แฮร์ทา มึลเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮร์ทา มึลเลอร์
Herta Müller
แฮร์ทา มึลเลอร์ ค.ศ. 2007
เกิด17 สิงหาคม ค.ศ. 1953
ประเทศโรมาเนีย
สัญชาติชาวเยอรมัน, ชาวโรมาเนีย
อาชีพนักเขียน
ยุคสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20–ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21
ตำแหน่งนักเขียน
รางวัลรางวัลโนเบล ค.ศ. 2009
นักเขียนชาวเยอรมัน

แฮร์ทา มึลเลอร์ (เยอรมัน: Herta Müller) (17 สิงหาคม ค.ศ. 1953 - ปัจจุบัน) แฮร์ทา มึลเลอร์เป็นนักเขียน กวี และนักเขียนบทความคนสำคัญชาวเยอรมันที่เกิดในประเทศโรมาเนีย แฮร์ทา มึลเลอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 2009 งานเขียนที่มีชื่อเสียงของมึลเลอร์เป็นงานเขียนที่เกี่ยวกับสภาวะอันทารุณของชีวิตในสาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย (Communist Romania) ภายใต้การปกครองอันกดขี่ของรัฐบาลของนีกอลาเอ ชาวูเชสกู, เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมนีในภูมิภาคบานัท (Banat) ในยุโรปกลาง และ การทำร้ายชาวเยอรมันเชื้อสายโรมาเนียโดยกองทหารโซเวียตที่ยึดครองโรมาเนียของสตาลิน

ชีวิตและอาชีพ[แก้]

มึลเลอร์เกิดที่ Niţchidorf (เยอรมัน: Nitzkydorf) ซึ่งเป็นเมืองที่พูดภาษาเยอรมันในภูมิภาคบานัททางตะวันตกของโรมาเนีย เป็นบุตรสาวของเกษตรกร ครอบครัวของมึลเลอร์เป็นชนกลุ่มน้อยชาวโรมาเนียเชื้อสายเยอรมัน บิดารับราชการเป็น Waffen SS[1] และมารดารอดชีวิตมาได้จากการถูกกักในค่ายกรรมกรในยูเครนในสหภาพโซเวียตอยู่เป็นเวลาห้าปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2[2] ปู่ของมึลเลอร์เคยเป็นพ่อค้าและเกษตรกรผู้มีฐานะดี มึลเลอร์เรียนเยอรมันศึกษา และ วรรณกรรมโรมาเนียที่มหาวิทยาลัยตะวันตกแห่ง Timişoara

ในปี ค.ศ. 1976 มึลเลอร์ก็เริ่มทำงานเป็นนักแปลสำหรับโรงงานวิศวกรรม แต่ถูกปลดในปี ค.ศ. 1979 เพราะไม่ยอมร่วมมือกับ Securitate ซึ่งเป็นกองตำรวจลับของพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย หลังจากถูกปลดมึลเลอร์ก็ไปทำงานเป็นครูสอนเด็กอนุบาลและสอนภาษาเยอรมันเป็นการส่วนตัว หนังสือเล่มแรกที่เขียนเป็นภาษาเยอรมันตีพิมพ์ในโรมาเนียในปี ค.ศ. 1982 เป็นฉบับที่ได้รับการตัดทอนโดยรัฐบาลเช่นเดียวกับงานเขียนอื่นๆ ในคอมมิวนิสต์โรมาเนียขณะนั้น การเซ็นเซอร์งานวรรณกรรมขณะนั้นไม่รุนแรงเท่ากับการถูกเซ็นเซอร์เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่มึลเลอร์ก็เป็นสมาชิกของกลุ่มปฏิกิริยาบานัท (Aktionsgruppe Banat) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเขียนผู้ใช้ภาษาเยอรมันผู้สนับสนุนเสรีภาพการพูดและการเขียนที่ถูกควบคุมภายใต้การควบคุมของรัฐบาลของชาวูเชสกู งานเขียนก็รวมทั้ง The Land of the Green Plums (ไทย: ดินแดนลูกพลัมดิบ) ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับปัญหาที่นักเขียนต้องประสบและความสัมพันธ์ของนักเขียนกับการเซ็นเซอร์งานของรัฐบาล[3][4]

มึลเลอร์ย้ายจากโรมาเนียมายังเบอร์ลินตะวันตกพร้อมกับสามีริชาร์ด วากเนอร์ผู้เป็นนักเขียนเช่นกันในปี ค.ศ. 1987 จากความกดดันของรัฐบาลโรมาเนีย ในช่วงสองสามปีต่อมามึลเลอร์ก็รับตำแหน่งเป็นผู้ปาฐกในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเยอรมนีและต่างประเทศ ในปัจจุบันมึลเลอร์พำนักอยู่ในเบอร์ลิน มึลเลอร์ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันเยอรมันสำหรับภาษาและการเขียน (Deutsche Akademie für Sprache und Dichtung) ในปี ค.ศ. 1995 และตำแหน่งอื่นๆ ที่ตามมา ในปี ค.ศ. 1997 มึลเลอร์ถอนตัวจากศูนย์องค์การนักเขียนนานาชาติ (International PEN) แห่งเยอรมนีในการประท้วงเมื่อองค์การรวมตัวกับสาขาที่เดิมเป็นสารธารณรัฐประชาชนเยอรมัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 มึลเลอร์ก็เขียนจดหมายวิพากษ์เปิดผนึกไปถึง Horia-Roman Patapievici ประธานสถาบันวัฒนธรรมโรมาเนีย (Romanian Cultural Institute) ในการประท้วงการสนับสนุนขององค์การทั้งทางจริยธรรมและทางการเงินให้แก่อดีตสายลับในหมู่นักเขียน (informant) ขององค์การลับของรัฐบาลสองคนที่โรงเรียนโรมาเนีย-เยอรมันสำหรับฤดูร้อน[5]

ในปี ค.ศ. 2009 นวนิยาย Atemschaukel (ไทย: ทุกอย่างที่เป็นเจ้าของอยู่กับตัว) ได้รับการเสนอสำหรับรางวัลหนังสือเยอรมัน (Deutscher Buchpreis) และเป็นหนึ่งในหกเล่มที่เข้ารอบสุดท้าย ในหนังสือเล่มนี้มึลเลอร์บรรยายการเดินทางของชายหนุ่มไปยังค่ายกักกันกูลาก (Gulag) ในสหภาพโซเวียตที่เป็นตัวอย่างของชะตาของประชากรชาวเยอรมันที่อยู่ในทรานสซิลเวเนียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 งานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ของกวีออสคาร์ พาสติออร์ (Oskar Pastior) ที่มึลเลอร์บันทึกเรื่องราวที่ออสคาร์เล่าให้ฟัง ผสมกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับมารดาของตนเอง

สถาบันสวีเดนมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมให้แก่มึลเลอร์ ในปี ค.ศ. 2009 โดยบรรยายว่าเป็นนักเขียนผู้จาก "งานกวีนิพนธ์มากมายและงานเขียนร้อยแก้วอย่างเปิดใจ บรรยายภูมิทัศน์ของผู้ไร้ดินแดน"[1] ก่อนที่จะได้รับรางวัลมึลเลอร์ก็แทบจะไม่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักนอกเยอรมนี และแม้แต่ในเยอรมนีเองก็เฉพาะในกลุ่มปัญญาชนและนักวิพากษ์วรรณกรรมเท่านั้น ซึ่งทำให้ถูกวิจารณ์ว่าคณะกรรมการผู้พิจารณามีทัศนคติที่ลำเอียงในการนิยมมอบรางวัลให้แก่ชายยุโรป (Eurocentric)[6]

งานเขียน[แก้]

  • Niederungen, เรื่องสั้น, ฉบับเซนเซอร์พิมพ์ในบูคาเรสต์ในปี ค.ศ. 1982. ฉบับเต็มพิมพ์ในเยอรมนีในปี ค.ศ. 1984. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ Nadirs ในปี ค.ศ. 1999 โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเนบราสกา[7]
  • Drückender Tango (ไทย: แทงโกแห่งความกดดัน), รวมเรื่อง, บูคาเรสต์, ค.ศ. 1984
  • Der Mensch ist ein großer Fasan auf der Welt, เบอร์ลิน ค.ศ. 1986. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ The Passport, Serpent's Tail, ค.ศ. 1989 ISBN 978-1-85242-139-7
  • Barfüßiger Februar (ไทย: เท้าเปล่าในเดือนกุมภาพันธ์), เบอร์ลิน ค.ศ. 1987
  • The Absolute Wasteman นวนิยายขนาดสั้น, เบอร์ลิน ค.ศ. 1987
  • Reisende auf einem Bein, เบอร์ลิน ค.ศ. 1989. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ Traveling on One Leg (ไทย: เดินทางด้วยขาเดียว), ค.ศ. 1992[8]
  • Wie Wahrnehmung sich erfindet (ไทย: ความเข้าใจค้นพบตัวเอง), พาเดอร์บอร์น ค.ศ. 1990
  • Der Teufel sitzt im Spiegel (ไทย: ปีศาจนั่งอยู่ในกระจก), เบอร์ลิน ค.ศ. 1991
  • Der Fuchs war damals schon der Jäger (ไทย: แม้ว่าในสมัยนั้น หมาจิ้งจอกก็ยังเป็นผู้ล่า), ค.ศ. 1992
  • Eine warme Kartoffel ist ein warmes Bett (ไทย: หัวมันฝรั่งอุ่นในเตียงอุ่น), แฮมบวร์ก ค.ศ. 1992
  • Der Wächter nimmt seinen Kamm (ไทย: ยามฉวยหวี), ค.ศ. 1993
  • Angekommen wie nicht da (ไทย: มาถึงเหมือนไม่ได้มา), ค.ศ. 1994
  • Herztier, ค.ศ. 1994. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ The Land of Green Plums, ค.ศ. 1996[9]
  • Hunger und Seide (ไทย: ความหิวและไหม), บทความ ค.ศ. 1995
  • In der Falle (ไทย: ในกับดัก), เกิททิงเกน ค.ศ. 1996
  • Heute wär ich mir lieber nicht begegnet, ค.ศ. 1997. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ The Appointment (ไทย: นัดหมาย) ค.ศ. 2001
  • Der fremde Blick oder das Leben ist ein Furz in der Laterne ค.ศ. 1999
  • Im Haarknoten wohnt eine Dame, กวีนิพนธ์, ค.ศ. 2000
  • Heimat ist das, was gesprochen wird, ค.ศ. 2001
  • A good person is worth as much as a piece of bread (ไทย: คนดีมีค่าพอกับขนมปังหนึ่งแผ่น), คำนำที่พิมพ์ในหนังสือที่เขียนโดยเคนท์ คลิค Children of Ceausescu ค.ศ. 2001
  • Der König verneigt sich und tötet (ไทย: กษัตริย์ก้มพระเศียรแล้วสังหาร), บทความ, ค.ศ. 2003
  • Die blassen Herren mit den Mokkatassen (ไทย: ชายผิวบางกับแก้วกาแฟเอ็กเพรซโซ), ค.ศ. 2005
  • Atemschaukel, ค.ศ. 2009. พิมพ์ในภาษาอังกฤษในชื่อ Everything I Possess I Carry With Me, ค.ศ. 2009.[10]

บรรณาธิการ[แก้]

  • ทีโอดอร์ เครเมอร์: Die Wahrheit ist, man hat mir nichts getan (ไทย: ความจริงแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรฉัน), ค.ศ. 1999
  • Die Handtasche (ไทย: กระเป๋าถือ), ค.ศ. 2001
  • Wenn die Katze ein Pferd wäre, könnte man durch die Bäume reiten (ไทย: ถ้าแมวเป็นม้า ก็จะขี่เข้าป่า), ค.ศ. 2001

รางวัล[แก้]

  • 1981 Adam-Müller-Guttenbrunn Sponsored Prize the Temeswar Literature Circle
  • 1984 Aspekte Literature Prize
  • 1985 Rauris Literature Prize
  • 1985 Encouragement Prize of the Literature Award of Bremen
  • 1987 Ricarda-Huch Prize of Darmstadt
  • 1989 Marieluise-Fleißer Prize of Ingolstadt
  • 1989 German Language Prize, together with Gerhardt Csejka, Helmuth Frauendorfer, Klaus Hensel, Johann Lippet, Werner Söllner, William Totok, Richard Wagner
  • 1990 Roswitha Medal of Knowledge of Bad Gandersheim
  • 1991 Kranichsteiner Literature Prize
  • 1993 Critical Prize for Literature
  • 1994 Kleist Prize
  • 1995 Aristeion Prize
  • 1995/96 City-writer of Frankfurt-Bergen-Enkheim
  • 1997 Literature Prize of Graz
  • 1998 Ida-Dehmel Literature Prize and the International IMPAC Dublin Literary Award for Herztier / The Land of Green Plums
  • 2001 Cicero Speaker Prize
  • 2002 Carl-Zuckmayer-Medaille of Rhineland-Palatinate
  • 2003 Joseph-Breitbach Prize (together with Christoph Meckel and Harald Weinrich)
  • 2004 Literature Prize of Konrad-Adenauer-Stiftung
  • 2005 Berlin Literature Prize
  • 2006 Würth Prize for European Literature und Walter-Hasenclever Literature Prize
  • 2009 รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Norbert Otto Eke (Ed.): Die erfundene Wahrnehmung ("The Invented Perception"), Paderborn 1991
  • Herta Müller, Berlin 1992
  • Herta Haupt-Cucuiu: Eine Poesie der Sinne ("A Poetry of the Senses"), Paderborn 1996
  • Ralph Köhnen (Ed.): Der Druck der Erfahrung treibt die Sprache in die Dichtung ("The Pressure of Experience Forces Language Into Poetry"), Frankfurt am Main [u.a.] 1997
  • Brigid Haines (ed.): Herta Müller, Cardiff 1998
  • Grazziella Predoiu: Faszination und Provokation bei Herta Müller ("Fascination and Provocation in Herta Müller's Work"), Frankfurt am Main (and elsewhere) 2000
  • Nina Brodbeck: Schreckensbilder ("Terrifying Images"), Marburg 2000
  • Herta Müller, Munich 2002
  • Carmen Wagner: Sprache und Identität ("Language and Identity"), Oldenburg 2002
  • Martin A. Hainz: Den eigenen Augen blind vertrauen? Über Rumänien. ("Do You Trust Your Eyes Blindly? On Romania") From: Der Hammer – Die Zeitung der Alten Schmiede, Nr. 2, Nov. 2004, S.5-6
  • Thomas Daum (Ed.): Herta Müller, Frankfurt am Main 2003
  • Diana Schuster: Die Banater Autorengruppe: Selbstdarstellung und Rezeption in Rumänien und Deutschland, Hartung-Gorre-Verlag Konstanz 2004

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Nobel Prize in Literature 2009". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
  2. Mueller wins Nobel literary prize. BBC News. 8 October 2009.
  3. Nagorski, Andrew (2001), "Nightmare or Reality?(Review)", Newsweek International
  4. "The Land of the Green Plums."", Quadrant, 43 (6): 83, June 1999
  5. "EVZ.ro - Scandal românesc cu securişti, svastică şi sex, la Berlin şi New York". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  6. Jordan, Mary. Author's Nobel Stirs Shock-and-'Bah'. Washington Post. Friday, October 9, 2009.
  7. Google Books Retrieved on 7 October 2009
  8. On Google Books Retrieved on 7 October 2009
  9. Review Retrieved on 7 October 2009
  10. Everything I Possess I Carry With Me, (New books in German).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]