วรรณกรรมล้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักแสดงตลก ชาร์ลี แชปลิน แสดงเป็นฮิตเลอร์ ในบทบาทเบาสมอง ในภาพยนตร์เสียดสีเรื่อง เดอะเกรตดิกเทเตอร์ (1940)

วรรณกรรมล้อ (Parody) เป็นชิ้นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบ ล้อเลียน หรือออกความเห็นต่อชิ้นงานดั้งเดิม ประเด็น ผู้เขียน รูปแบบ หรือเป้าหมายอื่น ๆ โดยจะเป็นการเลียนแบบเชิงเสียดสีหรือแฝงนัย นักทฤษฎี ลินดา ฮัตเชียน ให้ความหมายว่า "วรรณกรรมล้อ คือการเลียนแบบ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นการล้อเลียนข้อความเสมอไป" นักวิจารณ์อีกท่านหนึ่ง ไซมอน เด็นทิธ นิยามวรรณกรรมล้อว่า "การประกอบกิจใด ๆ เชิงวัฒนธรรมที่เลียนแบบ พาดพิงอีกผลงานหรือการประกอบกิจหนึ่งอย่างมีศิลปะ"[1] วรรณกรรมล้อพบได้ในศิลปะหรือวัฒนธรรม รวมถึง วรรณกรรม ดนตรี (แม้ว่าก่อนหน้านี้ "วรรณกรรมล้อ" ในดนตรีจะมีความหมายแตกต่างออกไป) แอนิเมชัน วิดีโอเกม และภาพยนตร์

นักเขียนและนักวิจารณ์ จอห์น โกรส สังเกตในหนังสือ Oxford Book of Parodies ของเขาว่าวรรณกรรมล้อดูจะเฟื่องฟูในดินแดนระหว่าง แพสติช ("ผลงานอีกแบบของศิลปิน โดยไม่มีเนื้อหาเสียดสี") และ เบอร์เลสก์ (ซึ่งหลอกเกี่ยวกับชิ้นงานวรรณกรรมชั้นสูงและดัดแปลงให้ดูต่ำลง)[2] ขณะเดียวกับ หนังสือ Encyclopédie ของเดอนี ดีเดอโร แยกความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมล้อกับเบอร์เลสก์ว่า "วรรณกรรมล้อที่ดีคือการขบขันที่ทำให้บุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและไร้มลทินรู้สึกสนุกสนานได้ ส่วนเบอร์เลสก์เป็นการเล่นตลกร้ายที่ทำให้คนรู้สึกพอใจเท่านั้น"[3] จากประวัติศาสตร์ เมื่อสูตรสำเร็จเริ่มน่าเบื่อ อย่างเช่นในกรณีละครประโลมโลกเกี่ยวกับศีลธรรมในยุค 1910 ยังคงเป็นได้แค่วรรณกรรมล้อ ดังที่เรื่องสั้นของบัสเตอร์ คีตันเคยล้อเลียนไว้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dentith (2000) p.9
  2. J.M.W. Thompson (May 2010). "Close to the Bone". Standpoint magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. "Parody." The Encyclopedia of Diderot & d'Alembert Collaborative Translation Project. Translated by Colt Brazill Segrest. Ann Arbor: Michigan Publishing, University of Michigan Library, 2007. Web. [1 Apr. 2015]. <http://hdl.handle.net/2027/spo.did2222.0000.811>. Trans. of "Parodie," Encyclopédie ou Dictionnaire raisonné des sciences, des arts et des métiers, vol. 12. Paris, 1765.
  4. Balducci, Anthony (2011) The Funny Parts: A History of Film Comedy Routines and Gags p.231