เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสาวลักษณ์ ลีละบุตร
ชื่อเกิดเสาวลักษณ์ ลีละบุตร
รู้จักในชื่อดอกไม้เหล็ก, เจ้าแม่เพลงอกหัก, เจ้าแม่กวีบทเพลง, คุณยาย
เกิด13 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
กรุงเทพ
แนวเพลงป็อป, ร็อค, โปรเกรสซิฟร็อค
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีกีตาร์, เปียโน
ช่วงปีพ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงรถไฟดนตรี
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
อาร์เอส
อดีตสมาชิกสาว สาว สาว
เว็บไซต์http://www.facebook.com/ampsaowaluckfanpage/

เสาวลักษณ์ ลีละบุตร (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2508) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง แนวหน้าของประเทศไทย สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเป็นหนึ่งในสมาชิกวงสาว สาว สาว มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น "ครึ่งหนึ่งของชีวิต", "กดดัน", "ผิดไหมที่รักเธอ", "แค่เสียใจ ไม่พอ", "ความทรงจำ", และ "ฉันเลว"

ประวัติ[แก้]

แอมเป็นบุตรสาวของฉันทนา กิติยพันธ์ จบชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชินี ปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย เริ่มต้นผลงานเพลงในกลุ่ม สาว สาว สาว จากการชักชวนของประเสริฐ พงษ์ธนานิกร (ระย้า) นักจัดรายการวิทยุและเจ้าของบริษัทรถไฟดนตรี ซึ่งในช่วงเวลา 9 ปี "สาว สาว สาว" มีผลงานเพลง 10 อัลบั้ม หลังจากอัลบั้มสุดท้ายของ "สาว สาว สาว" ในปี พ.ศ. 2533 แอม เข้าไปเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง อยู่ในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และมีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ

ปี 2520 เสาวลักษณ์ ลีละบุตร (แอม) ออกทีวีพร้อมกับ พัชริดา วัฒนา (แหม่ม) ลูกสาวของสุดา ชื่นบาน และ อรวรรณ เย็นพูนสุข (ปุ้ม) หลานสาวของฉันทนา กิติยพันธ์ครั้งแรกในรายการ "ฉันทนาโชว์" ของคุณฉันทนา กิติยพันธ์ เป็นพิธีกรของรายการ เพลงแรกที่ขับร้องร่วมกันในโชว์คือ "I’d Like To Teach The World To Sing" ของวง The New Seekers

ปี 2523 เข้าสู่ทศวรรษที่แปดสิบวงการเพลงไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ เรียกกันแบบติดปากสำหรับคนในยุคนั้นว่าเพลงสตริง ธุรกิจเพลงเริ่มคึกคักจากการจำหน่ายในรูปแบบของเทปคาสเสทท์อันเป็นผลจากกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ให้ความคุ้มครองเจ้าของงานมากยิ่งขึ้น เพลงลูกกรุงได้รับความนิยมในตลาดผู้ฟังเพลงที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนวัยรุ่นเริ่มมีไอดอลของตัวเองกันบ้างแล้วแต่ยังไม่มีที่เป็นคนรุ่นเดียวกันกับพวกเขาจริง ๆ แอม และเพื่อนสาวอีกสองคนรู้จักคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก "แอม-แหม่ม-ปุ้ม" จึงมีสัมพันธภาพเป็นพี่เป็นน้องกัน ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการออดิชั่นเข้ามาทีละคนเพื่อฟอร์มกันขึ้นมาเป็นคณะนักร้อง ซึ่งแอมเริ่มมีประสบการณ์ในการร้องเพลงสป็อทโฆษณา ปลาหมึกสควิดดี้

ปี 2524 การนัดพบของ สาว สาว สาว จึงเกิดขึ้น แอมและแหม่ม เล่นกีตาร์และร้องเพลงให้ระย้าฟัง โดยมีคุณแม่ทั้งสองคอยลุ้น ระย้าพอใจมากและตั้งใจจะทำเพลงให้กับเด็กทั้งสองคนนี้ ฉันทนาเสริมว่ามีหลานสาวอีกหนึ่งคนร้องเพลงดีมากอยากให้เข้าร่วมทีมด้วยแต่อยู่ที่โคราช ระย้าให้โอกาสปุ้มมาทดสอบการร้องให้ฟังภายหลัง เขาพอใจเสียงร้องที่หวานและใสมาก เกิร์ลแก๊งค์ต้นแบบของวงการดนตรีป๊อปไทยจึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ตอนแรก "สาว สาว สาว" ไม่ใช่ชื่อวงที่ใช้ตอนเริ่มแรก ระย้ามีความคิดที่จะใช้ชื่อ "สามใบเถา" แต่ในขณะนั้นมีภาพยนตร์ไทยชื่อเรื่องสามใบเถาออกฉายไปก่อนหน้านี้ ทำให้ชื่อดังกล่าวตกไป เพราะอาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ว่าเป็นดาราจากภาพยนตร์ในเรื่องมาร้องเพลง สุดท้ายระย้ามาลงตัวที่ชื่อ "สาว สาว สาว" การบันทึกเสียงอัลบั้มชุดแรกเริ่มต้นโดยการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่คือ "รักปักใจ" และ "รักต่างแดน" แอมร้องนำทั้งสองเพลง ส่วนเพลงที่เหลือเป็นการแต่งของ ชรัส เฟื่องอารมย์ และทำดนตรีโดย วิรัช อยู่ถาวร การบันทึกเสียงทำไปได้ระยะหนึ่งก็ต้องหยุดยาวไปเจ็ดเดือน เนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน เป็นช่วงที่รถไฟดนตรีล้มลุกคลุกคลานอันเนื่องมาจากการขาดทุนในการผลิตงานเพลงในชุดก่อน ๆ และส่งผลมาถึงการทำงานในชุดนี้ อย่างไรก็ดีระย้าผลักดันจนทำให้การบันทึกเสียงชุดนี้เสร็จสมบูรณ์ลงได้

ปี 2525 อัลบั้มชุดแรก "รักปักใจ" ในนามวง "สาว สาว สาว" กับสังกัดรถไฟดนตรีและจัดจำหน่ายโดยอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน

ปี 2526 อัลบั้มที่สองของ "สาว สาว สาว" ชุด "ประตูใจ" ออกจำหน่ายในเดือนมีนาคม ยอดขายทะลาย 3 แสนตลับ ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ของ "สาว สาว สาว" มาอยู่ในมาดสาวน้อยสดใส กับเพลงป็อปร่าเริง สดใส ความนิยมค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดียอดขายเทปชุด "ประตูใจ" ยังไม่ขยับเท่าที่ควร ระย้าจึงติดต่อไปยังรายการโลกดนตรีเพื่อขอคิวให้ สาว สาว สาว ขึ้นแสดง พวกเธอเตรียมตัวกันสามวันเพื่อขึ้นแสดงสดครั้งแรกในห้องส่งรายการโลกดนตรี โดยซ้อมที่โรงแรมเดอะไนล์ไนต์คลับ 1 วัน และที่บ้านของ ภมร คล้ายพงษ์พันธ์ (ปะการัง) อีก 2 วัน เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ในเซ็ทลิสท์ของเพลงที่จะใช้เล่นได้เพิ่มเพลงสากล "The One You Love", "Hard To Say I’m Sorry", "Mickey" และเพลงญี่ปุ่น "I Love You" เข้าไว้ในโชว์ด้วย เพื่อต้องการให้ สาว สาว สาว โชว์การร้องประสานเสียงซึ่งเป็นจุดเด่นของพวกเธอ วันที่ 8 พฤษภาคม สาว สาว สาว แสดงสดครั้งแรกในรายการโลกดนตรีเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของพวกเธออย่างแท้จริง พวกเธอแสดงได้อย่างที่ซ้อมกันมาอย่างหนักโดยมีวงปะการังเล่นแบ็คอัพ แอม-แหม่ม-ปุ้ม ได้เข้าไปนั่งอยู่ในใจของคนดูในห้องส่งและที่ชมอยู่ทางบ้านทั่วประเทศอย่างที่ระย้าคาดการณ์ไว้จริง ๆ นินจาเอนเตอร์เม้นท์โปรเจกต์จัดคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบในชื่อว่า "สาว สาว สาว อิน คอนเสิร์ต" ขึ้นในวันที่ 10 กรกฎาคม ขึ้นที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอ็ทเซ็นทรัลพลาซ่า ห้องวิภาวดีบอลลูม ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีถึงแม้จะมีอุบัติเหตุจอสไลด์มัลติวิชั่นหล่นลงมาในช่วงเริ่มแสดง เทปชุด "อิน คอนเสิร์ต" วางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม โดยบันทึกเสียงจากการแสดงสดในรายการโลกดนตรีครั้งแรก ซึ่งการบันทึกเสียงดังกล่าวไม่ได้ถูกตระเตรียมไว้ล่วงหน้า เจ้าหน้าที่คุมเสียงของโลกดนตรีอัดเสียงเก็บไว้โดยใช้เทปเก่า ๆ และส่งให้ระย้าเมื่อจบรายการ ระย้ารับเทปม้วนดังกล่าวมาแล้วก็โยนเก็บไว้ท้ายรถและเกือบจะอัดทับไปแล้ว แต่เขาได้เปิดฟังก่อนและพอใจคุณภาพของเสียงจึงมีการเอดิทเพิ่มเติมในห้องอัดเล็กน้อยและนำออกขาย ผลปรากฏว่าทำยอดขายได้ถึงสองแสนตลับ สาว สาว สาว กลับมาแสดงที่รายการโลกดนตรีอีกครั้งในวันที่ 28 สิงหาคม พร้อมด้วยวงแบ็คอัพวงใหม่คือ บาราคูดัส ด้วยกระแสความนิยมที่มีต่อพวกเธอเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีคนต้องการเข้าชมการแสดงในวันนั้นประมาณสามพันคนแต่ห้องส่งที่ใช้ออกอากาศสามารถรับผู้ชมได้เพียงหกถึงเจ็ดร้อยคน จึงเกิดเหตุการณ์ห้องส่งแตก เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการย้ายสถานที่ถ่ายทอดสดมาเป็นเวทีกลางแจ้งของโลกดนตรีในเวลาต่อมา กล่าวได้ว่า สาว สาว สาว เป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของรายการโลกดนตรีไปโดยปริยาย ทางทีมผู้จัดรับปากกับแฟนเพลงที่ไม่ได้เข้าไปชมสด ๆ ในวันนั้นว่าจะจัดการแสดงอีกครั้งหนึ่งในเวทีกลางแจ้ง

ปี 2527 เทปชุดที่สาม "เป็นแฟนกันได้ยังไง" วางขายในเดือนกุมภาพันธ์ ระหว่างการเตรียมงาน และบันทึกเสียงชุดนี้ ทีมผลิตเพลงมีความกดดันมากเนื่องจากความสำเร็จจากชุด "ประตูใจ" ที่ทำยอดขายได้ถึงสามแสนม้วน สาว สาว สาว ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดปี 2526 ต่อถึงปี 2527 ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นปีทองของพวกเธออย่างแท้จริง นิตยสารวัยรุ่นแทบทุกฉบับต้องมีพวกเธอขึ้นปก บทสัมภาษณ์ และเรื่องต่าง ๆ ถูกนำเสนอกันทุกแง่ทุกมุม เทปชุด "เป็นแฟนกันได้ยังไง" ทำยอดขายได้สี่แสนม้วนต่อยอดความสำเร็จจากงานชุดที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากแฟนเพลงต่างรอคอยผลงานชุดใหม่และยังได้เพลงที่ดีจากการทำดนตรีโดย กริซ ทอมมัส ของบาราคูดัส พวกเธอใช้เวทีกลางแจ้งของโลกดนตรีแสดงคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มชุดนี้ในวันที่ 15 เมษายน ท่ามกลางการต้อนรับของแฟนเพลงแน่นขนัดลานโลกดนตรี นินจาเอนเตอร์เทนเม้นท์โปรเจกต์ จัดคอนเสิร์ตใหญ่สองรอบของ สาว สาว สาว ในชื่อว่า คอนเสิร์ต "เราเป็นแฟนกัน" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 27 พฤษภาคม เป็นคอนเสิร์ตที่มีการเตรียมการผลิตกันมาเป็นอย่างดี ทั้ง แสง สี เสียง เวที สคริฟต์ เสื้อผ้า สไลด์มัลติวิชั่น จัดเป็นไฮไลท์ครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของ แอม-แหม่ม-ปุ้ม ในนาม สาว สาว สาว ไซด์โปรเจกต์ของนินจาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากคอนเสิร์ต "เราเป็นแฟนกัน" คือ หนังสือ "สาว สาว สาว คอลเล็คชั่น" ได้รับการจัดทำอย่างประณีตและออกวางขายในช่วงปลายปีเพื่อโปรโมทพร้อมไปกับเทปชุดที่สี่ "หาคนร่วมฝัน" ซึ่งสาว สาว สาว แสดงคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม "หาคนร่วมฝัน" ในรายการโลกดนตรี ต้อนรับคริสต์มาสในวันที่ 23 ธันวาคม

ปี 2528 กลายเป็นธรรมเนียมของ สาว สาว สาว ไปแล้วที่รถไฟดนตรีกำหนดให้เทปชุดใหม่วางขายในช่วงปลายปีผลงานลำดับที่ห้าชุด "ในวัยเรียน" ออกวางขายและเปิดตัวที่โลกดนตรีในวันที่ 22 ธันวาคม ถึงตรงนี้รถไฟดนตรีมองว่าการตั้งชื่อชุด แนวเพลง และภาพของ แอม-แหม่ม-ปุ้ม ไม่ควรจะฉีกไปจากงานชุดที่สองหรือสามมากนัก ในขณะที่วงการเพลงกำลังก้าวไปข้างหน้า งานของพวกเธอในชุดนี้ดูเหมือนจะเดินถอยหลัง

ปี 2529 สาว สาว สาว ยังรักษาความนิยมจากฐานแฟนเพลงเก่าที่รักพวกเธอมาตั้งแต่ต้น การออกแสดงฟรีคอนเสิร์ตต่างๆ ในช่วงเวลานั้น ไล่มาตั้งแต่ โลกดนตรี, 7 สีคอนเสิร์ต, คอนเสิร์ตแดดเดียว และ คอนเสิร์ตติดแอร์ ได้รับความสำเร็จด้วยดี กรกฎาคม "แมกไม้และสายธาร" เทปชุดที่หกของ สาว สาว สาว ออกวางขาย ระยะเวลาในการออกงานชุดนี้ห่างจากงานชุดที่แล้วประมาณครึ่งปี เป็นงานที่นักวิจารณ์ดนตรีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเป็นงานที่ดีที่สุดของพวกเธอ ดนตรีเป็นแนวโฟลค์และคันทรี โดยได้ภูสมิงมาดูแลในภาคดนตรี ระย้าต้องการนำเสนอรากของ สาว สาว สาว ที่แท้จริงคือการร้องโดยเฉพาะการร้องประสานเสียง และน่าจะเป็นงานที่ สาว สาว สาว พอใจในการเน้นไปที่การร้องมากกว่าเพลงที่ต้องมีบล็อกกิ้งท่าเต้นโชว์ไปด้วย เทปชุดนี้ได้รับการตอบรับที่ดีพอสมควร สาว สาว สาว เริ่มมีการคุยกันเองภายในวงและให้สัมภาษณ์กับสื่อบ้างแล้วว่าจะยุบวงเมื่อแอมเรียนจบปริญญาตรี

ปี 2530 ในเดือนกุมภาพันธ์ อัลบั้ม "Because I Love You" ออกวางขายเป็นงานที่เรียกชื่อเสียงของพวกเธอให้กลับมาอยู่ในระดับแถวหน้าอีกครั้ง แม้แต่รถไฟดนตรีก็คาดไม่ถึงกับยอดขายของเทปชุดนี้ เป็นอัลบั้มเพลงสากลที่มีความพิถีพิถันในการเลือกเพลงมาลงในชุดได้อย่างลงตัว นอกจากเพลงนี้เพลงทุกเพลงยังคัดมาจากความชอบของพวกเธอเป็นส่วนใหญ่ทำให้การถ่ายทอดอารมณ์เพลงทำออกมาได้ดีและสอดคล้องกับบุคลิกของแต่ละคน ในขณะแอมก็ได้รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง "ผู้ชายป้ายเหลือง" ผลงานการกำกับของ เริงศิริ ลิมอักษรอีกด้วย

ปี 2531 "ว้าว...ว !" งานลำดับที่แปดออกขายในเดือนมีนาคม ได้ เสนีย์ ฉัตรวิชัย (ดิ อินโนเซ้นท์) มาทำดนตรีให้ทั้งชุด รวมถึงได้สมาชิกหลักของ ดิ อินโนเซ้นท์ มาบันทึกเสียงในห้องอัดด้วย เป็นงานของ สาว สาว สาว ที่อาจจะมีคนจดจำได้น้อยที่สุด แต่เป็นงานที่เหมาะสมกับวัยของพวกเธอ พวกเธอไม่ใช่นักเต้นมาตั้งแต่แรกเริ่มการนำเสนองานดนตรีในชุดนี้ในเพลงที่ออกมาในแนวแดนซ์ทำให้จุดอ่อนของพวกเธอเริ่มเห็นชัดเมื่อในตลาดมีตัวเลือกอื่นขึ้นมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่เพลงอื่น ๆ ในชุดที่เป็นเพลงฟังในชุดนี้กลับมีคนได้ฟ้งและรู้จักน้อยมาก ที่สำคัญคือเป็นเพลงป๊อปร่วมสมัยชั้นดีหลายเพลงด้วยกัน บัตเตอร์ฟลายเลือกแอมมาร้อง "สองใจเท่านั้น" เพลงนำประกอบภาพยนตร์เรื่อง "รักแรกอุ้ม" ต่อมาพวกเธอก็มีอัลบั้มพิเศษ "Together" อัลบั้มคัฟเวอร์เพลงสากลชุดที่สองและเป็นงานชุดที่เก้าของ สาว สาว สาว ออกวางขายในช่วงปลายปี เป็นงานที่ทางค่ายตั้งใจจะสร้างยอดขายให้ได้ในระดับเดียวกันกับชุด "Because I Love You" ถึงแม้การเลือกเพลงที่มาทำในชุดนี้จะยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่เมื่อเป็นงานที่มาทีหลังความสนใจจากแฟนเพลงจึงลดลง เพลงที่น่าสนใจที่สุดเป็นงานแต่งของแอมเองคือเพลง "Something That Used To Be Mine" ซึ่งเป็นการเขียนเพลงภาษาอังกฤษเพลงที่สองของเธอที่ได้รับการบันทึกเสียงในนาม สาว สาว สาว ต่อจากเพลง "Telephone" ซึ่งอยู่ในชุด "ในวัยเรียน" เนื้อหาของเพลงนี้เหมือนลางบอกเหตุที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตรักของเธอ เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะและคำร้องที่กินใจ

ปี 2532 สาว สาว สาว ได้รับเลือกจากประเทศญี่ปุ่นให้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมงานโตเกียวมิวสิกเฟสติวัลประจำปี 1989 ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นการปิดท้ายทศวรรษที่แปดสิบอย่างสวยงามของพวกเธอที่ได้รับเกียรตินี้ แอม-แหม่ม-ปุ้ม เลือกเพลง "ฉันบอกเธอเอง" จากอัลบั้ม "ว้าว...ว !" นำไปใช้ในการแสดงบนเวที เพราะมีความลงตัวในการนำเสนอมากที่สุดในแง่ของความร่วมสมัยของเพลง และได้นำเสนอการเต้นที่พวกเธอบล็อกกิ้งกันอย่างแม่นยำเพื่อให้โชว์ออกมาดีที่สุด สาว สาว สาว ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงชาวญี่ปุ่นอย่างอบอุ่น "Hana" เป็นเพลงฟินาเล่ที่ใช้ปิดงานโดยนักร้องทุกชาติต้องขับร้องเพลงนี้ร่วมกัน เป็นผลงานการแต่งของชินจิ ทานิมูระ อดีตสมาชิกวง Alice และเป็นเจ้าของเพลง "Subaru" ที่โด่งดังไปทั่วเอเชีย แอม-แหม่ม-ปุ้ม ประทับใจเพลงนี้มากนอกจากความไพเราะและความหมายที่ดีของเพลงแล้ว ยังเป็นเพลงที่บ่งบอกถึงหลักไมล์สำคัญของพวกเธอที่ได้เข้าร่วมมหกรรมงานเพลงในระดับนานาชาติครั้งนี้ด้วย สาว สาว สาว จึงขออนุญาต ชินจิ ทานิมูระ เพื่อนำเพลงนี้ไปใช้บันทึกเสียงในอัลบั้มชุดใหม่ด้วย

ปี 2533 "ดอกไม้ของน้ำใจ" อัลบั้มชุดที่สิบ และเป็นชุดสุดท้ายของ สาว สาว สาว ออกวางขาย โดยเพลง "ดอกไม้ของน้ำใจ" คือเพลงที่นำเพลง "Hana" มาขับร้องโดยแต่งคำร้องภาษาไทยเพิ่มเติมเข้าไป ไม่มีการแถลงข่าวล่วงหน้าแต่อย่างใดว่าจะเป็นงานชุดสุดท้าย ปัจจัยสำคัญที่สุดคือจุดอิ่มตัวของแต่ละคนที่ไม่อยากจะอยู่ในภาพพจน์แบบเดิมของ สาว สาว สาว ในเมื่อต้นสังกัดและพวกเธอคิดว่าถ้าเปลี่ยนแปลงไปแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ การยุบวงในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมที่สุด แอมได้งานเขียนเพลงกับแกรมมี่ในช่วงคาบเกี่ยวกับการออกเทปชุด “ดอกไม้ของน้ำใจ” ทำให้เธอต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งระหว่างการร้องเพลงในนาม สาว สาว สาว ต่อไป หรือเข้าทำงานเขียนเพลงกับแกรมมี่แบบเต็มตัว

ปี 2536 แอม เสาวลักษณ์มีผลงานเพลงอัลบั้มเดี่ยวเต็มตัวครั้งแรกในชุด "บันทึกของดอกไม้เหล็ก" ซึ่งเปิดตัวเพลง "กดดัน" อันเป็นเพลงโลโก้ประจำตัวเธอจนถึงปัจจุบัน ความสำเร็จของอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกส่งเพลงเศร้าอกหักของเธอไต่อันดับคลื่นวิทยุทีละเพลง ไม่ว่าจะ "แค่เสียใจไม่พอ", "ดูเอง", "คำถามเดิม", "นิยาย", "อุทิศให้" ฯลฯ จนเธอได้รับรางวัลนักร้องหญิงยอดเยี่ยม จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย และรางวัลสีสันอวอร์ด ศิลปินเดี่ยวหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2536

ปี 2537 เธอมีคอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรก "คอนเสิร์ต เปิดบันทึกดอกไม้เหล็ก" จัดขึ้นที่ MBK Hall ในช่วงต้นปี ก่อนที่จะมีอัลบั้มชุดที่สอง "ชีวิตและจิตใจ" ส่งเพลงเศร้า ซึ้ง อย่างเพลง "ความทรงจำ" มาเรียกน้ำตาคนฟังอีกเช่นเคย

ปี 2538 มีคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้งใน "คอนเสิร์ต เปิดบันทึกความทรงจำ" นอกจากนี้เธอเป็นหนึ่งใน 5 ศิลปินหญิงที่เป็นแขกรับเชิญในอัลบั้มพิเศษ "ขนนกกับดอกไม้" ของ ธงไชย แมคอินไตย์ ซึ่งเธอได้ร่วมร้องเพลง "อาจจะเป็นคนนี้" ของ ฐิติมา สุตสุนทร ร่วมกับเบิร์ด ธงไชย

ปี 2539 เป็นครั้งแรกที่แอม เสาวลักษณ์ร่วมงานกับ ศักดา พัทธสีมา ออกอัลบั้มคู่ชุด "Amp & Da" ซึ่งมีเพลง "Yeh Yeh Yes" และ "ฉันยังเป็นของเธอ" เป็น 2 เพลงเปิดตัว แต่เพลงที่ทำให้คนฟังจดจำผลงานชุดนี้ของแอมได้คือ 2 เพลงที่แอมร้องเดี่ยว ได้แก่เพลง "ดวงตะวัน" กับ "ทางเดินแห่งรัก"

ปี 2540 แอมขึ้นเป็นแขกรับเชิญของ สุนิตา ลีติกุล พร้อมด้วย มาช่า วัฒนพานิช และ สุนิสา สุขบุญสังข์ ใน "Beau Big Concert" ณ MCC Hall ในวันที่ 5 กรกฎาคม

ปี 2541 อัลบั้มชุดที่ 3 "1st Floor ชั้นหนึ่ง" โดยมีเพลงที่มีชื่อเสียง เช่ย "เสียดายทำไม" และ "ผิดไหมที่รักเธอ"

ปี 2542 อัลบั้มชุดที่ 4 "แอม*เอง" ที่เปิดตัวเพลงเร็วอย่าง "อยากสวย" แต่มาดังแบบสุดๆ กับเพลงประสาเสาวลักษณ์อย่าง "ฉันเลว", "คนเช่นนี้", "ขอบฟ้าไม่มีจริง" ฯลฯ แถมยังมีคอนเสิร์ตร่วมกับ มาช่า วัฒนพานิช กับ "คอนเสิร์ต Amp & Marsha" และแอมก็ยังเป็นแขกรับเชิญของ ธงไชย แมคอินไตย์ ร่วมกับ ใหม่ เจริญปุระ, สุนิตา ลีติกุล และนันทิดา แก้วบัวสาย ใน "คอนเสิร์ต เบิร์ดเปิดเซอร์วิสพิเศษ" ซึ่งเป็นเวทีแบบ Center Stage ที่มองเห็น 360 องศา

ปี 2543 อัลบั้มชุดที่ 5 ของแอม เสาวลักษณ์ ชื่อชุด "City Woman ผู้หญิง 2 พันธุ์" โดยส่งเพลงเร็ว "สวัสดีความรัก" มาสวัสดีคนฟัง แต่เพลงที่ถูกสนใจก็เป็นเพลงช้าอีกเช่นเคยอย่าง "คิดถึงคนแปลกหน้า" และ "ต่างมุม" แล้วแอมก็ยังมีโปรเจกต์พิเศษที่ทำร่วมกับศิลปินในค่ายอย่างอัลบั้ม "ลงเอย...พี่น้องร้องเพลง", อัลบั้ม "The Special 4" และอัลบั้ม "Seven" ที่ทำร่วมกับ 6 ศิลปินหญิง ได้แก่ ใหม่ เจริญปุระ, มาช่า วัฒนพานิช, หฤทัย ม่วงบุญศรี, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ และภัครมัย โปตระนันท์ ซึ่งเพลงเดี่ยวที่แอมร้องมี 2 เพลงคือ "ใหม่ใหม่ก็ดี" และ "ช่วยไม่ได้...เรารักกัน"

ปี 2544 เธอมีคอนเสิร์ตใหญ่ของตัวเองอีกครั้งในรูปแบบ "Green Concert Vol.7 Yes I Am[p]" จัดแสดงที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แล้วก็มีอัลบั้มชุดที่ 6 "Amp's Tales เรื่องเล่า..เสาวลักษณ์" วางแผงในเดือนพฤศจิกายน ในอัลบั้มชุดนี้มีเพลงเศร้าอกหักอย่าง "คนกลางคืน" เป็นเพลงเปิดตัว

ปี 2545 มีคอนเสิร์ตเดี่ยวอีกครั้ง "Song & Story เรื่องเล่ากับเสียงเพลง" แล้วก็คอนเสิร์ตรวมศิลปิน ดารา อย่าง "คอนเสิร์ต 10 ปี Exact" แสดงร่วมกับ พลพล พลกองเส็ง, นูโว, มอส ปฏิภาณ, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, เจตริน วรรธนะสิน, ก๊อต จักรพันธ์, กล้วย เชิญยิ้ม, จิระศักดิ์ ปานพุ่ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีคอนเสิร์ตที่รวมตัวชาวดีว่าส์ของเมืองไทยอย่าง ใหม่ เจริญปุระ, หฤทัย ม่วงบุญศรี, นันทิดา แก้วบัวสาย และวิยะดา โกมารกุล ณ นคร ใน "The Divas Concert"

ปี 2546 มีอัลบั้มคู่กับสาวเสียงทรงพลังอย่าง หฤทัย ม่วงบุญศรี ในอัลบั้มชุด "Amp & Au" ซึ่งมีเพลงที่ทั้งคู่ร้องร่วมกันอย่าง "ตำนานคนโชคดี", "คล้ายๆ ว่าใช่" และ "ไฟกับน้ำแข็ง" แล้วก็มีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบของทั้งคู่คือ "Amp & Au Fine Time Concert" ก่อนที่แอมกับอุ๊จะกลับมารวมตัวกันอีกครั้งใน "Divas and Gentlemen Concert" ซึ่งแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับ นันทิดา แก้วบัวสาย และวิยะดา โกมารกุล ณ นคร อีกครั้ง พร้อมด้วยศิลปินฝ่ายชายอีกมากมายอย่าง พลพล พลกองเส็ง, ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์, เจตริน วรรธนะสิน, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ฯลฯ

ปี 2547 ทำโปรเจกต์พิเศษฉลองต้นปีในชุด "The Family" ร่วมกับศิลปินมากมาย แถมยังเป็นแขกรับเชิญเซอร์ไพรส์ใน "Marsha My Reflection Concert" ของเพื่อนซี้อย่าง มาช่า วัฒนพานิช แล้วก็จัด "Devil Divas Comedy Concert" ร่วมกับ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร และเจนนิเฟอร์ คิ้ม ปิดท้ายด้วยด้วย "คอนเสิร์ต สีฟ้า ครั้งที่ 1 Love Song She Wrote" เพื่อคาราวะนักเขียนเพลงรุ่นพี่อย่าง นิ่ม สีฟ้า

ปี 2548 กลับมาทำอัลบั้มเดี่ยวอีกครั้ง ในชุดที่มีชื่อในความหมายบวกที่ว่า "May Love Remain" ในครั้งนี้แอมส่งเพลงให้กำลังใจคนที่ประสบปัญหาความรักอย่างเพลง "ครึ่งหนึ่งของชีวิต" จากปลายปากกาของ นิติพงษ์ ห่อนาค ก่อนจะกระชากใจคนฟังอีกครั้งกับเพลงสไตล์สาวดอกไม้เหล็กอย่าง "ฉันยังอยู่ได้..คนดี" และเพลง "May Love Remain" ที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้ม เป็นการต่อยอดการสร้างกำลังใจในการเดินทางค้นหาความรักจากเพลง "ทางเดินแห่งรัก" ในอัลบั้มที่ผ่านมา

ปี 2549 แอมมีอัลบั้มพิเศษในชุด "Beach Time" เป็นการหยิบบทเพลงเก่า ๆ มาทำใหม่ในแบบ Acoustic มีทั้งเพลง "กดดัน, คนเช่นนี้, ครึ่งหนึ่งของชีวิต, ความทรงจำ, แค่เสียใจไม่พอ, คำถามเดิม ฯลฯ" แล้วก็ยังมีอัลบั้มพิเศษร่วมกับศิลปินอีกมากมายในอัลบั้ม "Deep Blue" พร้อมกับคอนเสิร์ตอย่าง "คอนเสิร์ต สีฟ้า ครั้งที่ 2 Deep Blue"

ปี 2550 มีอัลบั้มชุดที่ 8 "เรื่องน้ำเน่า" พร้อมด้วยคอนเสิร์ตพิเศษที่ชื่อ "คอนเสิร์ต พี่กับน้องร้องเพลงน้ำเน่า" ร่วมกับ ธนิดา ธรรมวิมล และสุนิตา ลีติกุล แล้วก็คอนเสิร์ตครั้งสำคัญอีกหนึ่งคอนเสิร์ตที่ชื่อ "คอนเสิร์ต 25 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค" เป็นการคาราวะนักเขียนเพลงรุ่นพี่อีกคนอย่าง นิติพงษ์ ห่อนาค

ปี 2551 มีอัลบั้มชุดที่ 9 "Any Amp" และอัลบั้มพิเศษ "The Piano Amp" ในภาคเสียงเปียโน ออกมาในปีเดียวกัน และแอมก็ยังมีคอนเสิร์ต "Amp & Wan Concert" คู่กับ ธนกฤต พานิชวิทย์ และ "Green Concert Vol.11 Seven Divas" ร่วมกับอีก 6 ดีว่าส์ของเมืองไทยอย่าง สุนิตา ลีติกุล, วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, หฤทัย ม่วงบุญศรี, ฐิติมา สุตสุนทร, ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์ และมาลีวัลย์ เจมีน่า

ปี 2552 มีหลากหลายคอนเสิร์ตอย่าง "คอนเสิร์ต อารมณ์ดี้ ตอน ทุ่งหญ้า สายลม และ นมวัว" ของนิติพงษ์ ห่อนาค ร่วมกับศิลปินมากมาย แล้วก็เป็นแขกรับเชิญใน "คอนเสิร์ต โก๊ะตี๋ คาเฟ่ ออน สเตจ" ของ โก๊ะตี๋ อารามบอย ต่อด้วย "คอนเสิร์ต Amp Au Feminine Night Concert" คู่กับ หฤทัย ม่วงบุญศรี แล้วยังมี "Green Concert Vol.12" ที่ร้องร่วมกับศิลปินมากมาย และส่งท้ายด้วย "คอนเสิร์ต สีฟ้า ครั้งที่ 3 Seefa Music on the Beach" ของ นิ่ม สีฟ้า ร่วมกับศิลปินมากมาย

ปี 2553 เดินหน้าขึ้นเวทีอีกครั้งกับ "Devils & Divas Comedy Concert" ร่วมกับ นันทิดา แก้วบัวสาย, วิยะดา โกมารกุล ณ นคร, มัม ลาโคนิคส์, อาภาพร นครสวรรค์ แลปาณิสรา พิมพ์ปรุ ที่ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี

ปี 2554 มีโอกาสได้กลับมารวมตัวกับ "สาว สาว สาว" ใน "คอนเสิร์ต วี อา แฟนมะรี่ นี่ครอบครัวฉัน 54" ร่วมกับ ฉันทนา กิติยพันธ์, สุดา ชื่นบาน, พัชริดา วัฒนา (แหม่ม) และ อรวรรณ เย็นพูนสุข (ปุ้ม) ในโอกาสครบรอบ 30 ปี สาว สาว สาว

ปี 2555 ขึ้นคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้งกับ "คอนเสิร์ต Dee & Seefa “The Lyrics of Love” พบกับทุกมุมมองความรัก จากปลายปากกาของ นิติพงษ์ ห่อนาค และนิ่ม สีฟ้า แอม เสาวลักษณ์แสดงร่วมกับ ใหม่ เจริญปุระ, จิรายุส วรรธนะสิน, คริสติน่า อากีล่าร์ ฯลฯ ในวันเสาร์ที่ 4 และอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ ณ Royal Paragon Hall แล้วก็มาถึงคอนเสิร์ตฉลอง 30 ปีของเธอกับ "I am What I Amp Concert" ในวันที่ 2-3 มิถุนายน ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ มีแขกรับเชิญเซอร์ไพรส์ทั้ง ใหม่ เจริญปุระ, มาช่า วัฒนพานิช, หฤทัย ม่วงบุญศรี, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ และภัครมัย โปตระนันท์ ฯลฯ


ส่วนตัว[แก้]

ผลงานเดี่ยว[แก้]

บันทึกของดอกไม้เหล็ก (ยอดขายทะยานร่วม 9 แสนชุด)[1] (พ.ศ. 2536)

  1. กดดัน
  2. แค่เสียใจไม่พอ
  3. ดูเอง
  4. ไม่อยากโทษใคร
  5. คำถามเดิม
  6. นิยาย
  7. ใครนะ (พูดจัง)
  8. เพราะไม่เข้าใจ
  9. เมืองร้าง
  10. อุทิศให้

ชีวิตและจิตใจ (พ.ศ. 2537)

  1. ความทรงจำ
  2. รักฉันทำไม
  3. ตัดสินใจ
  4. ไม่ยอม
  5. เธอไม่เข้าใจ
  6. ท้อไม่แท้
  7. อุปสรรค
  8. ก็เรารักกันไม่ใช่หรือ
  9. ฉันไม่อยากฟัง
  10. จะคุ้มไม่คุ้ม
  11. ใจคน

ชั้นหนึ่ง (1st Floor) (พ.ศ. 2541)

  1. ชั้นหนึ่ง
  2. เสียดายทำไม
  3. (จะเป็นยังไง)ช่างมัน
  4. เมืองใหญ่ในใจเธอ
  5. กลับไปดูแลเขา
  6. รองเท้า
  7. ฉันรู้ ฉันรู้
  8. แปลก แปลก
  9. ขอบคุณที่หวังดี
  10. จึงกลับมา
  11. ผิดไหมที่รักเธอ
  12. เสียดายทำไม (Bonus Track)

แอมเอง (พ.ศ. 2542)

  1. อยากสวย
  2. ฉันเลว
  3. 3 วัน 7 วัน
  4. พื้นดินยังเหลือให้เดินด้วยกัน
  5. ขอบฟ้าไม่มีจริง
  6. ปล่อยฉัน
  7. บอระเพ็ด
  8. เพื่อนตาย
  9. แหวนใบไม้ถัก
  10. คนเช่นนี้

City Woman (พ.ศ. 2543)

  1. คิดถึงคนแปลกหน้า
  2. ต่างมุม
  3. ตำราที่เคยอ่าน
  4. นิยายเมืองหลวง
  5. ผู้หญิง - 2 พันธุ์ (City Woman)
  6. สวัสดีความรัก
  7. หากไม่มีพรุ่งนี้
  8. ห้ามปวดตับ
  9. อย่ามองฉันเลย
  10. อย่าเอ็ดไป

Amp's Tales เรื่องเล่า..เสาวลักษณ์ (พ.ศ. 2544)

  1. คนกลางคืน
  2. ฉันไม่ใช่เจ้าของเธอ
  3. เธอไม่ต้องรู้
  4. เป็นไปไม่ได้
  5. ไปด้วยกันไหม
  6. ภาพมายา
  7. แยกกันตรงนี้
  8. รักกันเบาเบา
  9. เรื่องยาก
  10. สักวันจะไปถึงฝัน

May Love Remain (พ.ศ. 2548)

  1. May love remain
  2. กิจกรรมทางใจ
  3. ครึ่งหนึ่งของชีวิต
  4. ฉันยังอยู่ได้..คนดี
  5. ดินแดนศักดิ์สิทธิ์
  6. เมื่อนั้น
  7. รอยเจ็บในความล้มเหลว
  8. หญ้าอ่อน
  9. หากฉันไม่เคย
  10. อโหสิ

Beach Time (พ.ศ. 2548)

  1. กดดัน (Acoustic)
  2. ก็เรารักกันไม่ใช่หรือ (Acoustic)
  3. คนเช่นนี้ (Acoustic)
  4. ครึ่งหนึ่งของชีวิต (Acoustic)
  5. ความทรงจำ (Acoustic)
  6. คำถามเดิม (Acoustic)
  7. แค่เสียใจไม่พอ (Acoustic)
  8. ฉันเลว (Acoustic)
  9. ทางเดินแห่งรัก (Acoustic)
  10. นิยาย (Acoustic)
  11. ผิดไหมที่รักเธอ (Acoustic)
  12. เพราะไม่เข้าใจ (Acoustic)
  13. เพื่อเธอตลอดไป
  14. อยากสวย (Acoustic)

เรื่องน้ำเน่า (พ.ศ. 2550)

  1. พัทยา สาทร
  2. เพลงดอกไม้
  3. เพลงน้ำเน่า
  4. มันยังไม่ถึงคิว
  5. ไม่รู้อะไรเข้าสิง
  6. ลืมไม่ได้จริง
  7. เวทนา
  8. เวลาที่ดีที่สุดที่ฉันเคยมี
  9. สุดท้าย...ลาก่อน
  10. เสือก

Any Amp (ทะลุหัววิว youtube 2 วัน 1 ล้านวิว) (พ.ศ. 2551)

  1. หน้ากาก
  2. ไม่รักแต่ไม่ลืม
  3. พอ
  4. เหนื่อย
  5. ถือว่าเป็นอีกปีที่ฉันพอใจ
  6. คนไปไม่เสียใจเท่าคนอยู่
  7. น้ำตาแพง
  8. ฉันทำไม่ได้
  9. เจ้าหมาดำกับคุณยาย
  10. ใจคน วังวน ทะเล

The Piano Amp (พ.ศ. 2551)

  1. ครึ่งหนึ่งของชีวิต
  2. แค่เสียใจไม่พอ
  3. ทางเดินแห่งรัก
  4. ผิดไหมที่รักเธอ
  5. ฉันเลว
  6. ความทรงจำ
  7. นิยาย
  8. (จะเป็นยังไง) ช่างมัน
  9. ก็เรารักกันไม่ใช่หรือ
  10. ขอบฟ้าไม่มีจริง
  11. ไม่รู้อะไรเข้าสิง
  12. คิดถึงคนแปลกหน้า
  13. กดดัน
  14. ล่า

เข้าใจ..แต่ใช่ว่าไม่เจ็บ (พ.ศ. 2552)

  1. อยู่อย่างไม่มีเธอ
  2. เวลากับคนสองคน
  3. คำถามที่ต้องตอบ
  4. ไม่แน่ใจ
  5. คนเจ้าน้ำตา
  6. ขอร้อง
  7. รุนแรงเหลือเกิน
  8. อย่ารักกันเลย
  9. ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ
  10. ถ้า
  11. พูดไม่ออก
  12. ไม่ตลก
  13. เธอปันใจ
  14. อีกหน่อยเธอคงเข้าใจ
  15. ชั่วฟ้าดินสลาย
  16. ครึ่งหนึ่งของชีวิต

รวมเพลง 30 ปี แอม เสาวลักษณ์ (พ.ศ. 2554)

  1. เพลงที่ ยังชื่นชอบกันอยู่
  2. ครึ่งหนึ่งของชีวิต
  3. กดดัน
  4. ก็เรารักกันไม่ใช่หรือ
  5. ขอบคุณที่หวังดี
  6. คนเช่นนี้
  7. ความทรงจำ
  8. คิดถึงคนแปลกหน้า
  9. จะคุ้มไม่คุ้ม
  10. จุดจบสุดท้าย
  11. ฉันเลว
  12. ฉันไม่อยากฟัง
  13. ฉันไม่ใช่เจ้าของเธอ
  14. ชั้นหนึ่ง
  15. ดูเอง
  16. ตัดสินใจ
  17. ท้อไม่แท้
  18. นิยาย
  19. บอระเพ็ด
  20. ปล่อยฉัน
  21. ผิดไหมที่รักเธอ
  22. ผู้หญิง
  23. ภาพมายา
  24. รักกันเบาเบา
  25. รักฉันทำไม
  26. ล่า
  27. สักวันจะไปถึงฝัน
  28. สามวันเจ็ดวัน
  29. ห้ามปวดตับ
  30. อยากสวย
  31. อย่าเอ็ดไป
  32. อุปสรรค
  33. เธอปันใจ
  34. เธอไม่ต้องรู้
  35. เธอไม่เข้าใจ
  36. เปล่าหรอกนะ
  37. เพราะไม่เข้าใจ
  38. เมืองร้าง
  39. เสียดายทำไม
  40. แค่เสียใจ ไม่พอ
  41. แปลก แปลก
  42. แยกกันตรงนี้
  43. แหวนใบไม้ถัก
  44. ใครนะ (พูดจัง)
  45. ใจคน
  46. ไม่ยอม
  47. ไม่อยากโทษใคร

ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น[แก้]

สาว สาว สาว (พ.ศ. 2524-2532) 10 อัลบั้ม อัลบั้ม รักปักใจ (พ.ศ. 2524)

  1. รักปักใจ
  2. รักไม่จริง
  3. แรกสาว
  4. แฟนฉัน
  5. แพะยิ้ม
  6. รักครั้งแรก
  7. รักต่างแดน
  8. เจอะเขาจ้องมอง
  9. เธอกับฉัน
  10. จันทร์เจ้า

อัลบั้ม ประตูใจ (พ.ศ. 2525)

  1. ประตูใจ
  2. รักคือฝันไป
  3. มิอาจรัก
  4. ด้วยแรงแห่งรัก
  5. รักทำไม
  6. อยากลืม
  7. ขอเพียงสัญญา
  8. อย่าโกรธกันเลย
  9. สาวนักเรียนนอก
  10. ลาที

อัลบั้ม In Concert (พ.ศ. 2526)

  1. ประตูใจ
  2. รักทำไม
  3. Hard To Say I'm Sorry
  4. ด้วยแรงแห่งรัก
  5. อยากลืม
  6. The One You Love
  7. รักคือฝันไป
  8. แพะยิ้ม
  9. Mickey
  10. I Love You

อัลบั้ม เป็นแฟนกันได้ยังไง (พ.ศ. 2526)

  1. เป็นแฟนกันได้ยังไง
  2. ติ๊กต่อก (อย่าหยุดนะ)
  3. ถ้าเธอกลับมา
  4. เพียงเพราะว่า
  5. ยาเสพติด (หลีกหนีให้ห่าง)
  6. ไม่มีเธอ
  7. บอกฉันว่าไง
  8. แปลกดีนะ
  9. ฟ้ากว้าง ทางไกล
  10. คลื่นเสน่หา

อัลบั้ม หาคนร่วมฝัน (พ.ศ. 2527)

  1. รักโกหก
  2. รักชั่วคราว
  3. แมวน้อยกับผีเสื้อ
  4. จุดหมายปลายทาง
  5. คิดถึงทุกวัน
  6. ยามไกล
  7. หาคนร่วมฝัน
  8. ปฏิทินหัวใจ
  9. ยิ้มเย้ยโลก
  10. ไม่มีใครร้องไห้กับเรา
  11. รักสำคัญที่ใจ
  12. อย่าให้ฝันเก้อ

อัลบั้ม ในวัยเรียน (พ.ศ. 2528)

  1. พบกันที่เขาดิน
  2. ในวัยเรียน
  3. ภาพฝัน
  4. Thank You
  5. จำไว้นะเธอ
  6. เบื่อคอย
  7. บ้านน้อย
  8. Telephone
  9. เที่ยวทะเล
  10. เบื่อคนเค็ม
  11. แมงมุม
  12. เพียงความทรงจำ

อัลบั้ม แมกไม้และสายธาร (พ.ศ. 2529)

  1. คืนใจ
  2. ทุ่งอ้อ
  3. ผิดสัญญา
  4. รักไม่กลับคืน
  5. อยากมีรัก
  6. คำสัญญา
  7. บทเพลงชีวิต
  8. ลมเพ้อ
  9. เด็กน้อยกับดวงดาว
  10. หาคนร่วมฝัน

อัลบั้ม Because I Love You (พ.ศ. 2530)

  1. Memory
  2. Because I love you
  3. Careless Whisper
  4. When we make a home
  5. You're the inspiration
  6. Years
  7. Windows & Walls
  8. Our house
  9. You send me
  10. Walking in the rain
  11. AMETO NAMIDA KAHITO (Chi Chi)
  12. Star ship of love
  13. Last song for you

อัลบั้ม ว้าว..ว! (พ.ศ. 2531)

  1. ฉันบอกเธอเอง
  2. ลองทำดู
  3. ห่วงใยทุกนาที
  4. กว่าจะเจอ
  5. คืนสุดท้าย
  6. เพียงแค่เธอลืมฉันไป
  7. หวังเพียงให้เธอรู้ใจ
  8. รักผ่านไป...อีกครั้ง
  9. แค่เพื่อนกัน
  10. ฉันยังรอ

อัลบั้ม Together (พ.ศ. 2531)

  1. Four Letter Words
  2. Last Christmas
  3. Lost in Love
  4. Afternoon Delight
  5. Something That Used To Be Mine
  6. Luka
  7. Danny's Song
  8. Video City
  9. Love’'s Gotta Hold on Me
  10. Love
  11. If You Remember Me
  12. I Can't Tell You Why

อัลบั้ม ดอกไม้ของน้ำใจ (พ.ศ. 2532)

  1. ดอกไม้ของน้ำใจ
  2. มีแต่เสียใจ
  3. ไม่รู้ใจ
  4. ลบไม่ออก
  5. ลุยต่อไป
  6. เบื่อแล้ว
  7. เจ็บกว่านี้มีไหม
  8. ตามเคย
  9. เมื่อไรจะรู้
  10. เจ็บก็ดี
  • อัลบั้ม งานซนคนดนตรีนานที 10 ปีหน (30 กันยายน พ.ศ. 2536)
  • รวมงานคนเขียนเพลง เสาวลักษณ์ ลีละบุตร (รวมงานเพลงที่พี่แอมแต่ง ปี พ.ศ. 2536)
  • อัลบั้ม ขนนกและดอกไม้ (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) ร่วมกับ "เบิร์ด" ธงไชย แมคอินไตย์
  • อัลบั้ม แอม-ดา (3 ธันวาคม พ.ศ. 2539) ร่วมกับ "ดา" ศักดา พัทธสีมา
  • อัลบั้ม Rock For Life (23 มกราคม พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม The Special (พ.ศ. 2542)
  • อัลบั้ม ลงเอย พี่น้อง ร้องเพลง อัสนี-วสันต์ (18 มกราคม พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Beauty 4 Rock (พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Seven (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม x change (พ.ศ. 2543)
  • อัลบั้ม Songs & Stories (พ.ศ. 2545)
  • อัลบั้ม แอม + อุ๊ (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546) ร่วมกับ "อุ๊" หฤทัย ม่วงบุญศรี
  • อัลบั้ม The Family (พ.ศ. 2547)
  • อัลบั้ม ด้วยแสงแห่งรัก (พ.ศ. 2548)
  • อัลบั้ม วันฟ้าใหม่ (พ.ศ. 2548)
  • อัลบั้ม Devil Divas (พ.ศ. 2549)
  • Deep Blue (พ.ศ. 2549)
  • อัลบั้ม สีฟ้า Project
  • เพลงมูลนิธิ เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก
  • อัลบั้ม Divas in love
  • อัลบั้ม เรวัต พุทธินันทน์ remembered in tribute
  • อัลบั้ม แอม อุ๊ Feminine Night
  • อัลบั้ม Devils and Divas
  • อัลบั้ม Divas Feminine Night นันทิดา แก้วบัวสายและ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร
  • อัลบั้ม "เย็นย่ำก็ฮัมเพลง"
  • อัลบั้ม แอม ว่าน
  • อัลบั้ม ชมสวน 1
  • อัลบั้ม ชมสวน 3
  • อัลบั้ม Sweet Love Songs vol.1 รักเธอ...คือคำตอบ (14 ส.ค. พ.ศ. 2551)
  • อัลบั้ม Sweet Love Songs Vol.2 "HAPPINESS" (8 ต.ค. พ.ศ. 2554)
  • อัลบั้ม COVER NIGHT GREEN WAVE 20th ANNIVERSARY

คอนเสิร์ตเดี่ยว[แก้]

  • (2536) คอนเสิร์ต เปิดบันทึกดอกไม้เหล็ก (2536) MBK HALL มาบุญครอง
  • (2537) Memories Concert ตอนความทรงจำของเรา ณ โรงละครแห่งชาติ
  • (2544) Green Concert หมายเลข 7 Yes... I Am(p) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • (2545) คอนเสิร์ต Song & Story เรื่องเล่ากับเสียงเพลง
  • (2555) คอนเสิร์ต I am what I amp 30 ปี แอม เสาวลักษณ์ วันที่ 2-3 มิถุนายน 2555 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์

คอนเสิร์ต ร่วมศิลปิน/แขกรับเชิญ[แก้]

ผลงานการแต่งเพลง[แก้]

แต่งเพลงให้ศิลปินหลายคนอาทิเช่นเพลง "สุดฤทธิ์สุดเดช" ของ ใหม่ เจริญปุระ ,"เสียมั้ย" ของ อำพล ลำพูน , "คำมักง่าย" ของ บิลลี่ โอแกน,"ให้เวลาฉัน" ของ มาช่า วัฒนพานิช, "ขอจันทร์" ของ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร , "ต้องดีกว่าเก่า" ของ ตั้ม สมประสงค์, "ขอได้ไหม" ของ ปนัดดา เรืองวุฒิ, "สักวัน" ของ นันทิดา แก้วบัวสาย , ลานนา คัมมินส์ ฯลฯ
แต่งเพลงโดย ใช้นาม ปากกา อื่นๆ เช่น "อิงเมือง เกิดสา" ให้กับวงอิสซึ่น , "สินนัทที" ให้กับฟอร์ด สบชัย ไกรยูรเสน และ "พิรีย์" (เพลงยิ่งกว่ารัก) ให้กับวิยะดา โกมาลากุล ณ นคร มากมาย
เพลงที่เธอแต่ง/น้อยไปอีกหรือ/กลับมาตรงนี้/ขอคืน/เพลงนั้น มากมาย
รายชื่อศิลปินที่ แอม แต่งเพลงให้ อุ๊/ก้อย/อ้อม/วิยะดา/นันทิดา มากมาย
ร้องและแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา Baby Mild ชุด Sexy
ร้องและแต่งเพลงประกอบละครเรื่อง "แม่ปูเปรี้ยว", "อวสานเซลล์แมน"
แต่งเพลงให้โรงเรียนสอนคนตาบอด ในโครงการ "เห็นด้วยหูรับรู้ด้วยน้ำใจ" ชื่อเพลง "ขอเป็นดั่งดวงตาให้เธอ" ซึ่งถูกแปลงเนื้อร้อง เป็น อักษรเบรลล์ด้วย

เพลงที่เธอแต่งกับมือให้เอง

เพลง กดดัน : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ก็เรารักกันไม่ใช่หรือ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ขอบคุณที่หวังดี : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง คนเช่นนี้ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ความทรงจำ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง คิดถึงคนแปลกหน้า : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง จะคุ้มไม่คุ้ม : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง จุดจบสุดท้าย : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ฉันไม่อยากฟัง : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ฉันไม่ใช่เจ้าของเธอ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ชั้นหนึ่ง : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ดูเอง : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ตัดสินใจ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ท้อไม่แท้ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง นิยาย : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง บอระเพ็ด : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ปล่อยฉัน : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ผู้หญิง : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ภาพมายา : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง รักกันเบาๆ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง รักฉันทำไม : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง สักวันจะไปถึงฝัน : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง สามวันเจ็ดวัน : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ห้ามปวดตับ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง อยากสวย : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง อย่าเอ็ดไป : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง อุปสรรค : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง เธอไม่ต้องรู้ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง เธอไม่เข้าใจ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง เพราะไม่เข้าใจ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง เมืองร้าง : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง แปลกแปลก : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง แยกกันตรงนี้ : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง แหวนใบไม้ถัก : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ใครนะพูดจัง : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ใจคน : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ไม่ยอม : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง ไม่อยากโทษใคร : แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร

เพลง คล้ายคล้าย..ว่าใช่ : แอม&อุ๊

เพลง ไฟกับน้ำแข็ง : แอม&อุ๊

เพลง ให้อภัย : แอม&อุ๊

เพลง อธิษฐานให้เธอ : แอม&อุ๊

เพลงในโอกาสพิเศษต่าง ๆ[แก้]

เพลงประกอบละครและภาพยนตร์

  • 01 แค่รู้ว่ารักกัน - ละครเงา
  • 02 จุดจบสุดท้าย - ละครร่ายริษยา
  • 03 ม่ายค่ะ - ละครม่ายค่ะ
  • 04 ภาพมายา - ละครมายา
  • 05 A Whole New World - ภาพยนตร์อะลาดิน (ร้องคู่กับ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์)
  • 06 ล่า - ละครล่า
  • 07 ฉันผิดใช่ไหม - ละครจงกลกลิ่นเทียน
  • 08 โลกนี้ไม่มีดวงตะวัน - ละครทับตะวัน
  • 09 ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์ - ภาพยนตร์ ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์
  • 10 ที่ที่ความดียั่งยืน - เสถียรธรรมสถาน
  • 11 ถ้าเรารักกันมากพอ - สภาพดนตรี
  • 12 แทนความคิดถึง - ละครคุ้มนางครวญ
  • 13 รักสักคำ - ละครลูกไม้ไกลต้น
  • 14 ฉันคนนี้ก็คน - ละครป่ากามเทพ
  • 15 เอาคืนมา - ละครปะการังสีดำ

งานเขียนหนังสือ[แก้]

  • เขียนบทความในนิตยสาร "แพรวสุดสัปดาห์"
  • เขียนบทความในนิตยสาร "อิมเมจ"
  • หนังสือ "เรื่องของแอม"
  • หนังสือ เรื่องเล่าเสาวลักษณ์
  • หนังสือ "สมาคมปากพาจน"
  • หนังสือ "ไม่อยากมีไว้แค่ใส่หมวก"
  • หนังสือ "bloom in my heart"
  • หนังสือ "บันทึกของ แองเจลิน่า โจลี" (แปลจาก: Note From Travel)
  • หนังสือ "ความรัก ความทุกข์ ความสุข ความตาย" (แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต + เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)ครั้งที่ 1
  • หนังสือ "ความรัก ความทุกข์ ความสุข ความตาย" (แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต + เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)ครั้งที่ 2
  • หนังสือ "ความรัก ความทุกข์ ความสุข ความตาย" (แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต + เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)ครั้งที่ 3
  • หนังสือ "ความรัก ความทุกข์ ความสุข ความตาย" (แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต + เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)ครั้งที่ 4
  • หนังสือ "ความรัก ความทุกข์ ความสุข ความตาย" (แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต + เสาวลักษณ์ ลีละบุตร)ครั้งที่ 5

ผลงานอื่น[แก้]

  • ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง "อาละดิน" ของวอลต์ ดิสนีย์ ในภาค ภาษาไทย ร่วมกับธงไชย แมคอินไตย์
  • เล่นมิวสิกวิดีโอ เพลง คำถามเดิม (2536) จากอัลบั้ม บันทึกของดอกไม้เหล็ก
  • ร้องประสานเสียงให้กับศิลปินอื่น เช่น อัสนี-วสันต์ โชติกุล
  • ร้องเพลงประกอบ ภาพยนตร์ โฆษณาต่าง ๆ เช่น ลอรีเอะ, เคนตั๊กกี้
  • เป็น presenter และร่วมร้องเพลง ประกอบภาพยนตร์โฆษณาโค้ก ชุด confidence ไม่มีอะไรไกลเกินฝัน
  • ถ่ายแบบนิตยสาร Delite (2536)
  • ถ่ายนิติยสาร ทีวีพูล (2549)
  • ถ่ายนิติยสาร ทีวีพูล (2550)
  • ถ่ายนิติยสาร ทีวีพูล (2551)
  • พิธีกรรายการ สามสาวสามซน (2536) จากอัลบั้ม งานซนคนดนตรีนานที 10 ปีหน
  • พิธีกรรายการเธอผู้ไม่แพ้
  • พิธีกรรายการ ชีวิตลิขิตเอง
  • พิธีกรรายการ first stage showร่วมกับ ไก่ สมาพล
  • พิธีกรรายการ ยอดคนตะลุยฝุ่น
  • ผลงานภาพยนตร์เรื่อง "ผู้ชายป้ายเหลือง" พ.ศ 2530
  • ผลงานพากย์เสียงภาพยนตร์การ์ตูน วอลต์ ดิสนีย์ เรื่อง Atlantis: The Lost Empire พากย์เป็น เจ้าหญิงคีด้า
  • ผลงานพากย์เสียงภาพยนตร์การ์ตูน วอลต์ ดิสนีย์ เรื่อง Atlantis: Milo’s Return พากย์เป็น เจ้าหญิงคีด้า
  • ผลงานพากย์เสียงภาพยนตร์การ์ตูน วอลต์ ดิสนีย์ เรื่อง Treasure Planet พากย์เป็น กัปตันอามีเลีย
  • ร่วมร้องเพลงบทเพลงให้กำลังใจผู้ประสบภัยจากอุทกภัยน้ำท่วม 2554 (ถ้าเรารักกันมากพอ) ร่วมกับ กมลา สุโกศล รัดเกล้า อามระดิษ เจนนิเฟอร์ คิ้ม ภัครมัย โปตระนันท์ พัดชา เอนกอายุวัฒน์ วิชญาณี เปียกลิ่น
  • ร้องเพลงประกอบละครป่ากามเทพ เพลงฉันคนนี้ก็คน (2560)
  • ผลงานพากย์เสียงภาพยนตร์การ์ตูน วอลต์ ดิสนีย์ เรื่อง Strange World ลุยโลกลึกลับ พากย์เป็น กัปตันคัลลิสโต มัล
  • ผลงานแสดงละครเวที เรื่อง แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล โดยรับบทเป็นตนเอง (2566)

รางวัล[แก้]

  • รางวัล นักร้องหญิงยอดเยี่ยม จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย 2535
  • รางวัล " สีสันอวอร์ด " ศิลปินเดี่ยวหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2536 จากอัลบั้ม บันทึกของดอกไม้เหล็ก
  • รางวัล " สีสันอวอร์ด " ศิลปินเดี่ยวหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2544 จากอัลบั้ม city woman

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]