือหน้าที่การงานได้

 จุดประสงค์[แก้]

กฎถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความเปิดกว้างของการอภิปรายสำหรับนโยบายสาธารณะ และเหตุการณ์ปัจจุบัณ รวมไปถึงการให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายความเห็นและข้อโต้แย้งที่แตกต่างกัน โดยไม่ต้องกังวลถึงผลประทบต่ออาชีพ และมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนต่อความคิดของนายจ้าง

กฎทำให้ผู้คนสามารถออกเสียงของตัวเองและออกความคิดเห็นที่อาจแตกต่างออกไปจากความคิดเห็นขององค์กรของตน ดังนั้นจึงเป็นการสนับสนุนการอภิปรายอย่างเสรี ผู้พูดมีเสรีภาพในการพูดความคิดเห็นของตนเอง โดยไม่ต้องกังวลถึงการเสื่อมเสียชื่อเสียงส่วนตัว หรือหน้าที่การงาน กฎชัทแธมเฮ้าส์แก้ปัญหาทางขอบเขตซึ่งหลายชุมชนนักปฏิบัติกำลังประสบ ด้วยความที่กฎช่วยให้ทุกคนได้ออกความเห็น ขณะที่ปกป้องเสรีภาพของการมีการปฏิสัมพันธ์ที่มีความสำคัญเพื่อให้ชุมชนสามารถสื่อสารกันได้ กฎถูกออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงของการคิดแบบกลุ่มซึ่งทำให้ความคิดเห็นที่ไม่ได้รับความนิยมถูกเมินจากการอภิปราย ทำให้ความคิดเห็นที่องค์กรสามารถอภิปรายกันได้มีความแคบลง

กฎมีเป้าหมายในการประกันสภาวะนิรนามให้กับผู้พูด เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีขึ้น ปัจจุบันกฎถูกใช้อย่างแพร่หลายไปยังนานาประเทศเพื่อช่วยในการอภิปรายอย่างเสรี[2] กฎดั้งเดิมในพ.ศ. 2470 ได้ถูกปรับแต่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 และพ.ศ. 2545[1] ชัทแธมเฮ้าส์แปลกฎเป็น ภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน และ ภาษารัสเซี[3]

กฎนี้เป็นสิ่งตรงข้ามกับการประชุมส่วนตัว ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยสิ่งที่พูดถึงในการประชุมได้ 

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Chatham House Rule". About. UK: Chatham House. สืบค้นเมื่อ 2014-07-14.
  2. Rislakki, Jukka (February 24, 2011). "Informaatiouhat mietityttävät sekä virolaisia että suomalaisia" (ภาษาฟินแลนด์). Finland: Suomen Kuvalehti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-27. สืบค้นเมื่อ 2016-04-26.
  3. "Chatham House Rule Translations", About us, Chatham House.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Chatham House Rule". UK: Chatham House. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11. With explanation and link to translations in different languages.