ประชาคมแอฟริกาตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก East African Community)
ประชาคมแอฟริกาตะวันออก
  • Jumuiya ya Afrika Mashariki (สวาฮีลี)
  • East African Community (อังกฤษ)
  • Communauté d'Afrique de l'Est (ฝรั่งเศส)
Nine horizontal strips coloured (from top to bottom): blue, white, black, green, yellow, green, red, white, then blue. The emblem of the EAC is placed in the centre.
ธงชาติ
ตราของ ประชาคมแอฟริกาตะวันออก Jumuiya ya Afrika Mashariki (สวาฮีลี) East African Community (อังกฤษ) Communauté d'Afrique de l'Est (ฝรั่งเศส)
ตรา
คำขวัญ"Ushirikiano wa Afrika Mashariki"
แผนที่แบบออร์โทกราฟิก แสดงรัฐสมาชิกของประชาคมแอฟริกาตะวันออก (สีเขียว)
แผนที่แบบออร์โทกราฟิก แสดงรัฐสมาชิกของประชาคมแอฟริกาตะวันออก (สีเขียว)
สำนักงานใหญ่อารูชา ประเทศแทนซาเนีย
3°22′S 36°41′E / 3.367°S 36.683°E / -3.367; 36.683
เมืองใหญ่สุดกินชาซา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ภาษาราชการสวาฮีลี, อังกฤษ, ฝรั่งเศส
ภาษากลางสวาฮีลี
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ
รัฐพันธมิตร
ผู้นำ
• ประธานการประชุมสุดยอด
ซูดานใต้ ซัลวา กีร์ มายาร์ดิต[1]
• ประธานสภา
ซูดานใต้ เด็ง ดาอู เด็ง
• ประธานศาลยุติธรรม
บุรุนดี เนสเตอร์ กาโยเบรา
บุรุนดี โจเซฟ อึนตาการูตีมานา
เคนยา ปีเตอร์ มาทูกี
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
ก่อตั้ง
• สถาปนา
1967
• สลายตัว
1977
• สถาปนาใหม่
7 กรกฎาคม 2000
พื้นที่
• รวม
5,448,020 ตารางกิโลเมตร (2,103,490 ตารางไมล์) (อันดับที่ 7)
4.14
ประชากร
• 2022 ประมาณ
325,056,449 (อันดับที่ 4)
58.4 ต่อตารางกิโลเมตร (151.3 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2022 (ประมาณ)
• รวม
955.61 ล้านดอลลาร์[2] (อันดับที่ 34)
2,940 ดอลลาร์
จีดีพี (ราคาตลาด) 2022 (ประมาณ)
• รวม
3.44279 แสนล้านดอลลาร์[3] (อันดับที่ 50)
1,058 ดอลลาร์
เอชดีไอ (2019)0.540
ต่ำ
สกุลเงินชิลลิงแอฟริกาตะวันออก
เว็บไซต์
www.eac.int แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ประชาคมแอฟริกาตะวันออก[4] (สวาฮีลี: Jumuiya ya Afrika Mashariki; อังกฤษ: East African Community: EAC; ฝรั่งเศส: Communauté d'Afrique de l'Est: CAE) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ประกอบด้วย 8 ประเทศในแอฟริกาตะวันออก รัฐสมาชิกได้แก่เคนยา, ซูดานใต้, โซมาเลีย, แทนซาเนีย, บุรุนดี, ยูกันดา, รวันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[5] ซัลวา กีร์ มายาร์ดิต ประธานาธิบดีประเทศซูดานใต้ เป็นประธานคนปัจจุบันของประชาคมฯ องค์การนี้สถาปนาขึ้นในปี 1967 ก่อนจะสลายตัวในปี 1977 และได้กลับมาใหม่อีกครั้งในวันที่ 7 กรกฎาคม 2000[6] ประชาคมฯ เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา

ในปี 2008 หลังการเจรจากับสมาคมพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (SADC) และตลาดร่วมสำหรับแอฟริกาตะวันออกและใต้ (COMESA) ประชาคมแอฟริกาตะวันออกยอมรับที่จะขยายพื้นที่การค้าเสรีให้ครอบคลุมถึงรัฐสมาชิกของทั้งสามองค์การ

ประชาคมแอฟริกาตะวันออกมีความสามารถที่จะพัฒนาเป็นการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาตะวันออก อันเป็นสหพันธรัฐที่มีการเสนอให้รวมรัฐสมาชิกเข้าด้วยกันเป็นรัฐเอกราชเดียว[7] ในปี 2010 ประชาคมฯ ได้เปิดตัวตลาดกลางของตนเองสำหรับการค้าขายสินค้า แรงงาน และเงินทุนภายในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายคือการจัดตั้งสกุลเงินร่วม และท้ายที่สุดเพื่อพัฒนาสู่การเป็นสหพันธรัฐเดียว[8] ในปี 2013 มีการลงนามในโครงร่างแผนงานจัดตั้งสหภาพการเงิน (monetary union) ของตนเองภายใน 10 ปี[9] ในเดือนกันยายน 2018 มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อเริ่มต้นขบวนการร่างรัฐธรรมนูญของภูมิภาค[10]

โซมาเลียเป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกลุ่มการค้าเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2023 หลังการประชุมในห้องปิดนาน 5 ชั่วโมง[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. @jumuiya (November 24, 2023). "South Sudan has assumed Chairmanship of the East African Community" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  2. "Report for Selected Countries and Subjects". สืบค้นเมื่อ 3 December 2020.
  3. "Report for Selected Countries and Subjects". imf.org.
  4. อิงคำแปลจาก: กองบริการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ (2565). "ข้อมูลข้าวเชิงลึกภูมิภาคแอฟริกา" (PDF). กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย). p. 10.
  5. "East African Community continues on a trajectory of expansion as Summit admits Somalia into the bloc". Eac.int. 25 November 2023.
  6. "East African Community – Quick Facts". Eac.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2009. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  7. "A political union for east Africa? – You say you want a federation". The Economist. 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 4 August 2019.
  8. "FACTBOX-East African common market begins". Reuters. 1 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  9. "East African trade bloc approves monetary union deal". Reuters. 30 November 2013.
  10. Havyarimana, Moses (29 September 2018). "Ready for a United States of East Africa? The wheels are already turning". The East African.
  11. Vincent Owino (24 November 2023). "Somalia officially admitted into EAC". The EastAfrican. สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]