ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซิลเวอร์แชร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
ในปี 2000 ขณะที่ยังทำงานร่วมวงซิลเวอร์แชร์ จอห์นและพอล แม็ก ออก[[อีพี]] ที่มีเฉพาะอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ชื่อชุดว่า ''I Can't Believe It's Not Rock'' และหลังจากการประกาศแยกวงซิลเวอร์แชร์ ทั้งจอห์นสและพอลก่อตั้งวงที่ชื่อ [[เดอะดิซโซซิเอทีฟส์]] ออกอัลบั้มแรก ''The Dissociatives'' ในปี 2004<Ref>{{cite web|url=http://www.abc.net.au/triplej/review/album/s1079132.htm |title=The Dissociatives|publisher=abc.net.au|work=Triple J|date=[[2 เมษายน]] [[ค.ศ. 2004]]|accessdate=2008-02-09}}</ref> จอห์นยังได้ทำงานร่วมกับ[[นาตาลี อิมบรูกเลีย]] ภรรยาของเขา ในอัลบั้มของเธอ ''Counting Down the Days'' ออกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005<Ref>{{cite web|url=http://www.allmusic.com/cg/amg.dll?p=amg&sql=10:3zfoxqysldte~T2 |title=Counting Down the Days > Credits|publisher=All Music Guide|accessdate=2008-02-09}}</ref> ขณะที่โจนนาวทำงานในโปรเจคอื่นในนามวง [[เดอะเมสส์ฮอลล์]] ทำเพลงอัลบั้มที่สองของพวกเขาที่ชื่อ ''Feeling Sideways''<ref>{{cite web|url=http://www.amo.org.au/release.asp?id=5086 |title=Releases :: Feeling Sideways|publisher=Australian Music Online|accessdate=2008-03-12}}</ref> อัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ARIA Award สาขาผลงานจากค่ายอิสระยอดเยี่ยม ในปี 2003<ref>{{cite web|url=http://www.ariaawards.com.au/history-by-artist.php?letter=M&artist=Mess%20Hall%20%20The |title=Awards by artist: The Mess Hall|publisher=Australian Record Industry Association|accessdate=2008-02-09}}</ref> จิลลีส์ก็มีงานโปรเจคอื่นในนามวง [[แทมบาเลน]] กับอัลบั้ม ''Tambalane'' และได้ทัวร์คอนเสิร์ตทั่วออสเตรเลีย<ref>{{cite web|url=http://www.amo.org.au/artist.asp?id=4074 |title=Tambalane|publisher=Australian Music Online|accessdate=2008-02-09}}</ref>
ในปี 2000 ขณะที่ยังทำงานร่วมวงซิลเวอร์แชร์ จอห์นและพอล แม็ก ออก[[อีพี]] ที่มีเฉพาะอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ชื่อชุดว่า ''I Can't Believe It's Not Rock'' และหลังจากการประกาศแยกวงซิลเวอร์แชร์ ทั้งจอห์นสและพอลก่อตั้งวงที่ชื่อ [[เดอะดิซโซซิเอทีฟส์]] ออกอัลบั้มแรก ''The Dissociatives'' ในปี 2004<Ref>{{cite web|url=http://www.abc.net.au/triplej/review/album/s1079132.htm |title=The Dissociatives|publisher=abc.net.au|work=Triple J|date=[[2 เมษายน]] [[ค.ศ. 2004]]|accessdate=2008-02-09}}</ref> จอห์นยังได้ทำงานร่วมกับ[[นาตาลี อิมบรูกเลีย]] ภรรยาของเขา ในอัลบั้มของเธอ ''Counting Down the Days'' ออกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005<Ref>{{cite web|url=http://www.allmusic.com/cg/amg.dll?p=amg&sql=10:3zfoxqysldte~T2 |title=Counting Down the Days > Credits|publisher=All Music Guide|accessdate=2008-02-09}}</ref> ขณะที่โจนนาวทำงานในโปรเจคอื่นในนามวง [[เดอะเมสส์ฮอลล์]] ทำเพลงอัลบั้มที่สองของพวกเขาที่ชื่อ ''Feeling Sideways''<ref>{{cite web|url=http://www.amo.org.au/release.asp?id=5086 |title=Releases :: Feeling Sideways|publisher=Australian Music Online|accessdate=2008-03-12}}</ref> อัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ARIA Award สาขาผลงานจากค่ายอิสระยอดเยี่ยม ในปี 2003<ref>{{cite web|url=http://www.ariaawards.com.au/history-by-artist.php?letter=M&artist=Mess%20Hall%20%20The |title=Awards by artist: The Mess Hall|publisher=Australian Record Industry Association|accessdate=2008-02-09}}</ref> จิลลีส์ก็มีงานโปรเจคอื่นในนามวง [[แทมบาเลน]] กับอัลบั้ม ''Tambalane'' และได้ทัวร์คอนเสิร์ตทั่วออสเตรเลีย<ref>{{cite web|url=http://www.amo.org.au/artist.asp?id=4074 |title=Tambalane|publisher=Australian Music Online|accessdate=2008-02-09}}</ref>


หลังจากเกิด[[แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547]] ซิลเวอร์แชร์รวมตัวสำหรับงานเวฟเอด เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานจัดขึ้นใน[[ซิดนีย์]]ในปี 2005 และเพื่อหาเงินช่วยเหลือกับองค์การสำหรับภัยพิบัติครั้งนี้ เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทางวงตัดสินใจที่จะรวมตัวกันใหม่<ref>{{cite web|url=http://www.news.com.au/perthnow/story/0,21598,22672110-5005381,00.html |title=Silverchair's Daniel Johns tells of his musical journey|publisher=[[news.com.au]]|work=[[PerthNow]]|author=Rod Yates|date=[[30 October]] [[2007]]|accessdate=2008-03-12}}</ref> จิลลีส์ได้พูดถึงปฏิกิริยาการรวมตัวของสมาชิกในวงนี้ในรายการเดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮอร์รัลด์ว่า "มันเป็นเวลา 15 ปีของพวกเรา แต่ตอนนี้พวกเราก็ตระหนักดีว่า เรามีสิ่งพิเศษและจะต้องทำมัน"<ref name=SMHChemistry>{{cite web|url=http://www.smh.com.au/news/entertainment/homecoming-heroes/2006/11/29/1164777658197.html |title=Homecoming heroes|publisher=''Sydney Morning Herald''|author=Kelsey Munro|date=[[1 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 2006]]|accessdate=2008-02-23}}</ref>
{{โครง-ส่วน}}


=== กลับมาอีกครั้ง (2006–ปัจจุบัน) ===
=== กลับมาอีกครั้ง (2006–ปัจจุบัน) ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:22, 5 พฤษภาคม 2551

ซิลเวอร์แชร์
บนเวทีเมื่อ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2006
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก, โพสต์-กรันจ์
ช่วงปี1992–2003
2005–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเมอร์เมอร์,อีพิก,อีเลฟเวน
สมาชิกดาเนียล จอห์นส
คริส โจนนาว
เบน จิลลีส์
เว็บไซต์http://www.chairpage.com/

ซิลเวอร์แชร์ (Silverchair) เป็นวงอัลเทอร์เนทีฟร็อกจากออสเตรเลีย แรกเริ่มรวมตัวกันในชื่อวง อินโนเซนต์ คริมินอลส์ ที่นิวคาสเซิล นิวเซาธ์เวลส์ ในปี ค.ศ. 1992 โดยมีสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อนตั้งวงคือ ดาเนียล จอห์นส (ร้องนำและกีตาร์), คริส โจนนาว (กีตาร์เบส) และ เบน จิลลีส์ (กลอง) ซิลเวอร์แชร์ประสบความสำเร็จในประเทศออสเตรเลียเป็นอย่างมาก ได้รับรางวัลอย่าง รางวัล ARIA ถึง 20 ครั้ง[1] และยังได้รับ 2 รางวัลจาก APRA [2][3]

ซิลเวอร์แชร์ประสบความสำเร็จในช่วงแรกจากเพลงแรกคือ "Tomorrow" ที่ชนะการประกวดระดับท้องถิ่นจากเครือข่ายสถานีโทรทัศน์เอสบีเอส จากนั้นวงก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลง เมอร์เมอร์ และมีผลงานประสบความสำเร็จดีในออสเตรเลียและระดับนานาชาติ ในปี ค.ศ. 2003 หลังจากที่ออกอัลบั้ม Diorama ทางวงได้ออกมาประกาศแยกวง ในช่วงนั้นเองสมาชิกแต่ละคนก็ออกไปมีผลงานเพลงของตนเอง คือวง เดอะดิซโซซิเอทีฟส์ ,เดอะเมสส์ฮอลล์ และ แทมบาเลน จนกระทั่งซิลเวอร์แชร์ได้รวมตัวกันอีกครั้งในคอนเสิร์ต 2005 เวฟเอด และออกผลงานเพลงชุด Young Modern และได้ร่วมทัวร์กับวงอย่าง พาวเดอร์ฟิงเกอร์

แนวเพลงของซิลเวอร์แชร์ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป มีความแตกต่างกันไปในแต่ละอัลบั้ม มีการเติบโตไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากแนว กรันจ์/โพสต์-กรันจ์ ในอัลบั้มชุดแรก ไปจนถึงชุดล่าสุดที่ผสมผสานไม่ว่าจะเป็นออร์เครสตร้าไปจนถึงแชมเบอร์-ป็อป ทางด้านนักเขียนเพลงของวงอย่างดาเนียล จอห์นสก็พยายามพัฒนาในการเขียนเพลง และทางวงก็พัฒนาลูกเล่นใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนขึ้นในงานชิ้นต่อไป

ประวัติ

การรวมตัวและผลงานช่วงแรก (1992–1996)

จุดกำเนิดของ ซิลเวอร์แชร์ เริ่มตั้งแต่ปี 1992 โดยดาเนียล จอห์นส (ร้องนำและกีตาร์) และเบน จิลลีส์ (กลอง) เริ่มเล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยชั้นประถมศึกษา จนเมื่อขึ้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนิวคาสเซิลไฮสคูล ก็ได้ชักชวนคริส โจนนาว (กีตาร์เบส) เข้ามาเล่นดนตรีด้วยกัน ในนาม ชอร์ต เอลวิส (Short Elvis) จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น อินโนเซนต์ คริมินอลส์ (Innocent Criminals)[4][5] พวกเขาได้แสดงโชว์อยู่หลายครั้งในแถบฮันเตอร์วัลเลย์ ในช่วงวัยรุ่นของพวกเขา ซึ่งพวกเขาก็ได้ลงแข่งขันในงานยูธร็อกในปี 1994 (ซึ่งตอนนั้นยังไม่โด่งดัง) เป็นการแข่งขันวงดนตรีที่มาจากโรงเรียน[6] จนกระทั่งวงได้มีชื่อเสียงจากการเป็นวงชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศที่ชื่อ "Pick Me" เป็นรายการทางสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสร่วมกับสถานีวิทยุแนวอัลเทอร์เนทีฟที่ชื่อ ทริปเปิลเจ กับเพลงของเขาเองที่ชื่อ "Tomorrow" และส่วนหนึ่งของรางวัลก็คือ สังกัดเพลงทริปเปิลเจ ได้ช่วยบันทึกเพลงและเอสบีเอสทำมิวสิกวิดีโอให้พวกเขา[5] วงอินโนเซนต์ คริมินอลส์ในขณะนั้นก็ได้โอกาสเปลี่ยนชื่อวงก่อนที่จะออกซิงเกิ้ลแรกในชีวิต "Tomorrow"[7] โดยทางวงได้เลือกชื่อว่า ซิลเวอร์แชร์ ซึ่งมาจากการเพี้ยนคำของเพลงหนึ่งของวงเนอร์วานาที่ชื่อว่า Sliver กับชื่อของวงเบอร์ลินแชร์[8]

ความนิยมในซิลเวอร์แชร์ทำให้พวกเขาได้เซ็นสัญญาการทำอัลบั้มกับสังกัดโซนีมิวสิก 3 อัลบั้ม และในส่วนสังกัดทริปเปิลเจได้ออกซิงเกิลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ท ARIA ซิงเกิ้ลชาร์ท เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์[9] ต่อมาในปี 1995 พวกเขาได้ทำการบันทึกเสียงเพลง "Tomorrow" อีกครั้ง (รวมถึงทำมิวสิกวิดีโอใหม่) สำหรับตลาดในอเมริกา และได้กลายเป็นเพลงที่เล่นบ่อยที่สุดสำหรับสถานีวิทยุโมเดิร์นร็อกในปีนั้น[5] อัลบั้มแรกของพวกเขา Frogstomp ใช้เวลาบันทึกเสียงเพียง 9 วัน และออกวางขายในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งในเวลาที่บันทึกเสียงอัลบั้มนี้ สมาชิกแต่ละคนมีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น และยังศึกษาในระดับไฮสคูลอยู่[5][10] แนวความคิดในการเขียนเนื้อร้องสำหรับเพลงในอัลบั้ม Frogstomp ได้มาจากนิยาย ภาพเขียนทางโทรทัศน์ โศกนาฏกรรมในแถบที่เขาอยู่อาศัย ความเจ็บปวดของเหล่าเพื่อนพ้องของเขา อัลบั้มนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดี All Music Guide และ นิตยสารโรลลิงสโตน ให้คะแนนไว้ที่ 4 ดาว และ 4 ดาวครึ่ง ตามลำดับ ให้คำชมต่อความเอาจริงเอาจังสำหรับอัลบั้มนี้โดยเฉพาะกับเพลง "Tomorrow"[11][10] และอัลบั้ม Frogstomp ก็ขึ้นอันดับ 1 ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และสามารถขึ้นไปใน 10 อันดับแรกของนิตยสารบิลบอร์ดในส่วนของชาร์ทบิลบอร์ด 200 และทำให้พวกเขาเป็นวงออสเตรเลียวงแรกตั้งแต่วง อินเอ็กเซส สามารถทำได้ อัลบั้มนี้มียอดขาย 2.5 ล้านชุดทั่วโลก[5] ทั้งอัลบั้ม Frogstomp และเพลง "Tomorrow" ก็ยังคงรับรับความนิยมในปีนั้น พวกเขายังได้ทัวร์ร่วมกับวงอย่างเรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส และร่วมแสดงบนชั้นหลังคาของเรดิโอซิตีมิวสิกฮอลล์ ขณะที่พวกเขาก็ยังคงศึกษาต่อในนิวคาสเซิลด้วย[12] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 เกิดเหตุฆาตกรรมขึ้น จำเลยที่ชื่อว่า ไบรอัน บาสเซ็ตต์ อายุ 16 ปี และนิโคลัส แม็กโดนัลด์ อายุ 18 ปี ทั้งคู่ได้อ้างว่าฟังเพลงที่ชื่อ "Israel's Son" จากอัลบั้ม Frogstomp เป็นเหตุจูงใจในการฆาตกรรมผู้ปกครองของบาสเซ็ตต์และพี่ชาย ทนายฝ่ายจำเลยพยายามโยนความผิดให้วง ทางวงได้ออกมาปฏิเสธว่าเพลงของพวกเขาไม่ได้สร้างความรุนแรงดังกล่าว และทางวงพ้นข้อกล่าวหานี้[13]

เสียงวิจารณ์และความสำเร็จ (1997–2001)

ขณะที่พวกเขากำลังประสบความสำเร็จจากผลงานอัลบั้มชุด Frogstomp ทั้งในออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ซิลเวอร์แชร์เริ่มบันทึกเสียงผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 Freak Show ออกวางขายในปี 1997 อัลบั้มนี้มีเพลงติดใน 10 อันดับแรกบนชาร์ทซิงเกิ้ลของออสเตรเลียคือเพลง "Freak", "Abuse Me" และ "Cemetery" ซิงเกิ้ลที่ 4 "The Door" ติดชาร์ทที่อันดับ 25[9] หลายเพลงในอัลบั้มนี้สื่อถึงอารมณ์โกรธ ปฏิกิริยาอันรุนแรงที่คาดหวังในอัลบั้ม Frogstomp ของวงซิลเวอร์แชร์เอง[14] Freak Show ทำยอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐอเมริกา[15] และมียอดขายอัลบั้มชุดนี้เกินกว่า 1.5 ล้านชุดทั่วโลก[16]

หลังจากที่เรียนจบจากโรงเรียน ทางวงสามารถที่จะมีเวลามากพอที่จะสร้างสรรค์ผลงานอัลบั้มชุดใหม่ Neon Ballroom ซึ่งออกวางขายในปี ค.ศ. 1999 เดิมทีทางวงตั้งใจไว้ว่าจะหยุดพักเป็นเวลา 12 เดือนแต่สุดท้ายก็ใช้เวลาทำงานเพลงชุดนี้[17] Neon Ballroom มีซิงเกิ้ลอยู่ 4 ซิงเกิ้ลคือ "Anthem for the Year 2000", "Ana's Song (Open Fire)", "Miss You Love" และ "Paint Pastel Princess" ซึ่งมี 3 ซิงเกิ้ลที่สามารถขึ้นชาร์ทใน 50 อันดับแรกของ ชาร์ท ARIA[9]

ทั้งอัลบั้ม Freak Show และ Neon Ballroom ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ท ARIA อัลบั้มส์ชาร์ท[18] อีกทั้ง Freak Show ยังสามารถขึ้นชาร์ทอัลบั้มในแคนาดาที่อันดับ 2 และ Neon Ballroom ที่อันดับ 5[19] ซิงเกิ้ล "Freak", "Abuse Me" และ "Cemetery" ติดใน 10 อันดับแรกของชาร์ทซิงเกิ้ลในออสเตรเลีย[9] และ "Abuse Me" ติดอันดับ 4 ในชาร์ทฮ็อตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ และ ชาร์ทเมนสตรีมร็อกแทร็กส์ ของอเมริกา[20] ซิงเกิ้ล "Anthem for the Year 2000" สามารถขึ้นชาร์ทได้สูงจากซิงเกิ้ลทั้งหมดในอัลบั้ม Neon Ballroom สูงสุดที่อันดับ 3[9] ขณะที่ซิงเกิ้ล "Ana's Song (Open Fire)" สูงสุดที่อันดับ 10 บนชาร์ทโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ ในอเมริกา[19]

ในปี 1999 จอห์นสออกมาประกาศว่าเขารักษาโรคความผิดปกติในการกินอันเนื่องจากความเครียด จอห์นเผยว่า เนื้อเพลง "Ana's Song (Open Fire)" เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติตัว โดยเขากล่าวว่า "กินเพื่ออยู่"[21] จอห์นออกมาเปิดเผยว่า เพลงดังกล่าว เขาเขียนในขณะที่เขากำลังป่วยเป็นโรคความผิดปกติในการกิน เขารู้สึกไม่อยากกินอะไร เขาเกือบฆ่าตัวตาย เขาเกลียดทุกอย่างในช่วงนั้น แม้กระทั่งดนตรี แต่กระนั้นเขาก็เขียนเพลงออกมาได้[22]

ซิลเวอร์แชร์ขยายการทัวร์ออกไปสำหรับอัลบั้ม Neon Ballroom สามารถเพิ่มยอดขายประสบความสำเร็จมากกว่าอัลบั้ม Freak Show นิตยสารโรลลิงสโตนกล่าวถึงความสำเร็จนี้ว่า "มีดนตรีที่โตขึ้น"[23] ในยุโรปและอเมริกาใต้ อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวงจนปัจจุบัน ซิลเวอร์แชร์ออกทัวร์และแสดงสด ในงานแสดงดนตรี รีดดิงเฟสติวัล และ เอ็ดจ์เฟสต์ และ อื่น ๆ[24] ส่วนในปี 2000 ซิลเวอร์แชร์ได้แสดงสดที่ฟอลส์เฟสติวัลเพียงแห่งเดียวในช่วงวันปีใหม่ และในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2001 ได้แสดงต่อหน้าคน 250,000 คนในงานร็อกอินริโอ ถือเป็นหนึ่งในแสดงโชว์ที่น่าจดจำของอาชีพนักดนตรีของพวกเขา[25] หลังจากการทัวร์ทั่วโลก ทางวงประกาศว่าจะหยุดพักเป็นเวลา 12 เดือน[25]

หลังจากออกอัลบั้ม Neon Ballroom เงื่อนไขสัญญา 3 อัลบั้มก็หมดลง มีหลายค่ายเพลงที่ยื่นข้อเสนอมาให้ แต่ก็ลงเอยเมื่อเขาเซ็นสัญญาบค่ายแอตแลนติกเรคคอร์ดส ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ อีกทั้งพวกเขาก็ได้ตั้งค่ายเพลงของตนเองขึ้นใหม่ในชื่อ อีเลฟเวน: อะ มิวสิก คอมพานี สำหรับในออสเตรเลียและเอเชีย หลังจากที่พวกเขาประกาศ บริษัทโซนีก็ออกอัลบั้มรวมฮิตที่ชื่อว่า The Best of Volume 1 โดยปราศจากการอนุญาตจากทางวง[25]

Diorama (2002–2003)

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 ซิลเวอร์แชร์เข้าสตูดิโอในซิดนีย์กับโปรดิวเซอร์ เดวิด บ็อททริลล์ (เคยทำงานร่วมกับ ทูล ,ปีเตอร์ แกเบรียล, คิง คริมสัน) เริ่มทำงานอัลบั้มชุดที่ 4 Diorama โดยหนนี้ ดาเนียล จอห์นส รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ร่วม[26] อัลบั้มนี้จอห์นสอธิบายไว้ว่า "เป็นโลกในอีกโลก""[27] มาจากการค้นพบการเขียนเพลงวิธีใหม่ ที่มาจากการใช้เปียโน เป็นเทคนิกที่เขาพัฒนาระหว่างช่วงพัก[28] และยังมีนักดนตรีหลายคนร่วมได้มาทำงานร่วมในอัลบั้ม Diorama ไม่ว่าจะเป็น แวน ไดค์ พาร์กส ที่เรียบเรียงออร์เครสตราให้กับเพลง "Tuna in the Brine", "Luv Your Life" และ "Across the Night"[29] และยังมีพอล แม็ก จิม โมจินี และ ยอน การ์เฟียส ก็ร่วมงานกับวงด้วย[30] ขณะที่บันทึกเสียงอัลบั้ม Diorama จอห์นสกล่าวว่าเขาเหมือนเป็นศิลปินคนหนึ่ง มากกว่าสมาชิกวงร็อกวงหนึ่ง และหลังจากอัลบั้มออก คำวิจารณ์ต่ออัลบั้มมีว่าเป็นอัลบั้มที่มีศิลปะมากกว่างานชิ้นก่อน ๆ[31][32]

ซิงเกิ้ลแรกจากอัลบั้ม Diorama คือ "The Greatest View" ออกอากาศทางเครือข่ายสถานีวิทยุในออสเตรเลียในช่วงต้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นซิงเกิ้ลก็ออกวางขายในช่วงเวลาใกลกับที่วงปรากฏตัวในการทัวร์ บิ๊กเดย์เอาท์ทัวร์[33] ในช่วงออกทัวร์ จอห์นสประสบปัญหากับอาการข้อต่ออักเสบ ทำให้เป็นการยากต่อการเล่นกีตาร์[34][35]

Diorama ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอัลบั้มของชาร์ท ARIA และอยู่ในอันดับนาน 50 สัปดาห์ใน 50 อันดับแรก[9] 5 ซิงเกิ้ลจากอัลบั้มนี้คือ "The Greatest View", "Without You", "Luv Your Life", "Across the Night" และ "After All These Years" ซิงเกิ้ลที่ขึ้นอันดับสูงสุดคือ "The Greatest View" ที่สามารถขึ้นอันดับ 3 บนชาร์ทซิงเกิ้ลของ ARIA[9] Diorama ยังประสบความสำเร็จในงาน 2002 ARIA Awards รับรางวัล 5 สาขา รวมถึงอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และ ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม[1] ซิลเวอร์แชร์เล่นเพลง "The Greatest View" ในงานประกาศรางวัลครั้งนี้ และเพลงนี้ก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลวิดีโอยอดเยี่ยมอีกด้วย[36] หลังจากงานครั้งนี้ทางวงได้ออกมาประกาศการแยกวง จอห์นสออกมาเปิดเผยว่า "ตามความจริงวงได้อยู่ร่วมกันมานานกว่า 10 ปี ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ"[5][37]

ช่วงพักและโครงการอื่น (2004–2005)

ในปี 2000 ขณะที่ยังทำงานร่วมวงซิลเวอร์แชร์ จอห์นและพอล แม็ก ออกอีพี ที่มีเฉพาะอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ชื่อชุดว่า I Can't Believe It's Not Rock และหลังจากการประกาศแยกวงซิลเวอร์แชร์ ทั้งจอห์นสและพอลก่อตั้งวงที่ชื่อ เดอะดิซโซซิเอทีฟส์ ออกอัลบั้มแรก The Dissociatives ในปี 2004[38] จอห์นยังได้ทำงานร่วมกับนาตาลี อิมบรูกเลีย ภรรยาของเขา ในอัลบั้มของเธอ Counting Down the Days ออกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005[39] ขณะที่โจนนาวทำงานในโปรเจคอื่นในนามวง เดอะเมสส์ฮอลล์ ทำเพลงอัลบั้มที่สองของพวกเขาที่ชื่อ Feeling Sideways[40] อัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ARIA Award สาขาผลงานจากค่ายอิสระยอดเยี่ยม ในปี 2003[41] จิลลีส์ก็มีงานโปรเจคอื่นในนามวง แทมบาเลน กับอัลบั้ม Tambalane และได้ทัวร์คอนเสิร์ตทั่วออสเตรเลีย[42]

หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ซิลเวอร์แชร์รวมตัวสำหรับงานเวฟเอด เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานจัดขึ้นในซิดนีย์ในปี 2005 และเพื่อหาเงินช่วยเหลือกับองค์การสำหรับภัยพิบัติครั้งนี้ เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทางวงตัดสินใจที่จะรวมตัวกันใหม่[43] จิลลีส์ได้พูดถึงปฏิกิริยาการรวมตัวของสมาชิกในวงนี้ในรายการเดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮอร์รัลด์ว่า "มันเป็นเวลา 15 ปีของพวกเรา แต่ตอนนี้พวกเราก็ตระหนักดีว่า เรามีสิ่งพิเศษและจะต้องทำมัน"[44]

กลับมาอีกครั้ง (2006–ปัจจุบัน)

แนวเพลง

การตอบรับ

ผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม

  • Frogstomp (1995)
  • Freak Show (1997)
  • Neon Ballroom (1999)
  • Diorama (2002)
  • Young Modern (2007)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Winners by artist: Silverchair". Australian Recording Industry Association. สืบค้นเมื่อ 2008-02-04.
  2. "1996 Winners". Australasian Performing Right Association. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23.
  3. "2003 Winners". Australasian Performing Right Association. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23.
  4. อัลบั้ม Young Modern siamzone.com
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Stephen Thomas Erlewine, Andrew Leahey. "Silverchair > Biography". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  6. "Past performers". YouthRock. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  7. "Interview: Silverchair". Silent Uproar. 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "Interview with Daniel Johns". Hitkrant. 1 มิถุนายน ค.ศ. 1996. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 "Silverchair Discography". australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03. (อังกฤษ)
  10. 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ RSFrog
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AMGFrogstomp
  12. "Artist :: Silverchair". Australian Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  13. "Attorney wants to open teen's murder trial with rock song". Seattle Post-Intelligencer. 18 มกราคม ค.ศ. 1996. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  14. Simon Wooldridge (February 1997). "Freak Show Review". JUICE. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  15. "Gold and Platinum - Silverchair". RIAA. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  16. "Silverchair". Rage. abc.net.au. 4 กันยายน ค.ศ. 1999. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. Richard Kingsmill (2000-11-29). "Daniel Johns of silverchair speaks to Richard Kingsmill". Triple J. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-02-04.
  18. F.A.Q Silverchair silverchair.nu (อังกฤษ)
  19. 19.0 19.1 "Silverchair > Charts & Awards > Billboard Albums". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
  20. "Silverchair > Charts & Awards > Billboard Singles". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  21. Blair R. Fisher (1999-07-11). "Silverchair Frontman Reveals Battle with Anorexia". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  22. Christine Sams (2004-06-06). "Anorexia almost killed me: Daniel Johns". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  23. Neva Chonin (1999-03-18). "Silverchair: Neon Ballroom". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  24. "Reading Festival - Reading, UK". Silverchair. สืบค้นเมื่อ 2008-02-05.
  25. 25.0 25.1 25.2 "Silverchair". Long Way To The Top. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  26. David John Farinella (1 มกราคม ค.ศ. 2003). "Silverchair interview". Mix. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  27. "Diorama". RollerCoaster. abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  28. Mark Neilsen (22 เมษายน ค.ศ. 2002). "Another Point of View". Drum Media. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  29. Nikki Tranter (6 กันยายน ค.ศ. 2002). "Silverchair: Diorama". PopMatters. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  30. "Diorama > Credits". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
  31. Mark Kemp (8 สิงหาคม ค.ศ. 2002). "Silverchair: Diorama". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  32. "Great Australian Albums:Diorama - Silverchair". Dymocks. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  33. "Press - Sydney, Australia (Big Day Out)". Chairpage.com. 26 มกราคม ค.ศ. 2001. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  34. "Dr Kerryn Phelps, Health Editor, with Steve Leibmann, Channel Nine, 'Today'". Australian Medical Association. 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2002. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  35. "Daniel Johns wows fans with buff bod". NineMSN. 6 สิงหาคม ค.ศ. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. "Silverchair to bring Diorama live at ARIAs". Silverchair. 12 ตุลาคม ค.ศ. 2002. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. Jason MacNeil (13 กรกฎาคม ค.ศ. 2007). "Silverchair makes most of break". JAM! Music. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. "The Dissociatives". Triple J. abc.net.au. 2 เมษายน ค.ศ. 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  39. "Counting Down the Days > Credits". All Music Guide. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  40. "Releases :: Feeling Sideways". Australian Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  41. "Awards by artist: The Mess Hall". Australian Record Industry Association. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  42. "Tambalane". Australian Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-02-09.
  43. Rod Yates (30 October 2007). "Silverchair's Daniel Johns tells of his musical journey". PerthNow. news.com.au. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. Kelsey Munro (1 ธันวาคม ค.ศ. 2006). "Homecoming heroes". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA