แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไนน์ตีส์เวอร์ซารี)
แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส
คอนเสิร์ตชุดไตรภาคโดยศิลปินจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส
สถานที่จัดอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
วันเริ่มต้นการแสดงครั้งที่ 1 : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ทีมโปรดิวเซอร์กิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค โดยจีเอ็มเอ็ม มิวสิค (ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) และอาร์เอส มิวสิค (ในเครืออาร์เอส)

แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส (อังกฤษ: Grammy RS Concerts) เป็นคอนเสิร์ตชุดที่จัดขึ้นร่วมกันเป็นครั้งแรกของบริษัทประกอบธุรกิจเพลงขนาดใหญ่ของประเทศไทยทั้ง 2 บริษัท คือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงทุนร่วมกันในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส (อังกฤษ: Across The Universe) ต่อมาได้ให้บริษัทย่อยของตนที่ประกอบธุรกิจดนตรีโดยตรง คือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อาร์เอส มิวสิค จำกัด เป็นผู้ร่วมทุนในกิจการร่วมค้านี้แทนในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค (อังกฤษ: Across The Universe Project) โดยมีแผนจัดคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 – 2568 และทุกคอนเสิร์ตจัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี รวมถึงเผยแพร่ย้อนหลังทางแอมะซอนไพรม์วิดีโอ

ประวัติ[แก้]

แนวคิดในการสร้างความร่วมมือระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส เกิดขึ้นจากผู้บริหารรุ่นใหม่ของทั้ง 2 บริษัท คือ ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และวิทวัส เวชชบุษกร ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของอาร์เอส ตอบรับเสียงเรียกร้องของผู้บริโภคที่มีมาอย่างยาวนานว่าต้องการให้ศิลปินจากทั้ง 2 ค่าย อยู่บนเวทีเดียวกัน โดยได้เริ่มต้นพูดคุยกันมาเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี โดยที่ประธานกรรมการของทั้ง 2 บริษัท (ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ของอาร์เอส) ต่างรับรู้และให้พูดคุยกันเอง แต่เนื่องจากยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม ความร่วมมือดังกล่าวจึงยังไม่เกิดขึ้น[1] จนกระทั่งการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย คลี่คลายลง และอาร์เอสเริ่มกลับมาทำธุรกิจเพลงอีกครั้ง[2] ทั้ง 2 บริษัทจึงจัดการประชุมขึ้น จนกระทั่งบรรลุข้อตกลงความร่วมมือในที่สุด[3]

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 ยุทธนา บุญอ้อม รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจการแสดง ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และผู้จัดคอนเสิร์ตชื่อดังของประเทศไทย ได้โพสต์ลงในช่องทางสื่อสังคมส่วนตัวของเขา และระบุใจความสำคัญว่า จะมีการจัดคอนเสิร์ตร่วมกันระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ภายในปีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการร่วมมือกันระหว่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส เป็นครั้งแรก จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความสนใจให้แก่วงการเพลงไทย[4] โดยทั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ได้จดทะเบียนจัดตั้งกิจการร่วมค้าขึ้นในชื่อ อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส ขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[5] เพื่อดำเนินการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้โดยเฉพาะ[6] โดยทั้ง 2 บริษัทถือหุ้นในกิจการร่วมค้าด้วยสัดส่วนฝ่ายละ 50% เท่ากัน[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส ได้ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวชุดคอนเสิร์ตชื่อว่า แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส อย่างเป็นทางการ ที่โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ โดยคอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นโครงการไตรภาคของทั้ง 2 บริษัท ที่จะจัดในรูปแบบคอนเสิร์ตชุด และเน้นการแสดงของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากค่ายเพลงใหญ่ทั้ง 2 ค่ายเพลง ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 100 คน ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแนวดนตรี[7] รวมถึงมีการสลับเพลงร้องข้ามค่าย จับคู่ศิลปินข้ามค่าย โดยมีแผนจัดคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี (พ.ศ. 2566 - 2568) และทุกคอนเสิร์ตจัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[8] รวมถึงมีการเผยแพร่บันทึกการแสดงสดย้อนหลังในช่องทางบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตที่แอมะซอนไพรม์วิดีโอ[9] โดยทั้ง 2 บริษัทจะแบ่งงานกันทำในสิ่งที่แต่ละบริษัทถนัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ดูแลการจำหน่ายบัตรเข้าชมคอนเสิร์ต (ร่วมกับไทยทิกเก็ตเมเจอร์)[2] และมอบหมายให้จีเอ็มเอ็ม โชว์ รับผิดชอบในการผลิตและสร้างสรรค์ทุกคอนเสิร์ตทั้งหมด[10] ส่วนอาร์เอสดูแลภาพรวม เช่น การควบคุมงบประมาณ และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น[2] ซึ่งในปีแรกคือ พ.ศ. 2566 เน้นจัดคอนเสิร์ตรวบรวมศิลปินที่มีชื่อเสียงในช่วงยุค 90 และยุค 2000 เป็นหลัก จำนวน 3 คอนเสิร์ต ซึ่งแต่ละคอนเสิร์ตจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน[11] โดยใช้เงินลงทุนปีละ 220 ล้านบาท[12] คาดว่ากิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส จะมีรายได้ในปีแรกจำนวน 220 ล้านบาท[8] โดยเป็นกำไรปีละ 100 ล้านบาท[12] และคาดว่าภายใน 3 ปีจะมีรายได้จำนวน 660-750 ล้านบาท และมีกำไรคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของรายได้รวม[13] หลังจากนั้นจะพิจารณาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจต่อไป[12]

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ได้หยุดการดำเนินงานโดยตรงในกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส และเปลี่ยนมาให้บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับดนตรีของทั้ง 2 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค และ อาร์เอส มิวสิค ทำสัญญาร่วมดำเนินงานกันแทนในนามกิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส โปรเจค เพื่อให้สอดคล้องกับแผนของทั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส ในการนำบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับดนตรีข้างต้นเข้าสู่กระบวนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่สัดส่วนยังคงเป็นฝ่ายละ 50% เท่ากันเช่นเดิม[14]

รายชื่อคอนเสิร์ต[แก้]

ปี วันที่แสดง ชื่อคอนเสิร์ต สถานที่แสดง จำนวนรอบ อ้างอิง
พ.ศ. 2566 29-30 กรกฎาคม ไนน์ตีส์เวอร์ซารี (90's Versary) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี 2 [15]
9-10 กันยายน ทูเคเซเลเบรชัน (2K Celebration) 2 [16]
28-29 ตุลาคม ฮิตฮันเดรด (HIT100) 2 [17]
พ.ศ. 2567 11-12 พฤษภาคม ฮิตฮันเดรด วอลุม ทู (HIT100 Vol. 2) 2 [18]
รอประกาศ โน ซิต โน แซด โน ดรามา (No Sit No Sad No Drama) รอประกาศ

พ.ศ. 2566[แก้]

ไนน์ตีส์เวอร์ซารี[แก้]

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส ไนน์ตีส์เวอร์ซารี คอนเสิร์ต (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy X RS : 90's Versary Concert) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งแรก โดยรวบรวมบทเพลงและศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุค 90 ของทั้ง 2 ค่ายเพลงมาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงเมื่อวันที่ 29-30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[15] โดยบัตรการแสดงจำหน่ายหมดทุกที่นั่งตั้งแต่วันเปิดจำหน่ายบัตรวันแรก[19] คิดเป็นยอดผู้ชมจำนวน 20,000 คน[20] เทปบันทึกการแสดงสดของคอนเสิร์ตครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ทางไพรม์วิดีโอเมื่อวันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน[21]

รายชื่อศิลปิน[แก้]

ทูเคเซเลเบรชัน[แก้]

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส ทูเคเซเลเบรชัน คอนเสิร์ต (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy X RS : 2K Celebration Concert) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 2 โดยรวบรวมบทเพลงและศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุค Y2K คือยุค 2000 ของทั้ง 2 ค่ายเพลงมาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงในวันที่ 9-10 กันยายน พ.ศ. 2566[16] เทปบันทึกการแสดงสดของคอนเสิร์ตครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ทางไพรม์วิดีโอเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ปีเดียวกัน

รายชื่อศิลปิน[แก้]

ฮิตฮันเดรด[แก้]

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ฮิตฮันเดรด (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy RS Concerts HIT100) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 3 โดยรวบรวมบทเพลงที่มีชื่อเสียงของศิลปินในยุค 90 และยุค 2000 จากทั้ง 2 ค่ายเพลง รวมจำนวน 100 เพลง มาทำการแสดงบนเวทีเดียวกัน จัดแสดงในวันที่ 28-29 ตุลาคม พ.ศ. 2566[17]

รายชื่อศิลปิน[แก้]

พ.ศ. 2567[แก้]

ฮิตฮันเดรด วอลุม ทู[แก้]

ไทยประกันชีวิต พรีเซนท์ส แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ฮิตฮันเดรด วอลุม ทู (อังกฤษ: ไทยประกันชีวิต Presents Grammy RS Concerts HIT100 Vol.2) เป็นคอนเสิร์ตในชุดแกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส ครั้งที่ 4 โดยรวบรวมบทเพลงที่มีชื่อเสียงของศิลปินในยุค 90 และยุค 2000 จากทั้ง 2 ค่ายเพลง รวมจำนวน 100 เพลง มาทำการแสดงบนเวทีเดียวกันเป็นครั้งที่ 2 แต่แตกต่างจากครั้งแรกตรงที่มีการแบ่งชุดศิลปินออกเป็น 5 ตอน จัดแสดงในวันที่ 11-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[18]

รายชื่อศิลปิน[แก้]
ชื่อตอน รายชื่อศิลปิน
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีผลงานกับทั้ง 2 ค่าย อาร์เอส
ROCK 90’s
90’s GENTLEMEN สบชัย ไกรยูรเสน
MOTHER BATTLE ธนพร แวกประยูร
FIRE FEATURING ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์
ROCK SO BAD SAD SO HIT

โน ซิท โน แซด โน ดราม่า[แก้]

พ.ศ. 2568[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jan (2023-03-28). "เปิดที่มาปรากฏการณ์ Grammy x RS ซีรีส์คอนเสิร์ตไตรภาค จับเทรนด์ 90s – Y2K เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  2. 2.0 2.1 2.2 TopTen (2023-03-28). "เปิดเบื้องหลังประวัติศาสตร์ 'Grammy x RS' แม้เป็นคู่แข่งแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรู". Positioning Magazine. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. เจียรวนาลี, ศิวะภาค (2023-04-10). "กลยุทธ์เบื้องหลัง Grammy RS Concerts ที่คุณอาจไม่ทันสังเกตในวันแถลงข่าว". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "#GrammyRSConcerts มาแน่! "ป๋าเต็ด" โพสต์ยืนยันพร้อมแคปชั่นสุดฮือฮา". สนุก.คอม. 2023-03-21. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  5. "หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ". งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน) (PDF) (Report). อาร์เอส. 31 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
  6. รินวงษ์, สาวิตรี (2023-03-21). ""GRAMMY x RS" ร่วมทุนตั้งกิจการร่วมค้า "อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส" ลุยธุรกิจเพลง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  7. "ชมภาพ งานแถลงข่าว GRAMMY RS CONCERTS จัดเต็ม 3 คอนเสิร์ตใหญ่ปีนี้". กระปุก.คอม. 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  8. 8.0 8.1 Jan (2023-03-28). "เตรียมกดบัตร! Grammy x RS ร่วมทุน (JV) จัดซีรีส์คอนเสิร์ต ยาว 3 ปี เอาใจแฟนเพลงยุค 90 ยุค 2000 ปีนี้มี 3 คอนเสิร์ต เริ่ม ก.ค.นี้". Brand Buffet. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  9. "ชมย้อนหลังคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ Grammy X RS ที่ Prime Video 7 ก.ย.นี้". อมรินทร์ทีวี. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-27.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "40 ปีที่รอคอย! GMMxRS จับมือเปิดโปรเจค "GRAMMY RS CONCERTS" จัดเต็ม 3 คอนเสิร์ตใหญ่ปีนี้!!". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ศิวะพรพันธ์, สุพัฒน์ (2023-03-28). "สรุปแถลง Grammy RS Concerts ซีรีส์คอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ จัดต่อเนื่อง 3 ปี เริ่มเลยปีนี้ 3 ครั้ง". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  12. 12.0 12.1 12.2 ทุนภิรมย์, วนิดา (2023-03-29). "แกรมมี่ X อาร์เอส การซินเนอร์จีของอุตสาหกรรมเพลง". ผู้จัดการ 360 องศา. สืบค้นเมื่อ 2023-07-03.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ""แกรมมี่" จูงมือ "อาร์เอส" ขึ้นเวที ร่วมทุนคอนเสิร์ต 3 ปีหวัง 750 ล้าน". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
  14. พร้อมศรี, ชลยา (2023-08-04). "สารสนเทศรายการจําหน่ายไปซึงสินทรัพย์ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เรื่อง การเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering) และการนำหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่: 2. สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.
  15. 15.0 15.1 "แกรมมี่&อาร์เอส สร้างประวัติศาสตร์ ใน GRAMMY X RS : 90s Versary Concert". ไทยรัฐ. 2023-05-05. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  16. 16.0 16.1 ศิวะพรพันธ์, สุพัฒน์ (2023-06-09). "วัยรุ่น Y2K เตรียมพร้อม! GRAMMY X RS: 2K Celebration Concert ที่ยกศิลปินร่วมยุคมาแบบแน่นเวที เปิดจองบัตร 1 ก.ค. นี้". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
  17. 17.0 17.1 "อย่าพลาด! "ไทยประกันชีวิต PRESENTS GRAMMY X RS : HIT100 CONCERTS" คอนเสิร์ตส่งท้ายปลายปี". สำนักข่าว ไอ เอ็น เอ็น. 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-31.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 "GRAMMY RS CONCERTS HIT100 VOL.2 คอนเสิร์ตระดับตำนาน รวมเพลงฮิตตั้งแต่ยุค 80's/ 90's/ 2K". สนุก.คอม. 13 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "ปิดจอง! บัตรคอน "GRAMMY X RS 90's " เกลี้ยงวันแรก รอมันส์สุดเหวี่ยง". ข่าวหุ้นธุรกิจ. 2023-06-04. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ""แกรมมี่-อาร์เอส" กำไรทะลุเป้า คอนเสิร์ตแรก 90's Versary จองแสนที่นั่ง". ไทยรัฐ. 2023-08-02. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
  21. "Prime Video เตรียมส่งต่อความสนุกจากคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์วงการเพลงไทย"Grammy X RS: 90's Versary Concert" ให้รับชมย้อนหลังแบบเอ็กซ์คลูซีฟได้ ทาง Prime Video เท่านั้น". Independent News Network. 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-09-15.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]